กฏหมายอิสลามโหดร้าย จริงหรือ ?
  จำนวนคนเข้าชม  12285

 

การลงโทษทางกฏหมายในอิสลามแสดงถึงความโหดร้ายทารุณ จริงหรือ ?

 ศาสตราจารย์ ดร.มะห์มูด ฮัมดี ซักซูก

 

          อิสลามไม่ได้เป็นศาสนาที่ส่งเสริมการลงโทษด้วยวิธีการทารุณโหดร้าย ตรงกันข้ามอิสลามเป็นศาสนาที่เรียกร้องให้มีความเมตตา กรุณา ยุติธรรม และขันติธรรม ในขณะเดียวกันอิสลามประสงค์ที่จะให้มีการรักษากฏหมายและระเบียบ เพื่อพิทักษ์สิทธิเสรีภาพของแต่ละคน สิทธิดังกล่าวนั้น รวมถึงสิทธิในชีวิตและทรัพย์สิน สิทธิในการเชื่อ การแสดงออกซึ่งความคิดเห็น สิทธิในครอบครัวของตนเอง

 

          ศาสนาอิสลามบัญญัติให้มีการลงโทษ โดยได้คำนึงถึงปัจจัย 2 ประการ คือ

     ก. โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์มิใช่ผู้ที่ปราศจากความผิด และจะถูกยั่วยุให้กระทำความผิดอยู่เสมอ ดังนั้นอิสลามจึงจำเป็นต้องบัญญัติการสารภาพผิด

     ข. สมาชิกของสังคมแต่ละคน ย่อมมีสิทธิ์ที่จะใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย และมีความรู้สึกว่าตน ครอบครัว และทรัพย์สินไม่ถูกคุกคาม ดังนั้นผู้ที่มีความประพฤติเยี่ยงอาชญากร ต้องได้รับการปฏิบัติในลักษณะที่ จะทำให้สมาชิกในสังคมที่ใฝ่หาสันติใช้ชีวิตในภาวะที่ปราศจากความหวาดกลัว

 

          อิสลามมีกฏหมายอาญาลงโทษผู้กระทำความผิด โดยได้เรียกร้องให้มีการพิสูจน์อย่างแน่ชัดว่า จำเลยมีความผิดโดยปราศจากข้อสงสัยใดๆ ก่อนที่จะมีการลงโทษ นอกจากนั้นอิสลามยังเปิดโอกาสให้มีการยกฟ้องบุคคลซึ่งสำนึกผิด เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศาสดามุฮัมมัด  ได้กล่าวว่า

"พวกท่านจงพยายามหลีกเลี่ยงการลงโทษต่อมุสลิม เท่าที่สามารถทำได้ หากพวกท่านพบว่ามีทางออกก็จงปลดปล่อยเขาเสีย

ทั้งนี้สำหรับผู้พิพากษาที่ผิดพลาดในการอภัยโทษ ดีกว่าผู้พิพากษาที่ผิดพลาดในการลงโทษ"

คำพูดของศาสดามุฮัมมัด  ได้เน้นสาระในเรื่องความเมตตาและการอภัย 

          การลงโทษในเรื่องการผิดประเวณีตามกฏหมายอิสลามนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการที่รัดกุมในการปฏิบัติ เงื่อนไขดังกล่าวคือ จะต้องมีพยานรู้เห็นเหตุการณ์  ในประวัติศาสตร์อิสลามมีการลงโทษตามกฏหมายนี้เพียง 2 ครั้ง แต่การบังคับคดีได้เกิดขึ้น เพราะผู้ทำผิดรับสารภาพ ไม่ใช่เพราะมีหลักฐานการรู้เห็นของพยาน โดยศาสดามุฮัมมัด ได้พยายามให้ผู้กระทำผิดได้กลับคำให้การ แต่ผู้กระทำผิดได้ยืนยันในความผิดของตนเองกับท่าน จึงไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากจะต้องลงโทษ  ทั้งๆที่ท่านศาสดามีความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับเรื่องนี้ เนื่องจากเงื่อนไขดังกล่าวที่ยากต่อการปฏิบัติ การลงโทษตามกฏหมายนี้จึงเกิดขึ้นได้ยาก

