ผลบุญฮัจญ์และอุมเราะห์ อย่างสมบูรณ์ สมบูรณ์ สมบูรณ์ !!
  จำนวนคนเข้าชม  448

ผลบุญฮัจญ์และอุมเราะห์ อย่างสมบูรณ์ สมบูรณ์ สมบูรณ์ !!

 

.ดาวุด ธิยัน... แปลเรียบเรียง 

 

في الحديث الذي رواه الترمذي مرفوعا: من صلى الغداة في جماعة ثم قعد يذكر الله حتى تطلع الشمس، ثم صلى ركعتين كانت له كأجر حجة وعمرة قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم: تامة تامة تامة. اهـ.

 

      ในหะดีษที่รายงานโดยอัต-ติรมิซีย์ ซึ่งอ้างถึงจากท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า: 

 

     "ผู้ใดละหมาดซุบหฺในญะมาอะฮฺ แล้วนั่งรำลึกถึงอัลลอฮฺจนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วละหมาดสองร็อกอัต จะได้รับผลบุญเสมือนการทำหัจญ์และอุมเราะฮฺ  อย่างสมบูรณ์" 

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า "สมบูรณ์ สมบูรณ์ สมบูรณ์"

 

 

     หะดิษบทนี้นักวิชาการเห็นต่างกันถึงสถานะของหะดิษ บางกลุ่มบอกว่าฎ่ออีฟ บางกลุ่มบอกว่า หะซัน ชัยค์อัลบานีย์ และชัยค์บินบาสบอกว่า อยู่ในระดับหะซัน (ใช้เป็นหลักฐานได้)

 

     นักวิชาการก็ถกกันต่อว่า คำว่าในญะมาอะห์” (เป็นกลุ่ม) ต้องในมัสยิด หรือ ญะมาอะห์ที่ไหนก็ได้ 

 

     สืบเนื่องมาจากว่า ถ้ามองว่า การละหมาดเป็นกลุ่มที่มัสยิดเป็นวาญิบ ก็ต้องเป็นกลุ่มที่มัสยิดถึงจะได้รับผลบุญที่ว่าในหะดิษ และก็ถกกันต่อว่า แล้วถ้าไปไม่ได้เพราะไกลมาก มีแต่มุศ็อลลาเล็กๆในหมู่บ้าน หรือละหมาดเป็นกลุ่มที่บ้านได้ผลบุญนั้นใหม (หากมีอุปสรรคก็ได้ตามนั้น) 

 

     หรือบางคนมองอีกมุมว่า ในหะดิษบอกว่า ละหมาดเป็นกลุ่ม แต่ไม่ได้จำกัดว่าเป็นกลุ่มที่ไหน หวังว่า ถ้าละหมาดเป็นกลุ่มแล้วเขาก็จะได้ผลบุญนั้นเหมือนกัน วัลลอฮุอะอ์ลัม 

 

 

     ชัยค์อุซัยมีนบอกว่า จะได้รับผลบุญของฮัจญ์และอุมเราะห์ ต้องครบ 3 เงื่อนไข ตามหะดิษคือ 

 

1- ละหมาดเป็นญะมาอะห์

 

2- ทำการรำลึกถึงอัลลอฮ์ต่อในสถานที่นั้น

 

3- และก็รอจนดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วก็ละหมาดสองร็อกอะห์ 

 

     ส่วนมุสลิมะห์ มีหลักฐานว่า 

 

يقول النبي ﷺ: أفضل صلاة المرأة في بيتها 

 

ละหมาดที่ดีที่สุดของผู้หญิงคือที่บ้าน

 

     ตรงนี้จึงเพียงพอแล้วที่จะบอกว่าคำว่า ดีที่สุด คือนางจะได้รับผลบุญมากมายมหาศาลแม้นางจะละหมาดที่บ้าน โดยไม่ได้กำหนดว่านางจะได้เท่าไหร่? 

 

     มีคำถามไปหาชัยค์ บินบาสว่า แล้วถ้านางละหมาดฟัจร์คนเดียวที่บ้านแล้วนางก็นั่งซิกรุลลอฮ์ และละหมาดสองร็อกอะห์นางจะได้รับผลบุญในหะดิษเหมือนผู้ชายที่ไปละหมาดที่มัสยิสใหม เพราะผู้หญิงให้ละหมาดที่บ้านดีที่สุด?

 

قال ابن باز ـ رحمه الله: وهكذا المرأة إذا جلست في مصلاها بعد صلاة الفجر تذكر الله، أو تقرأ القرآن حتى ترتفع الشمس ثم تصلي ركعتين, فإنه يحصل لها ذلك الأجر الذي جاءت به الأحاديث, وهو أن الله يكتب لمن فعل ذلك أجر حجة وعمرة تامتين. انه

 

     ท่านชัยค์อิบนุ บาซ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์  กล่าวว่า:

     เช่นเดียวกันกับผู้หญิง หากนั่งในสถานที่ละหมาดของเธอหลังจากละหมาดซุบหฺ รำลึกถึงอัลลอฮฺ หรืออ่านอัลกุรอานจนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น แล้วละหมาดสองร็อกอะฮฺ เธอก็จะได้รับผลบุญดังที่หะดีษกล่าวไว้ คือ อัลลอฮฺจะบันทึกผลบุญเสมือนการทำหัจญ์และอุมเราะฮฺที่สมบูรณ์สำหรับผู้ที่ทำเช่นนั้น

 

     และยังมีคำตอบของนักวิชาการท่านอื่นในทำนองเดียวกัน วัลลอฮุอะอ์ลัม 

 

     ส่วนเวลาการละหมาดสองร็อกอะห์เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ช่วงไหน? 

 

فإن صلاة النافلة بعد صلاة الصبح منهي عنها إلى أن تشرق الشمس وترتفع قدر رمح، وهو مقدار ربع ساعة تقريباً من بعد طلوع الشمس؛ 

 

      การละหมาดนาฟิละฮฺ(ซุนนะห์) หลังละหมาดซุบหฺนั้นถูกห้ามจนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นและสูงขึ้นประมาณหนึ่งด้ามหอก คือประมาณสิบห้านาทีหลังจากดวงอาทิตย์ขึ้น 

 

لما روي عن عقبة بن عامر قال: ثلاث ساعات كان رسول الله صلى الله عليه وسلم ينهانا أن نصلي فيهن أو نقبر فيهن موتانا: حين تطلع الشمس بازغة حتى ترتفع، وحين يقوم قائم الظهيرة حتى تميل الشمس، وحين تضيف الشمس للغروب حتى تغرب. رواه مسلم.

 

 

     เนื่องจากมีรายงานจากท่านอุกบะฮฺ บิน อามิร ว่า: 

 

     "มีสามช่วงเวลาที่ท่านเราะซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ห้ามเราไม่ให้ละหมาดหรือฝังศพของเราในช่วงนั้น:

เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งสูงขึ้นเต็มดวง(ในช่วงแรกของการขึ้น) ,

เมื่อเงาของสิ่งที่ตั้งตรงตั้งอยู่ตรงกลางจนกระทั่งดวงอาทิตย์เริ่มคล้อย,

และเมื่อดวงอาทิตย์ใกล้จะตกจนกระทั่งตก"

 (รายงานโดยมุสลิม)

 

وسئل الشيخ ابن عثيمين رحمه الله عن صلاة الإشراق وصلاة الضحى فأجاب : "سنة الإشراق هي سنة الضحى ، لكن إن أديتها مبكراً من حين أشرقت الشمس وارتفعت قيد رمح فهي صلاة الإشراق، وإن كان في آخر الوقت أو في وسط الوقت فإنها صلاة الضحى ، لكنها هي صلاة الضحى ؛ لأن أهل العلم رحمهم الله يقولون: إن وقت صلاة الضحى من ارتفاع الشمس قيد رمح إلى قبيل الزوال" انتهى من "لقاء الباب المفتوح" (141/24) 

 

      มีผู้ถามท่านชัยค์อิบนุ อุษัยมีน ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ เกี่ยวกับละหมาดอิชรอกและละหมาดฏุหาฮฺ ท่านตอบว่า: 

 

     "ละหมาดอิชรอกคือละหมาดฏุหาฮฺ แต่ถ้าละหมาดในเวลาต้นเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นและสูงขึ้นประมาณหนึ่งด้ามหอก ก็เรียกว่าละหมาดอิชรอก

     และหากละหมาดในช่วงท้ายเวลาหรือกลางเวลา ก็เรียกว่าละหมาดฏุหาฮฺ

     แต่ทั้งสองเป็นละหมาดฏุหาฮฺ เพราะบรรดานักวิชาการ ร่อฮิมะฮุมุลลอฮ์  กล่าวว่าช่วงเวลาละหมาดฏุหาฮฺนั้นตั้งแต่ดวงอาทิตย์สูงขึ้นประมาณหนึ่งด้ามหอกจนถึงก่อนเวลาซุฮฺริ (เที่ยง)"

 

  "لقاء الباب المفتوح" (141/24))