กลุ่มที่ถูกลงโทษ
  จำนวนคนเข้าชม  9743

กลุ่มคนที่ถูกลงโทษในนรก


มุหัมมัด อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

สนง.เผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

 

กลุ่มคนประเภทต่างๆ ที่ถูกลงโทษในนรก

1. บรรดากุฟฟาร (ผู้ปฏิเสธศรัทธา) และมุนาฟิก (ผู้กลับกลอกหรือสับปลับ)

อัลลอฮฺตรัสว่า

ความว่า  “อัลลอฮฺได้ทรงสัญญาแก่บรรดามุนาฟิกชายและบรรดามุนาฟิกหญิง และผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย  ด้วยไฟนรกญะฮันนัม โดยที่พวกเขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาล มันเป็นสิ่งที่พอเพียงแก่พวกเขาแล้ว  และอัลลอฮฺก็ทรงได้ให้พวกเขาห่างไกลจากความเอ็นดูเมตตาของพระองค์และสำหรับพวกเขานั้น คือ การลงโทษอันจีรังยั่งยืน” (อัตเตาบะฮฺ  68)

2. ผู้ที่ฆ่าผู้บริสุทธิ์(ที่ชีวิตของเขาได้รับการคุ้มครอง)โดยตั้งใจ

อัลลอฮฺตรัสว่า

ความว่า  “และผู้ใดฆ่าผู้ศรัทธาโดยเจตนา  ดังนั้นการตอบแทนของเขาคือนรกญะฮันนัม  โดยที่เขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาล  อัลลอฮฺก็ทรงกริ้วโกรธและสาปแช่งเขา  และอัลลอฮฺได้จัดเตรียมไว้สำหรับเขาซึ่งการลงโทษอันใหญ่หลวง”  (อันนิสาอ์ 93)

عن عبدالله بن عمرو رضي الله عنهما عن النبي صلى الله عليه و سلم قال: «مَـنْ قَتَلَ مُعَاهَداً لَـــمْ يَرَحْ رَائِحَةَ الجَنَّةِ وَإنَّ رِيحَهَا يُوجَدُ مِنْ مَسِيرَةِ أَرْبَـعينَ عَاماً». أخرجه البخاري

          จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุ  กล่าวว่า  ปรากฏว่าท่านนบี กล่าวว่า 

“ผู้ใดที่ได้ฆ่ากาฟิรคู่สัญญากับมุสลิม  เขาจะไม่ได้รับกลิ่นหอมของสวนสวรรค์  แท้จริงกลิ่นหอมของสวนสวรรค์จะแผ่กระจายถึงระยะทาง 40 ปีของการเดินทาง"  (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 3166)

3. ผู้ที่ล่วงละเมิดทางเพศหรือผิดประเวณี

عن سمرة بن جندب رضي الله عنه قال: كان رسول الله صلى الله عليه و سلم  يعني مما يكثر أن يقول لأصحابه: «هَلْ رَأَى أَحَدٌ مِنْكُمْ من رُؤْيَا؟» -وفيه- أنه قال ذات غداة: «إنَّهُ أَتَانِي اللَّيْلَةَ آتِيَانِ، وَإنَّهُـمَا ابْتَعثَانِي وَإنَّهُـمَا قَالا لِي انْطَلِقْ... فَانْطَلَقْنَا فَأَتَيْنَا عَلَى مِثْلِ التَّنُّورِ، فَإذَا فِيْـهِ لَغَطٌ وَأَصْوَاتٌ، قَالَ: فَاطَّلَعْنَا فِيْـهِ، فَإذَا فِيهِ رِجَالٌ وَنِسَاءٌ عُرَاةٌ، وَإذَا هُـمْ يَأْتِيهِـمْ لَـهَبٌ مِنْ أَسْفَلَ مِنْـهُـمْ فَإذَا أَتَاهُـمْ ذَلِكُ اللهَبُ ضَوْضَوْا، قَالَ: قُلْتُ لَـهُـمَا مَا هَؤُلاءِ؟... -وَفِيهِ- فَقَالا: وَأَمَّا الرِّجَالُ وَالنِّسَاءُ العُرَاةُ الَّذِينَ فِي مِثْلِ بِنَاءِ التَّنُّورِ فَهُـمُ الزُّنَاةُ وَالزَّوَانِي...» أخر أخرجه  البخاري

          จากสะมุเราะฮฺ บิน ญุนดุบ  เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุ  กล่าวว่า ท่านรอสูล คำถามหนึ่งที่ท่านมักจะถามบรรดาเศาะหะบะฮฺก็คือเรื่องเกี่ยวกับความฝัน โดยกล่าวว่า

"พวกท่านมีใครฝันเห็นอะไรบ้าง?"  และในตอนเช้าของวันหนึ่งท่านกล่าวว่า

  "ฉันฝันเห็นว่าในตอนกลางคืนมีสองคนมาหาฉัน(หมายถึงมลาอิกะฮฺญิบรีล และ มิกาอีล) แล้วทั้งสองได้ปลุกฉันและกล่าวกับฉันว่า  จงไปเถิด ...(ในรายงานระบุว่า) ดังนั้นพวกเราก็ได้ออกไปและเราก็มาถึงที่ที่เหมือนเตาไฟ  ทันใดนั้นก็มีเสียงต่างๆ เอะอะโวยวาย  ท่านก็เล่าต่อไปว่า  พวกเราได้มองเข้าไปในนั้น  พบว่ามีบรรดาผู้ชายและผู้หญิงที่อยู่ในสภาพเปลือยกายจำนวนมาก  ทันใดนั้นก็มีเปลวไฟเกิดขึ้นมาจากเบื้องล่างของพวกเขา  เมื่อไฟมาถึงพวกเขาก็ร้องโวยวายและโอดครวญ ท่านรอซูลถามทั้งสองคนว่า  พวกเขาเหล่านั้นเป็นใครกันเล่า?  ทั้งสองตอบว่า บรรดาผู้ชายและผู้หญิงที่เปลือยกายซึ่งอยู่ในที่เหมือนเตาไฟเหล่านั้นคือบรรดาผู้ผิดประเวณี” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 7047)
   

4. ผู้ที่เกี่ยวพันกับดอกเบี้ย

في حديث سمرة بن جندب رضي الله عنه السابق قال النبي صلى الله عليه و سلم  : «فَانْطَلَقْنَا حَتَّى أَتَيْنَا عَلَى نَـهَرٍ مِنْ دَمٍ فِيهِ رَجُلٌ قَائِمٌ عَلَى وَسَطِ النَّهْر وعلى شَطِّ النَّهْرِ رَجُلٌ بَيْنَ يَدَيْـهِ حِجَارةٌ، فَأَقْبَلَ الرَّجُلُ الَّذِي فِي النَّهْرِ، فَإذَا أَرَادَ أَنْ يَـخْرُجَ رَمَى الرَّجُلُ بِـحَجَرٍ فِي فِيْـهِ فَرَدَّهُ حَيْثُ كَانَ، فَجَعَلَ كُلَّمَا جَاءَ لِيَـخْرُجَ رَمَى فِي فِيهِ بِـحَجَرٍ فَيَرْجِعُ كَمَا كَانَ فَقُلْتُ مَا هَذَا؟... قَالَ والَّذِي رَأَيْتَـهُ فِي النَّهَرِ آ كِلُو الرِّبَا». أخرجه البخاري

           จากหะดีษสะมุเราะฮฺ บิน ญุนดุบ เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุ ข้างต้นเช่นกัน ท่านนบี  กล่าวว่า

