บันทึกแห่ง ’สัจธรรม’ 12
  จำนวนคนเข้าชม  152

บันทึกแห่ง ’สัจธรรม’ 12

 

แปลเรียบเรียง...เพจบันทึกฮัก

 

 

อิหม่าม ชาฟิอีย์ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

"การอ่อนน้อมถ่อมตนคือหนึ่งในมารยาทอันดีงาม ส่วนการเย่อหยิ่งจองหองคือหนึ่งในคุณลักษณะที่น่าตำหนิ

การอ่อนน้อมถ่อมตนจะนำมาซึ่งความรัก และความพอเพียงจะทำให้เกิดความสบายใจ"

 

 

 

อิบนิ อุษัยมีน -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

"เราไม่ได้เกิดมาใช้ชีวิตในดุนยาเหมือนกับสัตว์ ที่เอาแต่กิน ดื่ม และนอนหลับเพียงเท่านั้น

แต่เราเกิดมาใช้ชีวิตเพื่อเตรียมเสบียงสำหรับโลกอาคิเราะฮฺ"

شرح الكافية الشافية

 

 

 

อิบนุ ตัยมียะฮฺ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

"หนึ่งในสาเหตุหลักที่ช่วยให้การงานของชัยฏอนแข็งแกร่งขึ้น คือการฟังเพลงและการละเล่น (โห่ร้อง ปรบมือ)

“มิปรากฏว่า การละหมาดของพวกเขา ณ บ้านของอัลลอฮฺ นั้นเป็นอย่างอื่น นอกจากการเป่าเสียง และการตบมือเท่านั้น" 

(อัล-อันฟาล:35)

 

"ฉันไม่เห็นว่าจะมีสิ่งใด เป็นอาหารเสริมสร้างสติปัญญา จิตวิญญาณ บำรุงรักษาร่างกาย และช่วยประกันความสุข

มากไปกว่า การได้ใคร่ครวญอัลกุรอ่าน อย่างสม่ำเสมอ"

 (مجموع الفتاوى ٧/٤٩٣)

 

 

 

ชัยคฺ ศอและฮฺ เฟาซาน -ฮะฟิซ่อฮุลลอฮฺ-

 

เมื่อใดบ้างที่การให้สลามเป็นที่น่ารังเกียจ(ไม่เหมาะสม)

     1. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังสนทนา เมื่อเขากำลังสนทนากับผู้อื่น

     2. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังซิกรุลลอฮฺ ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวตัสเบียะฮฺ ตะฮฺลีล หรือการอ่านอัลกุรอ่าน

     3. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังอธิบายฮะดีษที่เป็นคำพูดของท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

     4. ให้สลามแก่ค่อฏีบที่กำลังกล่าวปราศัย ซึ่งการปราศรัยนั้นไม่ใช่คุฏบะฮฺวันศุกร์ เพราะในระหว่างคุฏบะฮฺวันศุกร์เป็นที่ต้องห้ามโดยเด็ดขาด ดังนั้นการสลามให้ค่อฏีบ การสลามให้มะอฺมูม จึงไม่เป็นที่อนุญาติ

     5. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังสอน ไม่ว่าจะเป็นบทเรียนในเรื่องอัลกุรอ่าน อัลฮะดีษ ฟิกฮฺ และไวยกรณ์ภาษาอาหรับ ตัวอย่างบางคนเมื่อมาถึงฮะละเกาะฮฺ หรือขณะที่กำลังเรียน เขาจะยืนขึ้นและให้สลามเสียงดัง นั่นคือสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรปฏิบัติ เพราะเป็นการรบกวนครูผู้สอน รบกวนคนที่นั่งเรียนนั่งฟัง

     6. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังค้นคว้าหาวิชาความรู้ หรือกำลังค้นคว้าประเด็นใดประเด็นหนึ่งในเรื่องราวศาสนา ไม่ควรสลามและขัดจังหวะ เพราะไม่มีบทบัญญัติในเรื่องดังกล่าว

     7. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังตักเตือนผู้อื่น เมื่อเข้าไปถึงอย่าเพิ่งให้สลาม ควรนั่งฟังข้อเตือนใจ เพราะจะเป็นการขัดจังหวะทั้งผู้เตือนและผู้ฟัง

     8. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังทบทวนทำความเข้าใจวิชาฟิกฮฺ

     9. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังอะซาน เพราะนั่นเป็นการขัดจังหวะการอะซานของเขา

     10. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังละหมาด เมื่อมาถึงในขณะที่มีคนๆหนึ่งกำลังละหมาด ก็จงอย่าให้สลามจนกว่าเขาจะละหมาดเสร็จเสียก่อน มีรายงานว่าครั้งหนึ่งในขณะที่ท่านนบีกำลังละหมาด ได้มีศ่อฮาบะฮฺท่านหนึ่งให้สลามท่าน ท่านนบีจึงตอบรับสลามด้วยสัญญาณมือ ดังนั้นเมื่อใดที่มีคนให้สลามท่านในขณะที่ท่านกำลังละหมาด ก็จงตอบรับสลามด้วยสัญญานมือ

     11. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังอาบน้ำละหมาด เพราะไม่ควรให้สลามจนกว่าเขาจะอาบน้ำละหมาดเสร็จเสียก่อน เพื่อที่จะไม่เป็นการขัดจังหวะการอาบน้ำละหมาดของเขา ส่วนในกรณีของการชำระล้างที่ไม่ใช่กระทำเพื่ออิบาดะฮฺ อาจจะเป็นการอาบน้ำให้ร่างกายสดชื่น หรือเพื่อชำระล้างร่างกาย ก็ไม่มีข้อห้ามในการที่จะให้สลาม

     12. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังรับประทานอาหาร

     13. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังขับถ่าย (อุจจาระ) เพราะถือเป็นสิ่งเลวร้ายยิ่ง ฉะนั้นแก่ผู้ที่กำลังปัสสาวะหรืออุจจาระ อย่าได้ให้สลามตราบใดที่เขากำลังทำธุระส่วนตัวเพราะคนที่กำลังอุจจาระหรือปัสสาวะแล้วเขาได้พูดระหว่างนั้น คือสิ่งที่น่าเกลียดยิ่ง 

     14. ให้สลามแก่ผู้ที่กำลังต่อสู้กับศัตรูในสนามรบ ในระหว่างการรบนั้นจงอย่าได้ให้สลามแก่เขา เพราะเขากำลังมุ่งอยู่กับการสู้รบ

كتاب إتحاف الطلاب بشرح منظومة الآداب ص 

 

 

 

อิบนุ ก็อยยิม -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

"ก า ร ล ะ ห ม า ด" 

♥ ช่วยนำพาริสกี

♥ ดูแลรักษาสุขภาพ

♥ ปัดเป่าทุกข์ภัย

♥ ขับไล่โรคร้าย

♥ เติมกำลังให้หัวใจ

♥ ทำให้ใบหน้าผ่องใส

♥ ทำให้จิตใจเบิกบาน

♥ ขจัดความเกียจคร้าน

♥ ทำให้ร่างกายตื่นตัว

♥ ร่างกายแข็งแรง

♥ รู้สึกสบายใจ

♥ หล่อเลี้ยงหัวใจและวิญญาณ

♥ ทำให้หัวใจสว่างไสว

♥ รักษาความดีงามที่มี

♥ และป้องกันความทุกข์"

 زاد المعاد ٣٠٤/٤ 

 

 

 

     มีคนถามท่าน ซะฮฺล อิบนิ อับดิลลาฮฺ ว่า: เราจะทราบได้อย่างไรว่าคนๆนั้นอยู่ในแนวทางอะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ?

     ท่านตอบว่า: เมื่อคนๆนั้นมีคุณลักษณะต่อไปนี้

- ไม่ละทิ้งการอยู่ร่วมกับญะมาอะฮฺที่อยู่บนความถูกต้อง

- ไม่ด่าทอบรรดาศ่อฮาบะฮฺของท่านนบีﷺ

- เชื่อฟังผู้นำและไม่จับอาวุธขึ้นมาต่อต้านผู้นำ

- ไม่ปฏิเสธกอฎอและกอฎัร (การกำหนดของอัลลอฮฺทั้งดีและร้าย)

- ไม่มีความสงสัยในเรื่องการศรัทธา

- ไม่โต้เถียงในเรื่องศาสนา (เพื่อที่จะไม่ยอมรับความถูกต้อง)

- ไม่ทิ้งละหมาดญะนาซะฮฺให้แก่ผู้ที่เป็นมุสลิมเพียงเพราะว่าเขาทำบาป

- ไม่ละทิ้งซุนนะฮฺของการลูบบนรองเท้า

      - ไม่ละทิ้งการละหมาดญะมาอะฮฺตามหลังผู้ปกครอง ไม่ว่าเขาจะเป็นผู้อธรรมหรือมีความเป็นธรรมก็ตาม

شرح أصول اعتقاد أهل السُّنة والجماعة/ للإمام اللالكائي رحمه الله ١٨٣.

 

 

 

•┈┈┈••✦✿✦••┈┈┈••┈┈┈••✦✿✦••┈┈┈••┈┈┈••✦✿✦••┈┈┈•