สัญญาณที่ชึ้ให้เห็นว่า การทดสอบดีหรือไม่ดี ?
  จำนวนคนเข้าชม  267

สัญญาณที่ชึ้ให้เห็นว่า การทดสอบดีหรือไม่ดี ?

 

เรียบเรียง .... อ.จรวด นิมา

 

 

     มุศีบะฮฺ مصيبة  ภัยพิบัติ เคราะห์กรรม ความทุกข์ยาก และ อิบติลาอฺ ابتلاء การทดสอบ สองคำนี้มีอยู่ในอัลกรุ่อ่านและซุนนะฮฺ แบบอย่างของร่ซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และอยู่ในความรู้ และการกำหนดของอัลลอฮฺ ตะอาลา 

 

 

     สาเหตุแรก ของการทดสอบ เนื่องจาก มนุษย์ทำความผิดบาป และฝ่าฝืนบทบัญญัติของอัลลอฮฺ

 

     เช่น การปฏิเสธศรัทธา หรือการทำความชั่ว หรือการทำบาปใหญ่ เป็นเหตุให้ถูกทดสอบด้วยกับภัยบาลาอฺ เคราะห์กรรม ความทุกข์ยาก และเป็นการตอบแทนความชั่วร้ายด้วยการลงโทษทันที

 

     ดังคำตรัส ที่ว่า 

« وَمَا أَصَابَكَ مِنْ سَيِّئَةٍ فَمِنْ نَفْسِكَ» (النساء: 79)

 

“ส่วนความชั่วร้ายที่เกิดกับเจ้านั้น สาเหตุมาจากพวกเจ้าเอง”

(อันนิซาอฺ : 79)

 

 

     สาเหตุที่สอง ของการทดสอบ เนื่องจาก อัลลอฮฺ ทรงปราถนาที่จะยกระดับผู้ศรัทธา ด้วยการทดสอบภ้ยบาลาอฺ เคราะห์กรรม ความทุกข์ยาก เพื่อให้รู้ว่าใครพอใจยินดี และใครเป็นผู้ที่อดทน ซึ่งพระองค์จะทรงตอบแทนเขาในโลกหน้า 

 

     แน่นอนบรรดานบี และผู้ปฏิบ้ติดี จะถูกทดสอบอย่างต่อเนื่อง เพราะพระองค์จะให้มันเป็นเกรียติแก่พวกเขาด้วยการยกระดับในสวรรค์

 

ดังคำกล่าวของร่อซูล ศ็อลลัลลฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า

 

إِنَّ الْعَبْدَ إِذَا سَبَقَتْ لَهُ مِنْ اللَّهِ مَنْزِلَةٌ لَمْ يَبْلُغْهَا بِعَمَلِهِ ابْتَلَاهُ اللَّهُ فِي جَسَدِهِ أَوْ فِي مَالِهِ أَوْ فِي وَلَدِهِ (حديث صحيح)

 

“จริง ๆ บ่าวคนหนึ่ง เมื่อตำแหน่งเขาควรจะได้รับจากอัลลอฮฺ แต่อมั้ลงานของเขาไปไม่ถึง 

พระองค์จึงทดสอบเขาเกี่ยวกับตัวเขา ทรัพย์ของเขา และลูกของเขา เพื่อยกระดับ”

 

 

     ผู้ถูกทดสอบจะรู้ได้อย่างไร ว่าเป็นการลงโทษด้วยภัยบาลาอฺ หรือเป็น การทดสอบเพื่อยกระดับ !

     อันที่จริง การทดสอบเป็นส่วนหนึ่งจากแนวทางของอัลลอฮฺ ที่ไม่เปลี่ยนแปลง จะทดสอบชีวิตมนุษย์บนโลกนี้ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี 

 

     ดังคำตรัส ที่ว่า

 

 كُلُّ نَفْسٍ ذَائِقَةُ الْمَوْتِ وَنَبْلُوكُم بِالشَّرِّ وَالْخَيْرِ فِتْنَةً وَإِلَيْنَا تُرْجَعُونَ (سورة الأنبياء: ٣٥)، 

 

“ทุกชีวิตจะต้องลิ้มรสกับความตาย และเราได้ทดสอบสูเจ้า ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี แล้วต่อไปสูเจ้าจะต้องกลับคืนสู่เรา”

 (อัลอัมบิยาอฺ : 35)

 

          ก็เพื่อให้รู้ว่า ใครผู้ขอบคุณ ใครผู้เนรคุณ ใครผู้อดทน ใครผู้ท้อแท้  บางทีพระองค์ทดสอบสิ่งที่มนุษย์คิดว่าไม่ดี แต่ที่จริงแล้ว มันมีความดีมากมาย

 

     ดังคำตรัส ที่ว่า

 

وَعَسَى أَنْ تَكْرَهُوا شَيْئًا وَهُوَ خَيْرٌ لَكُمْ وَعَسَى أَنْ تُحِبُّوا شَيْئًا وَهُوَ شَرٌّ لَكُمْ وَاللَّهُ يَعْلَمُ وَأَنْتُمْ لَا تَعْلَمُونَ (البقرة: ٢١٦)

 

“แน่นอนว่า บางทีสูเจ้าอาจเกลียดสิ่งหนึ่งแต่ที่จริงแล้วมันเป็นสิ่งดีแก่สูเจ้า 

และแน่นอนว่า บางทีสูเจ้าชอบสิ่งหนึ่งโดยที่มันเป็นสิ่งร้ายสำหรับสูเจ้า 

อัลลอฮฺเท่านั้นทรงรู้ ส่วนสูเจ้าไม่รู้แต่อย่างใด”

 (อัลบะเกาะเราะฮฺ :216)

 

     ผู้ถูกทดสอบจะรู้ได้อย่างไร ว่าเป็นการลงโทษด้วยภัยบาลาอฺ หรือเป็น การทดสอบเพื่อยกระดับ ?

 

     เมื่อคนดี ถูกทดสอบจากอัลลอฮฺ เป็นการทดสอบที่ดี เพราะจะยกระดับสถานะเขาในสวรรค์ 

     ส่วนคนทำความผิดบาป เป็นการถูกทดสอบที่ไม่ดีนั้น บางทีเป็นการลบล้างความผิด แต่ต้องสำนึกผิด ก่อน และขออภัยโทษแล้ว พระองค์จะลบล้างความผิดบาปเขา

 

          อันที่จริง อัลลอฮฺ จะทดสอบบ่าวของพระองค์ทั้งสุขและทุกข์ ความทุกข์ยาก และความสุขสบาย บางทีเพื่อจะยกระดับสถานะ และเพิ่มความดีให้แก่เขา เหมือนดังเช่นการทดสอบบรรดานบี บรรดาร่อซูล และคนดีผู้ประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งใช้คำสั่งห้ามของพระองค์

 

     ดังคำกล่าวของร่ซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า

 

 عَنْ مُصْعَبِ بْنِ سَعْدٍ، عَنْ أَبِيهِ، قَالَ: «قُلْتُ: يَا رَسُولَ اللَّهِ، أَيُّ النَّاسِ أَشَدُّ بَلَاءً؟، قَالَ: «الأَنْبِيَاءُ ثُمَّ الأَمْثَلُ فَالأَمْثَلُ ، فَيُبْتَلَى الرَّجُلُ عَلَى حَسَبِ دِينِهِ، فَإِنْ كَانَ دِينُهُ صُلْبًا اشْتَدَّ بَلَاؤُهُ، وَإِنْ كَانَ فِي دِينِهِ رِقَّةٌ ابْتُلِيَ عَلَى حَسَبِ دِينِهِ، فَمَا يَبْرَحُ البَلَاءُ بِالعَبْدِ حَتَّى يَتْرُكَهُ يَمْشِي عَلَى الأَرْضِ مَا عَلَيْهِ خَطِيئَةٌ»

 

     ซะอฺ บิน อบีวาก็อศ  ถามร่อซูลว่า ใครคือคนที่ถูกอัลลอฮฺทดสอบหนักสุดครับ 

     นบีตอบว่า บรรดานบี จากนั้น คนที่เหมือนอย่างนบีที่สุด และถัดลงมา ๆ ตามลำดับ และคนหนึ่งจะถูกทดสอบตามความเคร่งครัดในศาสนาเขา หากเคร่งครัดมากเขาก็ถูกทดสอบมากกว่าผู้ที่หย่อนยานในศาสนาเขา จนกว่าการทดสอบจากอัลลอฮจะลบล้างความผิดบาปเขาหมดสิ้นบนหน้าแผ่นดิน

 

          ♦ บางที การทดสอบของพระองค์ ด้วยสาเหตุความชั่ว และความผิดบาป จำต้องลงโทษทันที 

ดังคำตรัส ที่ว่า

 

وَمَا أَصَابَكُم مِّن مُّصِيبَةٍ فَبِمَا كَسَبَتْ أَيْدِيكُمْ وَيَعْفُو عَن كَثِيرٍ 

 

“สิ่งเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับพวกเจ้ามันเกิดจากการกระทำของพวกเจ้าเอง และพระองค์อภัยมากมายแล้ว”

 (อัชชูรอ:30)

 

     ส่วนใหญ่เรามักจะถูกทดสอบ เพราะละเลยเพิกเฉยต่อคำสั่งใชัคำสั่งห้ามของพระองค์ 

     เมื่อคนดีถูกทดสอบจากความเจ็บป่วยหรืออื่น ๆ นั่นเป็นการทดสอบชนิดเดียวกับบรรดานบี บรรดาร่อซูลของพระองค์ ก็เพื่อเป็นการยกระดับชั้นในสวรรค์ และเป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่นในเรื่องความอดทน และหวังการตอบแทนอันยิ่งใหญ่จากพระองค์

 

           ♦ บางทีการทดสอบ เพื่อเป็นการยกระดับ และหวังผลตอบแทนอันยิ่งใหญ่ เหมือนที่อัลลอฮฺทดสอบบรรดานบี และผู้ที่ปฏิบัติดีตามคำสั่งใช้คำสั่งห้ามของพระองค์ และบางทีเพื่อเป็นการลบล้างความผิดบาป

 

     ดังคำตรัส ที่ว่า

 

مَن يَعْمَلْ سُوءًا يُجْزَ بِهِ  “ผู้ใดทำชั่วเขาจะได้รับการตอบสนอง”

 (อันนิซาอฺ : 123)

 

      ร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังกล่าวอีกว่า

 

ما يُصِيبُ الْمُسْلِمَ مِنْ نَصَبٍ وَلاَ وَصَبٍ وَلاَ هَمٍّ وَلاَ حَزَن وَلاَ أَذًى وَلاَ غمٍّ، حتَّى الشَّوْكَةُ يُشَاكُها إِلاَّ كفَّر اللَّه بهَا مِنْ خطَايَاه  

 

     “ไม่ว่ามุสลิมคนใดประสพกับความเหน็ดเหนื่อย การเจ็บไข้ได้ป่วย ความกลัดกลุ้ม  ความเสียใจ และความทุกข์ โศก ตลอดจนภัยอันตราย แม้หนามตำเขาก็ตาม อัลลอฮฺ จะทรงลบล้างความผิดให้แก่เขา”

 (อัลบุคอรีย์)

 

และยังกล่าวอีกว่า 

 

«من يُرد الله به خيرًا، يُصب منه (البخارى)

 

“ผู้ใดที่อัลลอฮฺปราถนาให้เขาได้รับความดี เขาจะถูกทดสอบให้ประสบความเดือดร้อน”

 (บุคอรีย์)

 

          ♦ บางทีเป็นการลงโทษทันที ด้วยสาเหตุทำความชั่ว ฝ่าฝืนคำสั่งใข้คำสั่งห้ามของอัลลอฮฺ และไม่รีบสำนึกผิด กลับเนื้อกลับตัว

 

     ดังคำกล่าวของร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า 

 

إذا أرادَ اللهُ بعبدٍ الخَيرَ عجَّلَ له العُقوبَةَ في الدُّنيا، وإذا أرادَ اللهُ بعَبدِه الشَّرَّ مَسَكَ عنه بذَنْبِه حتى يُوافِيَه يَومَ القيامةِ

(الترمذي)

 

“เมื่ออัลลอฮฺ ทรงปราถนาดีต่อบ่าวของพระองค์ พระองค์จะทรงรีบลงโทษเขาในโลกนี้เลย  

และเมื่อทรงปราถนาให้เขาได้รับผลความชั่วที่เขาได้ทำไว้ อัลลอฮฺจะไม่ลงโทษเขา จนกว่าจะถึงวันกิยามะฮฺ”

 (อัตติรมีซียฺ)