ความเผลอไผล โรคร้ายที่เกินเยียวยา
  จำนวนคนเข้าชม  149

ความเผลอไผล โรคร้ายที่เกินเยียวยา

 

อบูอัรวา   แปล เรียบเรียง 

 

          ผู้ศรัทธาที่มีเกียรติทั้งหลาย หากว่าการนอนหลับทำให้ผู้ที่กำลังหลับสูญเสียประสาทความรู้สึก ไม่เห็น ไม่ได้ยิน และไม่รับรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวเขา, แท้จริงความเผลอไผล ก็ทำให้หัวใจเป็นเช่นนั้นหรือมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้นมันคือโรคที่ร้ายแรงและผลร้ายอย่างที่สุดที่ประสบกับหัวใจ 

 

           ส่วนหนึ่งจากอันตราย คือผู้ที่เผลอไผลไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้ที่กำลังเผลอไผลอยู่ ลุ่มหลงกับความโปรดปราน หมกมุ่นอยู่กับการละเล่นเพลิดเพลิน และหันห่างจากความดีและทางอันเที่ยงตรง, และเมื่อระยะเวลาได้เนินนานออกไป หัวใจของพวกเขาจึงแข็งกระด้าง และชัยฏอนได้ทำให้สิ่งที่พวกเขากระทำดูเหมือนเป็นสิ่งที่งดงาม, 

 

          เมื่อพวกเขาเผลอไผลจากการระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าและโลกอาคีเราะฮฺ กระทั่งการลงโทษมาประสบกับพวกเขาอย่างกะทันหันอย่างที่พวกเขาไม่คาดคิดมาก่อน ขอให้ท่านโปรดพิจารณาเถิด 

 

( فَلَمَّا ‌نَسُوا ‌مَا ذُكِّرُوا بِهِ فَتَحْنَا عَلَيْهِمْ أَبْوَابَ كُلِّ شَيْءٍ حَتَّى إِذَا فَرِحُوا بِمَا أُوتُوا أَخَذْنَاهُمْ بَغْتَةً فَإِذَا هُمْ مُبْلِسُونَ  ) 

 

“ครั้นเมื่อพวกเขาลืมสิ่งที่พวกเขาถูกเตือนให้รำลึกในสิ่งนั้น เราก็เปิดให้แก่พวกเขา ซึ่งประตูของทุกสิ่ง

จนกระทั่งเมื่อพวกเขาระเริงต่อสิ่งที่พวกเขาได้รับ เราก็ลงโทษพวกเขาโดยกะทันหัน แล้วทันใดนั้นพวกเขาก็หมดหวัง”

( อัล-อันอาม โองการที่ 44)

 

          เศร้าเสียใจ ปารถนาที่จะกลับมาแก้ตัวอีกครั้งแต่ก็ไม่อาจเป็นเช่นนั้นได้ 

 

( حَتَّى إِذَا جَاء أَحَدَهُمُ الْمَوْتُ قَالَ رَبِّ ارْجِعُون * لَعَلِّي أَعْمَلُ صَالِحًا فِيمَا تَرَكْتُ كَلاَّ إِنَّهَا كَلِمَةٌ هُوَ قَائِلُهَا وَمِن وَرَائِهِم بَرْزَخٌ إِلَى يَوْمِ يُبْعَثُون ﴾ [المؤمنون:99) 

 

     “จนกระทั่งความตายได้มาหาคนใดในพวกเขา เขาก็จะกล่าวขึ้นว่า

     ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงให้ข้าพระองค์กลับไปมีชีวิตอีกครั้งหนึ่งเถิด เพื่อข้าพระองค์จะได้กระทำความดีในสิ่งที่ข้าพระองค์ปล่อยทิ้งไว้

     เปล่าเลย มันเป็นเพียงถ้อยคำที่เขากล่าวมันไว้เท่านั้น และเบื้องหน้าของพวกเขานั้นมีโลกบัรซัค จนกระทั่งถึงวันที่พวกเขาจะถูกฟื้นคืนชีพขึ้นมา”  

(อัลมุอฺมินูน  โองการที่ ๙๙-๑๐๐ )

 

♦ ความเผลอไผล คือ การเอนเอียงสู่ดุนยา และหลงลืมอาคีเราะฮฺ... 

♦ ความเผลอไผล คือ การหมกมุ่นอยู่กับอารมณ์ฝ่ายต่ำ และการจมปลักอยู่กับความสนุกสนานรื่นเริง 

     อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

( وَلا تُطِعْ مَنْ أَغْفَلْنَا قَلْبَهُ عَنْ ذِكْرِنَا وَاتَّبَعَ هَوَاهُ وَكَانَ أَمْرُهُ فُرُطًا )  

 

“และเจ้าอย่าเชื่อฟังผู้ที่เราทำให้หัวใจของเขาละเลยจากการรำลึกถึงเรา และปฏิบัติตามอารมณ์ต่ำของเขา

และกิจการของเขาพินาศสูญหาย”

(  อัลกะฮฺฟฺ  โองการที่ ๒๘ )

 

          ♦ ความเผลอไผล คือ หัวใจที่ว่างเปล่าจากการให้ความยิ่งใหญ่ต่ออัลลอฮฺ

          สมองที่ไม่ครุ่นคิดถึงสัญญาณต่างๆ ของพระองค์, ลิ้นที่เหือดแห้งจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺ, และอวัยวะส่วนต่างๆ ที่เกียจคร้านต่อการภักดี  

     อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

( أُولَئِكَ الَّذِينَ طَبَعَ اللَّهُ عَلَى قُلُوبِهِمْ وَسَمْعِهِمْ وَأَبْصَارِهِمْ وَأُولَئِكَ هُمُ ‌الْغَافِلُونَ * لَا جَرَمَ أَنَّهُمْ فِي الْآخِرَةِ هُمُ الْخَاسِرُونَ )  

 

“ชนเหล่านั้นคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงประทับตราบนหัวใจของพวกเขา และบนหูของพวกเขาและบนตาของพวกเขา

และชนเหล่านั้นคือผู้เผอเรอ 

(อันนะหฺลฺ  โองการที่ 108)

 

          ♦ ความเผลอไผล คือความเบาปัญญาที่มีต่ออัลลอฮฺ

          ไม่ให้ความสำคัญกับสิทธิของพระองค์, ไม่ให้ค่าแก่โลกอาคีเราะฮฺ, และไม่สร้างความเข้าใจอันดีแก่ตนเอง ทั้งๆ ที่บางครั้งเขาเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องราวของดุนยา 

 

( يَعْلَمُونَ ظَاهِرًا مِنَ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَهُمْ عَنِ الْآخِرَةِ هُمْ ‌غَافِلُونَ )

 

“พวกเขารู้แต่เพียงผิวเผินในเรื่องการดำรงชีวิตในโลกนี้ และพวกเขาไม่คำนึงถึงการมีชีวิตในปรโลก”

(อัรรูม  โองการที่ ๗ )

 

          ♦ ความเผลอไผล คือ สิ่งที่ก่อความเสื่อมเสียต่อหัวใจ ทำให้หันห่างจากความดี ปิดกั้นการรับฟัง การปฏิบัติตามและการได้รับประโยชน์จากสัจธรรมความจริง 

 

( سَأَصْرِفُ عَنْ آيَاتِيَ الَّذِينَ يَتَكَبَّرُونَ فِي الأَرْضِ بِغَيْرِ الْحَقِّ وَإِنْ يَرَوْا كُلَّ آيَةٍ لا يُؤْمِنُوا بِهَا وَإِنْ يَرَوْا سَبِيلَ الرُّشْدِ لا يَتَّخِذُوهُ سَبِيلًا وَإِنْ يَرَوْا سَبِيلَ الغَيِّ يَتَّخِذُوهُ سَبِيلًا ذَلِكَ بِأَنَّهُمْ كَذَّبُوا بِآيَاتِنَا وَكَانُوا عَنْهَا غَافِلِينَ )  

 

“ข้าจะหันเหออกจากบรรดาโองการของข้า ซึ่งบรรดาผู้ที่ยะโสในแผ่นดินโดยไม่บังควร

และแม้ว่าพวกเขาจะได้เห็นสัญญาณทุกอย่างพวกเขาก็จะไม่ศรัทธาต่อสัญญาณนั้น

และหากพวกเขาเห็นทางแห่งความถูกต้อง พวกเขาก็จะไม่ยึดถือมันเป็นทาง

และหากพวกเขาเห็นทางแห่งความผิด พวกเขาก็ยึดถือมันเป็นทาง

นั่นก็เพราะว่าพวกเขาปฏิเสธบรรดาโองการของเราและพวกเขาจึงได้เป็นผู้ละเลยโองการเหล่านั้น” 

(อัล-อะอฺรอฟ  โองการที่ ๑๔๖ )

 

          ♦ ความเผลอไผล คือโรคเรื้อรังและลุกลาม นอยคนนักที่จะรอดพ้น

    อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

( وَإِنَّ كَثِيرًا مِنَ النَّاسِ عَنْ آيَاتِنَا لَغَافِلُونَ ) 

 

“และแท้จริงส่วนใหญ่ของมนุษย์เฉยเมยต่อสัญญาณต่างๆ ของเรา”  

(ยูนุซ  โองการที่ ๙๒ )

 

          เมื่อเราได้รู้แล้วว่าความเผลอไผลคืออะไร, แท้จริงสาเหตุที่ทำให้เกิดความเผลอไผลนั้นมีมากมาย, และที่อันตรายที่สุดคือ ความหวังอันเลื่อนลอย ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

( ذَرْهُمْ يَأْكُلُوا وَيَتَمَتَّعُوا وَيُلْهِهِمُ الْأَمَلُ فَسَوْفَ يَعْلَمُونَ )

 

“เจ้าจงปล่อยพวกเขาบริโภคและร่าเริงและความหวังจะทำให้พวกเขาลืม แล้วพวกเขาก็จะรู้” 

(อัลฮิจรฺ  โองการที่ ๓ )

 

     อาลี บิน อบีฏอลิบ กล่าวว่า  “แท้จริงสิ่งที่น่ากลัวที่สุด ที่มันทำให้ฉันกลัวจะเกิดกับพวกท่าน สองประการ ความหวังอันเลื่อนลอยและการทำตามอารมณ์ฝ่ายต่ำ โดยที่ความหวังอันเลื่อนลอย(ยาวนาน) ทำให้หลงลืมอาคีเราะฮฺ ส่วนการทำตามอารมณ์ฝ่ายต่ำ จะปิดกั้นจากสัจธรรมความจริง” 

 

     อัลหะซัน อัลบะศอรียฺ กล่าวว่า “ไม่มีบ่าวคนใดที่มีความหวังอันเลื่อนลอย(ยาวนาน) เว้นแต่ว่ามันจะทำให้เกิดการงานที่ชั่วช้า” 

 

          และจากสาเหตุที่ทำให้เผลอไผล คือ ปลีกตัวหันห่างจากอัลกุรอ่าน 

     อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

اقْتَرَبَ لِلنَّاسِ حِسَابُهُمْ وَهُمْ فِي غَفْلَةٍ مُعْرِضُونَ * مَا يَأْتِيهِمْ مِنْ ذِكْرٍ مِنْ رَبِّهِمْ مُحْدَثٍ إِلَّا اسْتَمَعُوهُ وَهُمْ يَلْعَبُونَ * لاهِيَةً قُلُوبُهُمْ   

 

“เวลาแห่งการคิดบัญชีของมนุษย์ได้ใกล้เข้ามาแล้ว โดยที่พวกเขาอยู่ในสภาพหลงลืม เป็นผู้ผินหลังให้** 

ไม่มีข้อตักเตือนใหม่ๆ จากพระเจ้าของเขามายังพวกเจ้า เว้นแต่ว่าพวกเขารับฟังมันและพวกเขาล้อเล่นไปด้วย** 

จิตใจของพวกเขาเผอเรอ”  

(อัลอัมบิยาอฺ  โองการที่ ๑-๓ )

 

          และจากสาเหตุที่ทำให้เผลอไผล คือ รักดุนยาเอนเอียงสู่ดุนยา หัวใจที่ผูกพันกับความเพลิดแพร้วของมัน และสาละวนอยู่กับความสนุกสนานเพลิดเพลิน

     อัลลอฮฺตรัสว่า 

 

( وَلَكِنَّ أَكْثَرَ النَّاسِ لا يَعْلَمُونَ * يَعْلَمُونَ ظَاهِرًا مِنَ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَهُمْ عَنِ الْآخِرَةِ هُمْ غَافِلُونَ )

 

“แต่ส่วนมากของมนุษย์ไม่รู้  พวกเขารู้แต่เพียงผิวเผินในเรื่องการดำรงชีวิตในโลกนี้ และพวกเขาไม่คำนึงถึงการมีชีวิตในปรโลก”

( อัรรูม  โองการที่ ๖-๗ )

 

     อิบนุ้ลก็อยยิม กล่าวว่า “ความล่าช้าของเขาในการภักดีอัลลอฮฺและแสวงหาอาคีเราะฮฺ จะเป็นไปตามความปารถนาความพึงพอใจของบ่าวที่มีต่อดุนยา ” 

 

          และสาเหตุอันสำคัญที่ทำให้เกิดความเผลอไผล  คือ การไม่รู้เกี่ยวกับอัลลอฮฺ พระนามและคุณลักษณะของพระองค์, เพราะใครก็ตามที่รู้จักอัลลอฮฺอย่างแท้จริงเขาย่อมให้ความยิ่งใหญ่แก่พระองค์ รักพระองค์ เชื่อฟังพระองค์ และจะไม่ละเลยการรำลึกถึงพระองค์, โปรดจงพิจารณาเถิด 

 

( قُلْ إِنَّ اللّهَ يُضِلُّ مَن يَشَاء وَيَهْدِي إِلَيْهِ مَنْ أَنَاب * الَّذِينَ آمَنُواْ وَتَطْمَئِنُّ قُلُوبُهُم بِذِكْرِ اللّهِ أَلاَ بِذِكْرِ اللّهِ تَطْمَئِنُّ الْقُلُوب * الَّذِينَ آمَنُواْ وَعَمِلُواْ الصَّالِحَاتِ طُوبَى لَهُمْ وَحُسْنُ مَآب )  

 

     “จงกล่าวเถิด แท้จริงอัลลอฮฺทรงให้หลงทางแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงนำทางสู่พระองค์แก่ผู้ที่สำนึกตัว

     บรรดาผู้ศรัทธา และจิตใจของพวกเขาสงบด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ พึงทราบเถิด ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺเท่านั้นทำให้จิตใจสงบ

     บรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดี ความผาสุกย่อมได้แก่พวกเขา และเป็นการกลับไปที่ดียิ่ง”

(อัรเราะอฺดฺ  โองการที่ ๒๗-๒๙ )

 

          และเหตุแห่งความเผลอไผล คือ กระทำเรื่องที่ฝ่าฝืน

     อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

( كَلَّا بَلْ رَانَ عَلَى قُلُوبِهِمْ مَا كَانُوا يَكْسِبُونَ )  

 

“มิใช่เช่นนั้น แต่ว่าสิ่งที่พวกเขาได้ขวนขวายไว้นั้นได้เป็นสนิมบนหัวใจของพวกเขา”

( อัลมุฏ็อฟฟิฟีน  โองการที่ ๑๔ )

 

         และจากเหตุแห่งความเผลอไผล คือ การมีสหายที่ประพฤติชั่ว, สหายคือผู้นำพา, และคนหนึ่งย่อมอยู่ในหนทางของสหายของเขา,ฉะนั้นใครที่ร่วมอยู่กับผู้เผลอไผลกระทำการฝ่าฝืนก็ย่อมเป็นเช่นเดียวกับเขาเหล่านั้น 

