มารยาทและคุณลักษณะนิสัยที่ดี
  จำนวนคนเข้าชม  67425


 

มารยาทและคุณลักษณะนิสัยที่ดี

 

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

 

ความประเสริฐและคุณค่าของการมีอุปนิสัยที่ดี

 

1. พระองค์อัลลอฮฺ ได้กล่าวชื่นชมท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :

«وَإِنَّكَ لَعَلى خُلُقٍ عَظِيمٍ»

ความว่า “และแท้จริงเจ้านั้นคือผู้ที่ตั้งมั่นอยู่บนอุปนิสัยอันยิ่งใหญ่”   (อัล-เกาะลัม : 4)

2. ท่านอบู อัด-ดัรดาอ์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :

«مَا مِنْ شَىْءٍ أَثْقَلُ فِى الْمِيزَانِ مِنْ حُسْنِ الْخُلُقِ»

ความว่า : ไม่มีสิ่งใดที่จะหนักตาชั่ง(ความดีชั่วในวันกิยามัต) ยิ่งไปกว่าการมีอุปนิสัยที่ดี (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบู ดาวูดตามสำนวนนี้ : 4799 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อบี ดาวูด : 4014, อัต-ติรมิซีย์ : 2002 ดู เศาะฮีหฺ สุนัน อัต-ติรมิซีย์ : 1629)

3. จากอัมร์ บิน ชุอัยบฺ จากบิดาของท่าน จากปู่ของท่าน ท่านกล่าวว่า :  ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  ได้กล่าวว่า :

«أَلاَ أُخْبِرُكُمْ بِأَحَبِّكُمْ إِلَيَّ، وَأَقْرَبِكُمْ مِنِّى مَجْلِساً يَوْمَ الْقِيَامَةِ ». فَسَكَتَ الْقَوْمُ فَأَعَادَهَا مَرَّتَيْنِ أَوْ ثَلاَثاً قَالَ الْقَوْمُ : نَعَمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ. قَالَ «أَحْسَنُكُمْ خُلُقاً»

ความว่า “เอาไหม ฉันจะบอกพวกท่านว่าใครคือคนที่ฉันรักมากที่สุด และจะได้อยู่ใกล้ชิดกับฉันมากที่สุดในวันกิยามะฮฺ ?” พวกเขานิ่งเงียบ ท่านจึงกล่าวทวนอีกสองหรือสามครั้ง พวกเขาตอบว่า “ได้ โอ้ท่านผู้เป็นรอซูลแห่งอัลลอฮฺ” ท่านจึงกล่าวว่า  “คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยดีที่สุดในหมู่พวกเจ้า” (หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด : 6735 ดู อัส-สิลสิละฮฺ อัศ-เศาะฮีหะฮฺ : 206)

 

มุอ์มินที่มีอีมานสมบูรณ์ที่สุด คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยดีที่สุด    

       และด้วยอุปนิสัยที่ดีของมุอ์มิน ทำให้เขาสามารถบรรลุถึงระดับผู้ถือศีลอดและยืนละหมาดกลางคืน มนุษย์ที่ดีที่สุด คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยดีที่สุด  และมุอ์มินที่ประเสริฐที่สุด  คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยดีที่สุด และจากจุดนี้จึงถือว่า การแสวงหาอุปนิสัยที่ดีงามนั้น ประเสริฐกว่าการแสวงหาทรัพย์สินเงินทอง

จากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«النَّاسُ مَعَادِنُ كَمَعَادِنِ الْفِضَّةِ وَالذَّهَبِ، خِيَارُهُمْ فِى الْجَاهِلِيَّةِ خِيَارُهُمْ فِى الإِسْلاَمِ إِذَا فَقُهُوا، وَالأَرْوَاحُ جُنُودٌ مُجَنَّدَةٌ، فَمَا تَعَارَفَ مِنْهَا ائْتَلَفَ، وَمَا تَنَاكَرَ مِنْهَا اخْتَلَفَ ».

ความว่า “มนุษย์เปรียบเหมือนแร่ธาตุในดินเช่นเดียวกับแร่เงินและแร่ทอง(หมายถึงต้นกำเนิด ถ้าใครที่ต้นกำเนิดดีก็มักจะดีเรื่อยไป) ผู้ที่ดีที่สุดในสมัยญาฮิลียะฮฺก็(มัก)จะเป็นผู้ที่ดีที่สุดในสมัยอิสลามเมื่อเขาได้เข้าใจ(ในอิสลาม) และดวงวิญญาณของมนุษย์นั้นเปรียบเสมือนเหล่าทหารที่ถูกจัดระเบียบให้เป็นกองพัน(ที่แตกต่างกัน) ดังนั้น อันไหนที่มันรู้จักและคุ้นเคยมันก็จะรวมกัน แต่อันไหนที่มันไม่รู้จักและคุ้นเคยมันก็จะไม่เข้ากัน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 3336, 3493 และ มุสลิมตามสำนวนนี้ : 2638)

 

มนุษย์ที่มีอุปนิสัยงามที่สุด    

       วิธีที่ประเสริฐที่สุด ง่ายที่สุด และสะดวกที่สุดในการประดับกายด้วยอุปนิสัยที่ดี คือ การปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ผู้ซึ่งมีอัลกุรอานเป็นลักษณะนิสัย ท่านเป็นผู้ที่มีรูปร่างที่งามสง่าที่สุดและมีอุปนิสัยดีที่สุด ท่านบริจาคให้กับผู้ที่ตระหนี่กับท่าน ท่านให้อภัยต่อผู้ที่ทำร้ายท่าน ท่านเชื่อมสัมพันธ์กับผู้ที่ตัดขาดกับท่าน และท่านทำดีต่อผู้ที่ทำชั่วแก่ท่าน สิ่งเหล่านี้คือรากฐานของอุปนิสัยที่ดี ดังนั้นเราจึงต้องปฏิบัติตามท่านในทุกๆ อิริยาบทของท่าน ยกเว้นในสิ่งที่อัลลอฮฺได้เจาะจงเป็นการส่วนตัวสำหรับท่าน ซึ่งเป็นสิ่งที่สงวนสำหรับท่านเท่านั้น ไม่มีผู้ใดสามารถมีส่วนเกี่ยวโยงพัวพันได้ เช่น ความเป็นนบี การรับวะห์ยู การมีภรรยามากกว่าสี่คน และการห้ามมิให้ผู้ใดแต่งงานกับภรรยาของท่านหลังจากท่านเสียชีวิต การห้ามรับประทานจากของบริจาค การไม่มีมรดกตกทอดแก่ทายาท และสิ่งอื่นๆ ที่เราต่างทราบเป็นอย่างดี

          ในบทนี้ ได้นำเสนออุปนิสัยหลักๆ ที่สำคัญที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เรียกร้องให้ปฏิบัติและท่านเองได้แสดงเป็นตัวอย่างเพื่อให้ชาวมุสลิมทุกคนได้ปฏิบัติตามเป็นอาภรณ์ประดับกาย

1. อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า :

«لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِمَنْ كَانَ يَرْجُو اللَّهَ وَالْيَوْمَ الآخِرَ وَذَكَرَ اللَّهَ كَثِيرًا»

ความว่า “แท้จริงแล้วในตัวของท่านรอซูลนั้นมีแบบอย่างที่ดีสำหรับผู้ที่หวัง(จะพบกับ)พระองค์อัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ และได้รำลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺอย่างมากมาย” (อัล-อะห์ซาบ : 21)

2. พระองค์ยังได้ตรัสว่า :

«خُذِ الْعَفْوَ وَأْمُرْ بِالْعُرْفِ وَأَعْرِضْ عَنِ الْجَاهِلِينَ»

ความว่า “เจ้า(มุหัมมัด)จงยึดถือไว้ซึ่งการอภัย และจงใช้ให้(ประชาชาติของเจ้า)กระทำในสิ่งที่ดี และจงหลีกห่างจากพวกเบาปัญญาทั้งหลาย” (อัล-อะอฺรอฟ : 199)

 

  

ความมีอุปนิสัยงามของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. อัลลอฮฺได้ตรัสว่า : 

«وَإِنَّكَ لَعَلى خُلُقٍ عَظِيمٍ»

ความว่า “และแท้จริงเจ้านั้นคือผู้ที่ตั้งมั่นอยู่บนอุปนิสัยอันยิ่งใหญ่” (อัลเกาะลัม : 4)
 
2. จากอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

لَمْ يَكُنْ النبيُّ فَاحِشًا وَلاَ مُتَفَحِّشًا، وَقَالَ: قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ «إِنَّ مِنْ أَخْيَرِكُمْ أَحْسَنَكُمْ خُلُقًا»

 ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยเป็นคนหยาบช้าและไม่เคยเป็นคนที่พูดจาหยาบคาย และท่านกล่าวได้ว่า “แท้จริง ผู้ที่ดีที่สุดในหมู่สูเจ้า คือ ผู้ที่มีอุปนิสัยดีที่สุด” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 3559 และมุสลิม : 2321)

          “ไม่เป็นคนหยาบช้า” หมายถึง มีลักษณะนิสัยเป็นคนพูดจาสุภาพนุ่มนวลมาตั้งแต่กำเนิด  ส่วน “ไม่เคยเป็นคนพูดหยาบคาย” หมายถึง ไม่เคยเกิดอารมณ์ฉุนเฉียวในบางโอกาส จนกระทั่งพลั้งปล่อยคำพูดที่หยาบคาย ซึ่งเป็นคุณลักษณะสมบูรณ์ที่สุดที่มนุษย์ธรรมดาเกือบจะไม่มี เพราะคนที่มีถ้อยวาจาสุภาพนุ่มนวลส่วนใหญ่ มักมีบางโอกาสที่เขาอารมณ์เสียและใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ หรือหยาบคาย  (ดูคำอธิบายหะดีษใน ฟัตหุลบารีย์ – ผู้แปล)

3. จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านได้กล่าวว่า :

خَدَمْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَشْرَ سِنِينَ ، فَمَا قَالَ لِى أُفٍّ، وَلاَ لِمَ صَنَعْتَ، وَلاَ أَلاَّ صَنَعْتَ.

ความว่า ฉันได้รับใช้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม สิบปี (ตลอดเวลาสิบปีนั้น) ท่านไม่เคยกล่าวกับฉันว่า “อุฟ” (คำสบถที่แสดงออกถึงความเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ) หรือ “เจ้าทำทำไม(แบบนี้)?” หรือ “เจ้าน่าจะทำ(แบบนี้)?” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6038 และมุสลิม : 2309)

ความใจบุญของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. ท่านญาบิร ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :
 
مَا سُئِلَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَنْ شَىْءٍ قَطُّ فَقَالَ : لاَ.

ความว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่เคยถูกร้องขอสิ่งใดแม้แต่สิ่งเดียว แล้วท่านตอบว่า “ไม่” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6034, มุสลิม : 2311)

2. จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านได้กล่าวว่า :

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ، وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِى رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ جِبْرِيلُ، وَكَانَ يَلْقَاهُ فِى كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ رَمَضَانَ فَيُدَارِسُهُ الْقُرْآنَ، فَلَرَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدُ بِالْخَيْرِ مِنَ الرِّيحِ الْمُرْسَلَةِ.
 
ความว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นคนที่เอื้อเฟื้อมากที่สุด และท่านจะเอื้อเฟื้อมากยิ่งไปอีกในช่วงที่มลาอิกะฮฺญิบรีลมาพบท่านในเดือนเราะมะฎอน โดยเขาจะมาพบท่านในทุกค่ำคืนของเดือนเราะมะฎอน แล้วญิบรีลก็จะศึกษาทบทวนอัลกุรอานกับท่าน และแท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้นเป็นคนที่เอื้อเฟื้อความดี(ใจบุญอย่างกว้างขวาง)มากมายยิ่งกว่าลมที่หอบพัดเสียอีก (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6 และมุสลิม : 2308) 

3. จากอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านได้กล่าวว่า :

مَا سُئِلَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى الإِسْلاَمِ شَيْئًا إِلاَّ أَعْطَاهُ - قَالَ - فَجَاءَهُ رَجُلٌ فَأَعْطَاهُ غَنَمًا بَيْنَ جَبَلَيْنِ فَرَجَعَ إِلَى قَوْمِهِ فَقَالَ يَا قَوْمِ أَسْلِمُوا فَإِنَّ مُحَمَّدًا يُعْطِى عَطَاءً لاَ يَخْشَى الْفَاقَةَ.

