ความสุภาพอ่อนโยนของท่านนบี
  จำนวนคนเข้าชม  30392

มารยาทและคุณลักษณะนิสัยที่ดี
  

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

ความสุภาพอ่อนโยนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :

أَنَّ أَعْرَابِيًّا بَالَ فِى الْمَسْجِدِ، فَثَارَ إِلَيْهِ النَّاسُ لِيَقَعُوا بِهِ، فَقَالَ لَهُمْ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ «دَعُوهُ، وَأَهْرِيقُوا عَلَى بَوْلِهِ ذَنُوبًا مِنْ مَاءٍ - أَوْ سَجْلاً مِنْ مَاءٍ -، فَإِنَّمَا بُعِثْتُمْ مُيَسِّرِينَ، وَلَمْ تُبْعَثُوا مُعَسِّرِينَ».

ความว่า  ชาวอาหรับชนบทคนหนึ่งได้ถ่ายปัสสาวะในมัสยิด ผู้คนจึงกรูเข้าหาหมายจะทำร้ายเขา ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวกับพวกเขาว่า “จงปล่อยเขา(ให้ถ่ายปัสสาวะจนเสร็จก่อน) และจงนำน้ำถุงหนึ่ง หรือถังหนึ่งมาราดปัสสาวะเขา เพราะแท้จริงแล้วพวกเจ้าถูกบังเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นผู้อำนวยความสะดวกและไม่ได้ถูกบังเกิดให้เป็นผู้สร้างความลำบาก” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6128 และมุสลิม : 284)

2. จากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«يَسِّرُوا وَلاَ تُعَسِّرُوا ، وَسَكِّنُوا وَلاَ تُنَفِّرُوا»

ความว่า “พวกเจ้าจงทำให้ง่าย อย่าทำให้ยาก และจงทำให้สบายใจ อย่าทำให้ตื่นตระหนก” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6125 และมุสลิม : 1734)

3. มีรายงานจากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«يَا عَائِشَةُ إِنَّ اللَّهَ رَفِيقٌ يُحِبُّ الرِّفْقَ، وَيُعْطِي عَلَى الرِّفْقِ مَا لاَ يُعْطِي عَلَى الْعُنْفِ، وَمَا لاَ يُعْطِي عَلَى مَا سِوَاهُ»

ความว่า “โอ้ อาอิชะฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้อ่อนโยนและทรงโปรดปรานความอ่อนโยน และทรงประทานบนความอ่อนโยนในสิ่งที่ไม่ประทานบนความแข็งกร้าว และสิ่งอื่น ๆ นอกเหนือจากมัน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6927 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 2593)

 

การอภัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

«فَاعْفُ عَنْهُمْ وَاصْفَحْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُحْسِنِينَ»

ความว่า “ดังนั้น เจ้าจงยกโทษให้พวกเขา และจงอย่าถือสา แท้จริงแล้วอัลลอฮฺนั้นทรงรักผู้ที่ทำความดี” (อัล-มาอิดะฮฺ : 13)

2. จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้กล่าวว่า :

مَا خُيِّرَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بَيْنَ أَمْرَيْنِ إِلاَّ أَخَذَ أَيْسَرَهُمَا، مَا لَمْ يَكُنْ إِثْمًا ، فَإِنْ كَانَ إِثْمًا كَانَ أَبْعَدَ النَّاسِ مِنْهُ، وَمَا انْتَقَمَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لِنَفْسِهِ، إِلاَّ أَنْ تُنْتَهَكَ حُرْمَةُ اللَّهِ فَيَنْتَقِمَ لِلَّهِ بِهَا.

ความว่า “เมื่อท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ถูกเสนอให้เลือกระหว่างสองสิ่ง ท่านจะเลือกสิ่งที่ง่ายกว่าเสมอ ตราบใดที่สิ่งนั้นไม่เป็นบาป เพราะหากสิ่งนั้นเป็นบาปท่านจะเป็นคนที่ห่างไกลจากมันมากกว่าใครๆ และท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยแก้แค้นเอาคืนให้กับตัวเอง นอกจากเมื่อเกียรติของอัลลอฮฺถูกลบหลู่ ท่านก็จะแก้แค้นเพื่อเรียกร้องเกียรติของอัลลอฮฺกลับคืนมา”  (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 3560 และมุสลิม : 2327)

 


การหัวเราะของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา นางได้กล่าวว่า :

مَا رَأَيْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مُسْتَجْمِعًا قَطُّ ضَاحِكًا حَتَّى أَرَى مِنْهُ لَهَوَاتِهِ ، إِنَّمَا كَانَ يَتَبَسَّمُ.