 

( وَلا تُطِعْ مَنْ أَغْفَلْنَا قَلْبَهُ عَنْ ذِكْرِنَا وَاتَّبَعَ هَوَاهُ وَكَانَ أَمْرُهُ فُرُطًا ) 

 

“และจงอย่าเชื่อฟัง ผู้ที่เราทำให้หัวใจของเขาละเลยจากการรำลึกถึงเรา และปฏิบัติตามอารมณ์ต่ำของเขา

และกิจการของเขาพินาศสูญหาย”

(อัลกะฮฺฟฺ  โองการที่ ๒๘) 

 

          และจากเหตุแห่งความเผลอไผล คือ การละเล่นและความเพลิดเพลินที่มากเกินไป,

     ฮาดีษซอฮีหฺรายงานจากท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม ท่านนบีกล่าวว่า 

 

"مَنِ اتّبَعَ الصَّيدَ غَفَل" 

 

“ผู้ใดที่สาละวนกับการล่า (เพลิดเพลินกับการล่าสัตว์จนเกินความจำเป็น) เขาเผลอไผล” 

 

          และสิ่งที่ต้องระวังกว่านั้นคือเกมส์อิเล็กโทรนิคที่เยาวชนของเราใฝ่หา กำลังกายและเวลาที่หมดไปกับเกมส์เหล่านั้น กระทั่งหลงลืมเรื่องราวที่จำเป็นด้านศาสนาและดุนยาของพวกเขา 

            ดังที่ความเผลอไผลมีสาเหตุที่มาและปัจจัย, แน่แท้มันยังทิ้งร่องรอยที่อันตรายและผลลัพธ์อันเลวร้ายอีกด้วย 

          และจากร่องรอยของความเผลอไผลที่เลวร้ายที่สุด คือการประทับตราบนหัวใจของบรรดาผู้เผลอไผล บนหู และบนตาของพวกเขา, ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ได้รับคุณประโยชน์จากข้อคิดหรือคำตักเตือนใดๆ , 

  

     ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสถึงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาผู้ผินหลังว่า 

 

( ذَلِكَ بِأَنَّهُمُ اسْتَحَبُّوا الْحَيَاةَ الدُّنْيَا عَلَى الْآخِرَةِ وَأَنَّ اللَّهَ لَا يَهْدِي الْقَوْمَ الْكَافِرِينَ * أُولَئِكَ الَّذِينَ ‌طَبَعَ اللَّهُ عَلَى قُلُوبِهِمْ وَسَمْعِهِمْ وَأَبْصَارِهِمْ وَأُولَئِكَ هُمُ الْغَافِلُونَ )  

 

“ทั้งนี้เพราะว่าพวกเขาพอใจเลือกเอาชีวิตในโลกนี้เหนือปรโลก และแท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงชี้แนะทางแก่กลุ่มชนผู้ปฏิเสธศรัทา

ชนเหล่านั้นคือผู้ที่อัลลอฮฺทรงประทับตราบนหัวใจของพวกเขา และบนหูของพวกเขาและบนตาของพวกเขา

และชนเหล่านั้นคือ ผู้เผลอเรอ 

(อันนะหฺลฺ  โองการที่ ๑๐๗ – ๑๐๘ )

 

          และจากร่องรอยของความเผลอไผลและผลลัพธ์ของมัน คือ การหันห่างจากสัจธรรมความจริงและส่งเสริมช่วยเหลือความผิด

     ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า 

 

(سَأَصْرِفُ عَنْ آيَاتِيَ الَّذِينَ يَتَكَبَّرُونَ فِي الْأَرْضِ بِغَيْرِ الْحَقِّ وَإِنْ يَرَوْا كُلَّ آيَةٍ لَا يُؤْمِنُوا بِهَا وَإِنْ يَرَوْا سَبِيلَ الرُّشْدِ لَا يَتَّخِذُوهُ سَبِيلًا وَإِنْ يَرَوْا سَبِيلَ الْغَيِّ يَتَّخِذُوهُ سَبِيلًا ذَلِكَ بِأَنَّهُمْ كَذَّبُوا بِآيَاتِنَا وَكَانُوا عَنْهَا غَافِلِينَ )  

 

“ข้าจะหันเหออกจากบรรดาโองการของข้า ซึ่งบรรดาผู้ที่ยะโสในแผ่นดินโดยไม่บังควร

และแม้ว่าพวกเขาจะได้เห็นสัญญาณทุกอย่างพวกเขาก็จะไม่ศรัทธาต่อสัญญาณนั้น

และหากพวกเขาเห็นทางแห่งความถูกต้อง พวกเขาก็จะไม่ยึดถือมันเป็นทาง

และหากพวกเขาเห็นทางแห่งความผิด พวกเขาก็ยึดถือมันเป็นทาง

นั่นก็เพราะว่าพวกเขาปฏิเสธบรรดาโองการของเราและพวกเขาจึงได้เป็นผู้ละเลยโองการเหล่านั้น”

( อัล-อะอฺรอฟ  โองการที่ ๑๔๖ )

 

          และจากผลอันเลวร้ายและอันตรายที่สุดของความเผลอไผล คือ การขาดทุนในโลกอาคีเราะฮฺ

     พระองค์อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

(إِنَّ الَّذِينَ ‌لَا ‌يَرْجُونَ لِقَاءَنَا وَرَضُوا بِالْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَاطْمَأَنُّوا بِهَا وَالَّذِينَ هُمْ عَنْ آيَاتِنَا غَافِلُونَ * أُولَئِكَ مَأْوَاهُمُ النَّارُ بِمَا كَانُوا يَكْسِبُونَ)  

 

“แท้จริงบรรดาผู้ที่ไม่หวังจะพบเรา และพวกเขาพอใจต่อชีวิตในโลกดุนยา และพวกเขาดีใจต่อมัน

และบรรดาผู้ละเลยต่อสัญญาณต่างๆ ของเราชนเหล่านั้น ที่พำนักของพวกเขาคือนรกเนื่องด้วยพวกเขาขวนขวายเอาไว้” 

(ยูนุส  โองการที่ ๗-๘ )

 

         ยิ่งหัวใจของมนุษย์เหินห่างจากอัลลอฮฺมากเท่าใด ชัยฏอนก็ยิ่งเข้าครอบงำได้มากเท่านั้น กระทั่งกลายเป็นคู่ใกล้ชิดเลวร้าย ที่จะไม่แยกไปจากเขา

     อัลลอฮฺตรัสว่า 

 

( وَمَنْ يَعْشُ عَنْ ذِكْرِ الرَّحْمَنِ نُقَيِّضْ لَهُ شَيْطَانًا فَهُوَ لَهُ قَرِينٌ ) 

 

“และผู้ใดผินหลังจากการรำลึกถึงพระผู้ทรงกรุณาปราณี เราจะให้ชัยฏอนตัวหนึ่งแก่เขา แล้วมันก็จะเป็นสหายของเขา”

(อัซซุครุฟ โองการที่ ๓๖ )

 

แล้วชัยฏอนต้องการสิ่งใดจากเขา 

 

( وَإِنَّهُمْ لَيَصُدُّونَهُمْ عَنِ السَّبِيلِ وَيَحْسَبُونَ أَنَّهُمْ مُهْتَدُونَ )

 

“และแท้จริงพวกมันจะขัดขวางออกจากทางที่ถูกต้อง แต่พวกเขาคิดว่าพวกเขานั้นอยู่ในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว”

( อัซซุครุฟ   โองการที่ ๓๗ )

 

          แท้จริงอัลลอฮฺทรงเตือนปวงบ่างของพระองค์ให้ระวังความเผลอไผล พระองค์ตรัสว่า 

 

( وَاذْكُرْ رَبَّكَ فِي نَفْسِكَ تَضَرُّعًا وَخِيفَةً وَدُونَ الْجَهْرِ مِنَ الْقَوْلِ بِالْغُدُوِّ وَالْآصَالِ وَلَا تَكُنْ مِنَ الْغَافِلِينَ ) 

 

     “และเจ้า (มุฮัมมัด) จงรำลึกถึงพระเจ้าของเจ้าในใจของเจ้าด้วยความนอบน้อม และยำเกรง

     และโดยไม่ออกเสียงดัง ทั้งในเวลาเช้าและเย็น และจงอย่าอยู่ในหมู่ผู้ที่เผลอเรอ

(อัล - อะอฺรอฟ  โองการที่ ๒๐๕ )

 

          ทรงเตือนให้ระวังการเพลิดเพลินไปกับความสะดวกสบายในดุนยาที่จะทำให้เหินห่างจากการภักดีต่อพระองค์

     พระองค์ตรัสว่า 

 

( يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تُلْهِكُمْ أَمْوَالُكُمْ وَلَا أَوْلَادُكُمْ عَنْ ذِكْرِ اللَّهِ وَمَنْ يَفْعَلْ ذَلِكَ فَأُولَئِكَ هُمُ الْخَاسِرُونَ ) 

 

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย อย่าให้ทรัพย์สินของพวกเจ้าและลูกหลานของพวกเจ้าหันเหพวกเจ้าจากการรำลึกถึงอัลลอฮฺ

และผู้ใดกระทำเช่นนั้น ชนเหล่านั้นคือพวกที่ขาดทุน”

(อัลมุนาฟิกูน  โองการที่ ๙ )

 

     ในบันทึกของ อัลบุคอรียฺและมุสลิม ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม กล่าวเตือนประชาชาติของท่านไว้ว่า 

 

"وَاللَّهِ مَا الْفَقْرَ أَخْشَى عَلَيْكُمْ، وَلَكِنِّي أَخْشَى عَلَيْكُمْ أَنْ تُبْسَطَ الدُّنْيَا عَلَيْكُمْ، كَمَا بُسِطَتْ عَلَى مَنْ كَانَ قَبْلَكُمْ، فَتَنَافَسُوهَا كَمَا تَنَافَسُوهَا، وَتُلْهِيَكُمْ كَمَا أَلْهَتْهُمْ". 

 

     “ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ ไม่ใช่ความยากจนที่ฉันกลัวจะประสบกับพวกท่าน แต่ฉันกลัวการที่ดุนยาจะถูกแผ่ออกให้กว้างขวางแก่พวกท่าน

     ดังที่มันได้ถูกแผ่ออกให้กว้างขวางแก่บรรดาผู้มาก่อนพวกท่าน, แล้วพวกเจ้าก็จะแข่งขันกันในมัน (ในผลประโยชน์ของดุนยา) เหมือนกับที่พวกเขาแข่งขันกัน

     และมันก็จะทำให้พวกเจ้าเพลิดเพลินไป (จนหลงลืมอาคีเราะฮฺ) ดั่งที่มันได้ทำให้พวกเขาเพลิดเพลิน” 

 

 

           ศรัทธาชนที่มีเกียรติทั้งหลาย เราได้รู้แล้วว่าความเผลอไผลคืออะไร, และสาเหตุอันสำคัญต่างๆ ที่ก่อเกิดความเผลอไผล, รวมถึงบางส่วนของบั้นปลายและผลลัพธ์อันแล้วร้ายของมัน,  ฉะนั้นเราจะมาเรียนรู้ถึงวิถีทางการรักษาและหลุดพ้นจากความเผลอไผล 

 

     ประการแรก คือ การรู้จักอัลลอฮฺ, รู้จักศาสนทูตของพระองค์ ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม, เรียนรู้ศาสนาและบทบัญญัติของพระองค์

     อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

( قُلْ هَلْ يَسْتَوِي الَّذِينَ يَعْلَمُونَ وَالَّذِينَ لَا يَعْلَمُونَ إِنَّمَا يَتَذَكَّرُ أُولُو الْأَلْبَابِ )

 

“จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ ?

แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะใคร่ครวญ”  

(อัซซุมัร  โองการที่ ๙ )

 

          การเยียวยารักษาความเผลอไผล วิธีที่สอง คือ การรักษาการละหมาดฟัรฏูห้าเวลาเป็นญะมาอะฮฺ, ด้วยความสำรวมและจิตใจที่อยู่กับการละหมาด 

     อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

( وَأَقِمِ الصَّلَاةَ لِذِكْرِي )

“และจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด เพื่อรำลึกถึงข้า”

(ฏอฮา  โองการที่ ๑๔ )

ในฮาดีษซอฮีหฺ ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม กล่าวว่า 

 

من حافظ على هؤلاء الصَّلواتِ المكتوباتِ لم يُكتَبْ من الغافلين، ومن قرأ في ليلةٍ مائةَ آيةٍ كُتِب من القانتين". 

     “ใครที่รักษาการละหมาดที่ถูกบัญญัติเหล่านี้ (ละหมาดฟัรฏุห้าเวลา) เขาจะไม่ถูกบันทึกให้อยู่ในหมู่ผู้เผลอไผล, และใครที่อ่านหนึ่งร้อยอายะฮฺในช่วงค่ำคืน จะถูกบันทึกอยู่ในหมู่ผู้ภักดีเชื่อฟังอัลลอฮฺ” 

 

          การเยียวยารักษาความเผลอไผล วิธีที่สาม หมั่นรำลึกถึงอัลลอฮฺ เพราะการรำลึกถึงอัลลอฮฺทำให้หัวใจเบิกบาน, ขับไล่ชัยฏอน, ขัดเกลาจิตใจ, และเสริมสร้างร่างกายให้เข้มแข็งต่อการภักดี, ทำให้ตื่นจากความหลงลืม, การการรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างสม่ำเสมอจะช่วยปกป้องบ่าวจากการประพฤติผิด 

     อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

 وَاذْكُر رَّبَّكَ فِي نَفْسِكَ تَضَرُّعًا وَخِيفَةً وَدُونَ الْجَهْرِ مِنَ الْقَوْلِ بِالْغُدُوِّ وَالآصَالِ وَلاَ تَكُن مِّنَ الْغَافِلِين ﴾ [الأعراف:205] )

 

     “และเจ้า (มุฮัมมัด) จงรำลึกถึงพระเจ้าของเจ้าในใจของเจ้าด้วยความนอบน้อมและยำเกรง

     และโดยไม่ออกเสียงดัง ทั้งในเวลาเช้าและเย็นและจงอย่าอยู่ในหมู่ผู้ที่เผลอเรอ”  

(อัล - อะอฺรอฟ  โองการที่  ๒๐๕ )

     และท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม กล่าวว่า 

 

"مَثَلُ الذي يَذْكُرُ رَبَّهُ والذي لا يَذْكُرُ رَبَّهُ، مَثَلُ الحَيِّ والمَيِّتِ"، 

 

“อุปมาผู้ที่รำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าของเขาและผู้ที่ไม่รำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าของเขา, อุปมัยดั่งผู้มีชีวิตและผู้เสียชีวิต” 

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ )

 

     อิบนุ้ลอัลก็อยยิม กล่าวว่า “แท้จริงผู้ที่เผอเรอ ระหว่างเขากับอัลลอฮฺมีความห่างไกล การตัดขาด, และมันจะไม่หมดไปเว้นแต่ด้วยการรำลึก (ถึงอัลลอฮฺ)” 

 

          และจากสิ่งที่จะช่วยปกปักษ์รักษาบ่าวจากความเผอเรอ คือ การอ่านอัลกุรอ่านเป็นประจำ และการใคร่ครวญอัลกุรอ่าน, เพราะการอ่านอัลกุรอ่านและใคร่ครวญคืออาหารของจิตวิญญาณ, และการเยียวยารักษาหัวใจ 

     อัลลอฮ์ ตรัสว่า 

 وَنُنَزِّلُ مِنَ الْقُرْآنِ مَا هُوَ شِفَاءٌ وَرَحْمَةٌ لِلْمُؤْمِنِينَ ﴾ [الإسراء:82].. )

 

“และเราได้ให้ส่วนหนึ่งจากอัลกุรอ่านลงมา ซึ่งเป็นการบำบัดและความเมตตาแก่บรดาผู้ศรัทธา”

( อัลอิสรออฺ  โองการที่ ๘๒ )

 

          และจากสิ่งที่จะช่วยให้หลุดพ้นจากความเผลอไผล คือ การเตาบะฮฺและขออภัยโทษให้มาก ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม กล่าวว่า 

 

"إنَّه لَيُغانُ على قَلْبِي، وإنِّي لَأَسْتَغْفِرُ اللَّهَ في اليَومِ مِائَةَ مَرَّةٍ" 

 

“แท้จริงมันได้เข้ามาปกคลุมหัวใจของฉัน (ความหลงลืม เผอเรอ) ,และแท้จริงฉันขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺหนึ่งร้อยครั้งในหนึ่งวัน” 

 

     และฮาดีษอยู่ในบันทึกของมุสลิม  และในฮาดีษที่อยู่ในระดับ หะซัน ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม กล่าวว่า 

 

"إن العبدَ إذا أخطأ خطيئةً نُكتتْ في قلبِه نكتةٌ سوداءُ، فإذا هو نزع واستغفر وتاب صقُل قلبُه". 

 

     “แท้จริง เมื่อบ่าวกระทำบาป ก็จะมีจุดดำหนึ่งจุดในหัวใจ เมื่อเขาทิ้งการกระทำดังกล่าวและการขออภัยโทษกลับเนื้อกลับตัว หัวใจก็จะกลับมาสะอาด” 

 

          และจากสิ่งที่จะช่วยให้หลุดพ้นจากความเผลอไผล คือ การคบค้าสมาคมกับบรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ประพฤติดี, เพราะพวกเขาจะส่งเสริมให้รำลึกถึงอัลลอฮฺ สอนในเรื่องราวบทบัญญัติของอัลลอฮฺ, และช่วยเหลือให้อยู่บนการภักดีต่ออัลลอฮฺ  พระองค์อัลลอฮ์ ตรัสว่า 

 

( وَاصْبِرْ نَفْسَكَ مَعَ الَّذِينَ يَدْعُونَ رَبَّهُمْ بِالْغَدَاةِ وَالْعَشِيِّ يُرِيدُونَ وَجْهَهُ وَلَا تَعْدُ عَيْنَاكَ عَنْهُمْ تُرِيدُ زِينَةَ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا وَلَا تُطِعْ مَنْ أَغْفَلْنَا قَلْبَهُ عَنْ ذِكْرِنَا وَاتَّبَعَ هَوَاهُ وَكَانَ أَمْرُهُ فُرُطًا ﴾ [الكهف:28) 

 

     “และจงอดทนต่อตัวของเจ้า ร่วมกับบรรดาผู้วิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา ทั้งยามเช้าและยามเย็น โดยปารถนาความโปรดปรานของพระองค์

     และอย่าให้สายตาของเจ้าหันเหออกจากพวกเขา ขณะที่เจ้าประสงค์ความสวยงามแห่งชีวิตของโลกนี้

     และจงอย่าเชื่อฟัง ผู้ที่เราทำให้หัวใจของเขาละเลยจากการรำลึกถึงเรา และปฏิบัติตามอารมณ์ต่ำของเขา และกิจการของเขาพินาศสูญหาย”

(อัลกะฮฺฟฺ  โองการที่ ๒๘) 

 

          และสิ่งที่ช่วยให้หลุดพ้นจากความเผลอไผล คือ การออกห่างไกลจากกลุ่มคนที่รวมกันกระทำสิ่งไร้สาระ และกระทำความชั่ว พระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า 

 

( وَقَدْ نَزَّلَ عَلَيْكُمْ في الْكِتَابِ أَنْ إِذَا سَمِعْتُمْ آيَاتِ اللَّهِ يُكْفَرُ بها وَيُسْتَهْزَأُ بها فَلَا تَقْعُدُوا مَعَهُمْ حَتَّى يَخُوضُوا في حَدِيثٍ غَيْرِهِ إِنَّكُمْ إِذًا مِثْلُهُمْ إِنَّ اللَّهَ جَامِعُ الْمُنَافِقِينَ وَالْكَافِرِينَ في جَهَنَّمَ جَمِيعً )

 

     “และแน่นอนอัลลอฮฺได้ทรงประทานลงมาแก่พวกเจ้าแล้วในคัมภีร์นั้นว่า เมื่อพวกเจ้าได้ยินบรรดาโองการของอัลลอฮฺ โองการเหล่านั้นก็ถูกปฏิเสธศรัทธา และถูกเย้ยหยัน

     ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่านั่งร่วมกับพวกเขา จนกว่าพวกเขาจะพูดคุยกันในเรื่องอื่นจากนั้น แท้จริงพวกเจ้านั้น ถ้าเช่นนั้นแล้วก็เหมือนพวกเขา

     แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรวบรวมบรรดามุนาฟิก และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาไว้ในนรกญะฮันนัมทั้งหมด”  

(อัน - นิซาอฺ  โองการที่ ๑๔๐ )

 

          และสิ่งที่ช่วยรักษาความเผลอไผล คือ การให้มากซึ่งการขอดุอาและการนอบน้อมต่ออัลลอฮฺ ในซอฮีหฺอัลบุคอรียฺ ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิว่าซัลลัม กล่าวว่า 

 

     "ما من مسلم يدعو الله بدعوة ليس فيها إثم ولا قطيعةُ رحم إلا أعطاه بها إحدى ثلاث: إما أن تُعجَّل له دعوته، وإما أن يدخرها له في الآخرة، وإما أن يُصرف عنه من السوء مثلها قالوا: إذًا نكثر، قال: الله أكثر".. 

 

     “ไม่มีมุสลิมคนใดที่ได้วิงวอนขอต่ออัลลอฮฺ ด้วยดุอาอฺที่ไม่ประกอบด้วยบาปและการตัดสัมพันธ์เครือญาติ เว้นแต่พระองค์จะทรงให้เขาหนึ่งในสามประการ

     นั่นคือพระองค์อาจให้ในสิ่งที่เขาขอ หรือพระองค์ทรงเก็บมันไว้ให้แก่เขาในอาคีเราะฮฺ หรือพระองค์จะทรงให้หันห่างไปจากเขาซึ่งสิ่งเลวร้ายที่ทัดเทียมกับสิ่งที่เขาวิงวอนขอ

     พวกเขา (บรรดาซอฮาบะฮฺ) กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นเราจะ (วิงวอนขอ) ให้มาก

     ท่านนบีกล่าวว่า พระองค์อัลลอฮฺทรงมีมากกว่า” 

 

          และสิ่งสำคัญยิ่งที่จะช่วยรักษาความเผลอไผล คือ การรำลึกถึงความตายและสิ่งที่จะต้องเผชิญหลังจากนั้น, ความตายคือผู้ตักเตือนอันลึกซึ้ง, ใครก็ตามที่รำลึกถึงความตายอย่างมากหัวใจของเขาจะตื่นรู้, จิตใจของเขาจะมั่นคง, การงานของเขาจะเป็นการงานที่ดี, เขาจึงปลอดจากความเผลอไผล

 

          ดังนั้นจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย และจงขจัดฝุ่นผงแห่งความเผลอไผลให้ออกไปจากตัวของพวกท่าน, และจงเร่งรีบสู่การกลับเนื้อกลับตัวสู่แนวทางแห่งบทบัญญัติ, ผู้ผาสุกคือผู้ที่กลับตัวยังพระเจ้าของเขา, และตระเตรียมสำหรับความน่าสะพรึงกลัวและการสอบสอนที่อยู่เบื้องหน้าเขา 

 

﴿ وَأَنِيبُوا إِلَى رَبِّكُم وَأَسلِمُوا لَهُ مِن قَبلِ أَن يَأتِيَكُمُ العَذَابُ ثُمَّ لَا تُنصَرُونَ * وَاتَّبِعُوا أَحسَنَ مَا أُنزِلَ إِلَيكُم مِن رَبِّكُم مِن قَبلِ أَن يَأتِيَكُمُ العَذَابُ بَغتَةً وَأَنتُم لَا تَشعُرُونَ * أَن تَقُولَ نَفسٌ يَاحَسرَتَا عَلَى مَا فَرَّطتُ فِي جَنبِ اللَّهِ وَإِن كُنتُ لَمِنَ السَّاخِرِينَ * أو تَقُولَ لَو أَنَّ اللَّهَ هَدَانِي لَكُنتُ مِنَ المُتَّقِينَ * أَو تَقُولَ حِينَ تَرَى العَذَابَ لَو أَنَّ لِي كَرَّةً فَأَكُونَ مِنَ المُحسِنِينَ ﴾ [الزمر:54

 

     “และจงผินหน้าไปหาพระเจ้าของพวกท่านและจงนอบน้อมต่อพระองค์ ก่อนที่การลงโทษจะมายังพวกท่าน แล้วพวกท่านจะมิได้รับความช่วยเหลือ

     และจงปฏิบัติตามสิ่งที่ดียิ่งที่ได้ประทานลงมายังพวกท่าน จากพระเจ้าของพวกท่านก่อนที่การลงโทษจะมายังพวกท่านโดยฉับพลันโดยที่พวกท่านไม่รู้สึกตัว

     มิฉะนั้น ชีวิตหนึ่งจะกล่าวว่า โอ้ความหายนะจงประสบแก่ข้าพระองค์ ที่ข้าพระองค์ทอดทิ้ง (หน้าที่) ที่มีต่ออัลลอฮฺ และข้าพระองค์เคยอยู่ในหมู่ผู้เยาะเย้ยอีกด้วย

     หรือมัน (ชีวิต) จะกล่าวว่า หากอัลลอฮฺทรงชี้แนะทางแก่ข้าพระองค์ แน่นอนข้าพระองค์ก็จะอยู่ในหมู่ผู้ยำเกรง 

     หรือมัน (ชีวิต) จะกล่าวขณะที่เห็นการลงโทษว่า มาตรว่า ข้าพระองค์มีโอกาสกลับ (ไปสู่โลกดุนยา) อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นข้าพระองค์ก็จะได้อยู่ในหมู่ผู้กระทำความดี”                                      

 

(อัซซุมัร  โองการที่ ๕๔ - ๕๘ )