อิสลามกับผู้สูงวัย
โดย เชคมะฮฺมูด อะฮฺมัด อัดดูซะรีย์
นำเสนอโดย อิบนุ อับดิรเราะฮฺมาน
الْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ، وَالصَّلَاةُ وَالسَّلَامُ عَلَى رَسُولِهِ الْكَرِيمِ، وَعَلَى آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِينَ
อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า :
(اللَّهُ الَّذِي خَلَقَكُمْ مِنْ ضَعْفٍ ثُمَّ جَعَلَ مِنْ بَعْدِ ضَعْفٍ قُوَّةً ثُمَّ جَعَلَ مِنْ بَعْدِ قُوَّةٍ ضَعْفًا وَشَيْبَةً يَخْلُقُ مَا يَشَاءُ وَهُوَ الْعَلِيمُ الْقَدِيرُ)
[الرُّوم: 54]
“อัลลอฮฺ คือ ผู้ทรงสร้างพวกเจ้าขึ้นมาในสภาพที่อ่อนแอ แล้วหลังจากความอ่อนแอ พระองค์ก็ทรงทำให้มีความแข็งแรง
แล้วหลังจากความแข็งแรงทรงทำให้อ่อนแอและชราภาพ พระองค์ทรงสร้างสิ่งที่พระองค์ ทรงประสงค์
และพระองค์เป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงเดชานุภาพ”
(อัรรูม / 54)
นับเป็นแนวทาง (ซุนนะฮฺ) ของอัลลอฮฺ ในการที่พระองค์ได้ทรงทำให้มนุษย์ได้ผ่านช่วงวันเวลาอันหลากหลายในดุนยา เริ่มต้นจากการเป็นเด็กที่อ่อนแอ จากนั้นก็เป็นหนุ่มฉกรรจ์ และสุดท้ายก็กลับคืนสู่วัยชราที่อ่อนแรง ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงให้ความสำคัญกับช่วงวัยแห่งความชราภาพ และกำหนดให้วัยชราเป็นวัยที่ต้องให้เกียรติ ให้การดูแลเอาใจใส่เป็นกรณีพิเศษ เพราะผู้สูงวัยนั้นเป็นช่วงวัยแห่งความอ่อนแอ ต้องการคนคอยปรนนิบัติรับใช้ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก และจัดการเรื่องราวต่างๆ แทนตน
หนึ่งในดุอาอฺ ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ก็คือ
"اللَّهُمَّ إِنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الْعَجْزِ، وَالْكَسَلِ، وَالْجُبْنِ، وَالْهَرَمِ"(مُتَّفَقٌ عَلَيْهِ).
“ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจาก ความไร้ความสามาถ ความเกียจคร้าน ความขลาดกลัว และความเสื่อมถอยแห่งวัยชราด้วยเถิด”
(บันทึกโดย อิมามอัลบุคอรีย์และอิมามมุสลิม)
และท่านนบียังได้กล่าวไว้อีกเช่นกันว่า
"اللَّهُمَّ إِنِّي أَعُوذُ بِكَ أَنْ أُرَدَّ إِلَى أَرْذَلِ الْعُمُرِ"
“ข้าแต่อัลลอฮฺ ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากการที่ข้าพระองค์ ถูกทำให้กลับไปสู่ช่วงวัยแห่งความต่ำต้อยด้วยเถิด”
ผู้สูงอายุนั้น เป็นบุคคลที่ดีที่สุด หากเขามีการงานที่ดี ดังมีรายงานจากท่านอบี บักเราะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า:
فَعَنْ أَبِي بَكْرَةَ -رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ- أَنَّ رَجُلاً قَالَ: يَا رَسُولَ اللَّهِ، أَيُّ النَّاسِ
خَيْرٌ؟ قَالَ: "مَنْ طَالَ عُمُرُهُ، وَحَسُنَ عَمَلُهُ". قَالَ: فَأَيُّ النَّاسِ شَرٌّ؟ قَالَ: "مَنْ طَالَ عُمُرُهُ، وَسَاءَ عَمَلُهُ"
มีชายคนหนึ่ง กล่าวขึ้นว่า : โอ้ ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ ใครกันครับที่ประเสริฐที่สุด?
ท่านตอบว่า : “คือคนที่มีอายุยืน และมีการงานที่ดี”
ชายผู้นั้นถามต่อว่า : “และใครกันครับที่ชั่วช้าที่สุด?”