  "ดังนั้นพวกเราก็ได้ออกไปจนกระทั่งมาถึงแม่น้ำสายหนึ่งซึ่งเป็นน้ำเลือด  มีชายคนหนึ่งยืนอยู่ตรงกลางแม่น้ำและอีกคนยืนถือก้อนหินอยู่ริมฝั่ง  ดังนั้นเมื่อคนที่อยู่ตรงกลางแม่น้ำต้องการจะขึ้นมา  คนที่อยู่ริมฝั่งได้ขว้างก้อนหินเข้าไปในปากเขาซ้ำแล้วซ้ำอีก  และจะขว้างก้อนหินเข้าปากทุกๆ ครั้งเมื่อเขาต้องการที่จะขึ้นมาจากแม่น้ำ  ฉันถามว่า  นี่คืออะไร?  เขาตอบว่า  ผู้ที่ท่านเห็นอยู่ในน้ำคือผู้ที่กินดอกเบี้ย”  (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1386)

5. ผู้ที่ปั้นหรือประดิษฐ์รูปภาพสิ่งมีชีวิต

عن ابن عباس رضي الله عنهما قال: سمعت رسول الله صلى الله عليه و سلم   يقول: «كُلُّ مُصَوِّرٍ فِي النَّارِ يَـجْعَلُ لَـهُ بِكُلِّ صُورَةٍ صَوَّرَهَا نَفْساً فَتُعَذِّبُـهُ فِي جَهَنَّمَ». أخرجه مسلم

          จากอิบนุ อับบาส เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุมา  กล่าวว่า  ฉันได้ยินท่านรอสูล  กล่าวว่า

 “ผู้ที่ปั้นรูป(เขียนรูป)ทุกคนจะต้องอยู่ในนรก จะถูกทำให้ทุกรูปภาพที่เขาได้ประดิษฐ์ขึ้นนั้นมีชีวิต  ดังนั้นมันก็จะเอาเขาไปทรมานในนรกญะฮันนัม”  (บันทึกโดย มุสลิม หมายเลข 2110)

عن عائشة رضي الله عنها قالت: دخل عليَّ رسول الله صلى الله عليه و سلم   وقد سَتَرْتُ سَهْوَةً لي بِقِرَامٍ فيه تماثيل، فلما رآه هتكه وتلوَّن وجهه وقال: «يَا عَائِشَةُ أَشَدُّ النَّاسِ عَذَاباً عِنْدَ ا٬لله يَومَ القِيَامَةِ الَّذِينَ يُضَاهُونَ بِـخَلْقِ ا٬لله» قالت عائشة: فقطعناه فجعلنا منه وسادة أو وسادتين. متفق عليه

          จากอาอิชะฮฺ เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮา  กล่าวว่า  ท่านรอสูล ได้เข้ามาหาฉัน  โดยฉันได้ปิดผ้าม่านที่ช่องฝาผนังซึ่งมีลวดลายเป็นรูปภาพ ครั้นเมื่อท่านได้เห็นก็ได้ดึงมันออกและสังเกตได้ว่าใบหน้าของท่านเปลี่ยนสี  และกล่าวว่า

 "โอ้ อาอิชะฮฺ ผู้ที่ได้รับโทษหนักในวันกิยามะฮฺคือบรรดาผู้ที่เลียนแบบการสร้างของอัลลอฮฺ”  อาอิชะฮฺกล่าวว่า  ดังนั้นพวกเราได้ตัดมันออกแล้วเอามาทำเป็นหมอนใบหรือสองใบ”  (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 5954 และ มุสลิม หมายเลข 2107 สำนวนนี้เป็นของท่าน) 

عن ابن عباس رضي الله عنهما قال سمعت رسول الله صلى الله عليه و سلم   يقول: «مَنْ صَوَّرَ صُـورَةً فِـي الدُّنْيَــا كُلِّــفَ أَنْ يَنْـفُــخَ فِيهَـــا الــــرُّوحَ يَـــومَ القِـيَــامَةِ وَلَيــسَ بِنَافِخٍ». متفق عليه

         จากอิบนุ อับบาส เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุมา  กล่าวว่า  ฉันได้ยินท่านรอสูล กล่าวว่า 

“ผู้ใดที่ได้ประดิษฐ์รูปปั้นขึ้นเพียงรูปหนึ่งในโลกดุนยา ในวันกิยามะฮฺเขาจะถูกบังคับให้เป่าวิญญาณให้กับมันและเขาก็ไม่สามารถทำได้”  (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 7042 และ มุสลิม หมายเลข 2110 สำนวนนี้เป็นของท่าน)

