เมื่อมนุษย์ คิดว่าตนเองพอเพียงแล้ว
  จำนวนคนเข้าชม  1382

เมื่อมนุษย์ คิดว่าตนเองพอเพียงแล้ว

 

แปลเรียบเรียง อบูอัรวา

 

         พี่น้องในอิสลามทั้งหลาย สภาพการณ์อันน่าแปลกใจ ที่คนหนึ่งได้สูญเสียความเป็นธรรมของเขา หลุดพ้นจากความเป็นมนุษย์ ปลื้มปิติไปกับการหลงตนและหันห่างจากหนทางที่เที่ยงตรง สภาพการณ์แห่งการละเมิดและอวดโตด้วยทรัพย์และตำแหน่งหน้าที่, ความรู้สึกว่าไม่ต้องพึ่งพาผู้ใด

 ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

كَلَّا إِنَّ الْإِنْسَانَ لَيَطْغَى * أَنْ رَآهُ اسْتَغْنَى

 

มิใช่เช่นนั้น แท้จริงมนุษย์นั้น ย่อมจะละเมิดขอบเขต เนื่องเพราะเขาคิดว่าเขาพอเพียงแล้ว 

(อัลอะลัก ๖-)

 

          คนหนึ่งที่ได้เริ่มต้นชีวิตอย่างนอบน้อมถ่อมตน ความยากจนที่ครอบงำ และความรู้สึกร่วมที่มีต่อพี่น้องของเขา แต่เมื่อมีทรัพย์มากขึ้น ความยิ่งใหญ่ของเขาก็มากตามไปด้วย ตำแหน่งหน้าที่, การเป็นที่ยอมรับจากผู้คนเป็นอย่างมาก ทำให้ปฏิเสธผู้ทรงบังเกิดตัวเขาขึ้นมา, ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้คนและทำตัวเหนือผู้อื่น คิดว่าทรัพย์เป็นของเขา ที่ตนเองเป็นผู้รวบรวมมันด้วยความเหนื่อยยาก เหมือนที่กอรูนได้เคยกล่าว

 

قَالَ إِنَّمَا أُوتِيتُهُ عَلَى عِلْمٍ عِنْدِي

 

เขา (กอรูน) กล่าวว่า ฉันได้รับมันเพราะความรู้ของฉัน..”

( อัลเกาะศ็อศ ๗๘)

 

          และเขามิได้นำความกรุณาเหล่านั้นกลับไปสู่อัลลอฮฺ และผู้เป็นเจ้าของสวนทั้งสองได้กล่าวว่า

 

مَا أَظُنُّ أَنْ تَبِيدَ هَذِهِ أَبَدًا * وَمَا أَظُنُّ السَّاعَةَ قَائِمَةً

 

“..ฉันไม่คิดว่าสวนนี้จะพินาศไปได้เลย และฉันไม่คิดว่าวันอวสานของโลกจะมีขึ้น..” 

(อัลกะฮฺฟฺ ๓๕-๓๖)

 

          และก่อนหน้านั้น

 

أَنَا أَكْثَرُ مِنْكَ مَالًا وَأَعَزُّ نَفَرًا

 

ฉันมีทรัพย์สินมากกว่าท่าน และมีข้าบริพารมากกว่า

( อัลกะฮฺฟฺ ๓๔)

 

          ความรักใคร่ในทรัพย์สินได้ครอบงำคนเหล่านี้ และการละเมิดด้วยกับทรัพย์ที่มี ,จึงไม่ใส่ใจต่อศาสนา จรรยามารยาท ,ละเมิดข้อห้ามและขอบเขตของอัลลอฮฺ และทึกทักไปว่าทรัพย์จะทำให้พวกเขามีชีวิตในดุนยานี้อย่างถาวรตลอดกาล โดยมิได้นำคำป่าวร้องของกลุ่มชนที่อธรรมมาเป็นข้อตักเตือน

 

مَا أَغْنَى عَنِّي مَالِيَهْ * هَلَكَ عَنِّي سُلْطَانِيَهْ

 

ทรัพย์สมบัติของฉันไม่ได้คุ้มกันแก่ฉันเลย อำนาจของฉันก็ได้สูญสิ้นไปจากฉันแล้ว

(อัลหากเกาะฮฺ ๒๘-๒๙)