ท่านตอบว่า : “คือคนที่มีอายุยืน แต่มีการงานที่ไม่ดี”
(บันทึกโดย อิมาม อัตติรมีซีย์)
"لَيْسَ أَحَدٌ أَفْضَلَ عِنْدَ اللَّهِ مِنْ مُؤْمِنٍ يُعَمَّرُ فِي الْإِسْلَامِ؛ لِتَسْبِيحِهِ، وَتَكْبِيرِهِ، وَتَهْلِيلِهِ"
ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
“ไม่มีใครที่ประเสริฐยิ่ง ณ ที่อัลลอฮฺ ยิ่งไปกว่า ผู้ศรัทธาที่อัลลอฮฺได้ทรงทำให้เขามีอายุยืนนานอยู่ในอิสลาม
เพื่อได้กล่าวสรรเสริญสดุดีพระองค์ (กล่าวซุบฮานั้ลลอฮฺ)
เพื่อถวายความยิ่งใหญ่แด่พระองค์ (กล่าวอัลลอฮุอักบั้ร)
และเพื่อกล่าวลตะฮฺลี้ล (ลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮฺ)”
(บันทึกโดย อิมามอะฮฺมัด)
และยังมีฮะดีสที่ท่านระบุไว้อีกว่า
خِيَارُكُمْ أَطْوَلُكُمْ أَعْمَارًا، وَأَحْسَنُكُمْ أَعْمَالًا
“ คนที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่าน คือคนที่มีอายุยืนนานที่สุด และมีการงานที่ดีที่สุด”
(บันทึกโดยอิมาม อะฮฺมัด)
ท่านอัฏฏีบีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ กล่าวว่า :
แท้จริง วันเวลาทั้งหลายนั้น เสมือนต้นทุนสำหรับพ่อค้า ซึ่งสมควรอย่างยิ่งที่เขาจะต้องทำมาค้าขายในสิ่งที่จะทำให้เขาได้รับกำไร และเมื่อมีต้นทุนมาก กำไรที่จะได้รับก็จะมากยิ่งกว่า ดังนั้น ใครก็ตามที่ใช้ประโยชน์จากอายุขัยของตน ด้วยการมีผลงานที่ดี แน่นอน เขาก็จะได้รับชัยชนะและประสบความสำเร็จ ส่วนใครที่ทำให้ต้นทุนของตัวเองลดพร่องหายไปเขาย่อมไม่ได้รับกำไร และย่อมขาดทุนย่อยยับอย่างชัดเจน
ศาสนาอิสลามเรียกร้องเชิญชวนสู่การเคารพให้เกียรติผู้สูงวัย ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า :
"إِنَّ مِنْ إِجْلَالِ اللَّهِ: إِكْرَامَ ذِي الشَّيْبَةِ الْمُسْلِمِ"
“แท้จริง ส่วนหนึ่งจากกการกระทำที่เป็นการเทิดเกียรติพระองค์อัลลอฮฺ ก็คือ การให้เกียรติผู้อาวุโสที่เป็นมุสลิม”
(บันทึกโดย อิมาม อบูดาวู้ด)
อิสลามถือว่าการเคารพให้เกียรติต่อผู้สูงวัย เป็นหนึ่งในวิธีการที่บ่าวจะเทิดเกียรติอัลลอฮฺ ให้ความยิ่งใหญ่ต่อพระองค์ ทั้งนี้ เนื่องมาจากพระองค์ทรงมอบสิทธิในการได้รับความคุ้มครองให้ในความอาวุโส ณ ที่อัลลอฮฺ อันเนื่องมาจากการที่พวกเขารุดหน้าสู่อิสลามก่อน และอันเนื่องมาจากการที่ผู้อาวุโสสมควรได้รับในสิทธิต่างๆ จากบุคคลอื่นๆ ทั่วๆ ไป
มีรายงานจากท่านอนัส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ แจ้งว่า มีชายชราคนหนึ่งต้องการมาพบท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม แต่กลุ่มชนกลับประวิงเวลาทำให้ล่าช้า โดยไม่อำนวยความสะดวกแก่ชายชราผู้นั้น
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า :
