คำสั่งเสียสุดท้ายของท่านนบีมุฮัมมัด ﷺ 
  จำนวนคนเข้าชม  225

คำสั่งเสียสุดท้ายของท่านนบีมุฮัมมัด ﷺ 

 

แปลเรียบเรียง...อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

การเสียชีวิตของท่านเราะซูล

 

          เมื่อการทำฮัจญ์อำลาได้สิ้นสุดลงบัญญัติของศาสนาอิสลามครบถ้วน สมบูรณ์ สาสน์ของอิสลามซึ่งท่านนะบี นำมาก็ได้สิ้นสุดเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เมื่อหน้าที่ของท่านในฐานะผู้เผยแผ่ศาสนาของอัลลอฮ์ เสร็จสิ้นแล้ว วันที่ศาสนาสมบูรณ์ เก้าซุลฮิจญะฮฺ

          นับย้อนไปเมื่อปีที่สิบแห่งการอพยพของท่านนบีﷺในวันศุกร์ ที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺ ซึ่งเป็นวันอะรอฟะฮฺในฮัจญ์อำลาของท่านนบีﷺ ขณะที่ท่านﷺกำลังพำนักอยู่ ณ ทุ่งอะรอฟะฮฺ ช่วงเวลาหลังละหมาดอัศรฺของวันนั้น เป็นช่วงที่ท่านกำลังพำนักอยู่บนพาหนะของท่าน อัลลอฮฺﷻ ประทานโองการอัล-กุรอานที่มีความสำคัญยิ่งต่อประชาชาตินี้ เป็นโองการที่มายืนยันว่าศาสนาอิสลามที่ท่านนบีﷺนำมาประกาศนั้นครบถ้วนสมบูรณ์เเล้ว และท่านนบีﷺก็ได้ปฏิบัติภารกิจของท่านอย่างสมบูรณ์เเบบเเล้ว นั่นคือโองการในซูเราะฮฺอัล-มาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 3 ที่มีใจความว่า :

 

الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الْإِسْلَامَ دِينًا ۚ

 

“วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้า และข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้วซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า 

และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว”

 (อัล-มาอิดะฮฺ : 3)

     การจากไปของท่านนบี ไม่ต่างอะไรกับการจากไปเหมือนกับนะบีคนอื่นๆ ที่มาก่อนหน้าท่าน ดัง อายะฮ์ที่ว่า :

 

وَمَا جَعَلْنَا لِبَشَرٍ مِّن قَبْلِكَ الْخُلْدَ ۖ أَفَإِن مِّتَّ فَهُمُ الْخَالِدُونَ

 

““เราไม่ทำให้มนุษย์คนใด ที่มาก่อนเจ้าอยู่ยังคงกระพัน แม้นว่าเจ้าตาย แล้วพวกเขาเหล่านั้นจะไม่ตายกระนั้นหรือ””

 (อัลอันบิยาอ์ 34)

إِنَّكَ مَيِّتٌ وَإِنَّهُم مَّيِّتُونَ الزمر 30

 

“แท้จริงเจ้าจะต้องตาย และแท้จริงพวกเขาจะต้องตาย”

 

          ท่านนะบี ได้ทราบถึงวาระสุดท้ายของท่าน และท่านได้กล่าวคุฎบะห์ในขณะทำฮัจญ์อำลา และหลังจากกลับมาที่มะดีนะฮ์ท่านก็เริ่มป่วย หลังจากที่ท่านกลับจากฮัจญ์สามเดือน ท่านก็เริ่มป่วยและอาการป่วยได้รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ท่านจึงขออนุญาตบรรดาภรรยาของท่านในการที่จะมาพักที่บ้านของท่านหญิง อาอีชะห์ เราะฏิยัลลอฮุอันฮา พวกนางก็อนุญาต และได้ใช้ให้ท่านอบูบักร เป็นอิมามนำละหมาดแทน และในวันสุดท้ายท่านมีความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและได้มองบรรดามุสลิมีน ที่กำลังละหมาดอยู่ในมัสยิด พวกเขาเหล่านั้นเกือบที่จะออกมาจากการละหมาดด้วยความดีใจที่เห็นท่านเราะซูล มีอาการดีขึ้น ท่านอบูบักรคิดว่าท่านเราะซูล จะมานำละหมาด แต่ท่านได้ชี้ให้ท่านอบูบักรนำละหมาดให้ครบสมบูรณ์ แล้วท่านก็กลับไปที่นอนของท่าน

 

          หลังจากที่ท่านเราะซูล ป่วยได้ 10 วัน ท่านได้เสียชีวิตลง ในขณะที่ศีรษะวางอยู่บนตักของท่านหญิงอาอีชะห์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เหตุการณ์นั้นเกิดในวันที่ 2 ของเดือนรอบีอุลเอาวาล ปีฮิจเราะฮ์ ที่ 11 ขณะนั้นท่านเราะซูล มี อายุ 63 ปี และมีคำสั่งเสียของงท่านนบีมากมายก่อนที่ท่านจะสิ้นชีวิต

 

 

คำสั่งเสียในเรื่องการละหมาด

 

          การละหมาด คือ เสาหลักของศาสนาและเป็นการงานแรกระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าที่จะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺ ซึ่งเป็นคำสั่งเสียของท่านนบีที่มีความห่วงใยต่อประชาชาติของท่านในวาระสุดท้ายของชีวิต

          จากรายงานอะนัส กล่าวว่า คำสั่งเสียสุดท้ายของท่านร่อซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมในวาระสุดท้ายก่อนสิ้นลม ว่า

 

الصَّلاةَ وما ملَكَت أيمانُكم،

“จง (ดำรง) ละหมาด และในสิ่งที่พวกท่านครองครอง (ทรัพย์สิน คนรับใช้ ทาส)”

(บันทึกโดยอิมามอะหฺมัด และบันทึกโดยอัลฮากิมและอิบนุฮิบบาน)

 

         จากรายงานของท่านอะลี กล่าวว่า คำพูดสุดท้ายของท่านร่อซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คือ

 

كان آخر ُكلامِ رسولِ اللهِ صلَّى اللهُ عليهِ وسلَّمَ الصلاةَ الصلاةَ ! اتقوا اللهَ فيما ملكت أيمانُكم

 

“จง (ดำรง) ละหมาด จง (ดำรง) ละหมาด และ (ดูแล) สิ่งที่พวกท่านครองครอง (ทรัพย์สิน คนรับใช้ ทาส)” 

(บันทึกโดย อบูดาวุด อะหฺมัด และอิบนุมาญะฮฺ)

 

          จากรายงานของอบูอุมามะฮฺ อัลบาฮิลีย์ กล่าวว่า ฉันได้ยิน ท่านร่อซูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวในวันฮัจญ์อำลา ว่า

 

سمعتَ رسولَ اللَّهِ صلَّى اللَّهُ عليهِ وسلَّمَ يخطُبُ في حَجَّةِ الوداعِ فقالَ اتَّقوا اللَّهَ ربَّكم وصلُّوا خمسَكم وصوموا شَهرَكم وأدُّوا زَكاةَ أموالِكم وأطيعوا ذا أمرِكم تدخلوا جنَّةَ ربِّكُم

 

“จงเคารพภักดีพระเจ้าของพวกท่าน จงละหมาด 5 เวลาของพวกท่าน จงถือศีลอดในเดือนของพวกท่าน(รอมฏอน)

จงชำระซะกาตทรัพย์สินของพวกท่าน และจงเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำของพวกท่าน

แล้วพวกท่านจะได้เข้าสวรรค์ของพระเจ้าของพวกท่าน” 

(บันทึกโดย อะหฺมัด อัตติรมีซีย์ อัลฮากิม และอิบนุฮิบบาน)

 

 

คำสั่งเสียในเรื่องห้ามกราบไหว้ต่อหลุมศพ

 

         รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวในขณะที่ท่านป่วยไม่สามารถลุกขึ้นได้ โดยกล่าวว่า

 