6. ผู้ที่โกงกินทรัพย์สินเด็กกำพร้าโดยอธรรม

อัลลอฮฺตรัสว่า ความว่า 

“แท้จริงบรรดาผู้ที่กินทรัพย์สินของบรรดาเด็กกำพร้าด้วยความอธรรมนั้น แท้จริงแล้ว

พวกเขากินไฟเข้าไปในท้องของพวกเขาต่างหาก  และพวกเขาก็จะเข้าสู่เปลวเพลิง"

(อัน-นิสาอ์ 10)

7. บรรดาผู้ที่โกหก นินทาว่าร้าย และตำหนิผู้อื่น

อัลลอฮฺตรัสว่า

ความว่า  “และหากว่าเขาอยู่ในหมู่ผู้ปฏิเสธผู้หลงทาง  ดังนั้นสิ่งที่เตรียมไว้สำหรับเขาก็คือ น้ำร้อนที่กำลังเดือด และเปลวไฟลุกไหม้” (อัล-วากิอะฮฺ  92-94)

عن معاذ بن جبل رضي الله عنه قال: كنت مع النبي صلى الله عليه و سلم  في سفر -وفيه- فقلت يا نبي الله، وإنا لمؤاخذون بما نتكلم به؟ فقال: «ثَكِلَتْكَ أُمُّكَ يَا مُعَاذُ، وَهَلْ يَكُبُّ النَّاسَ فِي النَّارِ عَلَى وُجُوهِهِـمْ أَوْ عَلَى مَنَاخِرِهِـمْ إلَّا حَصَائِدُ أَلْسِنَتِـهِـمْ». أخرجه الترمذي وابن ماجه

         จากมุอ๊าซ บิน ญะบัล เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุ  กล่าวว่า  ฉันได้เดินทางพร้อมกับท่านนบี (ในตอนหนึ่งของรายงานระบุว่า) ฉันกล่าวว่า  โอ้ ท่านนบีของอัลลอฮฺ แท้จริงพวกเราจะได้รับโทษจากสิ่งที่เราพูดกระนั้นหรือ ?  ท่านตอบว่า

"แม่ของเจ้าต้องพบกับการพรากจากของเจ้าไปแล้วมุอ๊าซเอ๋ย ! (เป็นสำนวนอุทานของชาวอาหรับ) มนุษย์จะไม่คะมำหน้าหรือศรีษะของพวกเขาลงในนรก นอกจากด้วยผลผลิตมาจากลิ้นของพวกเขาเอง ไม่ใช่ดอกหรือ?”  (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อัตติรมิซียฺ หมายเลข  2616 , อิบนุ มาญะฮฺ หมายเลข 3973)

8. บรรดาผู้ที่ปกปิดในสิ่งที่อัลลอฮฺประทานลงมา

อัลลอฮฺตรัสว่า ความว่า 

“แท้จริงบรรดาผู้ที่ปิดบังสิ่งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ที่อัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมา

และนำสิ่งนั้นไปแลกเปลี่ยนกับราคาอันเล็กน้อย

ชนเหล่านั้นมิได้กินอะไรเข้าไปในท้องเขาพวกเขานอกจากไฟเท่านั้น

และในวันกิยามะฮฺอัลลอฮฺจะไม่พูดกับพวกเขา  และจะไม่ทำให้พวกเขาบริสุทธิ์ 

และพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างเจ็บแสบ” 

(อัล-บะเกาะเราะฮฺ 174)


การพิพาทโต้แย้งกันระหว่างชาวนรก

           เมื่อบรรดาผู้ปฏิเสธได้เห็นการลงโทษที่อัลลอฮฺจัดเตรียมไว้สำหรับพวกเขา  ต่างก็ต้องทนทุกข์ทรมานต่อสภาพอันวุ่นวายนี้  พวกเขาได้ตำหนิตัวเองและตำหนิคนที่เคยรัก  เพื่อนฝูงในโลกดุนยา  ความรักใคร่ที่เคยมีกันระหว่างพวกเขาจะเปลี่ยนเป็นความเกลียดชัง  ในขณะนั้นก็จะเกิดการพิพาทโต้แย้งขึ้นระหว่างพวกเขาด้วยกัน  บางส่วนก็จะโต้เถียงกับอีกบางส่วนต่อความแตกต่างระหว่างชนชั้นในระหว่างพวกเขากันเอง