ความว่า “ฉันไม่เคยเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม หัวเราะร่าสุด ๆ จนเห็นเหงือกของท่านเลย แต่ท่าน(หัวเราะ)เพียงแค่ยิ้มเท่านั้นเอง” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6092 และมุสลิม : 899)

2. จากญะรีร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

مَا حَجَبَنِى النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مُنْذُ أَسْلَمْتُ ، وَلاَ رَآنِى إِلاَّ تَبَسَّمَ فِى وَجْهِي

ความว่า “ตั้งแต่ฉันเข้ารับอิสลามมา ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยปิดกั้นฉัน(ไม่ให้เข้าพบท่าน) และเมื่อใดที่ท่านเห็นฉันท่านจะส่งยิ้มให้” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6089 และมุสลิม : 2475)

 

การร้องไห้ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. จากอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  กล่าวว่า :

قَالَ لِي النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ « اقْرَأْ عَلَيَّ » . قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ آقْرَأُ عَلَيْكَ وَعَلَيْكَ أُنْزِلَ قَالَ « نَعَمْ » . فَقَرَأْتُ سُورَةَ النِّسَاءِ حَتَّى أَتَيْتُ إِلَى هَذِهِ الآيَةِ (فَكَيْفَ إِذَا جِئْنَا مِنْ كُلِّ أُمَّةٍ بِشَهِيدٍ وَجِئْنَا بِكَ عَلَى هَؤُلاَءِ شَهِيدًا) قَالَ : « حَسْبُكَ الآنَ » . فَالْتَفَتُّ إِلَيْهِ فَإِذَا عَيْنَاهُ تَذْرِفَانِ . 

ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวแก่ฉันว่า “จงอ่านให้ฉันฟังซิ” ฉันตอบว่า “โอ้ ท่านรอซูล จะให้ฉันอ่านแก่ท่านหรือ ทั้ง ๆ ที่มันได้ถูกประทานลงแก่ท่าน? ท่านตอบว่า “ ใช่” แล้วฉันก็อ่านสูเราะฮฺอัน-นิสาอ์จนถึงอายะฮฺนี้ :

«فَكَيْفَ إِذَا جِئْنَا مِنْ كُلِّ أُمَّةٍ بِشَهِيدٍ وَجِئْنَا بِكَ عَلَى هَؤُلاءِ شَهِيدًا»

ความว่า “จะเป็นอย่างไรเล่า เมื่อเราได้นำพยานหนึ่งคนจากทุกประชาชาติ และเราได้นำเจ้ามาเป็นพยานแก่พวกเหล่านี้” (อัน-นิสาอ์ : 41)
ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็กล่าวว่า “พอแล้วแค่นี้ “ฉันหันมามองท่าน ปรากฏว่าดวงตาทั้งสองของท่านนองด้วยน้ำตา (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 5050 และมุสลิม : 700)

2. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัล-ชิคคีร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :
 
رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُصَلِّي وَفِي صَدْرِهِ أَزِيزٌ كَأَزِيزِ الرَّحٰٰى مِنَ الْبُكَاءِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ.

ความว่า “ฉันเห็นท่านรอซูล กำลังละหมาดโดยที่อกของท่านมีเสียงสะอึ้นไห้ คล้ายกับเสียงโม่แป้ง” (หะดีษ เศาะฮีหฺ, บันทึกโดยอบู ดาวูดตามสำนวนนี้ : 904 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบีดาวูด : 799 และอัน-นะสาอีย์ : 1214 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัน-นะสาอีย์ : 1156)

 


ความอดทนของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. จากอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

دَخَلْتُ عَلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ يُوعَكُ فَمَسِسْتُهُ بِيَدِي، فَقُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ، إِنَّكَ لَتُوعَكُ وَعْكًا شَدِيدًا. فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «أَجَلْ، إِنِّي أُوعَكُ كَمَا يُوعَكُ رَجُلاَنِ مِنْكُمْ». قَالَ، فَقُلْتُ : ذَلِكَ أَنَّ لَكَ أَجْرَيْنِ. فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «أَجَلْ».

ความว่า ฉันได้เข้าหาท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ในขณะที่ท่านกำลังป่วยหนัก ฉันเลยเอามือไปสัมผัสท่านด้วยมือของฉัน แล้วกล่าวว่า “โอ้ ท่านรอซูล แท้จริงแล้ว ดูท่านเจ็บปวดมาก” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงตอบว่า “ใช่ ฉันเจ็บเท่ากับพวกท่านสองคนเจ็บ” อิบนุ มัสอูด เล่าต่อว่า ฉันเลยกล่าวต่อไปว่า “ที่เป็นเช่นนี้ เพราะท่านจะได้รับผลบุญสองเท่า” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ตอบว่า “ใช่” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 5667และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 2571)

2. จากค็อบบาบ บิน อัล-อะร็อต เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

شَكَوْنَا إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهْوَ مُتَوَسِّدٌ بُرْدَةً لَهُ فِى ظِلِّ الْكَعْبَةِ، فَقُلْنَا : أَلاَ تَسْتَنْصِرُ لَنَا ؟ أَلاَ تَدْعُو لَنَا ؟. فَقَالَ : «قَدْ كَانَ مَنْ قَبْلَكُمْ يُؤْخَذُ الرَّجُلُ فَيُحْفَرُ لَهُ فِى الأَرْضِ فَيُجْعَلُ فِيهَا، فَيُجَاءُ بِالْمِنْشَارِ فَيُوضَعُ عَلَى رَأْسِهِ فَيُجْعَلُ نِصْفَيْنِ، وَيُمَشَّطُ بِأَمْشَاطِ الْحَدِيدِ مَا دُونَ لَحْمِهِ وَعَظْمِهِ، فَمَا يَصُدُّهُ ذَلِكَ عَنْ دِينِهِ، وَاللَّهِ لَيَتِمَّنَّ هَذَا الأَمْرُ، حَتَّى يَسِيرَ الرَّاكِبُ مِنْ صَنْعَاءَ إِلَى حَضْرَمَوْتَ لاَ يَخَافُ إِلاَّ اللَّهَ وَالذِّئْبَ عَلَى غَنَمِهِ، وَلَكِنَّكُمْ تَسْتَعْجِلُونَ».
 
ความว่า พวกเราได้มาร้องทุกข์ต่อท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม โดยที่ท่านกำลังตะแคงบนผ้าคลุมของท่านใต้ร่มเงาของกะอฺบะฮฺ พวกเรากล่าวว่า “ท่านจะไม่ขอความช่วยเหลือให้แก่เราหรือ ? ท่านจะไม่ขอดุอาอ์ให้แก่เราหรือ ?” ท่านรอซูลตอบว่า “เคยมีชนก่อนหน้าพวกท่านที่ถูกนำตัวไป แล้วได้มีการขุดหลุมในดินเพื่อวางตัวเขาลงไปในนั้น แล้วเลื่อยก็ถูกนำมาวางไว้บนหัวของเขา แล้วก็เลื่อยหัวของเขาจนแยกเป็นเป็นสองส่วน และเขาได้ถูกหวีผมด้วยหวีเหล็กจนกระทั่งเหลือแต่เนื้อและกระดูก แต่สิ่งนั้นก็ไม่สามารถจะหันเหเขาให้ออกจากศาสนาแต่อย่างใด ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ว่าแน่แท้ งาน(อิสลาม)นี้จะต้องลุล่วงสมบูรณ์จนกระทั่งคนขี่พาหนะสามารถจะเดินทางจากเมืองศ็อนอาอ์จนถึงเมืองหัฏเราะเมาต์(ทั้งสองเมืองอยู่ในประเทศเยเมน)ได้(อย่างปลอดภัย) โดยไม่กลัวผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ และ(ไม่กลัวสิ่งใดเลย)นอกจากแค่ว่ากลัวหมาจิ้งจอกจะมาทำร้ายฝูงแกะของเขาเท่านั้น เพียงแต่พวกเจ้าใจร้อน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 6943)

ความอารีของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวแก่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :

يَا رَسُولَ اللَّهِ هَلْ أَتَى عَلَيْكَ يَوْمٌ كَانَ أَشَدَّ مِنْ يَوْمِ أُحُدٍ؟، فَقَالَ : «لَقَدْ لَقِيتُ مِنْ قَوْمِكِ وَكَانَ أَشَدَّ مَا لَقِيتُ مِنْهُمْ يَوْمَ الْعَقَبَةِ إِذْ عَرَضْتُ نَفْسِي عَلَى ابْنِ عَبْدِ يَالِيلَ بْنِ عَبْدِ كُلاَلٍ فَلَمْ يُجِبْنِي إِلَى مَا أَرَدْتُ، فَانْطَلَقْتُ وَأَنَا مَهْمُومٌ عَلَى وَجْهِي فَلَمْ أَسْتَفِقْ إِلاَّ بِقَرْنِ الثَّعَالِبِ، فَرَفَعْتُ رَأْسِي فَإِذَا أَنَا بِسَحَابَةٍ قَدْ أَظَلَّتْنِي، فَنَظَرْتُ فَإِذَا فِيهَا جِبْرِيلُ فَنَادَانِي فَقَالَ : إِنَّ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ قَدْ سَمِعَ قَوْلَ قَوْمِكَ لَكَ وَمَا رَدُّوا عَلَيْكَ، وَقَدْ بَعَثَ إِلَيْكَ مَلَكَ الْجِبَالِ لِتَأْمُرَهُ بِمَا شِئْتَ فِيهِمْ». قَالَ : فَنَادَانِي مَلَكُ الْجِبَالِ وَسَلَّمَ عَلَيَّ، ثُمَّ قَالَ يَا مُحَمَّدُ إِنَّ اللَّهَ قَدْ سَمِعَ قَوْلَ قَوْمِكَ لَكَ وَأَنَا مَلَكُ الْجِبَالِ وَقَدْ بَعَثَنِي رَبُّكَ إِلَيْكَ لِتَأْمُرَنِي بِأَمْرِكَ، فَمَا شِئْتَ؟ إِنْ شِئْتَ أَنْ أُطْبِقَ عَلَيْهِمُ الأَخْشَبَيْنِ». فَقَالَ لَهُ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «بَلْ أَرْجُو أَنْ يُخْرِجَ اللَّهُ مِنْ أَصْلاَبِهِمْ مَنْ يَعْبُدُ اللَّهَ وَحْدَهُ لاَ يُشْرِكُ بِهِ شَيْئًا».

ความว่า โอ้ ท่านรอซูล ท่านเคยเจอวันใดที่หนักยิ่งกว่าวันสงครามอุหุดไหม? ท่านตอบว่า “แท้จริงแล้ว ฉันเคยเจอกับ(การต่อต้าน)จากเผ่าพันธุ์(กุเรชมักกะฮฺที่ปฏิเสธศรัทธา)พวกของเจ้า และที่รุนแรงที่สุดที่ฉันได้รับ (การต่อต้าน) จากพวกเขาก็คือในวันอัล-อะเกาะบะฮฺ ตอนที่ฉันเสนอตัวฉันต่อบุตรอิบนุ อับดิยาลีล บินอับดิกุลาล (คือ ผู้กว้างขวางแห่งเมืองฏออิฟคนหนึ่ง เป็นชาวอาหรับเผ่าษะกีฟ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนเชาวาล ปีที่ 10 ของการประกาศศาสนาอิสลามที่มักกะฮฺ หลังจากการเสียชีวิตของอบู ฏอลิบ และท่านหญิงเคาะดีญะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ภริยาผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่อิสลาม, ดู ฟัตหุล บารีย์ : 6/363 – ผู้แปล)  แล้วเขาไม่ตอบรับต่อข้อเรียกร้องของฉัน แล้วฉันก็ผละตัวออกไปด้วยใบหน้าที่เศร้าหมอง แล้วฉันก็มาหยุดที่ควน “ก็อรนุลซะอาลิบ” ฉันจึงเงยศีรษะขึ้นและพบว่าฉันได้ถูกเมฆก้อนหนึ่งลอยมาบัง ฉันจึงเพ่งมองออกไป ปรากฏว่ามีมลาอิกะฮฺญิบรีลอยู่ในนั้น ท่านเรียกฉันและบอกว่า ’แท้จริง อัลลอฮฺทรงได้ยินคำพูดของกลุ่มชนพวกท่าน(พวกกุเรชที่ปฏิเสธศรัทธา)ต่อท่าน และสิ่งที่พวกเขาต่อต้านท่าน และพระองค์ทรงส่งมลาอิกะฮฺที่คอยดูแลภูเขาเพื่อให้ท่านสั่งการให้เขาทำสิ่งที่ท่านประสงค์ต่อพวกเขาเหล่านั้น‘”

ท่านรอซูลเล่าต่อว่า “แล้วมะลาอิกะฮฺภูเขาก็เรียกฉันและให้สลามแก่ฉัน แล้วกล่าวว่า ‘โอ้ มุหัมมัด แท้จริงอัลลอฮฺทรงได้ยินคำพูดของกลุ่มชนของท่านต่อท่าน และข้าคือมลาอิกะฮฺที่คอยดูแลภูเขา ซึ่งพระผู้อภิบาลของท่านได้ส่งตัวข้าให้ท่านสั่งข้าในงานของท่าน แล้วท่านต้องการอะไร? หากท่านต้องการให้ฉันนำสองภูเขามาทับพวกเขา(ฉันก็จะทำ)’ ท่านรอซูล ตอบว่า : “ทว่าฉันหวังว่าอัลลอฮฺจะให้กำเนิดทายาทของพวกเขาที่กราบไหว้อัลลอฮฺแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ตั้งภาคีใดๆ กับพระองค์ออกมาจากก้นหลัง(หมายถึงที่กำเนิดอสุจิในร่างกายมนุษย์-ผู้แปล) ของพวกเขา”  (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 3231 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 1795)

 

ความยุติธรรมของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

มีรายงานจากท่านหญิงอาชิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ว่า :

أَنَّ قُرَيْشًا أَهَمَّهُمْ شَأْنُ الْمَرْأَةِ الْمَخْزُومِيَّةِ الَّتِي سَرَقَتْ...وفيه: فَكَلَّمَهُ أُسَامَةُ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : «أَتَشْفَعُ فِى حَدٍّ مِنْ حُدُودِ اللَّهِ». ثُمَّ قَامَ فَاخْتَطَبَ ، ثُمَّ قَالَ : «إِنَّمَا أَهْلَكَ الَّذِينَ قَبْلَكُمْ أَنَّهُمْ كَانُوا إِذَا سَرَقَ فِيهِمُ الشَّرِيفُ تَرَكُوهُ، وَإِذَا سَرَقَ فِيهِمُ الضَّعِيفُ أَقَامُوا عَلَيْهِ الْحَدَّ، وَأَيْمُ اللَّهِ، لَوْ أَنَّ فَاطِمَةَ بِنْتَ مُحَمَّدٍ سَرَقَتْ لَقَطَعْتُ يَدَهَا».
 
ความว่า ชาวกุร็อยชฺต่างพากันเป็นห่วงกรณีผู้หญิงตระกูลมัคซูมที่ขโมยของ ...(พวกเขาจึงไปขอร้องให้อุสามะฮฺ บิน ซัยด์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ช่วยพูดกับท่านนบีเพื่อไม่ให้ท่านลงโทษตัดมือ) อุสามะฮฺ บิน ซัยด์ ก็ไปพูด ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าว(ตำหนิ)ว่า “เจ้าจะมาให้ความช่วยเหลือในบทลงโทษที่เป็นบทบัญญัติของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ ?” หลังจากนั้นท่านก็ได้ลุกขึ้นกล่าวเทศนาและกล่าวว่า “แท้จริงแล้ว สาเหตุที่ทำให้ชนก่อนหน้าพวกเจ้าต้องล่มสลายไปก็เพราะว่า เมื่อพวกเขาเห็นคนชั้นสูงขโมยพวกเขาก็ปล่อยตัว แต่เมื่อคนธรรมดาต้อยต่ำขโมยพวกเขากลับลงโทษ ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ หากว่า ฟาฏิมะฮฺ บุตรสาวของมุหัมมัดขโมย แน่นอนฉันก็จะตัดมือนา“ (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 3475 และมุสลิม : 1688)

 

ความสมถะของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«اللَّهُمَّ ارْزُقْ آلَ مُحَمَّدٍ قُوتًا»

ความว่า “โอ้อัลลอฮฺ ขอทรงโปรดประทานริซกีแก่ครอบครัวของมุหัมมัดเป็น(แค่เพียง)อาหารหลักด้วยเถิด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6460 และมุสลิม : 1055)

2. จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า :

مَا شَبِعَ آلُ مُحَمَّدٍ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مُنْذُ قَدِمَ الْمَدِينَةَ مِنْ طَعَامِ بُرٍّ ثَلاَثَ لَيَالٍ تِبَاعًا حَتَّى قُبِضَ.

ความว่า “ครอบครัวของนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยกินอิ่มจากอาหารแป้งสามคืนติดต่อกันเลย นับตั้งแต่ระยะเวลาที่ท่านมาอยู่มะดีนะฮฺจนถึงท่านเสียชีวิต” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 5416 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 2970)

3. อุรวะฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้รายงานจากอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่านางได้กล่าวว่า :

وَاللَّهِ يَا ابْنَ أُخْتي إِنْ كُنَّا لَنَنْظُرُ إِلَى الْهِلاَلِ، ثُمَّ الْهِلاَلِ، ثُمَّ الْهِلاَلِ، ثَلاَثَةَ أَهِلَّةٍ فِى شَهْرَيْنِ وَمَا أُوقِدَ فِى أَبْيَاتِ رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ نَارٌ، - قَالَ – قُلْتُ : يَا خَالَةُ، فَمَا كَانَ يُعَيِّشُكُمْ؟، قَالَتِ : الأَسْوَدَانِ التَّمْرُ وَالْمَاءُ، إِلاَّ أَنَّهُ قَدْ كَانَ لِرَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ جِيرَانٌ مِنَ الأَنْصَارِ، وَكَانَتْ لَهُمْ مَنَائِحُ، فَكَانُوا يُرْسِلُونَ إِلَى رَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مِنْ أَلْبَانِهَا فَيَسْقِينَاهُ.

ความว่า “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ โอ้ หลานของฉัน ว่าเคยมีบางครั้งที่เราต้องเฝ้ามองจันทร์เสี้ยว แล้วก็จันทร์เสี้ยว แล้วก็จันทร์เสี้ยวถึงสามจันทร์เสี้ยวเป็นเวลาสองเดือนเต็มโดยที่ไม่มีการก่อไฟเพื่อปรุงอาหารในบ้าน ของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เลย” อุรวะฮฺเล่าต่อว่า ฉันเลยถามว่า “โอ้ ท่านน้า แล้วพวกท่านประทังชีพอยู่กับอะไรกัน ?” นางตอบว่า “กับสองสิ่งดำ คือ ผลอินทผลัมและน้ำ เพียงแต่ว่า เพื่อนบ้านชาวอันศอรของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  เขามีอูฐที่เช่าไว้สำหรับการรีดนมเป็นการเฉพาะ โดยพวกเขาส่งนมมาให้ท่านรอซูล แล้วท่านก็แจกให้พวกเราดื่ม” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 2567 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 2972)

4. จากอัมร์ บิน อัล-หาริษ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

مَا تَرَكَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ دِينَارًا، وَلاَ دِرْهَمًا، وَلاَ عَبْدًا، وَلاَ أَمَةً، إِلاَّ بَغْلَتَهُ الْبَيْضَاءَ الَّتِي كَانَ يَرْكَبُهَا، وَسِلاَحَهُ، وَأَرْضًا جَعَلَهَا لاِبْنِ السَّبِيلِ صَدَقَةً. 

ความว่า “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่ได้ทิ้งมรดกไว้แม้แต่หนึ่งดีนาร์ หรือหนึ่งดิรฮัม ไม่มี(แม้กระทั่ง)ทาสชายหรือทาสหญิง นอกจากลาสีขาวของท่านที่ท่านใช้มันขี่ และอาวุธของท่าน และที่ดินแปลงหนึ่งที่ท่านได้บริจาคเป็นทานแก่คนเดินทาง” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 4461)

 

ความเป็นกันเองของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

إِنْ كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَيُخَالِطُنَا حَتَّى يَقُولَ لأَخٍ لِي صَغِيرٍ : «يَا أَبَا عُمَيْرٍ مَا فَعَلَ النُّغَيْرُ».

ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้น ชอบที่จะคลุกคลีอย่างเป็นกันเองกับพวกเรามาก ถึงขนาดท่านได้ทักทายน้องชายคนเล็กของฉันว่า “โอ้ พ่อ อุมัยร์ นกน้อยนุฆ็อยร์ได้ทำอะไรบ้างล่ะ ?” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6129 และมุสลิม : 2150)

 

ความเมตตาสงสารของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ต่อประชาชาติของท่าน

1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า :

«لَقَدْ جَاءَكُمْ رَسُولٌ مِنْ أَنْفُسِكُمْ عَزِيزٌ عَلَيْهِ مَا عَنِتُّمْ حَرِيصٌ عَلَيْكُمْ بِالْمُؤْمِنِينَ رَءُوفٌ رَحِيمٌ»

ความว่า “แท้จริงรอซูลคนหนึ่งจากหมู่พวกเจ้าได้มาถึงพวกเจ้าแล้ว ซึ่งสิ่งที่เจ้าระกำลำบากนั้นทำให้เขาหนักใจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งเขายังหวังดีต่อพวกเจ้า และยังเป็นผู้มีเมตตา ผู้กรุณาสงสารต่อบรรดาผู้ศรัทธา” (อัต-เตาบะฮฺ : 128)

2. จากญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«مَثَلِي وَمَثَلُكُمْ كَمَثَلِ رَجُلٍ أَوْقَدَ نَارًا، فَجَعَلَ الْجَنَادِبُ وَالْفَرَاشُ يَقَعْنَ فِيهَا وَهُوَ يَذُبُّهُنَّ عَنْهَا، وَأَنَا آخِذٌ بِحُجَزِكُمْ عَنِ النَّارِ وَأَنْتُمْ تَفَلَّتُونَ مِنْ يَدِي»

ความว่า “อุปมาฉันกับพวกท่านนั้นเป็นเสมือนชายคนหนึ่งที่จุดไฟกองหนึ่ง แล้วแมลงเม่าและผี้เสื้อก็บินเข้ามาตกลงในเปลวไฟ ในขณะที่เขารีบปัดป้องมันให้พ้นจากเปลวไฟนั้น และฉันคือผู้กระชากปมผ้ารัดเอวของพวกท่านให้รอดพ้นจากไฟนรก ในขณะที่พวกท่านต่างพยายามดิ้นรนให้หลุดออกจากมือฉัน” (บันทึกโดยมุสลิม : 2285)

 

ความโกรธของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ต่อสิ่งที่ผิดกับหลักการของอัลลอฮฺ

1. จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา กล่าวว่า :

دَخَلَ عَلَيَّ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَفِى الْبَيْتِ قِرَامٌ فِيهِ صُوَرٌ، فَتَلَوَّنَ وَجْهُهُ، ثُمَّ تَنَاوَلَ السِّتْرَ فَهَتَكَهُ، وَقَالَتْ : قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ «مِِنْ أَشَدِّ النَّاسِ عَذَابًا يَوْمَ الْقِيَامَةِ الَّذِينَ يُصَوِّرُونَ هَذِهِ الصُّوَرَ».

ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เข้ามาหาฉัน โดยในบ้านมีผ้าม่านหยาบๆ ที่มีรูปเขียนติดอยู่ สีหน้าท่านจึงเปลี่ยนไป แล้วท่านก็จับผ้าม่านและฉีกมันออก นางเล่าต่อว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “ในบรรดาผู้ที่ถูกทรมานหนักที่สุดในวันกิยามัต คือ บรรดาคนที่เขียนรูปพวกนี้” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6109 และมุสลิม : 2107)

2. จากอิบนุ มัสอูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

أَتَى رَجُلٌ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ : إِنِّي لأَتَأَخَّرُ عَنْ صَلاَةِ الْغَدَاةِ مِنْ أَجْلِ فُلاَنٍ مِمَّا يُطِيلُ بِنَا، قَالَ: فَمَا رَأَيْتُ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَطُّ أَشَدَّ غَضَبًا فِى مَوْعِظَةٍ مِنْهُ يَوْمَئِذٍ، قَالَ : فَقَالَ : « يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنَّ مِنْكُمْ مُنَفِّرِينَ، فَأَيُّكُمْ مَا صَلَّى بِالنَّاسِ فَلْيَتَجَوَّزْ، فَإِنَّ فِيهِمُ الْمَرِيضَ وَالْكَبِيرَ وَذَا الْحَاجَةِ »  

ความว่า มีชายคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และกล่าวว่า “แท้จริงฉันจะไปละหมาดศุบห์ช้าเพราะสาเหตุจากอิมามคนหนึ่งที่ยืน(ละหมาด)นานกับพวกเรา” อิบนุ มัสอูดเล่าต่อว่า แล้วฉันก็ไม่เคยเห็นท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม มีอาการโกรธในการตักเตือนมากที่สุดยิ่งไปกว่าวันนั้น ซึ่งท่านกล่าวว่า “โอ้ ผู้คนทั้งหลาย แท้จริงในหมู่พวกท่านมีผู้ที่ทำให้ผู้อื่นเตลิดหนี ดังนั้น ผู้ใดก็ตามที่นำละหมาดแก่คนอื่น เขาก็จงทำให้รวบรัด เพราะในหมู่พวกเขามีคนป่วย คนชรา และผู้ที่มีธุระอยู่ด้วย “ (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6110 และมุสลิม : 466)

 

ความเมตตาปรานีของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. จากอบู เกาะตาดะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

خَرَجَ عَلَيْنَا النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَأُمَامَةُ بِنْتُ أَبِى الْعَاصِ عَلَى عَاتِقِهِ، فَصَلَّى فَإِذَا رَكَعَ وَضَعَهَا، وَإِذَا رَفَعَ رَفَعَهَا 

ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ออกมาหาพวกเราโดยมีอุมามะฮฺ บินตุ อบิลอาศขี่อยู่บนคอของท่าน แล้วท่านก็ละหมาด เมื่อท่านโค้งตัวลงรุกูอฺ ท่านก็จะวางเธอลง และเมื่อท่านเงยหลังขึ้น ท่านก็ยกเธอขึ้น (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 5996 และมุสลิม : 543)

2. จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

قَبَّلَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْحَسَنَ بْنَ عَلِىٍّ وَعِنْدَهُ الأَقْرَعُ بْنُ حَابِسٍ التَّمِيمِىُّ جَالِسًا . فَقَالَ الأَقْرَعُ إِنَّ لِي عَشَرَةً مِنَ الْوَلَدِ مَا قَبَّلْتُ مِنْهُمْ أَحَدًا . فَنَظَرَ إِلَيْهِ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثُمَّ قَالَ « مَنْ لاَ يَرْحَمُ لاَ يُرْحَمُ » 

ความว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้จูบอัล-หะสัน บิน อะลี โดยมีอัล-อักเราะอฺ บินหาบิส อัลตะมีมีย์ นั่งอยู่ด้วย อัล-อักเราะอฺพูดขึ้นว่า “ฉันมีลูกสิบคน ซึ่งฉันไม่เคยจูบพวกเขาเลยแม้แต่คนเดียว” ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  จึงจ้องมองไปที่เขา แล้วกล่าวว่า “ผู้ใดไม่ปรานี (ต่อผู้อื่น) เขาก็จะไม่ได้รับการปรานี(จากอัลลอฮฺ)” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 5997 และมุสลิม : 2318)

3. มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«إِذَا صَلَّى أَحَدُكُمْ لِلنَّاسِ فَلْيُخَفِّفْ، فَإِنَّ مِنْهُمُ الضَّعِيفَ وَالسَّقِيمَ وَالْكَبِيرَ، وَإِذَا صَلَّى أَحَدُكُمْ لِنَفْسِهِ فَلْيُطَوِّلْ مَا شَاءَ» 

ความว่า “เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดได้ละหมาดนำผู้อื่น เขาจงละหมาดให้สั้นๆ เพราะในหมู่คนเหล่านั้นมีผู้อ่อนแอ คนป่วย และคนชรา แต่เมื่อเขาละหมาดเพื่อตัวเขาเอง (ละหมาดคนเดียว) เขาก็จงละหมาดนานๆตามแต่เขาประสงค์” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 703 และมุสลิม : 467)

4. ความปรานีของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่มีต่อคนรับใช้  ท่านกล่าวถึงคนรับใช้ว่า :

«هُمْ إِخْوَانُكُمْ، جَعَلَهُمُ اللَّهُ تَحْتَ أَيْدِيكُمْ، فَأَطْعِمُوهُمْ مِمَّا تَأْكُلُونَ، وَأَلْبِسُوهُمْ مِمَّا تَلْبَسُونَ، وَلاَ تُكَلِّفُوهُمْ مَا يَغْلِبُهُمْ، فَإِنْ كَلَّفْتُمُوهُمْ فَأَعِينُوهُمْ» .

ความว่า “พวกเขาคือพี่น้องของท่าน ซึ่งอัลลอฮฺได้ทำให้พวกเขาอยู่ใต้อำนาจของท่าน ดังนั้น พวกท่านจงให้เขาได้กินในสิ่งที่พวกท่านกิน และจงสวมเสื้อผ้าให้พวกเขาในสิ่งที่พวกท่านสวมใส่ และจงอย่าได้ใช้งานพวกเขาในสิ่งที่เกินความสามารถของพวกเขา และหากพวกท่านจำเป็นต้องใช้พวกเขาให้ทำงานหนัก พวกท่านก็จงช่วยเหลือพวกเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 30 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 1661)

5. ความปรานีของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่มีต่อเหล่าศัตรูของอิสลาม  จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านได้กล่าวว่า :

كَانَ غُلاَمٌ يَهُودِىٌّ يَخْدُمُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَمَرِضَ، فَأَتَاهُ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَعُودُهُ، فَقَعَدَ عِنْدَ رَأْسِهِ فَقَالَ لَهُ « أَسْلِمْ » . فَنَظَرَ إِلَى أَبِيهِ وَهْوَ عِنْدَهُ فَقَالَ لَهُ : أَطِعْ أَبَا الْقَاسِمِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ . فَأَسْلَمَ ، فَخَرَجَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ يَقُولُ «الْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِى أَنْقَذَهُ مِنَ النَّارِ». 

ความว่า มีเด็กชายชาวยิวคนหนึ่งที่เคยรับใช้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ล้มป่วย ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงไปเยี่ยมเขา ท่านได้นั่งอยู่ตรงศีรษะและกล่าวกับเขาว่า “จงรับอิสลามเถิด” เด็กคนนั้นจึงมองไปยังบิดาซึ่งอยู่ใกล้ ๆ เขา บิดาของเด็กคนนั้นก็ได้กล่าวขึ้นว่า “เจ้าจงเชื่อฟังอบุลกอซิม(หมายถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม) เถอะ” เด็กจึงยอมรับอิสลาม จากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ออกมาพร้อมกับกล่าวว่า “ขอบคุณอัลลอฮฺ ผู้ทรงช่วยเหลือเขาให้รอดพ้นจากไฟนรก” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 1356)

 

สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

 ตอนที่ 1>>>>Click