บันทึกแห่ง 'สัจธรรม’5
เพจบันทึก”ฮัก”...แปลเรียบเรียง
อิบนิล ก็อยยิม -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-
"ผู้ใดสรรเสริญอัลลอฮฺอยู่เป็นประจำ เขาจะได้รับความดีอย่างสม่ำเสมอ
และผู้ใดขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺอยู่เป็นประจำ การงานต่างๆที่ยากเย็นจะเป็นเรื่องง่ายดาย"
อิบนิ ตัยมียะฮฺ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-
"สิ่งหนึ่งที่สามารถลบล้างความผิด คือทุกข์ภัยต่างๆที่มาประสบ อันหมายถึงทุกสิ่งที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด
ไม่ว่าจะทำให้เกิดความกังวลใจ ความเศร้าโศกเสียใจ เรื่องเลวร้ายต่างๆที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินเงินทอง เกีรยติยศชื่อเสียง หรือแม้แต่ร่างกายก็ตาม"
อิหม่าม อะฮฺหมัด -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ- เคยขอดุอาในขณะสุญูดว่า:
"โอ้อัลลอฮฺผู้ใดก็ตามในประชาชาตินี้ที่ไม่ได้อยู่บนแนวทางที่ถูกต้อง แต่เขาคิดเอาเองว่าเขาอยู่บนแนวทางที่ถูกต้อง
ขอพระองค์ทรงนำเขากลับมาสู่หนทางที่ถูกต้อง เพื่อที่เขาจะได้เป็นผู้ที่อยู่บนแนวทางที่ถูกต้องด้วยเถิด"
ท่านร่อซู้ล ﷺ กล่าวว่า:
"ผู้ใดที่วิญญานออกจากร่าง โดยบริสุทธิ์จากสามสิ่งนี้ เขาจะได้เข้าสวรรค์ ความหยิ่งยโส หนี้สิน และการยักยอก (นำสาธารณะประโยชน์มาเป็นของตัวเอง)"
السلسلة الصحيحة/٢٧٨٥
ฎอมเราะฮฺ อิบนิ ร่อบีอะฮฺ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-
"อิบลีสดีใจที่ได้ทำให้คนสองคนที่รักกันต้องแตกแยกกัน เหมือนกับที่มันดีใจเมื่อครั้งที่ได้ทำให้ท่านนบีอาดัม -อะลัยฮิสลาม- ถูกขับไล่ให้ออกจากสวรรค์"
ชัยคฺ อับดุสสลาม อัชชุวัยอิร -ฮะฟิซ่อฮุลลอฮฺ-
"นักศึกษาวิชาศาสนาจำเป็นจะต้องปฏิบัติอิบาดะฮฺในเดือนรอมฎอนให้มากกว่าบุคคลอื่น
มีคนจำนวนไม่น้อยพูดกันว่า: 'จงรับเอาความรู้จากฉัน แต่อย่าสนใจข้อบกพร่องของฉัน'
จริงๆแล้วไม่ควรเป็นเช่นนั้น เพราะนักศึกษาศาสนาจะต้องถูกสอบสวนต่อหน้าอัลลอฮฺถึงความรู้ที่เขาได้เล่าเรียนมา เขาจะถูกสอบสวนเกี่ยวกับความรู้ที่เรียนมาแต่ไม่ปฏิบัติตามความรู้นั้น
หากท่านต้องการทราบว่าความรู้ที่เล่าเรียนมาจะเป็นสิ่งที่ช่วยเหลือท่าน หรือจะเป็นสิ่งที่ทำให้ท่านถูกลงโทษ ความรู้นั้นเป็นประโยชน์หรือโทษต่อตัวท่านเอง ! ก็จงพิจารณาดูที่การปฏิบัติ
หากท่านเชื่อฟังคำสั่งของอัลลอฮฺเพิ่มมากขึ้น ได้รับทางนำ ได้รับความสำเร็จ ได้รับความช่วยเหลือมากยิ่งขึ้น พึงรู้ไว้เถิดว่าความรู้ที่เรียนมานั้นได้เพิ่มพูนขึ้นและเป็นความรู้ที่มีประโยชน์
แต่ถ้าหากเป็นไปในทางตรงกันข้าม ก็จงรู้ไว้เถิดว่าความรู้ของท่านนั้นบกพร่อง และลดน้อยลง และเจตนาของท่านเองก็มีสิ่งอื่นแอบแฝง"
ชัยคฺ ฮัยษัม บิน มุฮัมมัด ซัรฮาล -ฮะฟิซ่อฮุลลอฮฺ-
ท่าทีของมนุษย์เมื่อ 'ภัยพิบัติ' ประสบกับเขา
เมื่อเขาโกรธแค้น ถือเป็นฮะรอม
เมื่อเขาอดทน ถือเป็นวาญิบ
เมื่อเขาพึงพอใจ ถือเป็นสิ่งที่ชอบให้กระทำ
และเมื่อเขาขอบคุณ ถือเป็นสิ่งที่ชอบให้กระทำ
ความโกรธแค้นมีทั้งหมด 3 ประการ
1- ความโกรธแค้นที่มาจากหัวใจ เช่น ความคิดที่ว่า ทำไมอัลลอฮฺถึงอธรรมกับฉัน? ทำไมไม่ให้สิ่งนั้นสิ่งนี้กับฉัน? หรือการคิดไม่ดีต่ออัลลอฮฺ
2- ความโกรธแค้นที่มาจากลิ้น เช่น การโอดครวญ การด่าทอ การสาปแช่ง และการกรีดร้อง
3- ความโกรธแค้นที่มาจากร่างกาย เช่น การตบตีตัวเอง หรือ การทำร้ายตัวเอง
شرح ثلاثة أصول وأدلتها والقوائد الأربع
อิบนุตัยมียะฮฺ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-
อัลลอฮฺ ตรัสว่า:
“นั่นคือที่พำนักแห่งปรโลก เราได้เตรียมมันไว้สำหรับบรรดาผู้ที่ไม่ปรารถนาหยิ่งผยองในแผ่นดิน
และไม่ก่อการเสียหาย และบั้นปลายย่อมเป็นของบรรดาผู้ยำเกรง”
[อัลเกาะศ็อศ:83]
มนุษย์แบ่งออกเป็นสี่ประเภทด้วยกัน
หนึ่ง: ผู้ที่ต้องการอยู่เหนือผู้อื่น และสร้างความเสื่อมเสียบนผืนแผ่นดิน และนั่นเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮฺ
ส่วนมากคือ บรรดากษัตริย์ และ ผู้นำที่เสื่อมเสีย เช่นฟิรเอาน์และพวกพ้องของมัน พวกมันคือสิ่งถูกสร้างที่เลวทรามที่สุด
สอง: ผู้ที่ต้องการสร้างความเสื่อมเสีย โดยปราศจากอำนาจ เช่น หัวขโมย นักก่ออาชญากรรมต่างๆ จากบรรดาคนที่น่าสมเพช
สาม: ผู้ที่ต้องการอำนาจ เกีรยติยศชื่อเสียง โดยไม่ได้สร้างความเสื่อมเสีย เช่นผู้ที่มีศาสนา และต้องการอยู่เหนือมนุษย์คนอื่น
สี่: พวกเขาคือชาวสวรรค์ คือบรรดาผู้ที่ไม่ได้ต้องการอำนาจบาตรใหญ่ใดๆบนหน้าแผ่นดิน และไม่สร้างความเสื่อมเสีย ในขณะที่เดียวกันพวกเขากลับมีเกียรติเหนือคนอื่นๆ
ดั่งที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า:
وَلَا تَهِنُوا وَلَا تَحْزَنُوا وَأَنتُمُ الْأَعْلَوْنَ إِن كُنتُم مُّؤْمِنِينَ
“และพวกเจ้าจงอย่าท้อแท้ และจงอย่าเสียใจ และพวกเจ้าคือผู้สูงส่งยิ่ง หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธา”
[อาละอิมรอน:139]
فَلَا تَهِنُوا وَتَدْعُوا إِلَى السَّلْمِ وَأَنتُمُ الْأَعْلَوْنَ وَاللَّهُ مَعَكُمْ وَلَن يَتِرَكُمْ أَعْمَالَكُمْ
“ดังนั้น พวกเจ้าอย่าท้อแท้และจงเรียกร้องไปสู่ความสันติ เพราะพวกเจ้าเป็นผู้สูงส่งยิ่ง และอัลลอฮทรงอยู่ร่วมกับพวกเจ้าและพระองค์จะไม่ทรงลิดรอนผลตอบแทนแห่งการงานของพวกเจ้า”
[มุฮัมมัด:35]
ولِلَّهِ الْعِزَّةُ وَلِرَسُولِهِ وَلِلْمُؤْمِنِينَ
“สำหรับอำนาจนั้นเป็นของอัลลอฮฺ และร่อซูลของพระองค์และบรรดาผู้ศรัทธา”
[อัลมุนาฟิกูน:8]
มัจมูอุ้ล ฟตาวา 392/27
•┈┈┈••✦✿✦••┈┈┈• •┈┈┈┈•✿❁✿•┈┈┈┈•