วิธีการอาบน้ำละหมาด
แปลเรียบเรียง...อับดุลวาเฮด สุคนธา
- วิธีการอาบน้ำละหมาดที่ถูกต้อง
1. ตั้งเจตนา(เหนียต)ในใจ (ไม่เปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูด)
2. กล่าวพระนามของอัลลอฮฺว่า
กล่าวว่า บัสมะละฮ์ (อาหรับ: بَسْمَلَة) ตอนเริ่มอาบน้ำลหมาด ว่า บิสมิลลาฮ์ (بِسْمِ ٱللَّٰهِ, "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์")
เป็นประโยคว่า บิสมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม (بِسْمِ ٱللَّٰهِ ٱلرَّحْمَٰنِ ٱلرَّحِيمِ), "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ" สามารถกล่าวได้ทั้งสองสำนวน
ท่านอิม่ามนะวะวีย์กล่าวว่า แท้จริงการกล่าวที่สมบูรณ์คือ เป็นประโยคว่า บิสมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม (بِسْمِ ٱللَّٰهِ ٱلرَّحْمَٰنِ ٱلرَّحِيمِ),
3. ล้างมือทั้งสองข้างพร้อมกัน 3 ครั้งโดยการถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว
4. บ้วนปากพร้อมสูดน้ำเข้าจมูก 3 ครั้ง เเละสั่งน้ำออกจากจมูกด้วยกับมือซ้าย
5. ล้างใบหน้าให้ทั่ว 3 ครั้ง
ขอบเขตของใบหน้าเริ่มจากตีนผมบนหน้าผาก จนถึงใต้คางและอยู่ระหว่างติ่งหูทั้งสองข้างหากว่ามีเคราให้ถูขยี้ด้วย
6. ล้างมือทั้งสองข้างพร้อมเเขนจนถึงข้อศอก 3 ครั้ง เริ่มจากทางด้านขวาก่อน ตั้งแต่ปลายนิ้วไปจนถึงข้อศอก
7. เช็ดศีรษะให้ทั่ว พร้อมเช็ดหูทั้งสองข้าง 1 ครั้ง
มีวิธีการดังนี้ : วางมือที่เปียกน้ำทั้งสองข้างลงบนส่วนหน้าของศีรษะ(ตีนผมบนหน้าผาก) หลังจากนั้นลูบไปจนถึงท้ายทอย เเละลูบกลับมายังตำแหน่งส่วนหน้าของศีรษะเหมือนเดิม หลังจากนั้นใส่นิ้วชี้เข้าไปเช็ดในรูหู เเละใช้นิ้วโป้งเช็ดบริเวณภายนอกของหู (โดยไม่ต้องเอาน้ำใหม่ตอนเช็ดใบหู)
8. ล้างเท้าทั้งสองข้างจนถึงตาตุ่ม 3 ครั้ง
9. เมื่อเสร็จสิ้นเเล้ว มีซุนนะฮฺให้กล่าวบทรำลึกดุอาอ์ว่า :
أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا اللَّهُ، وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَهُ، وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ، اللَّهُمَّ اجْعَلْنِي مِنَ التَّوَّابِينَ، وَاجْعَلْنِي مِنَ الْمُتَطَهِّرِينَ .
.