          อิสลามไม่ได้ลงโทษการตัดมือผู้ที่ลักทรัพย์ เพื่อเลี้ยงตนเองหรือบุตรของตนที่กำลังอดอยาก ศาสนาอิสลามจะลงโทษโจรซึ่งขโมยเงิน หรือทรัพย์สินของผู้ที่ทำงานหนักในการเลี้ยงชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ขโมยแบบนั้นเป็นผู้ที่กระจายความชั่วร้ายสู่สังคม และไม่ควรที่จะได้รับความเห็นใจหรือความเมตตากรุณาจากผู้อื่น เพราะโจรนั้นไม่ได้มีความเห็นใจหรือเมตตาบุคคลที่ตนนั้นได้ขโมยมา แท้จริงนั้นอาจปรากฏว่าผู้ซึ่งเป็นเหยื่อมีความต้องการที่จะใช้ทรัพย์สินของตนเองนั้นที่ได้ถูกขโมยไป

 

          ดังนั้นทุกสังคมย่อมมีสิทธิที่จะมีกฏหมายบังคับใช้ เพื่อให้มีความปลอดภัยและความมั่นคง เมื่อมีบทบัญญัติการลงโทษแบบนี้ได้มีขึ้นในสังคมอิสลาม ทำให้การลักทรัพย์ไม่ค่อยเกิดขึ้น พ่อค้าจึงสามารถปล่อยสินค้าของตนไว้ได้โดยไม่ต้องมีคนเฝ้า คนทั่วไปสามารถเปิดประตูบ้านโดยไม่มีการปิดล็อค  และในทางตรงกันข้าม โจร ขโมยจะแพร่หลายในสังคมที่มีกฏหมายที่หละหลวม เป็นผลให้คดีลักทรัพย์เป็นปัญหาร้ายแรงที่เกิดขึ้นในสังคมทั่วไป 

 

          เหตุผลที่มีการลงโทษผู้ลักทรัพย์นั้น เพื่อที่จะให้มีความยุติธรรมในสังคม และเพื่อขจัดความยากจน

          ในช่วงปีแรกๆสมัยการปกครองของทานอุมัร บินคอตตอบ การลงโทษผู้ที่ลักทรัพย์เป็นไปด้วยความยุติธรรม เป็นผลให้คดีลักทรัพย์และปล้นสดมภ์บนเส้นทางแทบจะไม่มีเลย ดังนั้นพ่อค้าจึงเดิ นทางค้าขายจากซีเรียไปยังมักกะฮ์ ด้วยความปลอดภัย โดยไม่เกรงกลัวผู้ใดนอกจาก พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงยิงใหญ่เท่านั้น  และเพียงแต่คอยระวังฝูงแกะของตนไม่ให้ฝูงหมาป่าโจมตี ทำให้มีความเป็นเสถียรภาพ เพราะขโมย โจร ทราบดีว่าจะถูกลงโทษอย่างไร จึงจำเป็นจะต้องคิดให้ถ้วนถี่นับพันครั้งก่อนที่จะลงมือ หรือปฏิบัติการกระทำความผิดอื่นๆ ผลปรากฏว่าทำให้ไม่มีการลงโทษในเรื่องการลักทรัพย์เลย

 

          ดังนั้นควรจะตั้งคำถามว่า  อะไรจะดีกว่ากัน ? ระหว่างการมีสังคมที่อยู่อย่างสันติสุขโดยปราศจากความหวาดกลัว แม้จะมีอาชญากรถูกลงโทษเพียงเล็กน้อย หรือสังคมที่อยู่อย่างน่าสะพึงกลัว ที่มีเรือนจำเต็มไปด้วยโจรผู้ร้าย อชาญากร ดังนั้น ควรจะเห็นใจผู้ใด คนเลว หรือสมาชิกในสังคม.