ถ้อยคำแห่งปวงปราชญ์ 109
แปลและเรียบเรียง....เพจวันละหนึ่งความคิด
- เชค ซอลิหฺ อัลอุศ็อยมีย์ หะหิศ่อฮุ้ลลอฮฺ-
การมีศาสนาที่เปราะบาง และมีสติปัญญาที่อ่อนแอ (ไม่มีความรู้, ไม่ใช้ความคิด)
สองสิ่งนี้จะขจัด "ศาสนา และ ดุนยา" ของผู้เป็นบ่าว ให้หมดไป และเป็นสิ่งที่นำพาไปสู่หายนะในที่สุด
ดังนั้น หากท่านพบใครมีลักษณะหนึ่งในสองลักษณะนี้ ก็จงปลีกตัวออกห่างจากเขา
และหากท่านพบใครที่มีทั้งสองลักษณะนี้แล้วละก็ ก็จงหนีห่างจากเขา ประหนึ่งการเตลิดหนีจากราชสีห์เถิด
- อิมาม อิบนิกะษีร ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ -
กลุ่มผู้ที่หน้าไหว้หลักหลอกนั้น ในยามเกิดสงคราม พวกเขาคือบุคคลที่ขี้ขลาดที่สุด และในยามสงบ พวกเขาคือบุคคลที่พูดมากที่สุด
(ตัฟซีร อิบนิ กะษีร 502)
"และผู้ใดที่ผินหลังให้กับการรำลึกนึกถึงข้า (อัลลอฮฺ)
แท้จริง สำหรับชีวิตความเป็นอยู่ในโลกดุนยาของเขานั้น จะเป็นไปอย่างยากลำบาก คับแค้น ลำเค็ญ
และเราจะให้เขาฟื้นคืนชีพขึ้นมาในวันกิยามะฮฺในสภาพที่เป็นคนตาบอด"
( ฏอฮา /124)
หมายถึง ใครก็ตามที่คัดค้าน ฝ่าฝืนคำสั่งของข้า และสิ่งที่ข้าได้ประทานลงมาแก่ร่อซู้ลของข้า ผินหลัง ละเลย แสร้งทำเป็นลืม และยึดเอาทางนำอื่นจากทางนำของเขาแล้วละก็ แท้จริง สำหรับเขาผู้นั้นจะมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก
หมายถึง มีความยากลำเค็ญในดุนยา ไม่มีความสงบใจ เบิกบานใจ ยิ่งไปกว่านั้นหัวอกของเขาจะรู้สึกคับแคบ อึดอัด มีอุปสรรค อันเนื่องมาจากการหลงทางของเขา แม้ว่าภาพลักษณ์ภายนอกของเขาจะได้รับความสุขสบาย ได้สวมใส่เครื่องแต่งกายอย่างที่เขาปรารถนา ได้รับประทานอย่างที่เขาโปรดปราน และได้พำนักอยู่อาศัยอย่างที่เขาต้องการก็ตาม
(ตัฟซี้ร อิบนิ กะษีร)
-เชค มุฮัมมัด อิบนิ อุซัยมีน ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ-
จงทำให้ตัวของเราคิดในแง่ดีอยู่เสมอ...เพราะสิ่งที่อัลลอฮฺประสงค์นั้น มันย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
จงเป็นคนเบิกบาน ยินดีเสมอ และมีใจที่กว้างพอ เพราะโลกดุนยาที่อยู่ตรงหน้าเรา กว้างใหญ่นัก
และหนทางยังคงเปิดอยู่เสมอ สิ่งนี้นี่เอง ที่มีแต่ความดี
[شرح رياض الصالحين]
รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนิ อัมรฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่า ขณะที่พวกเราอยู่รายล้อมท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านได้พูดถึงเรื่องฟิตนะฮฺ ท่านกล่าวว่า :
“เมื่อพวกท่านได้พบว่าผู้คนต่างไม่รักษาสัญญาอย่างเป็นที่แพร่หลาย ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ลดน้อยหายไป แล้วพวกเขาต่างเป็นเช่นนี้ (แล้วท่านได้นำนิ้วมาประสานกัน)
( หมายถึง ประสมปนเปกันไปหมด ไม่รู้ว่าใครดีใครไม่ดี ไม่รู้ว่าใครคือผู้ศรัทธา ใครคือผู้สับปลับ)
ฉัน (ท่านอับดุลลอฮฺ) ได้ลุกขึ้นไปหาท่าน และถามว่า “เมื่อเป็นเช่นนั้น แล้วจะให้ผมทำอย่างไรดีครับ ขออัลลอฮฺให้ผมได้พลีชีพเพื่อท่านด้วยเถิด?”