คำอ่าน : อัชฮะดุ อัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะหฺดะฮู ลาชะรีกะละฮฺ วะอัชฮะดุ อันนะ มุฮัมมะดัน อับดุฮู วะรอซูลุฮฺ อัลลอฮุมัจอัลนี มินัตเตาวาบีน วัจอัลนี มินัล มุตะเตาะฮิรีน
ความหมาย : ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ เพียงองค์เดียวเท่านั้น ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่ามุฮัมหมัดเป็นบ่าว และเป็นศาสนทูตของพระองค์ โอ้อัลลอฮฺ โปรดทำให้ฉันอยู่ในหมู่ผู้ที่กลับตัวสู่พระองค์ และโปรดทำให้ฉันอยู่ในหมู่ผู้ที่ได้รับการขัดเกลาให้สะอาดด้วยเถิด
(บันทึกโดย มุสลิม)
- การอาบน้ำละหมาดที่เป็นฟัรฎฺและซุนนะฮฺ
สิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติในการทำวุฎูอ์ (อาบน้ำละหมาด)
♦· ต้องล้างใบหน้า ซึ่งรวมถึงการบ้วนปากและสูดน้ำเข้าจมูก
♦· ต้องล้างมือทั้งสองข้างพร้อมแขนจรดข้อศอก
♦· ต้องลูบศีรษะ พร้อมด้วยใบหูทั้งสองข้าง
♦· ต้องล้างเท้าทั้งสองข้างตลอดถึงข้อเท้า
♦· ต้องเรียงทำตามลำดับและขั้นตอนที่ได้กล่าวมา
♦· ต้องมีความต่อเนื่องกันในแต่ละขั้นตอนที่ได้กล่าวมา
รู่ก่นการอาบน้ำละหมาด รู่ก่นหรือข้อบังคับที่จำเป็นในการอาบน้ำละหมาดมี 5 ประการ คือ
1. การตั้งเจตนาด้วยความบริสุทธิ์ใจ (เหนียต) อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงรับสั่งว่า وَمَا أُمِرُوا إِلَّا لِيَعْبُدُوا اللَّهَ مُخْلِصِينَ “และพวกเขามิได้ถูกบัญชาใช้เพื่อการอื่นใด นอกจากเพื่อการภักดีต่ออัลลอฮฺ โดยมีเจตนาบริสุทธิ์ เพื่อพระองค์ ” (ซูเราะฮ์อัลบัยยินะฮ์ อายะฮ์ที่ 5)
และท่านรอซูลลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า إِنَّمَا اْلأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ،وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى "กิจกรรม (ศาสนกิจ) ทุกอย่างขึ้นอยู่กับเจตนาที่แน่วแน่ และทุกคนย่อมต้องได้ตามเจตนาที่ตั้งไว้” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์)
2. การล้างหน้าให้ทั่วเขตใบหน้า อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงมีรับสั่งว่า فَاغْسِلُوا وُجُوهَكُمْ “ และพวกท่านจงชำระล้างใบ หน้าของพวกท่าน ” (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 6 )
3. การล้างมือทั้งสองข้างจนถึงข้อศอก อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงมีรับสั่งว่า وَأَيْدِيَكُمْ إِلَى الْمَرَافِقِ “ และพวกท่านจงล้างมือของพวกท่านจนถึงข้อศอก ” (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 6 )
4. การลูบเช็ดศีรษะ (เส้นผม) อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงมีรับสั่งว่า وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ “ และพวกท่านจงลูบเช็ดศีรษะ ของพวกท่าน" (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 6 )
5. การล้างเท้าทั้งสองข้างจนถึงตาตุ่ม อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงมีรับสั่งว่า وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ “ และพวกท่านจงล้างเท้าของพวกท่านจนถึงตาตุ่มทั้งสอง” (ซูเราะฮ์อัลมาอิดะฮ์ อายะฮ์ที่ 6 )
การเรียงลำดับตามขั้นตอนโดยต่อเนื่อง จากข้อ 1 ถึง 5 ทั้งนี้เนื่องจากตัวบทหลักฐานที่รายงานลักษณะวิธี การอาบน้ำละหมาดของท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีเนื้อหาโดยสรุปตรงกันว่า ท่านรอซูลุล ลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อาบน้ำละหมาดตามขั้นตอนดังกล่าวทุกครั้งและอย่างต่อเนื่อง ไม่ปรากฏว่า มีตัวบทใดเลยระบุว่าท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยทำสลับขั้นตอน หรือหยุดพักเว้นระยะ ระหว่างขั้นตอนต่าง ๆ