ความว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ไม่ถูกขอสิ่งใดในการเข้ารับอิสลาม นอกจากท่านจะให้มัน อะนัสยังได้กล่าวต่อไปว่า มีชายคนหนึ่งมาหา ท่านเลยให้ฝูงแพะที่อยู่ระหว่างสองเนินเขาแก่เขา เขาเลยกลับไปหากลุ่มชนของเขาและบอกว่า “โอ้พรรคพวกเอ๋ย พวกท่านจงเข้ารับอิสลามเถิด เพราะแท้จริงนั้น มุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ให้สิ่งของในลักษณะที่เขาไม่กลัวจะเกิดความยากจนเลย” (บันทึกโดยมุสลิม : 2312)

  

ความละอายของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

จากอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَشَدَّ حَيَاءً مِنَ الْعَذْرَاءِ فِي خِدْرِهَا، فَإِذَا رَأَى شَيْئًا يَكْرَهُهُ عَرَفْنَاهُ فِي وَجْهِهِ.

ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นผู้ที่ละอายยิ่งกว่าหญิงสาวที่อยู่หลังม่านเสียอีก ซึ่งเมื่อท่านเห็นสิ่งใดที่ไม่พอใจ เราจะทราบได้จากสีหน้าของท่าน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ตามสำนวนนี้ : 6102 และมุสลิม : 2320)

 

 ความถ่อมตัวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม  

1. จากอุมัร บิน อัล-ค็อฏฏอบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านกล่าวว่า :

 
سَمِعْتُ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ : «لاَ تُطْرُونِي كَمَا أَطْرَتِ النَّصَارَى ابْنَ مَرْيَمَ ، فَإِنَّمَا أَنَا عَبْدُهُ ، فَقُولُوا عَبْدُ اللَّهِ وَرَسُولُهُ».

ความว่า ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “พวกเจ้าจงอย่ากล่าวยกย่องฉัน (จนเกินเลย) อย่างที่ชาวคริสเตียนได้ยกย่อง(อีซา)บุตรของนางมัรยัม เพราะแท้จริง ฉันนี้คือบ่าวของพระองค์ ดังนั้น พวกท่านจงกล่าวว่า ’บ่าวของอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์’” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 3445)

2. มีรายงานจากท่านอะนัส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่า :

أَنَّ امْرَأَةً كَانَ فِى عَقْلِهَا شَيءٌ فَقَالَتْ يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّ لِي إِلَيْكَ حَاجَةً فَقَالَ «يَا أُمَّ فُلاَنٍ انْظُرِي أَيَّ السِّكَكِ شِئْتِ حَتَّى أَقْضِىَ لَكِ حَاجَتَكِ». فَخَلاَ مَعَهَا فِى بَعْضِ الطُّرُقِ حَتَّى فَرَغَتْ مِنْ حَاجَتِهَا.

ความว่า มีผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นโรคบางอย่างทางประสาทเธอได้กล่าวว่า : โอ้ ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ฉันต้องการความช่วยเหลือบางอย่างจากท่าน ท่านรอซูลจึงตอบว่า “โอ้ แม่นาง ดูสิว่าซอยไหนที่สะดวกแก่ท่านเพื่อฉันจะได้ช่วยจัดการธุระของเธอให้” แล้วท่านก็ปลีกตัวไปกับนางบนถนนบางสายจนกระทั่งนางเสร็จธุระ (บันทึกโดยมุสลิม : 3226)

3. มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า :

