แสวงหาอะไร ? ผ่านโซเชียลมีเดีย
  จำนวนคนเข้าชม  103

แสวงหาอะไร ? ผ่านโซเชียลมีเดีย

 

 

แปลเรียบเรียง...เพจบันทึกฮัก

 

 

    มีผู้ถามชัยคฺ ซัยดฺ อัลมัดคอลียฺ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ- ว่า:

 

     "ผู้ที่ติดตามบทเรียนของบรรดานักวิชาการสลัฟ (ที่ยึดมั่นอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง) ผ่านทางอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ หรือวิทยุ พวกเขาจะได้รับบะรอกัต (ความจำเริญ) จากการเรียนรู้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้าร่วมวงเรียน (حلقة العلم) โดยตรงหรือไม่ครับ?"

 

     ชัยคฺตอบว่า:

 

     ผู้ที่คุณกล่าวถึงนั้นเขาจะได้รับประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ซึ่งก็คือ

 

ประการที่หนึ่ง:

 

          พวกเขาถือเป็นผู้แสวงหาวิชาความรู้ และบรรดาผู้แสวงหาวิชาความรู้เป็นผู้ที่มีสถานะอันสูงส่งที่สุดในยุคสมัยของเขา หากเขาแสวงหาความรู้ด้วยเจตนาเพื่อขจัดความไม่รู้ของตนเอง ปฏิบัติตามความรู้นั้น และเผยแผ่มันต่อไป

 

 

ประการที่สอง:

 

          ผู้แสวงหาวิชาความรู้ ไม่ว่าจะศึกษาเพียงลำพังหรือร่วมศึกษากับกลุ่ม ความสงบสุขจะลงมาสู่เขา ความเมตตาของอัลลอฮฺจะปกคลุมเขา และบรรดามลาอิกะฮฺจะห้อมล้อมเขา

 

          ดังนั้น ผู้ที่ติดตามการศึกษาเกี่ยวกับวิชาการศาสนา ไม่ว่าจะเป็นจากคัมภีร์อัลกุรอ่าน อัลฮะดีษ หรือจากแหล่งความรู้อื่น ๆ พวกเขาจะได้รับผลบุญอันยิ่งใหญ่ และผลบุญของพวกเขาจะไม่ลดน้อยลงไปกว่าผู้ที่นั่งฟังบทเรียนกับบรรดาอุละมาอฺโดยตรง อินชาอัลลอฮฺ

 

 الإرشاد إلى توضيح لمعة الاعتقاد (صـ ١٨٤...١٨٥) •••

 

 

 

ชัยคฺ สุลัยมาน อัรรุฮัยลียฺ -ฮะฟิซ่อฮุลลอฮฺ-

 

คำถาม:

 

     อะไรคือคำตัดสินเกี่ยวกับรายได้จาก YouTube, TikTok, Instagram และแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่คล้ายกันในอิสลาม?

 

 

คำตอบ:

 

          สำหรับช่องทางใหม่ ๆ อย่าง YouTube และ Instagram หากเงินที่ได้รับมานั้นมาจากการขอ เช่น ขอให้กดโต้ตอบ ขอของขวัญ ขอแต้มสนับสนุน หรือคำขอที่ลักษณะคล้าย ๆ กัน แล้วตอบไปว่า ขออัลลอฮฺตอบแทนความดี ขออัลลอฮฺตอบแทนความดี 

 

          พี่น้องที่รัก นั่นเป็นการขอที่น่ารังเกียจ ซึ่งอาจทำให้เจ้าของช่องมาปรากฏตัวในวันกิยามะฮฺโดยไม่มีเนื้อหนังบนใบหน้า (เป็นบทลงโทษของคนที่ชอบขอในดุนยา)และถ้าหากเงินที่ได้รับนั้น มาจากโฆษณาที่มีภาพผู้หญิงแต่งกายโป๊เปลือย มีเสียงดนตรี มีเสียงเพลง หรือโฆษณาที่สนับสนุนสิ่งที่ฮะลาลและฮะรอมปะปนกัน ถือเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) และเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ

 

          หากมีคนสร้างช่องที่นำเสนอเนื้อหาดี ๆ แล้วปล่อยให้ YouTube แสดงโฆษณาผ่านช่องของเขาเพื่อรับเงิน โดยที่เขาไม่สามารถควบคุมเนื้อหาของโฆษณาได้ (เช่นโฆษณาเบียร์ บุหรี่ เป็นต้น) ถือเป็นสิ่งที่ต้องห้าม (ฮะรอม) และไม่อนุญาต

 

          แต่หากเงินที่ได้รับนั้นมาจากจำนวนผู้ชมและผู้ติดตามที่เพิ่มขึ้น โดยที่เจ้าของช่องผลิตเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ และผู้คนชื่นชอบ ติดตามจนได้รับเงินจากแพลตฟอร์ม ถือว่าไม่มีปัญหาใดๆ และสามารถกระทำได้ (บิอิซนิลลาฮฺ)"

 

 

 

•┈┈┈••✦✿✦••┈┈┈••┈┈┈••✦✿✦••┈┈┈••┈┈┈••✦✿✦••┈┈┈•