จงให้สิทธิแก่ผู้พึงได้รับ
  จำนวนคนเข้าชม  365

 จงให้สิทธิแก่ผู้พึงได้รับ

 

โดย เช็ค ดร. มาฮิร บิน ฮัมดฺ อัลมุอัยกิลีย์

สรุปใจความเป็นภาษาไทย โดย ซัยนุ้ลอาบีดีน มูฮำหมัดเย็ง

 

สรุปคุฏบะห์จากมัสยิดอัลฮะรอม  นครมักกะห์

 

     แท้จริงทางสายกลางและการสร้างสมดุลเป็นคุณลักษณะเด่นที่ปรากฏชัดบนโลกนี้ 

     อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

‎وَخَلَقَ كُلَّ شَيْءٍ فَقَدَّرَهُ تَقْدِيرًا

 

 “และพระองค์ทรงให้บังเกิดทุกสิ่ง แล้วทรงกำหนดมันให้เป็นไปตามกฏสภาวะ”

(อัลฟุรกอน : 2)

 

وَٱلْأَرْضَ مَدَدْنَٰهَا وَأَلْقَيْنَا فِيهَا رَوَٰسِىَ وَأَنۢبَتْنَا فِيهَا مِن كُلِّ شَىْءٍ مَّوْزُونٍ

 

”และแผ่นดินนั้นเราได้แผ่มันออกไป และเราได้ทำให้มีเทือกเขาเป็นที่ยึดอย่างมั่นคง และเราได้ให้ทุกสิ่งงอกเงยอย่างสมดุล“

(อัลหิจญร์ : 19)

 

     และอัลลอฮฺได้ทำให้ความสมดุลเป็นแนวทางของการดำรงอยู่ของโลกนี้

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

قُلْ أَرَءَيْتُمْ إِن جَعَلَ ٱللَّهُ عَلَيْكُمُ ٱلَّيْلَ سَرْمَدًا إِلَىٰ يَوْمِ ٱلْقِيَٰمَةِ مَنْ إِلَٰهٌ غَيْرُ ٱللَّهِ يَأْتِيكُم بِضِيَآءٍ ۖ أَفَلَا تَسْمَعُونَ

 

      “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) พวกท่านเห็นแล้วมิใช่หรือ หากอัลลอฮ์ทรงทำให้กลางคือมีอยู่ตลอดไปแก่พวกท่านจนถึงวันกิยามะฮ์

      พระเจ้าองค์ใดเล่าอื่นจากอัลลอฮ์ ที่จะนำแสงสว่าง มาให้แก่พวกท่าน พวกท่านไม่รับฟังบ้างหรือ ?”

 

قُلْ أَرَءَيْتُمْ إِن جَعَلَ ٱللَّهُ عَلَيْكُمُ ٱلنَّهَارَ سَرْمَدًا إِلَىٰ يَوْمِ ٱلْقِيَٰمَةِ مَنْ إِلَٰهٌ غَيْرُ ٱللَّهِ يَأْتِيكُم بِلَيْلٍ تَسْكُنُونَ فِيهِ ۖ أَفَلَا تُبْصِرُونَ 

 

     “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) พวกท่านเห็นแล้วมิใช่หรือ หากอัลลอฮ์ทรงทำให้กลางวันมีอยู่ตลอดไปแก่พวกท่านจนถึงวันกิยามะฮ์

      พระเจ้าองค์ใดเล่าอื่นจากอัลลอฮ์ ที่จะนำกลางคืนมาให้พวกท่าน เพื่อพวกท่านจะได้พักผ่อนในเวลานั้น พวกท่านไม่พิจารณาไตร่ตรองดูบ้างหรือ ?”

 

وَمِن رَّحْمَتِهِ ۦ جَعَلَ لَكُمُ ٱلَّيْلَ وَٱلنَّهَارَ لِتَسْكُنُوا فِيهِ وَلِتَبْتَغُوا مِن فَضْلِهِ ۦ وَلَعَلَّكُمْ تَشْكُرُونَ

 

      “และเพราะความเมตตาของพระองค์ พระองค์ทรงทำให้มีกลางคืนและกลางวัน เพื่อพวกเจ้าจะได้พักผ่อนในเวลานั้น

      และเพื่อพวกเจ้าจะได้แสวงหาจากความโปรดปรานของพระองค์ และเพื่อพวกเจ้าจะได้ขอบคุณ”

(อัลก่อศ็อศซ์ 71-73)

 

          หนึ่งในความโปรดปรานความเมตตาที่พระองค์อัลลอฮฺส่งมอบให้แก่เราคือการที่พระองค์ ให้ประชาชาติของท่านนบีมูฮัมหมัดเป็นประชาติสายกลางระหว่างประชาชาติยุคก่อนทั้งในเรื่องอะกีดะห์ เรื่องการปฏิบัติหลักการแนวทางโดยอัลลอฮฺได้ ยกย่องประชาชาติของท่านนบีไว้ในอัลกุรอานว่า

 

وَكَذَٰلِكَ جَعَلْنَٰكُمْ أُمَّةً وَسَطًا

 

“และในทำนองเดียวกัน เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติที่เป็นกลาง” 

(อัลบะก่อเราะห์ : 143)

 

          ซึ่งหมายถึงทางสายกลางในทุกเรื่อง , ทั้งเรื่องศาสนาและโลกดุนยา , ปราศจากการคลั่งไคล้หรือการละเลยไม่มีการทำเกินขอบเขตหรือการเพิกเฉย  และในทุกการปฎิบัติของศาสนาล้วนแล้วแต่ต้องมีคุณสมบัติของทางสายกลาง ความสมดุล 

 

         ในศ่อเฮี๊ยะห์บุคอรี จากหะดีษของ อะบีญุหัยฟะห์ เล่าว่า : ท่านนบีได้สร้างสายสัมพันธ์ความเป็นพี่น้อง ระหว่างสัลมานและอะบี อัดดัรดาอฺ 

     วันหนึ่งสัลมานไปเยี่ยมอะบี อัดดัรดาอฺ โดยพบภรรยาของ อะบี อัดดัรดาอฺ กำลังง่วนอยู่กับการทำงาน , เขาจึงถามเธอว่าทำไมเธอถึงต้องมาสาละวนเช่นนี้ ? 

      นางตอบว่า : ก็อะบี อัดดัรดาอฺ เค้าตัดขาดจากโลกดุนยา , พออะบี อัดดัรดาอฺ กลับมาเขาจึงเตรียมอาหารให้แล้วเรียกอะบี อัดดัดาอฺกิน 

เขาตอบว่า: ฉันถือศีลอด , 

สัลมานจึงกล่าว ถ้าคุณกินฉันถึงจะกิน 

อะบี อัดดัรดาอฺ จึงยอมกินอาหาร , 

พอตกกลางคืนอะบี อัดดัรดาอฺ ก็เอาแต่ละหมาด 

พอสัลมาน บอกให้เขานอนเขาจึงยอมนอน , 

      พอถึงช่วงท้ายของคืนสัลมาน ปลุกให้เขาตื่นขึ้นมาละหมาดแล้วทั้งสองคนก็ละหมาดร่วมกัน 

      สัลมาน จึงพูดกับอะบี อัดดัรดาอฺ ว่า : "แท้จริง พระเจ้ามีสิทธิ์อันพึงได้จากคุณ ร่างกายก็มีสิทธิ์อันพึงได้จากคุณและครอบครัวก็มีสิทธิ์อันถึงได้จากคุณ จงให้สิทธิแก่ผู้พึงได้รับ“ 

      หลังจากนั้นพวกไปหาท่านบีแล้วเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น เมื่อท่านนบีให้ฟังแล้วจึงกล่าวว่า  : สัลมาน พูดถูกต้องแล้ว

 

          แท้จริงการสร้างความสมดุลแก่ชีวิตคือการจัดสรรระหว่างหน้าที่ๆ ต้องทำกับสิทธิที่พึงได้รับ ซึ่งภารกิจที่สำคัญสำหรับมนุษย์ คือการที่มนุษย์ต้องจัดสรรระหว่างการทำอิบาดะห์และการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งเขาจะต้องไม่ละเมิดผู้หนึ่งผู้ใด , ต้องจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง , แยกสิ่งที่ควรทำกับสิ่งที่จำเป็นต้องทำ , ซึ่งนี่คือแนวทางที่ท่านนบีและบรรดาอัครสาวกสาวกยึดเป็นแนวปฏิบัติ

 

          ซึ่งทางสายกลางนี้คือการที่เรายึดสายเชือกของอัลลอฮ์อย่างเหนียวแน่นเพื่อให้เราเดินอยู่บนเส้นทางอันเที่ยงตรง

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

‎وَأَنَّ هَٰذَا صِرَٰطِى مُسْتَقِيمًا فَٱتَّبِعُوهُ ۖ وَلَا تَتَّبِعُوا ٱلسُّبُلَ فَتَفَرَّقَ بِكُمْ عَن سَبِيلِهِ 

 

      ”และแท้จริงนี้คือทางของข้าอันเที่ยงตรงพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และอย่าปฏิบัติตามหลาย ๆ ทาง เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกไปจากทางของพระองค์ “

(อัลอันอาม : 153)

 

     และในสุนันของติรมีซีย์ ท่านนบีได้กล่าวว่า :

”พวกท่านทั้งหลายจงยึดแนวทางของฉันและแนวทางของบรรดาคอลีฟะห์ ผู้ทรงธรรม และเที่ยงธรรมเถิด

และพวกทั้งหลายจงกัดมันไว้ด้วยฟันกราม“

 

     สิทธิแรกที่ผู้คนทั้งหลาย จำเป็นต้องนึกถึงคือสิทธิของพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์ไม่ได้สร้างพวกเรามาแบบไร้เป้าหมายและไม่ได้ปล่อยเราอยู่อย่างไร้สาระ

     อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

‎أَفَحَسِبْتُمْ أَنَّمَا خَلَقْنَٰكُمْ عَبَثًا وَأَنَّكُمْ إِلَيْنَا لَا تُرْجَعُونَ

 

“พวกเจ้าคิดว่า แท้จริงเราได้ให้พวกเจ้าบังเกิดมาโดยไร้ประโยชน์ และแท้จริงพวกเจ้าจะไม่กลับไปหาเรากระนั้นหรือ ?”

 

فَتَعَٰلَى ٱللَّهُ ٱلْمَلِكُ ٱلْحَقُّ ۖ لَآ إِلَٰهَ إِلَّا هُوَ رَبُّ ٱلْعَرْشِ ٱلْكَرِيمِ

 

”อัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสัจจะ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ พระเจ้าแห่งบัลลังก์อันทรงเกียรติ“

(อัลมุอฺมินูน : 115-116)

 

     อัลลอฮฺ ได้สร้างพวกเรามาเพื่ออิบาดะห์ต่อพระองค์เพียงองค์เดียวและไม่ตั้งภาคี

     ท่านนบีได้ถาม มุอาซ ว่า : ”เจ้ารู้มั้ยว่าอะไร คือ สิทธิของพระเจ้าที่บ่าวพึงกระทำต่อพระองค์และอะไรคือสิทธิของบ่าวที่พระเจ้าจะปฏิบัติต่อบ่าว ? 

     ท่านมุอาซ ตอบว่า : อัลลอฮ์ และร่อซู้ลรู้ดีที่สุด

     ท่านนบีกล่าวว่า : "สิทธิของพระเจ้าที่บ่าวพึงกระทำต่อพระองค์ คือการบ่าวต้องสักการะต่อพระองค์โดยไม่ยึดสิ่งอื่นมาตั้งภาคี และสิทธิของบ่าวที่พระเจ้าจะปฏิบัติต่อบ่าวคือ คือการที่พระองค์จะไม่ลงโทษผู้ที่ไม่ยึดสิ่งอื่นมาตั้งภาคี“

( รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)

 

     อัลลอฮฺทรงให้ท่านนบีเป็นแบบอย่างที่เป็นรูปธรรมของแนวทางสายกลางที่เที่ยงตรง , ในหะดีษ ที่เล่าถึงชายสามคนที่ไปถามบรรดาภรรยาของท่านนบีถึงการทำอิบาดะห์ ของท่านนบี โดยเมื่อพวกเขาทราบถึงภารกิจของท่านบีแล้วพวกเขารู้สึกว่าตัวเองยังทำน้อยไป ทั้งๆ ที่ท่านนบีได้รับการอภัยโทษในบาปทั้งปวง ยังทำมากขนาดนี้ 

ชายคนที่หนึ่งจึงพูดว่าฉันจะ ละหมาดทั้งคืน , 

คนที่สองบอกว่าฉันจะถือศีลอดทั้งปี , และ

คนที่สามบอกว่าฉันจะไม่แต่งงานตลอดชีวิต , 

หลังจากนั้นท่านนบีได้ไปหาพวกเขาทั้งสามแล้วถามว่าพวกท่านใช่ไหมที่พูดอย่างนั้นอย่างนี้ , 

      ” ขอสาบานด้วยกับอัลลอฮฺ แท้จริงฉันเป็นผู้ที่มีศรัทธาและเกรงกลัวอัลลอฮฺมากกว่าพวกท่านแต่ฉันถือศีลอดแล้วก็ละศีลอด , ฉันละหมาด แล้วก็นอนพักผ่อน , และฉันแต่งงาน , ใครก็ตามที่หันหนีออกจากแนวทางของฉันเขาไม่ถูกนับว่าเป็นพวกของฉัน”

 

          ท่านนบีสนับสนุนการปฎิบัติแบบง่ายง่ายและส่งเสริมให้ศ่อฮาบะห์ฏิบัติเช่นเดียวกันหากมีสิ่งที่ต้องเลือกท่านจะเลือกสิ่งที่ทำด้วยความสะดวกง่ายดาย , โดยงานที่ดีที่สุดประเสริฐที่สุดคืองานที่ทำอย่างต่อเนื่องแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม 

 

          มุอฺมินผู้ศรัทธาจะเดินทางสายกลางในการแสวงหาโลกดุนยา เขาไม่สุดโต่งในการประกอบสัมมาชีพในขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยการแสวงหาปัจจัยที่ฮาลาล รักการใช้ชีวิตที่มีความสุขบนสิ่งที่อัลลอฮฺอนุมัติ , ไม่สุรุ่ยสุร่ายหรือตระหนี่ถี่เหนียว , โดยที่ครอบครัวคือคนกลุ่มแรกที่เขาต้องให้ความรัก , ความเมตตา , ความสงสาร , การเอาใจใส่ การให้คำตักเตือนชี้แนะ , โดยที่พวกเรามีท่านนบีเป็นแบบอย่างอันดีงามในความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรักความเข้าใจและการปฏิบัติด้วยความดี , 

 

     ท่านนบีได้กล่าวว่า : “คนที่ดีที่สุดในกลุ่มพวกท่านคือคนที่เขาทำดีต่อครอบครัวและฉันก็ เป็นคนดีที่สุดของพวกท่านเพราะฉันทำดีต่อครอบครัวของฉัน“

 

          แท้จริงแนวทางของอิสลามนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานอันสมบูรณ์และหลักการที่จะชี้นำผู้คนไปสู่ทางสายกลางความเมตตา , ความสงสาร , ความง่ายดาย , ความประหยัดและการระวังรักษาผลประโยชน์แห่งศาสนาและโลกดุนยาพร้อมกัน รักษาโลกแห่งจิตวิญญาณและร่างกายโดยนำมนุษย์ออกห่างจากความผิด , การหลงทาง , การละเลย , เพิกเฉย , ความสุดโต่ง หรือคลั่งในศาสนา

 

           โดยในทุกเรื่องราวของชีวิตต้องวางอยู่บนหลักการที่ว่า ”จงให้สิทธิแก่ผู้พึงได้รับ“ อันจะเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การมีชีวิตที่ดีงาม การรอดปลอดภัยในอาคีเราะห์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของผู้ที่ได้รับชัยชนะเป็นแนวทางของผู้ที่ประสบความสำเร็จและการที่คนส่วนใหญ่ล้มเหลวในชีวิตของพวกเขานั่นก็เป็นเพราะการที่พวกเขาฝ่าฝืนหลักการ , ข้อชี้แนะ แนวทางของท่านนบี

 

พึงสังวรณ์เถิด พึงเตรียมตัวเตรียมการเถิด เพราะชีวิตดุนยานั้นสั้นนัก