 

          ว่าแท้จริงแล้วจะต้องฟื้นคืนชีพสู่อัลลอฮฺ การคิดบัญชีที่รออยู่ และการลงโทษอันเจ็บปวดยิ่ง สำหรับผู้ที่ละเมิดและก่อความเสื่อมเสีย

 

إِنَّ إِلَى رَبِّكَ الرُّجْعَى

 

แท้จริง ยังพระเจ้าของเจ้าเท่านั้น คือการกลับไป

( อัลอะลัก ๘)

 

         แล้วคุณจะมีชีวิตอยู่กี่ปี ? ๗๐ ปี ๑๐๐ ปี ? ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ หากว่าฐานะทางสังคมและทรัพย์คงอยู่ถาวรสำหรับผู้ที่มาก่อนคุณ แน่แท้มันก็จะไม่ตกมาถึงคุณ และแน่นอนว่าพวกเราทั้งหมดทุกคนจะต้องถูกถามถึงทรัพย์สินทั้งหมดที่มี ท่านร่อซู้ล ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิะซัลลัม  ได้กล่าวถึงสิ่งที่บ่าวจะถูกถามถึงในวันกิยามะฮฺ

 

وعن ماله؛ من أين اكتسبه؟ وفيما أنفقه

 

และถามถึงทรัพย์ของเขา ว่าได้มาอย่างไร ? และใช้จ่ายมันไปอย่างไร

 

     เพราะฉะนั้นจงเตรียมคำตอบเอาไว้สำหรับคำถามเถิด....

 

          พึงรู้เถิดว่าสำหรับทรัพย์สินนั้นมีสิทธิต่างๆ สิทธิซากาต การเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ การร่วมไม้ร่วมมือ, จะต้องไม่ได้ทรัพย์เหล่านั้นมาจากหนทางที่ฮารอมหรือหนทางที่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ, ดังกล่าวนี้เพื่อย้ำเตือนถึงฟิตนะห์ของทรัพย์ และความอันตรายของการยืนกรานที่จะสะสมมันโดยไร้ซึ่งความยำเกรงและจำแนกแยกแยะ 

     มีฮาดีษที่ซอฮีห์ บันทึกโดยอัตติรมิซียฺ ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิะซัลลัม กล่าวว่า

 

إِنَّ لِكُلِّ أُمَّةٍ فِتْنَةً، وَإِنَّ فِتْنَةَ أُمَّتِي الْمَالَ

 

แท้จริงสำหรับทุกประชาชาตินั้นมีฟิตนะฮฺ และแท้จริงฟิตนะฮฺในประชาชาติของฉันคือ ทรัพย์

 

          เพราะฉะนั้น จงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด บรรดาผู้ที่เอนเอียงไปสู่ทรัพย์สินของพวกเขาโดยไร้ซึ่งสติ และใช้ชีวิตหมกมุ่นอยู่กับมันทั้งในยามสุขภาพดีและในยามเจ็บป่วย ขณะพำนักและเดินทาง ขณะดีใจและเสียใจ ขณะเผลอไผลและมุ่งมั่นตั้งใจ เพราะบั้นปลายที่เลวร้าย แท้จริงท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิะซัลลัม ได้วิงวอนว่า

 

اللهم لا تجعل الدنيا أكبرَ همنا، ولا مبلغ علمنا

 

โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์โปรดทรงอย่าให้ดุนยานี้เป็นความมุ่งมารถปารถนาอันสูงสุดของเรา และไม่เป็นความรู้ทั้งหมดที่เรามี

 

          เมื่อทำให้ทรัพย์เป็นความมุ่งมารถปารถนาอันสูงสุดและเป็นความรู้ทั้งหมดที่มี ก็จะทำให้ศาสนาของเขาขาดหายไป การละหมาดของเขาหมดไป บุคลิกภาพอันดีงามและบรรดาผู้รักใคร่เขาหมดไป และทำให้หลงผิดอยู่กับการหลงตนและความเย่อหยิ่งทะนงตน ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสในคำตักเตือนอันชัดแจ้งว่า

 

كَلَّا إِنَّ الْإِنْسَانَ لَيَطْغَى * أَنْ رَآهُ اسْتَغْنَى

 

"มิใช่เช่นนั้น แท้จริงมนุษย์นั้น ย่อมจะละเมิดขอบเขต เนื่องเพราะเขาคิดว่าเขาพอเพียงแล้ว"

(อัลอะลัก ๖-)

 

اللهم آت نفوسنا تقواها, وزكها أنت خير من زكاها، أنت وليها ومولاها, أقول قولي هذا وأستغفر الله لي ولكم ولسائر المسلمين فاستغفروه وتوبوا إليه؛ فيا فوز َالمستغفرين التائبين.

الخطبة الثانية:

الحمد لله وكفى، وسلاما على عباده الذين اصطفى، وعلى نبينا محمد خير رسول مقتفى، وعلى آله وصحبه أرباب المجد والوفا, وبعد:

 

          บรรดามุสลิมทั้งหลาย แท้จริงแล้วคนหนึ่งจะเป็นผู้ที่ละเมิดก็ต่อเมื่อดุนยาได้เข้าครอบงำอาคีเราะฮฺของเขา และรู้สึกมีเกียรติด้วยทรัพย์และวงค์ตระกูล หัวใจของเขาจึงเหือดแห้งจากแสงรัศมี และกลายเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มชนที่เลวร้าย โต้แย้งบทบัญญัติ เต็มไปด้วยความหยิ่งทะนงตน ดังที่ได้ประสบกับมุชริก มักกะฮฺ หนึ่งในเขาเหล่านั้นคือ อบู ญะฮัล ที่ละเมิดและอวดโต ข่มขู่ท่านร่อซู้ล ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิะซัลลัม ขัดขวางไม่ให้ท่านนบีทำการละหมาด

 

أَرَأَيْتَ الَّذِي يَنْهَى * عَبْدًا إِذَا صَلَّى

 

เจ้าเห็นแล้วมิใช่หรือ ผู้ที่คอยขัดขวาง บ่าวคนหนึ่ง เมื่อเขากำลังละหมาด

( อัลอะลัก ๙-๑๐)

 

          ดังนั้นท่านทั้งหลายจงระวังการละเมิดและปัจจัยแห่งการละเมิด การเย่อหยิ่งทะนงตน และขอให้ท่านทั้งหลายจงนอบน้อมต่อบทบัญญัติของอัลลอฮฺ จงอ่อนน้อมต่อพี่น้องมุสลิมของท่าน เพราะผู้ที่ละเมิดย่อมไม่ได้รับความสำเร็จ และผู้ที่เย่อหยิ่งทนงตนย่อมไร้ซึ่งความสูงส่ง

 

وَلِلَّهِ الْعِزَّةُ وَلِرَسُولِهِ وَلِلْمُؤْمِنِينَ وَلَكِنَّ الْمُنَافِقِينَ لَا يَعْلَمُونَ

 

ส่วนอำนาจนั้นเป็นของอัลลอฮฺ และร่อซู้ลของพระองค์ และบรรดาผู้ศรัทธา แต่ว่าพวกมุนาฟิกีนนั้นหารู้ไม่

( อัลมุนาฟิกูน ๘)

 

          ท่านทั้งหลายพึงทราบเถิด - บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย- แท้จริงสิ่งที่เราระมัดระวังในเรื่องทรัพย์ความก้าวหน้าหรือตำแหน่งหน้าที่ นั่นเพราะเหล่านี้คือความกรุณาจากอัลลอฮฺ ฉะนั้นจงอย่าได้ทำตนเหนือผู้อื่นด้วยสิ่งเหล่านี้ และอย่าได้หลงตนเอง และจงระวังการออกห่างจากแนวทางแห่งบทบัญญัติ หรือการดูหมิ่นบรรดามุสลิมที่อ่อนแอ จงเป็นผู้ที่ระวังรักษาความโปรดปราน และนอบน้อมเพื่ออัลลอฮฺ ,อย่าได้หลงลืมผู้คนที่ล่วงหน้าผ่านโลกนี้ไปแล้ว

 

مَا عِنْدَكُمْ يَنْفَدُ وَمَا عِنْدَ اللَّهِ بَاقٍ

 

สิ่งที่อยู่กับพวกเจ้าย่อมอันตรธาน และสิ่งที่อยู่กับอัลลอฮฺนั้นย่อมจีรัง..”

(อันนะหฺลฺ ๙๖)