การยับยั้งผู้อื่นเมื่อเขาทำความชั่ว
عن أبي سعيد الخدري
قَالَ : سَمِعت رَسُول الله
يقول : مَنْ رَأى مِنْكُمْ مُنْكَراً فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ ، فَإنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ ، فَإنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ ، وَذَلِكَ أضْعَفُالإيمَانِ
رواه مسلم
รายงานจาก อะบีสะอีด อัลคุดรีย์ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูล กล่าวว่า :
ผู้ใดทราบว่าคนหนึ่งคนใดจากพวกท่านทำชั่ว ก็จงเปลี่ยนแปลง (ยับยั้ง) ด้วยมือของเขา ถ้าหากไม่สามารถ ก็จงเปลี่ยนแปลงด้วยลิ้นของเขา ถ้าหากไม่สามารถ ก็จงเปลี่ยนแปลงด้วยหัวใจของเขา การเช่นนั้น (คือการเอาใจออกห่าง) นับเป็นการศรัทธาที่อ่อนแอที่สุด (หมายถึงไม่ค่อยได้ผล)
บันทึกโดยมุสลิม
คำอธิบาย
คำว่าความดี หมายถึงสิ่งที่ศาสนาว่าดี และสิ่งที่ตรงกันข้ามกับความดีก็คือความชั่ว ไม่ว่าจะเกิดจากตัวของเรา หรือเกิดจากคนอื่น ใครก็ตามเมื่อเขารู้ว่ามีการกระทำชั่วเกิดขึ้น ก็ให้เขารีบกำจัดความชั่วนั้นด้วยมือของเขา ถ้าหากว่ามีอำนาจพอที่จะกระทำได้ ถ้าหากไม่มีความสามารถที่จะยับยั้งด้วยมือได้ ก็ให้ยับยั้งด้วยลิ้นโดยการบอกกล่าวตักเตือนผู้นั้นให้เลิกกระทำ พร้อมกับอ้างอิงหลักฐานตามที่ศาสนาระบุไว้ให้เขาทราบ ถ้าหากว่าหมดหนทางที่จะว่ากล่าวตักเตือน ไม่ว่าจะด้วยมือหรือด้วยลิ้นแล้ว ในขั้นสุดท้ายก็ให้มีใจออกห่าง ให้โกรธ ให้เกลียดการกระทำของเขา และไม่คบค้าสมาคมกับเขาอีกต่อไป
สิ่งที่ได้รับจากหะดีษนี้
1. เมื่อทราบว่ามีผู้กระทำผิด ฝ่าฝืนบทบัญญัติศาสนา ให้เราแนะนำตักเตือนอย่างนิ่งเฉย
2. การใช้ให้ปฏิบัติความดี ห้ามกันมิให้กระทำความชั่วนั้น เป็นเรื่องที่สังคมจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน
|