1. พิพาทกันระหว่างบรรดาผู้ที่เคารพกับผู้ที่พวกเขาเคารพภักดี  อัลลอฮฺตรัสว่า

ความว่า  “พวกเขาได้กล่าวขณะที่พวกเขาโต้เถียงกันอยู่ในนั้นว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ แท้จริงพวกเราอยู่ในการหลงผิดอย่างชัดแจ้ง ขณะที่พวกเราทำให้พวกเจ้าเท่าเทียมกับพระเจ้าแห่งสากลโลก  และไม่มีผู้ใดทำให้พวกเขาหลงผิด  นอกจากพวกอาชญากรเท่านั้น”  (อัช-ชุอะรออ์ 96-99)

2. พิพาทกันระหว่างบรรดาผู้ที่อ่อนแอกับบรรดาผู้นำที่หยิ่งยโสโอหัง  อัลลอฮฺตรัสว่า

ความว่า  “และจงรำลึกถึงเมื่อพวกเขาโต้เถียงกันในนรก  บรรดาผู้อ่อนแอกล่าวกับพวกหัวหน้าผู้โอหังว่า แท้จริงพวกเราเป็นผู้ตามพวกท่าน ดังนั้นพวกท่านจะช่วยพวกเราให้พ้นจากการลงโทษสักส่วนหนึ่งของไฟนรกนี้ได้ไหม?  บรรดาหัวหน้ากล่าวว่า แท้จริงเราทั้งหมดอยู่ในนรกแท้จริงอัลลอฮฺทรงตัดสินใจระหว่างปวงบ่าวแล้วอย่างแน่นอน”  (ฆอฟิรฺ 47-48)

3. พิพาทกันระหว่างผู้ตามกับผู้นำที่หลงผิด  อัลลอฮฺตรัสว่า

ความว่า  “และบางคนในหมู่พวกเขาจะหันเข้าหากันไต่ถามซึ่งกันและกัน  พวกเขากล่าวว่าแท้จริงพวกท่านเคยเข้ามาหาเราทางด้านขวา(คือได้บังคับให้เราปฏิบัติตามด้วยกำลัง) พวกเขา(หัวหน้า)กล่าวว่า  เปล่าดอกพวกท่านต่างหากที่ไม่ยอมศรัทธา และเราไม่มีอำนาจใดๆ เหนือพวกท่าน แต่ว่าพวกท่านเป็นหมู่ชนที่ดื้อรั้นต่างหาก ดังนั้นพระดำรัสของพระเจ้าของเราจึงคู่ควรแก่เราแล้ว  แท้จริงเรานั้นเป็นผู้ต้องลิ้มรส(การทรมาน)อย่างแน่นอน  เราได้แนะนำพวกท่านให้หลงผิดทั้งๆ  ที่ความจริงพวกเราก็หลงผิดอยู่แล้ว  แท้จริงพวกเขาในวันนั้นย่อมมีส่วนแบ่งร่วมกันในการได้รับโทษ”  (อัศ-ศ็อฟฟาต 27-33)

4. พิพาทกันระหว่างผู้ปฏิเสธกับชัยฏอนที่เป็นพลพรรคของเขา อัลลอฮฺตรัสว่า

ความว่า  “(ชัยฏอน) สหายของเขากล่าวว่า  ข้าแต่พระเจ้าของเราข้าพระองค์มิได้ทำให้เขาหลงผิดดอก  แต่ทว่าเขาได้อยู่ในการหลงผิดมาก่อนแล้ว  พระองค์ตรัสว่า พวกเจ้าอย่ามาโต้เถียงต่อหน้าข้าเลย  และแน่นอนข้าได้เตือนพวกเจ้าก่อนหน้านี้แล้ว  พระดำรัสของข้าจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ณ บัดนี้  และข้าก็มิได้เป็นผู้อยุติธรรมต่อป่วงบ่าวของข้าเลย”  (กอฟ 27-29)

5. เรื่องราวยิ่งเพิ่มทวีหนักยิ่งขึ้นเมื่อมนุษย์ต้องโต้เถียงกับอวัยวะของตนเอง   อัลลอฮ์ตรัสว่า

ความว่า  “และ (จงรำลึกถึง) วันหนึ่งซึ่งเมื่อเหล่าศัตรูของอัลลอฮฺจะถูกชุมนุมเข้าสู่ไฟนรกและพวกเขาจะถูกจัดเป็นแถวๆ  จนกระทั่งเมื่อเข้ามาถึงนรก หูของพวกเขาและตาของพวกเขาและผิวหนังของพวกเขาก็จะเป็นพยานคัดค้านพวกเขาตามที่พวกเขาได้กระทำไว้  และพวกเขากล่าวแก่ผิวหนังของพวกเขาว่า  ทำไมพวกเจ้าจึงเป็นพยานคัดค้านแก่เราเล่า ?  พวกมันกล่าวว่าอัลลอฮฺทรงให้เราพูดซึ่งพระองค์ทรงให้ทุกสิ่งได้พูด และพระองค์ทรงสร้างพวกเจ้าเป็นครั้งแรกและยังพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าจะถูกนำกลับไป”  (ฟุศศิลัต  19- 21)

วิงวอนร้องขอต่อพระผู้อภิบาล


          ชาวนรกจะวิงวอนร้องขอต่อพระผู้อภิบาลของพวกเขาให้ได้เห็นผู้ที่ทำให้พวกเขาหลงผิด และขอให้เพิ่มทวีการลงโทษทัณฑ์แก่พวกเขาเหล่านั้น

1. อัลลอฮฺตรัสว่า

ความว่า  “และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธากล่าวว่า  ข้าแต่พระเจ้าของเราได้โปรดให้เราได้เห็นทั้งสองพวกแห่งบรรดาญินและมนุษย์ผู้ซึ่งทำให้เราหลงทาง  เพื่อที่เราจะให้มันทั้งสองอยู่ใต้เท้าของเรา  เพื่อว่ามันทั้งสองจะได้อยู่ในบรรดาผู้เลวทรามยิ่ง”  (ฟุศศิลัต 29)

2. อัลลอฮฺตรัสว่า


ความว่า  “วันที่ใบหน้าของพวกเขาจะถูกพลิกกลับไปกลับมาในไฟนรก  พวกเขาจะกล่าวว่า โอ้ความระทมทุกข์ของเรา  หากเราได้เชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺและเราได้เชื่อฟังรอซูลก็จะดีหรอก  และพวกเขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของเรา แท้จริงเราได้เชื่อฟังปฏิบัติตามบรรดาหัวหน้าของเราและบรรดาผู้นำของเรา ดังนั้นพวกเขาได้ทำให้เราหลงทาง ข้าแต่พระเจ้าของเราได้โปรดลงโทษพวกเขาสองเท่าเถิด และทรงสาปแช่งพวกเขาซึ่งการสาปแช่งอันยิ่งใหญ่”  (อัล-อะหฺซาบ 66-68)


คำแถลงการณ์ของอิบลีสต่อบรรดาชาวนรก

          เมื่ออัลลอฮฺได้ตัดสินการงานต่างๆ เสร็จเรียบร้อย  และได้แบ่งปวงบ่าวออกจากกัน  อิบลีสก็จะกล่าวคำแถลงการณ์ต่อบรรดาชาวนรก  เพื่อจะเพิ่มความระทมทุกข์  ความเศร้าโศกเสียใจ  ความหายนะขาดทุนแก่พวกเขา อัลลอฮฺตรัสว่า
 
“และชัยฏอนได้กล่าวเมื่อการงานได้ถูกตัดสินแล้วว่า  แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงสัญญากับพวกท่านซึ่งเป็นสัญญาแห่งความจริง  และฉันได้สัญญากับพวกท่านแล้วฉันก็ได้บิดพลิ้วต่อพวกท่าน  ฉันไม่มีอำนาจใดๆ เหนือพวกท่าน  นอกจากฉันได้เรียกร้องพวกท่านแล้วพวกท่านก็ตอบสนองฉัน  ดังนั้นพวกท่านอย่าได้ประณามฉัน แต่ทว่าจงประณามตัวของพวกท่านเอง  ฉันไม่อาจร้องทุกข์แทนพวกท่านได้และพวกท่านก็ไม่อาจร้องทุกข์แทนฉัน (จากการลงโทษของอัลลอฮฺ)ได้  แท้จริงฉันได้ปฏิเสธต่อสิ่งที่พวกท่านได้ตั้งฉันให้เป็นภาคี(กับอัลลอฮฺ) ก่อนหน้านี้  แท้จริงบรรดาผู้อธรรมนั้นสำหรับพวกเขาคือการลงโทษอย่างเจ็บปวด”  (อิบรอฮีม  22)


นรกร้องขอผู้ที่ถูกลงโทษเพิ่ม

อัลลอฮฺตรัสว่า

ความว่า  “วันซึ่งเราจะกล่าวแก่นรกญะฮันนัมว่า  เจ้าเต็มแล้วหรือยัง?  และมันจะกล่าวว่า ยังมีเพิ่มอีกไหม”  (กอฟ  30)

عن أنس بن مالك رضي الله عنه عن النبي صلى الله عليه و سلم  أنه قال: «لا تَزَالُ جَهَنَّمُ يُلْقَى فِيهَا وَتَقُولُ: هَلْ مِنْ مَزِيدٍ، حَتَّى يَضَعَ رَبُّ العِزَّةِ فِيْـهَا قَدَمَهُ، فَيَنْزَوِي بَـعْضُهَا إلَى بَـعْضٍ وَتَقُولُ: قَطْ قَطْ بِـعِزَّتِكَ وَكَرَمِكَ، وَلا يَزَالُ فِي الجَنَّةِ فَضْلٌ حَتَّى يُنْشِئَ اللهُ لَـهَا خَلْقاً، فَيُسْكِنَـهُـمْ فَضْلَ الجَنَّةِ». متفق عليه

จากอะนัส  บิน  มาลิก  เราะฏิยัลลอฮฺ อันฮุ  จากท่านนบี  ได้กล่าวว่า

  “นรกญะฮันนัมยังคงถูกโยนลงในมันอยู่ตลอดในขณะที่มันกล่าวว่า ยังมีอีกหรือไม่?  จนกระทั่งพระผู้อภิบาลผู้เกรียงไกรได้วางเท้าของพระองค์(ด้วยคุณลักษณะอันเหมาะแก่ความสูงส่งของพระองค์ โดยไม่มีการเทียบเคียงใดๆ กับสิ่งถูกสร้าง หรือการยกตัวอย่างใดๆ)ลงบนมัน ดังนั้นส่วนหนึ่งของมัน(นรก)ก็เบียดเข้าใกล้อีกส่วนหนึ่ง และมันจะกล่าวว่า พอแล้ว  พอแล้ว  ด้วยความเกรียงไกรและความกรุณาของท่าน  และในสวนสวรรค์ก็ยังคงมีความโปรดปรานอยู่ตลอดจนกระทั่งอัลลอฮฺได้บังเกิดให้มีชาวสวรรค์อีกกลุ่ม (คือกลุ่มที่ไม่มีความดีอันใดเลย เช่น เด็กๆ หรือ คนวิกลจริต เป็นต้น)เข้ามาในนั้น  แล้วพระองค์ให้พวกเขาได้พำนักอยู่ในความโปรดปรานของสวนสวรรค์” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 4848 และ มุสลิม หมายเลข 2848 สำนวนนี้เป็นของท่าน) 

 

แปลโดย : ยูซุฟ อบู บักรฺ

Islam House