กุญแจแห่งความปลอดภัย
  จำนวนคนเข้าชม  81

 

กุญแจแห่งความปลอดภัย

 

โดย....อ. อัสมัน มีสมบูรณ์

 

الحمد لله حمد الشاكرين، وأثني عليه ثناء الذاكرين، أحمده جل وعلا على منـّه وعطائه وفضله وإنعامه، وأشهد أن لا إله إلا الله وحده لا شريك له، وأشهد أن محمداً عبده ورسوله صلى الله وسلم عليه وعلى آله وصحبه أجمعين.

 

     โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย หนึ่งในความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ที่อัลลอฮ์ ประทานแก่เรา คือความปลอดภัย 

 

قال الله تعالى: ( أَوَلَمْ يَرَوْا أَنَّا جَعَلْنَا حَرَمًا آمِنًا وَيُتَخَطَّفُ النَّاسُ مِنْ حَوْلِهِمْ أَفَبِالْبَاطِلِ يُؤْمِنُونَ وَبِنِعْمَةِ اللَّهِ يَكْفُرُونَ )

 

“และพวกเขาไม่เห็นหรือว่า เราได้ทำให้เขตหะรอม (มักกะฮ์) เป็นสถานที่ที่ปลอดภัย 

ในขณะที่ผู้คนรอบข้างพวกเขาถูกลักพาตัวกันอยู่ 

แล้วพวกเขาจะยังเชื่อในเรื่องเท็จ และปฏิเสธความโปรดปรานของอัลลอฮ์กันอีกหรือ”

 

وقال الله تعالى: ( الَّذِي أَطْعَمَهُمْ مِنْ جُوعٍ وَآمَنَهُمْ مِنْ خَوْفٍ )

 

“พระองค์ผู้ทรงให้อาหารแก่พวกเขาจากความหิวโหย และประทานความปลอดภัยแก่พวกเขา จากความหวาดกลัว”

 

         ท่านทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า  ความปลอดภัยนั้น เป็นสิ่งที่จะมาคู่กับการศรัทธาเสมอ นั่นหมายความว่ารากฐานของความปลอดภัยนั้นคือการศรัทธา ยิ่งเรามีอีหม่านมากยิ่งเท่าใด เรายิ่งจะมีความปลอดภัยมากยิ่งเท่านั้น แต่เมื่ออีหม่านลดลง ความปลอดภัยก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย แต่เมื่อใดที่ไม่มีอีหม่าน ความปลอดภัยก็จะไม่หลงเหลือ 

 

قال الله تعالى: (الَّذِينَ آمَنُوا وَلَمْ يَلْبِسُوا إِيمَانَهُمْ بِظُلْمٍ أُولَئِكَ لَهُمُ الْأَمْنُ وَهُمْ مُهْتَدُونَ)

 

 “บรรดาผู้ศรัทธา ที่ไม่ได้ทำชิริกต่ออัลลอฮฺ ชนเหล่านี้แหละ คือผู้ที่จะได้รับความปลอดภัย และพวกเขาคือผู้ที่ได้รับทางนำ”

 

وقال تعالى: ( فَمَنْ آمَنَ وَأَصْلَحَ فَلَا خَوْفٌ عَلَيْهِمْ وَلَا هُمْ يَحْزَنُونَ )

 

“ดังนั้นผู้ใดที่ศรัทธาและปรับปรุงตัวให้ดีขึ้น เขาจะไม่มีความกลัวใด ๆ และจะไม่เสียใจ”

 

     เมื่อผู้ศรัทธามีอีหม่านที่สมบูรณ์ เขาก็จะได้รับความปลอดภัย และผู้อื่นก็จะปลอดภัยจากเขาเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ท่านนบี ﷺ จึงกล่าวไว้ตอนฮัจญ์ตุ้ลวะดาอ์ว่า:

«أَلاَ أُخْبِرُكُمْ بِالْمُؤْمِنِ؟ مَنْ أَمِنَهُ النَّاسُ عَلَى أَمْوَالِهِمْ وَأَنْفُسِهِمْ، وَالْمُسْلِمُ مَنْ سَلِمَ النَّاسُ مِنْ لِسَانِهِ وَيَدِهِ، وَالْمُجَاهِدُ مَنْ جَاهَدَ نَفْسَهُ فِي طَاعَةِ اللهِ، وَالْمُهَاجِرُ مَنْ هَجَرَ الْخَطَايَا وَالذَّنُوبَ».

 

“พวกท่านอยากให้ฉันบอกไหมว่า ใครคือผู้ศรัทธาที่แท้จริง? 

คือผู้ที่ผู้คนไว้วางใจเขา ในเรื่องทรัพย์สินและชีวิตของพวกเขา 

และมุสลิมคือ ผู้ที่ผู้คนปลอดภัยจากลิ้น (คำพูด) และมือของเขา 

ส่วนผู้ต่อสู้ที่แท้จริง คือผู้ที่ต่อสู้กับตัวของเขาเองในการเชื่อฟังอัลลอฮ์ 

และผู้ที่อพยพที่แท้จริง คือผู้ที่ละทิ้งความผิดบาปและการฝ่าฝืน”

 

         เช่นเดียวกัน การให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์ ด้วยการเคารพพระองค์เพียงผู้เดียว ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ก็เป็นสาเหตุที่จะทำให้ได้รับความปลอดภัย และเมื่อนั้นสิ่งเลวร้ายก็จะถูกขจัดไป

 

(وَعَدَ اللَّهُ الَّذِينَ آمَنُوا مِنْكُمْ وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ لَيَسْتَخْلِفَنَّهُمْ فِي الْأَرْضِ كَمَا اسْتَخْلَفَ الَّذِينَ مِنْ قَبْلِهِمْ وَلَيُمَكِّنَنَّ لَهُمْ دِينَهُمُ الَّذِي ارْتَضَى لَهُمْ وَلَيُبَدِّلَنَّهُمْ مِنْ بَعْدِ خَوْفِهِمْ أَمْنًا يَعْبُدُونَنِي لَا يُشْرِكُونَ بِي شَيْئًا وَمَنْ كَفَرَ بَعْدَ ذَلِكَ فَأُولَئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ).

 

“อัลลอฮ์ทรงให้สัญญาแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และผู้กระทำความดี ว่า

พระองค์จะให้พวกเขามีอำนาจปกครองในแผ่นดิน ดั่งที่พระองค์ได้มอบให้แก่กลุ่มชนก่อนหน้าพวกเขา 

และจะทรงให้ศาสนาของพวกเขา ที่พระองค์ทรงพึงพอใจนั้น เป็นที่มั่นคงแก่พวกเขา 

และจะทรงเปลี่ยนความหวาดกลัวของพวกเขาให้กลายเป็นความปลอดภัย

โดยที่พวกเขาจะเคารพภักดีต่อข้า และจะไม่ตั้งภาคีใด ๆ กับข้า 

และผู้ใดปฏิเสธหลังจากนั้นแหละ คือพวกที่เป็นผู้ละเมิด”

 

         ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย...เมื่อความปลอดภัยนั้น คือของขวัญและความโปรดปรานจากอัลลอฮ์ เราก็จะต้องไม่แสวงหามัน หรือพยายามไขว่คว้ามัน จากสิ่งอื่นนอกจากพระองค์ และเหตุผลนี้เอง ทำให้เรารู้ถึงถึงคุณค่าและความสำคัญของการดุอา

 

      อัลลอฮ์ได้ทรงบอกเล่าถึงคำวิงวอนของท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ไว้ในอัลกุรอ่านว่า

 

(وَإِذْ قَالَ إِبْرَاهِيمُ رَبِّ اجْعَلْ هَذَا الْبَلَدَ آمِنًا وَاجْنُبْنِي وَبَنِيَّ أَنْ نَعْبُدَ الْأَصْنَامَ )

 

“และจงรำลึกเมื่ออิบรอฮีมกล่าวว่า: โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดให้เมืองนี้เป็นเมืองที่ปลอดภัย 

และโปรดให้ข้าพระองค์และลูกหลานของข้าพระองค์ห่างไกลจากการเคารพบูชารูปเจว็ดด้วยเถิด”

 

     และท่านนบี ﷺ  ก็เช่นกัน ในทุกๆต้นเดือน เมื่อท่านเห็นจันทร์เสี้ยว ท่านจะกล่าวว่า:

 

«اللَّهُمَّ أَهْلِلْهُ عَلَيْنَا بِالْيُمْنِ وَالإِيمَانِ وَالسَّلاَمَةِ وَالإِسْلاَمِ رَبِّى وَرَبُّكَ اللَّهُ»

 

“โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์ได้โปรดให้ดวงจันทร์ดวงนี้ เริ่มขึ้นแก่เราพร้อมด้วยความดีงาม 

การศรัทธา ความปลอดภัย และการยึดมั่นในคำสอนของอิสลามด้วยเถิด 

ดวงจันทร์เอ๋ย พระเจ้าของฉัน และพระเจ้าของเจ้า ก็คืออัลลอฮ์”

 

          ในวันสงครามคอนดัก บรรดาศอฮาบะห์ได้ถามท่านร่อซูล ﷺ ว่า: โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮ์! มีถ้อยคำใดที่เราควรกล่าวหรือไม่? เพราะหัวใจของพวกเรามันรนราน แทบจะขึ้นไปถึงลำคอด้วยความหวาดกลัวแล้ว

 

قَالَ r : «نَعَمْ، اللَّهُمَّ اسْتُرْ عَوْرَاتِنَا وَآمِنْ رَوْعَاتِنَا»

 

     ท่านตอบว่า: “แน่นอน มีคำที่ควรกล่าว: โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงปกปิดข้อบกพร่องของเรา และให้พวกเราปลอดภัยจากสิ่งที่พวกเราหวาดกลัวด้วยเถิด”

 

ولهذا لَمْ يَكُنْ رَسُولُ اللَّهِ r يَدَعُ هَؤُلَاءِ الدَّعَوَاتِ حِينَ يُصْبِحُ وَحِينَ يُمْسِي: «اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ الْعَافِيَةَ فِي الدُّنْيَا وَالْآخِرَةِ، اللَّهُمَّ إِنِّي أَسْأَلُكَ الْعَفْوَ وَالْعَافِيَةَ فِي دِينِي وَدُنْيَايَ وَأَهْلِي وَمَالِي، ‌اللَّهُمَّ ‌اسْتُرْ ‌عَوْرَاتِي وَآمِنْ رَوْعَاتِي، اللَّهُمَّ احْفَظْنِي مِنْ بَيْنِ يَدَيَّ وَمِنْ خَلْفِي وَعَنْ يَمِينِي وَعَنْ شِمَالِي وَمِنْ فَوْقِي، وَأَعُوذُ بِعَظَمَتِكَ أَنْ أُغْتَالَ مِنْ تَحْتِي».

 

     ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยทิ้งดุอาเช้าเย็นบทนี้เลย 

     “โอ้อัลลอฮ์ข้าพระองค์วิงวอนต่อพระองค์ ขอความปลอดภัย -จากโรคร้ายต่างๆ และปลอดภัยจากฟิตนะห์ที่เกิดขึ้นในศาสนา- ทั้งดุนยาและอาคิเราะห์ 

     โอ้อัลลอฮ์ข้าพระองค์วิงวอนต่อพระองค์ ขอการอภัยโทษ ขอความปลอดภัย ในศาสนา ในชีวิตความเป็นอยู่ในดุนยา ในครอบครัว และทรัพย์สินของข้าพระองค์

     โอ้อัลลอฮ์ ขอพระองค์ทรงปกปิดข้อบกพร่องของข้าพระองค์ และให้ข้าพระองค์ปลอดภัยจากสิ่งที่ข้าพระองค์หวาดกลัวด้วยเถิด 

     โอ้อัลลอฮ์ขอพระองค์ทรงปกป้องป้องข้าพระองค์ ทั้งทางด้านหน้า ด้านหลัง ด้านขวา  ด้านซ้าย และข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่ออำนาจของพระองค์ ให้พ้นจากการงลงโทษที่มาทางด้านใต้ของข้าพระองค์ด้วยเถิด”

 

أقول هذا القول وأستغفر الله لي ولكم ولسائر المسلمين من كل ذنب فاستغفروه يغفر لكم إنه هو الغفور الرحيم . 

الخطبة الثانية:

 

         โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย และสาเหตุประการถัดมาที่จะทำให้เราได้รับความปลอดภัย คือการยึดมั่นอยู่กับ ญะมาอะห์ที่อยู่ความถูกต้อง นั่นหมายถึงตามแนวทางของท่านร่อซู้ล ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และบรรดาศอฮาบะห์ บรรดาตาบิอีน และอัตบาอฺอัตตาบิอีน และการเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำ

 

         เพราะว่า เราจะไม่มีทางที่จะปลอดภัยหากว่าเราไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเราจะไม่มีทางที่จะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากปราศจากผู้นำ และจะไม่มีผู้นำ หากผู้คนไม่เชื่อฟังและไม่ปฏิบัติตาม -ด้วยเหตุนี้ ท่านนบี ﷺ จึงกล่าวว่า:

 

«ثَلاَثٌ لاَ يُغَلُّ عَلَيْهِنَّ قَلْبُ مُسْلِمٍ إِخْلاَصُ الْعَمَلِ لِلَّهِ، وَمُنَاصَحَةُ أَئِمَّةِ الْمُسْلِمِينَ، وَلُزُومِ جَمَاعَتِهِمْ فَإِنَّ الدَّعْوَةَ تُحِيطُ مِنْ وَرَائِهِمْ»

 

“ผู้ใดยึดมั่นในสามสิ่งนี้ หัวใจของเขาจะบริสุทธิ์จากการทรยศและความชั่วร้าย: 

หนึ่ง  ความบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮ์ 

สอง  การให้คำแนะนำที่จริงใจแก่บรรดาผู้นำของมุสลิม 

สาม  การยึดมั่นอยู่กับญะมาอะห์ 

เพราะแท้จริงแล้ว บรรดามุสลิมจะวิงวอนขอต่ออัลลอฮ์ให้แก่พวกเขา” 

           และนั่นเองที่เป็นเกราะป้องกันพวกเขาจากอุบายของชัยฏอน และจากการหลงผิดทุกประการ

 

       ประการถัดมา ก็คือการหันกลับไปหาบรรดาอุลามาอฺอาวุโส ที่ยึดมั่นตามอัลกุรอ่านและซุนนะห์ เพราะนี่คือคำสั่งของอัลลอฮ์ เพราะคนที่หันกลับหาบรรดาอุลามาอฺ เขาคือคนที่เชื่อฟังอัลลอฮ์ และผู้ใดที่ทอดทิ้งอุลามาอฺ เขาคือคนที่ฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮ์

 

قال الله تعالى: ( وَإِذَا جَاءَهُمْ أَمْرٌ مِنَ الْأَمْنِ أَوِ الْخَوْفِ أَذَاعُوا بِهِ وَلَوْ رَدُّوهُ إِلَى الرَّسُولِ وَإِلَى أُولِي الْأَمْرِ مِنْهُمْ لَعَلِمَهُ الَّذِينَ يَسْتَنْبِطُونَهُ مِنْهُمْ وَلَوْلَا فَضْلُ اللَّهِ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَتُهُ لَاتَّبَعْتُمُ الشَّيْطَانَ إِلَّا قَلِيلًا  ). 

 

     “และเมื่อพวกเขาได้รับข่าวคราวที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือความกลัว พวกเขาก็รีบป่าวประกาศมันออกไป หากพวกเขาได้นำมันกลับไปหาร่อซูล หรือผู้ปกครองในหมู่พวกเขา (ผู้นำและผู้รู้) 

     เพราะว่าผู้ที่มีความรู้ในการวินิจฉัยปัญหาศาสนา เขาจะรู้ว่าอะไรจริงอะไรเท็จ 

     และหากมิใช่เพราะความโปรดปราน และความเมตตาของอัลลอฮ์ที่มีต่อพวกเจ้าแล้ว พวกเจ้าจะปฏิบัติตามชัยฏอนอย่างแน่นอน เว้นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น” 

 

          ดังนั้นผู้ที่อัลลอฮ์เมตตา คือผู้ที่หันกลับไปหาอุลามาอฺ และผู้ที่หันหลังให้กับอุลามาอฺคือผู้ที่ปฏิบัติตามชัยฏอน แต่เมื่อใดที่เราปลอดภัยและสงบสุขแล้ว แต่เรากลับฝ่าฝืนและปฏิเสธ นั่นจะเป็นสาเหตุที่จะนำมาซึ่งการลงโทษ

 

قال الله تعالى: ( وَضَرَبَ اللَّهُ مَثَلًا قَرْيَةً كَانَتْ آمِنَةً مُطْمَئِنَّةً يَأْتِيهَا رِزْقُهَا رَغَدًا مِنْ كُلِّ مَكَانٍ فَكَفَرَتْ بِأَنْعُمِ اللَّهِ فَأَذَاقَهَا اللَّهُ لِبَاسَ الْجُوعِ وَالْخَوْفِ بِمَا كَانُوا يَصْنَعُونَ).

 

     “และอัลลอฮ์ทรงยกตัวอย่างเมืองหนึ่ง ซึ่งเคยมีความปลอดภัยและสงบสุข

     มีปัจจัยยังชีพหลั่งไหลมายังเมืองนั้นอย่างอุดมสมบูรณ์จากทุกสารทิศ 

     แต่แล้วเมืองนั้นกลับเนรคุณต่อความโปรดปรานของอัลลอฮ์ ดังนั้นอัลลอฮ์จึงลงโทษพวกเขา 

     ทำให้พวกเขาลิ้มรสกับความหิวโหยและความหวาดกลัว อันเป็นผลมาจากสิ่งที่พวกเขาได้กระทำไว้เอง”

 

 

 

คุตบะห์วันศุกร์  ศูนย์เรียนรู้อิสลาม อัส-สลาม .พังงา