"لَيْسَ مِنَّا مَنْ لَمْ يَرْحَمْ صَغِيرَنَا، وَيُوَقِّرْ كَبِيرَنَا (صَحِيحٌ: رَوَاهُ التِّرْمِذِيُّ). وَفِي رِوَايَةٍ: "مَنْ لَمْ يَرْحَمْ صَغِيرَنَا،
وَيَعْرِفْ حَقَّ كَبِيرِنَا؛ فَلَيْسَ مِنَّا
“ไม่ใช่พวกของเรา ผู้ที่ไม่เอ็นดูเมตตาผู้เยาว์ของเรา และไม่เคารพให้เกียรติผู้ใหญ่ของเรา”
(บันทึกโดย อิมาม อัตติรมีซีย์)
และอีกรายงานหนึ่งระบุว่า
“ผู้ใดก็ตามที่ไม่เอ็นดูเมตตาผู้เยาว์ของเรา ไม่รู้ถึงสิทธิที่ผู้ใหญ่ของเราพึงได้รับ เขาก็ไม่ใช่พวกของเรา”
(บันทึกโดย อิมาม อบูดาวู้ด)
บรรดาศ่อฮาบะฮฺผู้ทรงเกียรติ ต่างทราบดีถึงสถานะของผู้สูงอายุ ท่านฏ็อลฮะฮฺ อิบนิ อับดิลลาฮฺ กล่าวว่า :
"خَرَجَ عُمَرُ لَيْلَةً فِي سَوَادِ اللَّيْلِ فَدَخَلَ بَيْتًا، فَلَمَّا أَصْبَحْتُ ذَهَبْتُ إِلَى ذَلِكَ الْبَيْتِ، فَإِذَا عَجُوزٌ عَمْيَاءُ مُقْعَدَةٌ. فَقُلْتُ لَهَا: مَا بَالُ هَذَا الرَّجُلِ يَأْتِيكِ؟ فَقَالَتْ: إِنَّهُ يَتَعَاهَدُنِي مُدَّةَ كَذَا وَكَذَا، يَأْتِينِي بِمَا يُصْلِحُنِي، وَيُخْرِجُ عَنِّي الْأَذَى"
“กลางดึกคืนหนึ่ง ท่านอุมัรได้ออกไปยังบ้านหลังหนึ่ง พอรุ่งเช้าฉันจึงตามไปที่บ้านหลังนั้น เมื่อไปถึง ฉันจึงพบว่าเป็นบ้านของหญิงชราตาบอดและเป็นอัมพาต
ฉันจึงถามนางว่า : “ชายคนที่มาหาท่าน มีธุระอะไรอย่างนั้นหรือ?
นางตอบว่า : เขาให้สัญญากับฉันเป็นระยะเวลาเท่านั้นเท่านี้ เพื่อจะนำสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้แก่ฉัน และขจัดสิ่งที่เป็นอันตรายออกไปจากฉัน”
ภาพลักษณ์อันประเสริฐในการปรนนิบัติต่อผู้สูงวัย และการดูแลเอาใจใส่คนเฒ่าคนแก่เช่นนี้เอง ที่เปิดเผยให้เห็นความน่าอนาถใจในอีกหลายสังคมที่ไม่ใช่อิสลาม เราได้เห็นภาพข่าวที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คนชรา เห็นความอ้างว้างโดดเดี่ยวที่คนชราต้องเผชิญชีวิต และเห็นการละเลยทอดทิ้งของสังคมที่มีต่อพวกเขาเหล่านั้นอย่างมากมาย
ชีวประวัติของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เต็มเปี่ยมไปด้วยการให้เกียรติต่อผู้สูงอายุ ท่านนบีจะเป็นผู้รีบรุดไปหาคนชรา ในคราวพิชิตนครมักกะฮฺ ท่านได้เข้าไปในมัสญิดฮะรอม ท่านอบูบักรฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ ได้พาท่านอบูกุฮาฟะฮฺ บิดาของท่าน มาหาท่าน เมื่อท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เห็นดังนั้น ท่านได้กล่าวว่า :
"هَلَّا تَرَكْتَ الشَّيْخَ فِي بَيْتِهِ حَتَّى أَكُونَ أَنَا آتِيهِ فِيهِ"
قَالَ أَبُو بَكْرٍ: يَا رَسُولَ اللَّهِ، هُوَ أَحَقُّ أَنْ يَمْشِيَ إِلَيْكَ مِنْ أَنْ تَمْشِيَ أَنْتَ إِلَيْهِ. قَالَ: فَأَجْلَسَهُ بَيْنَ يَدَيْهِ، ثُمَّ مَسَحَ صَدْرَهُ،
ثُمَّ قَالَ لَهُ: "أَسْلِمْ"؛ فَأَسْلَمَ.