“จงอยู่กับบ้าน (อย่าออกบ้านนอกจากจำเป็นจริงๆ)
จงควบคุมลิ้นของท่านเอาไว้ (อย่าพูดวิจารณ์ในเรื่องราวที่เกิดขึ้นเพื่อความปลอดภัยของตัวเอง อย่าได้เข้าไปยุ่มย่ามมีส่วนร่วมกับฟิตนะฮฺทั้งคำพูดและการกระทำ)
จงยึดเอาในสิ่งที่เป็นความถูกต้อง และละทิ้งในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
และจงอยู่แต่กับเรื่องของตนเองเป็นการเฉพาะ
และละทิ้งปล่อยวางในเรื่องที่เกิดขึ้นกับส่วนรวม” (อย่าได้ยุ่งวุ่นวายฟุ้งซ่านกับสิ่งที่เกิดขึ้น)
(บันทึกโดย อิมามอบูดาวู้ด)
รายงานจากท่านอุกบะฮฺ อิบนิ อามิร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า : ฉันพูดขึ้นว่า ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺครับ อะไรคือทางรอดหรือครับ ?
" จงระงับลิ้นของท่านเอาไว้ (ควบคุมลิ้นระวังคำพูด)
ให้บ้านเป็นที่กว้างขวางสำหรับท่าน (อยู่กับบ้านและออกเท่าที่จำเป็น)
และจงร่ำไห้ในความผิดของท่านเองเถิด (ให้เสียใจสำนึกผิดในความผิดของตัวเอง ตระหนักอยู่กับเรื่องของตัวเองเป็นสำคัญ) "
(บันทึกโดย อิมามอบูดาวู้ด)
-ท่านอัลฮาซัน อัลบัศรีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ-
ไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาดแต่อย่างใด ว่าคนที่ พิ น า ศ เหตุใดเขาจึง พิ น า ศ
แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจ คือคนที่รอดพ้นปลอดภัย เขารอดปลอดภัยไปได้อย่างไร ! !
- เชค อิบนิ อุซัยมีน ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ -
ผู้เป็นบ่าวที่รอดพ้นปลอดภัย (จากการถูกลงโทษ)นั้น ช่างน้อยนิดเหลือเกิน
ดังนั้น ท่านพึงสำรวจตรวจสอบตัวท่านเองเถิด ว่าท่านอยู่ในหมู่คนจำนวนน้อยเหล่านั้น หรืออยู่ในคนหมู่มาก
(ตัฟซีรซูเราะฮฺ อันนิซาอฺ 491)
- เชค สอี๊ด ฏอนฏอวีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ-
ท่านจงดำเนินอยู่บนทางนำที่ถูกต้อง ผู้แสวงหาร่วมทางที่น้อยนิด ย่อมไม่กระทบเป็นภัยใดๆ แก่ท่าน
และท่านจงออกห่างจากแนวทางที่หลงผิด เพราะผู้หายนะที่มากมาย ย่อมไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อท่านเช่นเดียวกัน
-อิมาม อิบนิ้ล ก็อยยิม ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ -
ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
«لا يرُدُّ القدَرَ إلا الدعاء، ولا يزيدُ في العُمر إلا البِرُّ، وإن الرجُلَ ليُحرَم الرزقَ بالذنبِ يُصيبُه»
“ไม่มีสิ่งใดที่จะเปลี่ยนแปลงกำหนดสภาวการณ์ได้ นอกจากด้วยการขอดุอาอฺ
และไม่มีสิ่งใดที่จะช่วยยืดอายุขัยได้ นอกจากด้วยการทำความดี
และแท้จริง บุคคลหนึ่งจะถูกขัดขวางจากริสกี เนื่องเพราะความผิดที่เขาได้กระทำ”
(บันทึกโดยอิมาม อิบนิฮิบบาน)
หนึ่งในผลกระทบที่เกิดจากการทำบาปก็คือ "ริสกีจะถูกห้าม" (ไม่ให้ได้รับ)
แท้จริง ผู้เป็นบ่าวจะถูกขัดขวางจากริสกี อันเนื่องจากความผิดบาปที่มาประสบกับเขา
เช่นเดียวกับที่ตั๊กวา (ความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ) คือสิ่งที่ทำให้ได้รับริสกีมา
ดังนั้น การละทิ้งตั๊กวา คือ สิ่งนำพาให้พบกับความยากจน
จึงไม่มีสิ่งใดที่ทำให้ได้รับริสกี ของอัลลอฮ เท่ากับการละทิ้งการฝ่าฝืน กระทำความผิดต่อพระองค์ได้เลย
(ดาอฺวัดดะวาอฺ 75)
๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘๘