การตัดสิน(ว่าใครเป็น)กาเฟร
  จำนวนคนเข้าชม  133

การตัดสิน(ว่าใครเป็น)กาเฟร

 

อ.อิสหาก พงษ์มณี ....เรียบเรียง

 

     ชัยคุ้ลอิสลาม อิบนุตัยมียะห์ ร่อหิมะฮุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า

 

(التَّكفيرُ له شُروطٌ ومَوانِعُ قد تَنتَفي في حَقِّ المُعيَّنِ، والتَّكفيرُ المُطلَقُ لا يستَلزِمُ تَكفيرَ المُعيَّنِ إلَّا إذا وُجِدَتِ الشُّروطُ وانتَفتِ المَوانِعُ) يُنظر: ((مجموع الفتاوى)) (12/ 487) بتصرف يسير.

 

          "การตัดสิน(ว่าใครเป็น)กาเฟร(หรือไม่) มีเงื่อนไขและข้อจำกัดกรณีตัดสินบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นการเฉพาะเจาะจง การตัดสินแบบภาพรวมไม่ผลผูกพันต่อการตัดสินบุคคลแบบเฉพาะเจาะจงยกเวันจะเข้าเงื่อนไขและไร้ข้อจำกัด" 

(มัจมูอุลฟะตาวา เล่ม 12 หน้า 487)

 

     ท่านนอิบนุกอยยิม ร่อหิมะฮุ้ลลอฮ์ อธิบายเพิ่มว่า

 

 (أهلُ البدَعِ الموافِقونَ لأهلِ الإسلامِ، ولكِنَّهم مُخالفونَ في بَعضِ الأُصولِ كالرَّافِضةِ والقدَريَّةِ والجهميَّةِ وغُلاةِ المُرجِئةِ ونَحوِهم، هؤلاء أقسامٌ)

 

          "พวกบิดอะห์ที่มีอะไรตรงกับชาวอิสลาม แต่มีความต่างในเรื่องพื้นฐานหลักบางประการ เข่นพวกรอฟิเฎาะห์ ก๊อดรียะห์ ญะฮ์มียะฮ์ และพวกมุรญิอะฮ์สุดโต่ง พวกเหล่านี้มีหลายประเภท

 

ประเภทที่หนึ่ง

 

أحَدُها: الجاهِلُ المُقَلِّدُ الذي لا بَصيرةَ له، فهذا لا يُكفَّرُ ولا يُفسَّقُ، ولا تُرَدُّ شَهادتُه، إذا لم يكُنْ قادِرًا على تَعَلُّمِ الهدى، وحُكمُه حُكمُ المُستَضعَفينَ مِنَ الرِّجالِ والنِّساءِ والوِلدانِ الذين لا يستَطيعونَ حيلةً ولا يهتَدونَ سَبيلًا، فأولئك عسى اللهُ أن يعفوَ عنهم

 

          "ผู้ไม่รู้ที่ตามผู้อื่นแบบ(ตาบอด)ไร้ความคิด แบบนี้จะยังไม่ถูกตัดสินว่าเป็นกาเฟรหรือหาศอกและยังรับเป็นพยานได้ คือเป็นคนลักษณะที่ไร้ความสามารถจะศึกษาหาทางนำได้(เองชาวบ้านตาดำๆ) หุก่มของพวกเขาคือหุก่มเดียวกับผู้ไร้ความสามารถจากบรรดาชาย หญิง และเด็กที่ไม่สามารถจะหาหนทางสู่ทางนำ(ที่ถูกต้องได้) คนพวกนี้หวังว่าอัลลอฮ์จะอภัยให้พวกเขา"

 

 

ประเภทที่สอง

 

القِسمُ الثَّاني: المُتَمَكِّنُ مِنَ السُّؤالِ وطَلَبِ الهدايةِ، ومَعرِفةِ الحَقِّ، ولكِن يترُكُ ذلك اشتِغالًا بدُنياه ورياسَتِه، ولذَّتِه ومَعاشِه، وغَيرِ ذلك، فهذا مُفرِّطٌ مُستَحِقٌّ للوعيدِ، آثِمٌ بتَركِ ما وجَبَ عليه من تَقوى اللهِ بحَسبِ استِطاعَتِه، فهذا حُكمُه حُكمُ أمثالِه من تارِكي بَعضِ الواجِباتِ، فإن غَلبَ ما فيه مِنَ البدعةِ والهَوى على ما فيه مِنَ السُّنَّةِ والهدى رُدَّت شَهادَته، وإن غَلبَ ما فيه مِنَ السُّنَّةِ والهدى قُبِلت شَهادتُه

 

          "คือผู้ที่พอจะสามารถถามและค้นทางนำและความถูกต้องได้ แต่ทว่าหมกหมุ่นอยู่กับดุนยา แสวงหาตำแหน่งแห่งหน หรือการหาเลี้ยงชีพ และอื่นๆ ประเภทนี้ถือว่าบกพร่องและควรได้รับโทษ มีบาปที่ทิ้งสิ่งจำเป็นบางประการ หากว่าเขามีพฤติกรรมที่เป็นบิดอะห์มากกว่าซุนนะห์ก็ต้องไม่รับการเป็นพยานของเขา แต่ถ้ามีซุนนะห์มากกว่า ก็รับการเป็นพยานของเขาได้"

 

 

ประเภทที่สาม

 

القِسمُ الثَّالثُ: أن يسألَ ويطلُبَ، ويتَبَيَّنَ له الهدى، ويترُكَه تَقليدًا وتَعَصُّبًا، أو بُغضًا أو مُعاداةً لأصحابِه، فهذا أقَلُّ دَرَجاتِه أن يكونَ فاسِقًا، وتَكفيرُه مَحَلُّ اجتِهادٍ وتَفصيلٍ)

 

          "คือผู้ที่ถามได้ แสวงหาความรู้ได้ และแนกแยะได้ว่าอะไรคือทางนำ (ที่ถูกต้อง) แต่ก็ละทิ้งไม่ยอมแสวงหาเพราะตะอัซซุบและหลับตาตามผู้อื่น หรือเพราะโกรธ เกลียด และไม่พอใจผู้อยู่ในทางนำ คนพวกนี้อย่างน้อยก็ต้องเป็นคนฟาสิก(คนไม่ดีที่ฝ่าฝืนบัญญัติ) ส่วนการตัดสินว่าเขาจะเป็นกาเฟรหรือไม่ขึ้นอยู่กับรายละเอียดและการวินิจฉัย(ของผู้รู้)"

 

 

หุก่มของรอฟิเฎาะห์ในมุมมองของปราชญ์ซุนนะห์

 

1ฏ้อลหะฮ์ อิบนุ มุศ้อรริฟ ปราชญ์ในยุคตาบิอีน (เสียชีวิตปี ฮ.ศ 112) กล่าวว่า

 

(الرَّافِضةُ لا تُنكحُ نِساؤُهم، ولا تُؤكلُ ذَبائِحُهم؛ لأنَّهم أهلُ رِدَّةٍ) يُنظر: ((الشرح والإبانة على أصول السنة والديانة)) لابن بطة (ص: 160).

 

          "รอฟิเฎาะห์นั้น ต้องไม่งานกับสตรีของพวกเขา ต้องไม่กินสิ่งที่พวกเขาเชือด เพราะพวกเขาคือพวกริดดะห์(สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม"

 

2อบูอับดิ้ลลาฮ์ อัลฟิรยาบี่ ปราชญ์อาวุโสผู้เป็นอาจารย์ของอิหม่ามบุครี เสียชีวิตปี ฮ.ศ 212

 

عن موسى بنِ هارونَ بنِ زيادٍ قال: (سَمِعتُ الفِريابيَّ ورَجُلٌ يسألُه عَمَّن شَتَمَ أبا بكرٍ؟ قال: كافِرٌ. قال: فيُصَلَّى عليه؟ قال: لا) رواه الخلال في كتاب ((السنة)) (794)

 

          มีรายงานจากท่านมูซา อิบนุฮารูน.. "ว่ามีคนถามท่านฟัรยาบี่ถึงคนด่าอบูบักร์(ว่ามีหูห่มอย่างไร) ฉันได้ยินท่านตอบว่าเป็นกาเฟร เขาถามต่อว่าละหมาด(ญะนาซะห์)ให้ได้ไหม ท่านตอบว่า ไม่"

 

 

3มาลิก อิบนุ อะนัส (อิหม่ามมาลิก) ร่อหิมะฮุ้ลลอฮ์ ท่านกล่าวว่า

 

قال مالِكُ بنُ أنَسٍ: (الذي يشتُمُ أصحابَ النَّبيِّ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم ليس لهم نَصيبٌ في الإسلامِ) رواه الخلال في كتاب ((السنة)) (779)

 

          "ผู้ด่าเหล่าศ่อฮาบะห์นบี ศ้อลลัลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม พวกเขาไม่มีส่วนใดๆ เกี่ยวข้องกับอืสลาม"

 

 

4อะห์หมัด อิบนุ้ล หัมบั้ล (อิหม่ามอะห์หมัด) ร่อหิมะฮุ้ลลอฮ์

 

قال الخَلَّالُ: عن أبي بكرٍ المَرُّوذيِّ قال: سَألتُ أبا عَبدِ اللهِ -يعني أحمَدَ بنَ حَنبَلٍ- عَمَّن يشتُمُ أبا بكرٍ وعُمَرَ وعائِشةَ؟ قال: (ما أراه على الإسلامِ) رواه الخلال في كتاب ((السنة)) (782)

 

          "มีคนถามท่านถึงคนที่ด่าอบูบักรฺ อุมัร และอาอิชะฮ์ ว่า(มีหุก่ม) อย่างไร ท่านตอบว่าฉันไม่เห็นว่าจะยังอยู่ในอิสลาม"

 

 

5บุคอรี (ท่านอิหม่ามบุคอรี) ร่อหิมะฮุ้ลลอฮ์ 

 

قال البُخاريُّ: (ما أُبالي صَلَّيتُ خَلفَ الجَهميِّ والرَّافِضيِّ، أم صَلَّيتُ خَلفَ اليهودِ والنَّصارى،) (خلق أفعال العباد) (2/ 33).

 

          ท่านกล่าวว่า "ฉันไม่ใส่ใจ(ไม่เห็นว่าแตกต่าง)ว่าจะละหมาดตามหลังรอฟิเฎาะห์หรือตามหลังยะฮูดและนะศอรอ"

 

 

6อบูรุรอะห์ อัรรอซี่ ร่อหิมะฮุ้ลลอฮ์ ท่านกล่าวว่า

 

قال أبو زُرعةَ الرَّازِيُّ: (إذا رَأيتَ الرَّجُلَ ينتَقِصُ أحدًا من أصحابِ رَسولِ اللهِ صلَّى اللهُ عليه وسلَّم فاعلَمْ أنَّه زِنديقٌ) رواه الخطيب البغدادي في ((الكفاية في علم الرواية)) (ص: 49).

 

          "หากท่านใครด้อยค่าเหล่าศ่อฮาบะของร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลัม พึงรู้เถิดว่าผู้นั้นคือซินดี๊ก(คนนอกรีด)"

 

ที่กล่าวแล้วทั้งหมดเป็นแค่คำอุละมาอ์บางส่วนที่พูดถึงกลุ่มรอฟิเฎาะห์หรือชีอะห์สุดโต่ง 

 

         มนุษย์เราสามารถชี้ได้แค่นี้ คือสามารถพิสูจน์ได้ว่าผิดหรือถูกตามหลักการ คือสามารถชี้ได้ว่าถูกต้องตามหลักการหรือว่าผิดไปจากหลักการแค่นั้น ส่วนว่าผิดแล้วจะบาปไหม บาปแค่ไหน และทำไมถึงบาป ยังต้องพิจารณากันอีกหลายแง่หลายมุม

          กล่าวคือบางคนทำผิดไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็มี บางคนแค่ก็ทำผิดเล็กๆ น้อยๆ เพราะหลงลืมก็มี บางคนถูกบังคับให้ทำผิดก็มี

          ความผิดนะเรื่องหนึ่ง ส่วนจะมีบาปหรือไม่แค่ไหนก็เรื่องหนึ่ง ยิ่งจะต้องตกนรกหรือไม่เพราะบาปนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง ในเรื่องของปัจเจกชน ที่เราสามารถชี้และตัดสินได้ก็คือเรื่องผิดหรือถูกตามหลักการและตามข้อเท็จจริงที่ประจักษ์ ส่วนเรื่องอื่นๆ จะชี้ชัดฟันธงก็คงยากเพราะต้องอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาพิจารณา ซึ่งบางอย่างก็สุดวิสัยที่จะเข้าถึง เช่น ใครจะตกนรกหรือขึ้นสวรรค์ื เป็นต้น