หลักฐานที่ยึดถือในการปฏิบัติศาสนา
1.) ที่มาของการยึดมั่น(อะกีดะฮ์) คือ อัลกุรอาน แบบฉบับ(ซุนนะฮ์)ของท่านเราะซูลลุลลอฮ์ อันถูกต้อง และมติเป็นเอกฉันท์ของบรรดาสลัฟ2.) แบบฉบับท้งมวลที่ถูกต้องของท่านเราะซูล ถือเป็นวายิบ(จำเป็น)ที่จะต้องปฏิบัติตาม แม้จะเป็นฮะดิษอาฮาด ที่มีผู้รายงานเพียงคนเดียว หรือสองคนก็ตามที่เชื่อถือได้
3.) ที่มาของการเข้าใจอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คือการอรรถาธิบายอัลกุรอาน และอัลฮะดิษ รวมทั้งความเข้าใจของบรรดาสลัฟ ต่ออัลกุรอานและอัลฮะดิษ และแนวทางของบรรดาอิมามต่างๆ เช่น มัซฮับ อัล-ฮะนาฟียะฮ์ , มัซฮับ อัลมาลิกียะฮ์ , มัซฮับ อัช-ชาฟิอียะฮ์ , มัซฮับ อะหมัด อิบนุ ฮัมบัร ที่ได้เดินตามแนวของบรรดาสลัฟ
4.) หลักการของศาสนาโดยส่วนรวม ตามที่ท่านนะบี ได้แจกแจงไว้อย่างกระจ่างชัด โดยไม่เปิดช่องว่างให้ใครมาเพิ่มเติมสิ่งใดๆเข้าไปอีก
5.) การยอมจำนนต่ออัลลอฮ์ และต่อเราะซูลของพระองค์ ทั้งโดยเปิดเผยและเร้นลับ โดยไม่ต้องนำเอาการเปรียบเทียบ(การกิยาส) ความชื่นชอบส่วนตัว การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ คำกล่าวของนักวิชาการ หรือของอิมามใดๆมายกเลิกตัวบทถูกต้องเป็นอันขาด
6.) การใช้สติปัญญาอันรอบคอบที่ต้องสอดคล้องกับตัวบทของหลักฐานที่สืบทอดมาจากสลัฟ โดยทั้งตัวบทและการใช้สติปัญญาจะต้องไม่ขัดแย้งกัน ในกรณีที่ขัดแย้งกันให้ถือเอาการปฏิบัติตามตัวบทเป็นหลัก
7.) จำเป็นต้องทำอามัลอิบาดะฮ์ ตามถ้อยคำที่มีตัวบทสนับสนุน โดยหลีกเลี่ยงถ้อยคำที่แต่งเติมเสริมขึ้น ส่วนถ้อยคำใดที่มีความหมายคลุมเครือให้พิจารณาดูให้ถ่องแท้ถ้าพบว่าถูกต้องตามตัวบทถือว่าใช้ได้ ถ้าพบว่าไม่มีตัวบทรับรองก็ให้ละทิ้งไปเสีย
8.) ความบริสุทธิ์ไร้บาปและมลฑิน มีเฉพาะแต่กับเราะซูล เป็นกรณีเฉพาะบุคคล ส่วนประชาชาติอิสลาม (อุมมะฮ์) โดยส่วนรวมนั้นจะไม่รวมตัวกันบนความเท็จและความหลงผิด หรือการกระทำผิดได้ ในกรณีที่มุสลิมมีความเห็นแตกต่างกัน หรือเห็นแตกต่างกับกลุ่มอื่นก็ให้หันกลับไปพิจารณาดู อัลกุรอานและอัสซุนนะฮ์ ในเรื่องที่ละเอียดอ่อนให้เป็นหน้าที่ของผู้มีคุณสมบัติของการอิจญติฮาดให้เป็นผู้ชี้ขาด
9.) ในประชาชาติอิสลามนี้ มีผู้ได้รับการดลใจจากอัลลอฮ์ (อิลฮาม) ความฝันที่ดีงาม(ศอลิห์)เป็นสัจจริง เป็นการดลใจจากอัลลอฮ์ และเป็นส่วนหนึ่งที่อัลลอฮ์เคยประทานให้เป็นคุณสมบัติของนะบี และเราะซูลทั้งหลายมาแล้ว
การดูรูปร่างลักษณะ เพื่ออ่านนิสัย ใจคอ เป็นสัจจริง โดยมีข้อแม้ว่า กะรอมาต(สิ่งที่อัลลอฮ์ให้กับบ่าวที่ดีบางคน) และคุณสมบัติเหล่านี้ จะต้องสอดคล้องกับชะรีอะฮ์ อิสลามียะฮ์(บทบัญญัติของศาสนาอิสลาม) และต้องไม่ใช้เป็นหลักฐานทางอะกีดะฮ์ หรือชะรีอะฮ์10.) การโอ้อวดเป็นสิ่งที่น่าตำหนิในศาสนา ส่วนการกล่าวโต้แย้งโดยใช้เหตุผลที่ดีเป็นสิ่งที่ชะรีอัตส่งเสริม และได้มีหลักฐานที่แข็งแรงห้ามมิให้อ่อนข้อต่อความมดเท็จ ดังนั้นจึงต้องถือปฏิบัติตามนั้น ควรหลีกเลี่ยงการพูดจาในเรื่องที่ตนไม่มีความรู้ และมอบหมายสิ่งนั้นไว้กับอัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮูว่าตะอาลา
11.) จำเป็นที่เราต้องยึดถือวิธีการโต้ตอบ ตามแนวทางที่อัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮูว่าตะอาลา ได้ประทานวะหยูมาทางท่านนะบี ทั้งนี้รวมไปถึง การมีความเชื่อมั่นในสิ่งนั้นด้วย และจะต้องไม่โต้ตอบสิ่งที่เป็นบิดอะฮ์นอกจากการมีหลักฐานอันชัดแจ้ง และจะต้องไม่เผชิญหน้ากันให้เกิดความแตกแยก
12.) ทุกสิ่งที่อุตริขึ้นมาในศาสนานั้นล้วนเป็นบิดอะฮ์ และทุกๆความบิดอะฮ์ เป็นความหลงผิดทั้งสิ้น และทุกๆความหลงผิด(เฏาะลาละฮ์)นั้นจะอยู่ในไฟนรก
หลักการศรัทธา
รร.ศาสนูปถัมภ์ ประเวศ กทม.