เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
  จำนวนคนเข้าชม  161

เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น

 

อ.อิสหาก พงษ์มณี  เรียบเรียง

 

ตราสารทุนและตราสารหนี้: 

 

          ตราสารทุนและตราสารหนี้ เป็นเครื่องมือทางการเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการระดมทุนและลงทุน โดยทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันในหลายประการ ดังนี้

ตราสารทุน (Equity) ความหมาย: แทนส่วนของกรรมสิทธิ์ในบริษัท เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์

ลักษณะ : เจ้าของ: ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในการตัดสินใจสำคัญของบริษัท และได้รับส่วนแบ่งกำไร

ความเสี่ยง: สูง เนื่องจากผลตอบแทนขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทโดยตรง หากบริษัทขาดทุน ผู้ถือหุ้นอาจขาดทุนได้ทั้งหมด

สิทธิประโยชน์:

สิทธิออกเสียง: มีสิทธิเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นและออกเสียงตัดสินใจ

สิทธิได้รับเงินปันผล: ได้รับส่วนแบ่งกำไรของบริษัท

สิทธิในทรัพย์สินคงเหลือ: เมื่อบริษัทเลิกกิจการ ผู้ถือหุ้นมีสิทธิในทรัพย์สินที่เหลือหลังจากชำระหนี้หมดแล้ว

ตัวอย่าง : หุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

หุก่มทางศาสนา จะขี้นอยู่กับรายละเอียดของ

1-การดำเนินงานของบริษัทร่วมทุน

2-ตัวของหุ่นเอง

 

         คือหากบริษัททำธุกิจที่ผิดหลักการ แน่นอนจะร่วมถือครองหุ่นเพื่อลงทุนด้วยย่อมไม่ได้ เช่น ผลิตสุรา ธนาคารดอกเบี้ย บริษัทประกันภัยเชิงธุรกิจ ฯลฯ แต่ถ้าพื้ฐานธุรกิจไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งห้ามตามหลักการแต่อาจมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจผิดหลักการ เช่น ออกเงินกู้หรือกู้เงินที่ต้องจายดอกเบี้ย อย่างนี้เรียกว่าแบบผสมผสาน 

 

          ธุรกิจหลัก คือผลิตสินค้าที่ไม่ผิดหลักการ เช่น ผลิตจักรยานส่งออก หรือผลิตรองเท้า ที่นอน โต๊ะ ตู้ เตียงขาย แต่บริษัทก็นำทุนส่วนหนึ่งออกให้บริษัทหรือบุคคลอื่นกู้โดยคิดดอกเบี้ย และนำดอกเบี้ยมาเป็นรายได้ของบริษัทด้วย บริษัทลักษณะนี้นักวิชาการร่วมสมัยส่วนใหญ่ก็ห้ามร่วมทุนเช่นกัน

 

          และหากมิใช่เป็นผู้ออกเงินกู้แต่เป็นผู้กู้เสียเอง คือกู้มาเพิ่มทุนขยายกิจการหรือเพื่อมาเพื่มสภาพคล่องในบางเวลา หากบริษัทร่วมทุนระบุแนวดำเนินการไว้ชัดเจนดังนี้ นักวิชาการส่วนใหญ่ก็ถือว่าห้ามร่วมทุนเช่นกัน เพราะการเข้าไปถือหุ้นก็เท่ากับเข้าไปร่วมกู้ลักษณะต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วยนั่นเอง

         ถ้าพิจาณาตามนี้ ในบ้านเราคงไม่สามารถเช้าไปซื้อหุ่นร่วมทุนได้แน่นอน เพราะไม่ว่าจะเป็นบริษัทใดก็ล้วนผูกพันโยงใยกับการกู้และให้กู้ทั้งสิ้น

          มีบางทัศนะให้ทางออกเพื่อเปิดทางให้ร่วมทุนกับบริษัทลักษณะผสมสาน ว่ากรณีรายได้ของบริษัทมีดอกปลอมปนเข้ามาก็ให้คิดเฉลี่ยตามหุ้นแล้วตัดทิ้งไป (จ่ายในทิศทางที่จ่ายใด้) ในส่วนหุ้นที่เราถือครอง แต่ก็ถือว่าเป็นทัศนะที่อ่อนเพราะไรัหลักแน่นอนอ้างอิง

 

          ตัวหุ้นเองก็มีผลต่อหุก่มเช่นกัน คือถ้าเป็นหุ้นสามัญก็มิใช่ปัญหา แต่ถ้าเป็นหุ้นบุริมสิทธิก็มีปัญหา 

          หุ้นบุริมสิทธิ (อังกฤษ: preferred stock) เป็นตราสารทางการเงินประเภทตราสารทุน คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ รายละเอียดของบุริมสิทธิที่พึงจะมีจะต้องดูในเอกสารของบริษัทนั้น ๆ อีกครั้งหนึ่ง หุ้นประเภทนี้มีไม่มากนักในตลาดหลักทรัพย์ มีการซื้อขายกันน้อย หรือภาษาเทคนิคเรียกว่ามีสภาพคล่องต่ำ หุ้นบุริมสิทธิบนกระดานหุ้นสังเกตได้จากสัญลักษณ์ + หรือ P ท้ายอักษรย่อ ของหุ้นสามัญ

 

 

     หุ้นประเภทที่ไม่ชอบด้วยหลักการร่วมทุนตามบัญญัติศาสนา นักวิชาการจึงชี้ว่าเป็นหุ้นต้องห้าม เช่น ตราสารหนี้

 

ตราสารหนี้ (Debt)

 

     ความหมาย: แทนหนี้สินที่บริษัทหรือองค์กรต่างๆ กู้ยืมมา โดยมีการระบุจำนวนเงินที่ต้องชำระคืน และอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย

     ลักษณะ:

เจ้าหนี้: ผู้ถือตราสารหนี้เป็นเจ้าหนี้ของบริษัท มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยและเงินต้นคืนตามกำหนด

ความเสี่ยง: ต่ำกว่าตราสารทุน แต่ก็มีความเสี่ยงที่บริษัทจะผิดนัดชำระหนี้

สิทธิประโยชน์: ได้รับดอกเบี้ยเป็นระยะ และได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนด

ตัวอย่าง: พันธบัตร หุ้นกู้ ใบสำคัญรับฝาก

     หุก่มตราสารหนี้ (Debt)

     ตราสารหนี้ (Debt) ชัดเจนโดยไม่ข้อคลุมเคลือใดๆ ว่ามันคือการให้กู้โดยมีดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน ดอกเบี้ยต้องห้ามแน่นอนชัดเจนอยู่แล้วครับ

 

 

 

     หุก่มของบัตรเดบิต

 

          ในภาษาอาหรับเรียกว่า  (البطاقة المغطاة) สภาพของบัตรเดบิตไม่ต่างอะไรกับการใช้เงินสดในแง่ของการซื้อขายจ่ายหนี้ เพราะหากนำไปใช้ก็จะมีการหักเงินออกจากบัญชีทันที ส่วนผู้ให้บริการ (ผู้ออกบัตร) ก็สามารถเรียกเก็บค่าบริการถ้ามีได้ตามจริง โดยมีฟัตวาชัดเจนจากมัจมะอฺฟิกฮี่ 

 

     บัตรเดบิต (Debit card)​​ 

          คือ บัตรที่ผูกไว้กับบัญชีเงินฝากของผู้ถือบัตร เพื่อใช้ทำรายการที่เครื่อง ATM ไม่ว่าจะเป็นการถอนเงิน โอนเงิน สอบถามยอด และชำระค่า​สินค้าและบริการ (ซึ่งเป็นคุณสมบัติของบัตร ATM) และใช้ทำรายการชำระค่าสินค้าและบริการที่ร้านค้า รวมถึงการซื้อสินค้าออนไลน์ได้ โดยจะเป็นการหักเงินออกจากบัญชีเงินฝากทันที (หรือที่เรียกว่า pay now นั่นเอง)

 

     ข้อดีของการใช้บัตรเดบิต

 - ไม่ต้องพกเงินสด ซึ่งจะช่วยลดความเสียหายหากถูกโจรกรรมหรือทำบัตรหาย

 - สะดวก รวดเร็วในการชำระเงิน และไม่ต้องเสียเวลาในการทอนเงิน

 - ควบคุมการใช้จ่ายของผู้ถือบัตรเดบิตได้ดีกว่าการใช้บัตรเครดิต เนื่องจากถ้าไม่มีเงินในบัญชีก็จะไม่สามารถเบิกเงินสดหรือซื้อสินค้าและบริการได้

 

 

 

     การซื้อผ่อน

 

การซื้อโดยภาพรวมพอแบ่งได้ดังนี้

1-ซื้อสด

2-ซื้อผ่อน (มีการประวิงเวลามาเกี่ยวข้อง)

     คำว่าสดในภาษาอาหรับเรียกว่า "อัลอุ้ลห้าล" หรือบางทีก็เรียก "อัยอฺ อัลนายิซ"

     ซื้อสดขายสดก็คือมีการส่งมอบสินค้าและราคาสินค้าทันทีชณะทำข้อตกลงกัน ส่วนใหญ่แล้วมักไม่ค่อยมีปัญหาเพราะผู้ซื้อผูัขายเห็นสินค้าและราคาสินค้า แต่มักจะมีปัญหาคือซื้อผ่อนขายผ่อน เพราะรูปแบบของการผ่อนนั้นทีหลากหลายรูปแบบ บางแบบก็ผิดหลักการบางแบบก็ถูกหลักการ คำว่าหลักการในที่นี้คือหลักการศาสนา

 

ลักษณะของการผ่อนอาจจะผ่อนสินค้าก็ได้หรือผ่อนราคาสินค้าก็ได้ เช่น

1-รับสินค้าไปก่อนแล้วค่อยผ่อนจ่ายราคาสินค้า

2-จ่ายราคาสินค้าไปก่อนแล้วค่อยรับสินค้าภายหลัง

3-ตกลงกันก่อนแล้วค่อยส่งมอบสินค้าและราคาสินค้าภายหลัง   ประการสุดท้ายนี้ (ข้อ 3) เป็นที่ต้องห้ามโดยเอกฉันท์

          ส่วนสองข้อแรกสามารถทำได้แต่ต้องยึดตามกฏที่ศาสนาวางไว้ กฏดังกล่าวคือเงื่อนไขต่ๆ ซึ่งเรียกว่า "เงื่อนไขของการซื้อขายลักษณะผ่อนส่ง" ส่วนว่าผู้ซื้อผู้ขายจะมาตั้งเงื่อนไขกันเองเพิ่มเติมเข้าใจก็ย่อมทำได้อีกเช่นกัน เงื่อนไขทำนองนี้เรียกว่า "เงื่อนไขในการซื้อขายฯ" เพี่ยงแต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่ขัดหรือยกเลิกเงื่อนไขที่ศาสนากำหนดไว้ ซึ่งก็คือ "เงื่อนไขของฯ" นั่นเอง

 

     ในยุคใหม่มีการเสนอธุรกรรมลักษณะเปิดบิลล์เพื่อซื้อสินค้าซึ่งมีจุดประสงค์

1-นำไปอุปโภคบริโภค

2-นำไปจำหน่ายต่อ

 

     หากมองแค่นี้ก็ดูเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนยุ่งยากอะไร แต่พอซักไซ้ไล่เรียงในรายละเอียดพบว่ามันมิได้เรียบง่ายดังว่าและมีรายละเอียดซับซ้อนกว่านั้น เช่น

1-เป็นการซื่อขายลักษณะออนไลน์

2-สินค้ามิได้อยู่หน้าผู้ซื้อ ผู้ซื้อเห็นเพียงแคตตะล๊อกหรือภาพของสินค้า

3-ไม่มีการส่งมอบสินค้าทั้งหมด โดยอ้างว่าทางผู้ขายยินดีสต๊อกสินค้าไว้ให้

4-หากผู้ซื้อประสงค์สินค้า ทางผู้ขายจะส่งมอบให้แค่บางส่วน

      5-มีการมอบหมายให้ทางผู้ขายเดิม ส่วมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อต่อจากผู้ซื้อคนแรก โดยที่ผู้ซื้อคนแรกไม่ต้อวรับมอบสินค้ามาไว้มนครอบครองของตน

      6-ผู้ซื้อมิได้ประสงค์ในสินค้าโดยตรง แต่ประสงค์เป็นสมาชิกหรือตัวแทนแนะนำลูกค้าใหม่ให้ผู้ขาย แลกกับประโยชน์ที่ผู้ขายเสนอแบบซับซ้อน

7-และ ฯลฯ รายละเอียดเหล่านี้มีผลต่อ "หุก่ม-ข้อตัดสิน" ทางศาสนาทั้งสิ้น 

 

สิ่งที่พอสังเกตได้คร่าวๆ คือ

1-จุดประสงค์มิใช่ตัวสินค้าแต่เป็นสมาชิกภาพ

2-ซื่อขายคุณลักษณะของสินค้า ไม่ใช่ตัวสินค้าตรงๆ

3-ไม่ส่องมอบสินค้ายกเว้นบางส่วน

4-ชายเอากำไรจากสิ่งที่มิได้อยู่ในความรับผิดชอบของตน (อยู่ในโกดังผู้ขายคนแรก)

          ทั้งหมดเหล่านี้มีผลต่อธุรกรรมทั้งสิ้น หากไม่ศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วนก็ยากที่พ้นผิดได้ตามหลักการ ดังนั้นจึงขอเรียกร้องลงลึกศึกษาในรายละเอียดเหล่านี้ให้ดีๆ เสียก่อน คือก่อนที่จะไปรับรองว่า "ทำได้" หรือ "ทำไม่ได้" 

 

 

เงินฝาก

 

     คำว่า "ฝาก" ตรงกับคำว่า "วะดีอะฮ์" ผู้รับฝากไม่สามารถนำเงินฝากไปทำประโยชน์ใดๆ ผู้รับฝากมีความรับผิดชอบลักษณะ "อะมานะฮ์" คือในบางกรณีเท่านั้น

     หากมีการประกันเงินฝากแบบ "ฎ่อมาน" คือทุกกรณี แม้จะเรียกว่า "ฝาก" แต่ข้อเท็จจริงคือการ "กู้" การกู้หนี้ยืมสินหากเรียกรับผลประโยชน์หรือให้ผลประโยชน์ ประโยชน์นั้นคือดอกเบี้ย

 

ถ้าเรียกว่าเป็นการ "ฝาก"

1-ต้องไม่นำเงินนั้นไปทำประโยชน์

2-ต้องไม่รับประกันเงินฝากทุกกรณี

 

          แต่ถ้าเรียกว่าร่วมทุน ก็ต้องแจ้งให้ผู้ร่วมทุนทราบล่วงหน้าว่าเงินที่นำมาลงทุนนั้นอาจประสบการขาดทุนได้ และต้องไม่ประกันเงินทุนนั้นทุกกรณี ที่สำคัญต้องกำหนดสัดส่วนผลแบ่งกำไรให้ชัดเจนขณะทำข้อตกลง ส่วนแบ่งกำไรต้องไม่กำหนดเป็นร้อยละของเงินลงทุน 

 

          เรื่องสัญญาทางธุรกรรมพิจารณาที่เนื้อหา ไม่พิจาณาที่ถ้อยคำหรือภาษาที่ใช้ ชื่อสถาบันการเงินไม่เกี่ยวอะไรกับธุรกรรมที่ทำ คือหากทำผิดก็ต้องผิด ส่วนชื่อไม่เกี่ยว เช่น สถาบันอีหม่าน ตักวา ฏออะฮ์ ศอและฮ์ มั๊วหฺซิน อุมัร อาลี ซัยดฺ หรือแม้แต่คำว่า "อิสลาม"