لَعَنَ اللَّهُ اليَهُودَ وَالنَّصَارَى اتَّخَذُوا قُبُورَ أَنْبِيَائِهِمْ مَسَاجِدَ

 

" อัลลอฮ์ได้ทรงสาปเเช่งพวกยะฮูดเเละนะศอรอ ที่พวกเขาได้ยึดเอาหลุมศพของบรรดานบีของพวกเขาเป็นมัสยิด (ที่กราบไหว้)” 

(โดยบุคอรี มุสลิม)

 

          ท่านอิม่าม อิบนุ หะญัร กล่าวว่า เสมือนว่าท่านนบีรู้ดียิ่งในขณะที่ท่านนั้นกำลังป่วยหนักซึ่งเป็นวาระสุดท้าย กลัวว่าพวกเขาเหล่านั้นจะให้ความสำคัญกับหลุมศพของฉันเหมือนกับกลุ่มชนก่อนหน้านี้ที่ผ่านมา ท่านนบี เลยตำหนิสาปแช่งพฤติกรรมชาวยิวและชาวคริสเตียนกับสิ่งที่พวกเขาได้กระทำมาก่อนหน้านี้

 

          ท่านอิม่าม อัลกุรฏุบีย์ กล่าวว่า อย่าได้ยึดหลุมศพเป็นทิศกิบละฮฺ เป็นที่ทำอิบาดะฮฺ เช่น การละหมาด ดั่งเช่นกับการกระทำของชาวยิวและคริสเตียน เพราะมันจะนำไปสู่การเชื่อต่อคนตายและเป็นสาเหตุสู่การเคารพบูชารูปปั้น ซึ่งท่านนบีได้ห้ามเอาไว้ 

 

          และบรรดาผู้รู้ของเรา กล่าวว่า เป็นที่ต้องห้ามบรรดามุสลิมทุกคนที่จะยึดเอาหลุมศพบรรดานบี เป็นที่ทำอิบาดะฮฺ

 

 

คำสั่งเสียในเรื่องการคิดในแง่ดีต่ออัลลอฮฺ

 

     รายงานจากท่านญาบิร กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺพูดก่อนที่ท่านจะเสียชีวิตสามวันว่า :

 

لا يَمُوتَنَّ أَحَدُكُمْ إلَّا وَهو يُحْسِنُ الظَّنَّ باللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ.

 

“ คนหนึ่งคนใดในพวกท่านจงอย่าได้ตายเป็นอันขาด นอกจากจะเป็นผู้ที่คิดดีต่ออัลลอฮฺ ”

(บันทึกโดย อิมามมุสลิม)

          ท่านอิม่าม นะวะวีย์ กล่าวว่า นี่คือข้อควรระวังจากการสิ้นหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ และส่งเสริมให้เรานั้นมีความหวังในวาระสุดท้ายของชีวิต 

 

          ความหมายคำว่า คิดในแง่ดีต่ออัลลอฮฺนั้น หมายถึง การคิดและหวังให้พระองค์ทรงอภัยโทษและเมตตาจากความผิดต่างๆ หากว่าลองพิจารณาจากอัลกรุอ่านและหะดีษพูดถึงความกรุณาปราณีของอัลลอฮฺนั้นมีมากมาย คำมั่นสัญญา กลุ่มเตาฮีด คนที่ยึดมั่นหลักศรัทธาที่ถูกต้อง และพวกเขาจะได้รับความเมตตาจากพระองค์ 

     อัลลอฮ์ ตรัสว่า

( إِنَّ الَّذِينَ آمَنُوا وَالَّذِينَ هَاجَرُوا وَجَاهَدُوا فِي سَبِيلِ اللَّهِ أُولَئِكَ يَرْجُونَ رَحْمَتَ اللَّهِ وَاللَّهُ غَفُورٌ رَحِيمٌ ﴾ [البقرة: 218].)

 

“แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และบรรดาผู้ที่อพยพ และได้เสียสละต่อสู้ในทางของอัลลอฮ์นั้น

ชนเหล่านี้แหละที่หวังในความเมตตาของอัลลอฮ์ และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ”