นิยามของคำว่า อัฎฏอฆูต
คำถาม คำว่า อัฏฏอฆูต จะครอบคลุมสิ่งต่างๆ ที่ไม่ได้เรียกร้องมนุษย์ให้เคารพสักการะมัน เช่น ดวงอาทิตย์ ต้นไม้ รูปเจว็ด และก้อนหินหรือไม่ ? แล้วบรรดามุสลิมที่มีความยำเกรง เช่น อิมาม อัช-ชาฟิอีย์ พวกเขาจะถูกเรียกว่าฏอฆูตหรือไม่ เพราะมนุษย์มาเคารพสักการะต่อพวกเขาหรือไม่ก็เคารพสักการะต่อกุโบร์ของพวกเขา ?
คำตอบอัลฮัมดุลิลลาฮฺ... ไม่ใช่ทุกสรรพสิ่งที่ถูกเคารพสักการะอื่นนอกจากอัลลอฮฺถูกหมายรวมว่าเป็นอัฏฏอฆูต มีทัศนะที่ถูกต้องของบรรดานักวิชาการได้อธิบายความหมายของคำว่าอัฏฏอฆูต เช่น อิบนุ ญะรีร อัฏ-เฏาะบะรีย์ กล่าวไว้ในหนังสืออัต-ตัฟซีร (3/12) ว่า "นิยามของอัฏฏอฆูตที่ถูกต้องตามทัศนะของฉัน คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ละเมิดฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ ดังนั้นมันได้ถูกเคารพสักการะนอกเหนือจากพระองค์ บางครั้งอาจจะเกิดจากการบังคับของเขาให้ผู้อื่นมาเคารพสักการะ บางครั้งเกิดจากความสมัครใจของผู้ที่ศรัทธาต่อเขาเอง สิ่งที่ถูกเคารพนั้นไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ ชัยฏอน รูปเจว็ด รูปปั้น หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีปรากฏอยู่" และอิบนุ ญะรีร อัฏ-ฏอบรียฺ ยังกล่าวอีกว่า "รากศัพท์ของคำว่า อัฏฏอฆูต...มาจากคำของผู้ที่พูดว่า ฏอฆอ ฟุลานุน ยัฏฆู เมื่อเขาได้ทำเกินปริมาณ ดังนั้นแสดงว่าเขาได้เกินเลยขอบเขต"
ดังนั้นบรรดานบี อุละมาอ์ และคนอื่นๆ จากบรรดาคนที่ดีและคนที่เป็นวะลีย์ พวกเขาจะไม่ได้รับความผิดจากการที่มีผู้คนมาเคารพสักการะ และพวกเขาก็บอกไม่ให้เชื่อฟังปฏิบัติตามในเรื่องดังกล่าว ว่าพวกเขากลับตักเตือนในเรื่องนี้อย่างจริงจังมากที่สุด เป้าหมายของการที่อัลลอฮฺ ส่งบรรดาศาสนทูตมายังมวลมนุษยชาติคือ การเชิญชวนพวกเขาสู่การให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺและปฏิเสธต่อการเคารพสักการะสิ่งอื่นนอกเหนือจากพระองค์ อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿وَلَقَدْ بَعَثْنَا فِي كُلِّ أُمَّةٍ رَّسُولاً أَنِ اعْبُدُواْ اللهَ وَاجْتَنِبُواْ الطَّاغُوتَ﴾ (النحل : 36 )
ความว่า และแน่นอนเราได้ส่งศาสนทูตมายังทุกๆ ประชาชาติ (เพื่อให้ประกาศเชิญชวนว่า) พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ และจงออกห่างจากพวกเจว็ดรูปปั้น (อัลนะหฺลุ 36)
อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَإِذْ قَالَ اللهُ يَا عِيسَى ابْنَ مَرْيَمَ أَأَنتَ قُلتَ لِلنَّاسِ اتَّخِذُونِي وَأُمِّيَ إِلَـهَيْنِ مِن دُونِ اللهِ قَالَ سُبْحَانَكَ مَا يَكُونُ لِي أَنْ أَقُولَ مَا لَيْسَ لِي بِحَقٍّ إِن كُنتُ قُلْتُهُ فَقَدْ عَلِمْتَهُ تَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِي وَلاَ أَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِكَ إِنَّكَ أَنتَ عَلاَّمُ الْغُيُوبِ، مَا قُلْتُ لَهُمْ إِلاَّ مَا أَمَرْتَنِي بِهِ أَنِ اعْبُدُواْ اللهَ رَبِّي وَرَبَّكُمْ وَكُنتُ عَلَيْهِمْ شَهِيداً مَّا دُمْتُ فِيهِمْ فَلَمَّا تَوَفَّيْتَنِي كُنتَ أَنتَ الرَّقِيبَ عَلَيْهِمْ وَأَنتَ عَلٰى كُلِّ شَيْءٍ شَهِيدٌ﴾ (المائدة : 116-117)
ความว่า และจงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า โอ้อีซาบุตรของมัรยัมเอ๋ย เจ้าได้พูดแก่ผู้คนหรือว่า จงยึดถือฉันและมารดาของฉันเป็นพระเจ้าทั้งสองนอกเหนือจากอัลลอฮฺ เขากล่าวว่าพระองค์ผู้ทรงมหาบริสุทธิ์ ฉันไม่เคยกล่าวในสิ่งที่ไม่ใช่เป็นสิทธิ์ของฉัน หากฉันเคยกล่าวสิ่งนั้น แน่นอนพระองค์ย่อมรู้ดี โดยที่พระองค์จะทรงรู้ในสิ่งที่อยู่ในตัวฉัน แต่ฉันไม่รู้สิ่งที่อยู่ในตัวของพระองค์ แท้จริงพระองค์เท่านั้นทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับทั้งหลาย ฉันไม่ได้กล่าวแก่พวกเขานอกจากสิ่งที่พระองค์บัญชาแก่ฉันเท่านั้นที่ว่า พวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ ผู้เป็นพระผู้อภิบาลของฉันและเป็นพระผู้อภิบาลของพวกสูเจ้าด้วย และฉันได้เป็นสักขีพยานเหนือพวกเขาตราบเท่าที่ฉันอยู่กับพวกเขา และเมื่อพระองค์ได้เอาชีวิตฉัน พระองค์ก็ทรงเฝ้าติดตามพวกเขา และพระองค์นั้นทรงเป็นสักขีพยานเหนือทุกสิ่ง (อัลมาอิดะฮฺ 116-117)
ดังนั้น จึงไม่เรียกบรรดานบีและอุละมาอ์ว่าเป็นฏอฆูต ถึงแม้ว่าพวกเขาจะถูกเคารพสักการะอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺก็ตาม
และการที่ผู้คนได้เกินเลยในตัวของอิมามอัช-ชาฟิอีย์ หรือบรรดาอุละมาอ์คนอื่นๆ (ขออัลลอฮฺเมตตาพวกเขา) โดยการขอดุอาอ์เพื่อขอความช่วยเหลือจากพวกเขานอกเหนือไปจากการขอต่ออัลลอฮฺ หรือเคารพสักการะต่อกุโบร์ของพวกเขา ความผิดจะไม่เกิดขึ้นแต่ประการใดแก่บรรดาอุละมาอ์เหล่านี้ ในมุมกลับกันความผิดจะตกอยู่กับผู้ที่ตั้งภาคี ทำนองเดียวกันกับพวกคริสเตียนที่เคารพภักดีต่อนบีอีซา อะลัยฮิสลาม โดยเคารพสักการะท่านนบีอีซานอกเหนือจากอัลลอฮฺ นบีอีซาจะไม่ได้รับความผิดแต่ประการใดจากการกระทำของพวกเขา
และส่วนหนึ่งจากคำนิยามของอัฏฏอฆูตโดยสรุป คือ ผู้ที่ถูกเคารพสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺในสภาพที่เขาพึงพอใจ และเป็นที่รู้กันว่านบีอีซา (อะลัยอิสลาม) และบรรดานบีท่านอื่นๆ รวมถึงอิมามอัช-ชาฟิอีย์ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) และอุละมาอ์คนอื่นๆ ล้วนเป็นผู้ที่มีเตาฮีด(ยอมรับศรัทธาในเอกภาพ)ต่ออัลลอฮฺ พวกเขาไม่มีความพึงพอใจที่จะให้ใครมาเคารพภักดีนอกเหนือจากอัลลอฮฺโดยเด็ดขาด ทว่าพวกเขากลับเป็นผู้ห้ามปรามในเรื่องดังกล่าวและได้อธิบายชี้แจงในเรื่องการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺหรือเตาฮีด พระองค์อัลลอฮฺตรัสว่า
﴿ وَإِذْ قَالَ اللهُ يَا عِيسَى ابْنَ مَرْيَمَ أَأَنتَ قُلتَ لِلنَّاسِ اتَّخِذُونِي وَأُمِّيَ إِلَـهَيْنِ مِن دُونِ اللهِ قَالَ سُبْحَانَكَ مَا يَكُونُ لِي أَنْ أَقُولَ مَا لَيْسَ لِي بِحَقٍّ إِن كُنتُ قُلْتُهُ فَقَدْ عَلِمْتَهُ تَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِي وَلاَ أَعْلَمُ مَا فِي نَفْسِكَ إِنَّكَ أَنتَ عَلاَّمُ الْغُيُوبِ، مَا قُلْتُ لَهُمْ إِلاَّ مَا أَمَرْتَنِي بِهِ أَنِ اعْبُدُواْ اللهَ رَبِّي وَرَبَّكُمْ ... ﴾ (المائدة : 116-117)
ความว่า และจงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮฺตรัสว่า โอ้อีซาบุตรของมัรยัมเอ๋ย เจ้าได้พูดแก่ผู้คนหรือว่า จงยึดถือฉันและมารดาของฉันเป็นพระเจ้าทั้งสองนอกเหนือจากอัลลอฮฺ เขากล่าวว่าพระองค์ผู้ทรงมหาบริสุทธิ์ ฉันไม่เคยกล่าวในสิ่งที่ไม่ใช่เป็นสิทธิ์ของฉัน หากฉันเคยกล่าวสิ่งนั้นแน่นอนพระองค์ย่อมรู้ดี โดยที่พระองค์จะทรงรู้ในสิ่งที่อยู่ในใจฉันแต่ฉันไม่รู้สิ่งที่อยู่ในใจของพระองค์ แท้จริงพระองค์เท่านั้นทรงรอบรู้สิ่งเร้นลับทั้งหลาย ฉันไม่ได้กล่าวแก่พวกเขานอกจากสิ่งที่พระองค์บัญชาแก่ฉันเท่านั้นที่ว่าพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺผู้เป็นพระผู้อภิบาลของฉันและเป็นพระผู้อภิบาลของพวกสูเจ้าด้วย... (อัลมาอิดะฮฺ 116-117)
Islamqa.com ฟัตาวาหมายเลข 5203
โดย มุหัมมัด ศอลิห์ อัลมุนัจญิด
ผู้แปล : ยูซุฟ อบูบักรฺ
Islam house