“ เหตุใดท่านจึงไม่ให้ผู้อาวุโสรออยู่ที่บ้าน เพื่อให้ฉันเป็นฝ่ายไปหาท่านเอง”
ท่านอบูบักรฺกล่าวว่า : “โอ้ ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ สมควรที่พ่อจะเดินมาหาท่านยิ่งกว่าที่ท่านจะเดินไปหาพ่อเสียอีก
และท่านร่อซู้ลก็เชิญให้ท่านอบูกุฮาฟะฮฺนั่งตรงหน้าท่าน จากนั้นท่านก็ได้ลูบไปที่หน้าอกของเขา
แล้วบอกกับเขาว่า “ท่านจงเข้ารับอิสลามเถิด”
แล้ว (ท่านอบูกุฮาฟะฮฺ) ก็เข้ารับอิสลาม”
(บันทึกโดย อิมาม อะฮฺมัด)
นอกจากนี้ ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ยังให้การต้อนรับขับสู้ผู้สูงวัยอย่างแข็งขัน ครั้งหนึ่งมีหญิงชราที่เคยเป็นสหายของท่านหญิงคอดีญะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา มาหาท่าน เมื่อนางเข้ามา
ท่านได้ถามไถ่นางว่า “พวกท่านเป็นอย่างไรกันบ้าง? อยู่กันอย่างไร”
ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา จึงกล่าวถามว่า “โอ้ร่อซูลุ้ลลอฮฺ ท่านต้อนรับหญิงชราผู้นี้ขนาดนี้เชียวหรือ?”
ท่านนบีจึงกล่าวว่า :
"إِنَّهَا كَانَتْ تَأْتِينَا زَمَنَ خَدِيجَةَ، وَإِنَّ حُسْنَ الْعَهْدِ مِنَ الْإِيمَانِ"
“ แท้จริง นางเคยมาหาเราเมื่อครั้งที่คอดีญะฮฺยังมีชีวิตอยู่ และแท้จริง การรักษาสัมพันธภาพที่ดีที่เคยมีต่อกันให้ดีนั้น คือ ส่วนหนึ่งของการศรัทธา”
(บันทึกโดย อัลฮากิม)
ในบางครั้ง ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ก็ยังเคยหยอกล้อกับคนชรา
เมื่อครั้งที่มีหญิงชรานางหนึ่งมาหาท่านและกล่าวว่า : “โอ้ ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ โปรดขอดุอาอฺให้ฉันได้เข้าสวรรค์ด้วยเถิด”
ท่านกล่าวว่า : “โอ้ มารดาของคนนั้น แท้จริงคนชราจะไม่ได้เข้าสวรรค์” หญิงชราจึงหันหลังไปร้องไห้
"يَا أُمَّ فُلَانٍ، إِنَّ الْجَنَّةَ لَا تَدْخُلُهَا عَجُوزٌ"، فَوَلَّتْ تَبْكِي. فَقَالَ: "أَخْبِرُوهَا أَنَّهَا لَا تَدْخُلُهَا
وَهِيَ عَجُوز
: (إِنَّا أَنْشَأْنَاهُنَّ إِنْشَاءً * فَجَعَلْنَاهُنَّ أَبْكَارًا * عُرُبًا أَتْرَابًا) إ نَّ اللَّهَ -تَعَالَى- يَقُولُ ٌ
ท่านนบีจึงกล่าวว่า : “ พวกท่านจงไปบอกนางซิว่า นางจะไม่ได้เข้าสวรรค์ในสภาพที่นางเป็นหญิงชรา"
เพราะแท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า
“แท้จริงเราได้บังเกิดพวกนาง เป็นกรณีพิเศษจริง ๆ , แล้วเราได้ทำให้พวกนางเป็นสาวพรหมจรรย์,
เป็นที่น่ารักชื่มชมแก่คู่ครอง อยู่ในวัยสาวคราวเดียวกัน”
(อัลวากิอะฮฺ 35-37)
(บันทึกโดยอิมาม อัตติรมีซีย์)
ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ยังเตือนคนชราผู้สูงวัยด้วยความเอ็นดูเมตตา ไม่ทำให้พวกเขารู้สึกท้อแท้หมดหวัง ดังมีรายงานจากท่านอัมร์ อิบนิ อะบะซะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺว่า :
มีชายชราเดินใช้ไม้เท้าพยุงตัวมาหาท่านนบี และกล่าวกับท่านว่า : โอ้ ท่านร่อซู้ลุ้ลลอฮฺ ฉันเคยมีเรื่องที่บิดพลิ้ว ผิดสัญญาอยู่มากมาย แล้วฉันจะได้รับการอภัยโทษในความผิดเหล่านั้นหรือไม่?
ท่านนบีถามว่า “ ท่านไม่ได้กล่าวปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าที่คู่ควรแก่การเคารพสักการะอย่างแท้จริง นอกจากอัลลอฮฺกระนั้นหรือ?”
ชายชราตอบว่า : “หามิได้ แล้วฉันก็ได้กล่าวปฏิญาณแล้วด้วยว่าท่านคือ ร่อซู้ลของอัลลอฮฺ “
ท่านนบีจึงกล่าวต่อว่า : ความผิดบาปทั้งหลายทั้งปวงของท่านนั้นได้รับการอภัยโทษหมดสิ้นแล้ว
(บันทึกโดย อิมาม อะฮฺมัด)
และอีกรายงานหนึ่งระบุว่า “แล้วชายผู้นั้นก็จากไปด้วยการที่เขากล่าวตี๊กบี้ร อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุอักบัร”
(บันทึกโดยอิบนิ อบิดดุนยา)
พี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย แท้จริง ผู้สูงวัยนั้นสมควรได้รับเกียรติ ได้รับการเคารพยกย่องในหลายต่อหลายเรื่องด้วยกัน ได้รับการยกย่องเกี่ยวกับการใช้คำพูด ได้รับเกียรติในการเป็นอิมาม ได้รับเกียรติในการเริ่มให้สลามก่อน และได้รับการเกียรติในการหยิบยื่นให้ก่อน ฯลฯ
ขณะเดียวกัน บทบัญญัติต่างๆ ในศาสนาก็ผ่อนปรนให้กับผู้สูงอายุ เช่น สามารถการประกอบพิธีฮัจญ์แทนผู้ชราภาพ หากไม่สามารถทำพิธีได้ด้วยตนเอง ดังที่ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
"إِذَا صَلَّى أَحَدُكُمْ لِلنَّاسِ فَلْيُخَفِّفْ؛ فَإِنَّ مِنْهُمُ الضَّعِيفَ، وَالسَّقِيمَ، وَالْكَبِيرَ، وَإِذَا صَلَّى أَحَدُكُمْ لِنَفْسِهِ؛ فَلْيُطَوِّلْ مَا شَاءَ"
“เมื่อคนหนึ่งคนใดในพวกท่านทำหน้าที่เป็นอิมามนำผู้คนละหมาด ก็จงผ่อนปรนให้เพลาๆ ลง
เพราะแท้จริงแล้ว ในหมู่พวกเขา มีผู้ที่อ่อนแอ มีคนป่วย และคนชรา
และเมื่อคนใดในพวกท่านละหมาดเพียงลำพัง ก็จงละหมาดให้นานตามที่เขาปรารถนาเถิด”
(บันทึกโดย อิมาม อัลบุคอรีย์)
และส่วนหนึ่งจากการเอาใจใส่ผู้สูงอายุของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ก็คือ ท่านได้เตือนพวกเขาไม่ให้ลุ่มหลงฝักใฝ่ในดุนยาและสะสมทรัพย์สินเงินทอง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าว่า :
"قَلْبُ الشَّيْخِ شَابٌّ عَلَى حُبِّ اثْنَتَيْنِ: حُبِّ الْعَيْشِ، وَالْمَالِ"(رَوَاهُ مُسْلِمٌ). وَفِي رِوَايَةٍ: "قَلْبُ الشَّيْخِ شَابٌّ عَلَى حُبِّ اثْنَتَيْنِ: طُولُ الْحَيَاةِ، وَحُبُّ الْمَالِ"(رَوَاهُ مُسْلِمٌ).
“หัวใจของคนชราจะยังคงหนุ่มแน่นอยู่กับความหลงใหลในสองประการด้วยกัน นั่นคือ หลงใหลในการมีชีวิต และในทรัพย์สมบัติ”
(บันทึกโดย อิมาม มุสลิม)
อีกรายหนึ่งระบุว่า :
“หัวใจของคนชราจะยังคงหนุ่มแน่นอยู่กับความหลงใหลในสองประการด้วยกัน นั่นคือ การมีชีวิตที่ยืนยาว และการรักในทรัพย์สินเงินทอง”
(บันทึกโดย อิมาม มุสลิม)
หมายถึง หัวใจของผู้สูงวัย (คนชรา) จะยังคงเต็มเปี่ยมด้วยการหลงรักในทรัพย์สมบัติ ยังสามารถดำเนินการในเรื่องของทรัพย์สิน เฉกเช่นกำลังของคนหนุ่มที่สามารถจัดการได้ในวัยฉกรรจ์
ดังคำยืนยันจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า :
"يَهْرَمُ ابْنُ آدَمَ، وَتَشِبُّ مِنْهُ اثْنَتَانِ: الْحِرْصُ عَلَى الْمَالِ، وَالْحِرْصُ عَلَى الْعُمُرِ"
“ลูกหลานอาดัมจะแก่ชราลง แต่จะมี สองสิ่งที่จะยังคงไม่แก่ไปตามวัย นั่นก็คือ ความฝักใฝ่ในทรัพย์สมบัติ และฝักใฝ่ในการมีชีวิตอยู่”
(บันทึกโดย อิมาม มุสลิม)
และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ยังได้เคยเตือนผู้สูงวัยให้ระวังตัวในเรื่องกำหนด”อญั้ล”ของพวกเขาที่ใกล้เข้ามา ดังที่ท่านกล่าวว่า :
"أَعْذَرَ اللَّهُ إِلَى امْرِئٍ أَخَّرَ أَجَلَهُ حَتَّى بَلَّغَهُ سِتِّينَ سَنَةً"
“ อัลลอฮฺจะทรงระงับการแก้ตัวของบุคคลหนึ่ง ที่อญัลของเขาถูกให้ล่าช้าออกไป จนกระทั่งอายุถึง 60 ปี”
(บันทึกโดย อิมามอัลบุคอรีย์)
หมายถึง หากเลย 60 ปีไปแล้ว เขาก็จะไม่เหลือข้อแก้ตัวใดๆ จากการทำผิดอีกต่อไป
ท่านอิบนุ บัฏฏ้อล กล่าวไว้ว่า :
คือ จะไม่มีการรับการแก้ตัวใดๆ สำหรับเขาผู้นั้น ในช่วงวัยที่ไร้ข้อแก้ตัว เพราะในวัย 60 ปีนี้ คือวัยที่ต้องเตรียมตัวตาย เป็นช่วงอายุที่ต้องกลับเนื้อกลับตัว นอบน้อมสำรวมตน และยอมจำนนต่ออัลลอฮฺ ต้องเฝ้าระวังความตายและการกลับไปพบกับอัลลอฮฺ ตะอาลา
ด้วยเหตุนี้เอง ความผิดของผู้ที่ละเมิดในช่วงวัยนี้ จึงนับกว่าหนักหนากว่าวัยอื่น เพราะท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :
“ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
"ثَلَاثَةٌ لَا يُكَلِّمُهُمُ اللَّهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، وَلَا يُزَكِّيهِمْ، وَلَا يَنْظُرُ إِلَيْهِمْ، وَلَهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ: شَيْخٌ زَانٍ، وَمَلِكٌ كَذَّابٌ، وَعَائِلٌ مُسْتَكْبِرٌ"
"มีคนอยู่ 3 ประเภท ที่อัลลอฮฺจะไม่ทรงพูดกับพวกเขา ไม่ทรงซักฟอกให้พวกเขาสะอาดบริสุทธิ์ (ไม่ทรงชื่นชมสรรเสริญ)
ไม่ทรงทอดพระเนตร (มองดู) ไปยังพวกเขา และสำหรับพวกเขาจะได้รับการลงทัณฑ์อันเจ็บแสบ
นั่นคือ ชายชราที่ทำซินา (ผิดประเวณี ) กษัตริย์จอมโกหก และยาจกที่หยิ่งผยอง "
(บันทึกโดย อิมามมุสลิม)
เหตุผลก็เพราะ แต่ละคนที่ยังจมปลักอยู่กับการทำผิดฝ่าฝืนที่ระบุไว้ ทั้งๆ ที่อยู่ในสถานะที่ห่างไกล (มีสิทธิ์น้อยที่จะทำผิดในเรื่องดังกล่าว) และไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะกระทำผิดในเรื่องนั้น การก้าวล่วงกระทำผิดในเรื่องเหล่านี้ จึงเสมือนการดื้อดึง ดูหมิ่นในสิทธิของอัลลอฮฺ ตะอาลา และมีเจตนาในการฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์โดยตั้งใจ ใช่เพื่อจุดประสงค์อื่นใดเลย
وصلى الله على نبينا محمد وعلى آله وصحبه أجمعين
والحمد لله رب العالمين
หนังสืออนุสรณ์งานประจำปีโรงเรียนมุสลิมวิทยาคาร