«لَوْ دُعِيتُ إِلَى ذِرَاعٍ أَوْ كُرَاعٍ لأَجَبْتُ، وَلَوْ أُهْدِيَ إِلَيَّ ذِرَاعٌ أَوْ كُرَاعٌ لَقَبِلْتُ»

ความว่า “หากฉันได้รับเชิญให้ไปกินแค่แข้งหรือขา(ของแกะหรือแพะ) แน่นอนฉันจะตอบรับ และหากมีคนมอบแข้งหรือขาให้แก่ฉัน แน่นอนฉันก็จะรับมันไว้” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 2568)

 

 ความกล้าหาญของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

1. จากอะนัส บิน มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ  กล่าวว่า :

 كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَحْسَنَ النَّاسِ، وَكَانَ أَجْوَدَ النَّاسِ، وَكَانَ أَشْجَعَ النَّاسِ، وَلَقَدْ فَزِعَ أَهْلُ الْمَدِينَةِ ذَاتَ لَيْلَةٍ، فَانْطَلَقَ نَاسٌ قِبَلَ الصَّوْتِ، فَتَلَقَّاهُمْ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رَاجِعًا، وَقَدْ سَبَقَهُمْ إِلَى الصَّوْتِ، وَهُوَ عَلَى فَرَسٍ لأَبِى طَلْحَةَ عُرْيٍ فِى عُنُقِهِ السَّيْفُ، وَهُوَ يَقُولُ «لَمْ تُرَاعُوا لَمْ تُرَاعُوا» قَالَ : «وَجَدْنَاهُ بَحْرًا أَوْ إِنَّهُ لَبَحْرٌ» قَالَ : «وَكَانَ فَرَسًا يُبَطَّأُ» .

ความว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นคนดีที่สุด เอื้อเฟื้อที่สุด และกล้าหาญที่สุด โดยในคืนหนึ่งชาวเมืองมะดีนะฮฺได้เกิดหวาดผวา(เนื่องจากเกิดเสียงดัง) ผู้คนจำนวนหนึ่งรีบรุดหน้าไปยังเสียงนั้น พวกเขาได้สวนทางกับท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งท่านอยู่ในขากลับแล้ว ท่านได้ไปถึงยังเสียงนั้นก่อนพวกเขา โดยได้ขี่บนหลังม้าที่เปลือยเปล่าไม่มีอานของอบู ฏ็อลหะฮฺ และที่คอของมันมีดาบเสียบอยู่ พร้อมกับกล่าวว่า “พวกท่านไม่ได้ถูกคุกคาม พวกท่านไม่ได้ถูกคุกคาม(จากศัตรู)“ ท่านรอซูลกล่าว(ถึงม้าตัวนั้น)ว่า “เราได้พบว่ามันเป็นม้าที่วิ่งเร็วมาก” ท่านยังเล่าต่ออีกว่า “(ทั้งๆที่ม้าตัวนั้น)เมื่อก่อนมันเป็นม้าที่วิ่งช้า” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 2908 และมุสลิมตามสำนวนนี้ : 2307)

2. จากอะลี เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า :

لَقَدْ رَأَيْتُنَا يَوْمَ بَدْرٍ وَنَحْنُ نَلُوذُ بِرَسُولِ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَهُوَ أَقْرَبُنَا إِلَى الْعَدُوِّ وَكَانَ مِنْ أَشَدِّ النَّاسِ يَوْمَئِذٍ بَأْساً.

ความว่า “ฉันได้เห็นพวกเราในวันสงครามบัดรฺ โดยพวกเราต่างหลบไปกำบังหลังท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ซึ่งท่านเป็นคนที่ประชิดศัตรูมากที่สุดในหมู่พวกเรา และท่านเป็นคนที่ห้าวหาญที่สุดในวันนั้น” (หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด : 654,อะห์มัด ชากีรได้บอกว่า สายรายงานหะดีษนี้ เศาะฮีหฺ)

 

สำนักงานเผยแพร่และสอนอิสลาม อัร-ร็อบวะฮฺ กรุงริยาด

 

ตอนต่อไป >>>>Click