บันทึกแห่ง 'สัจธรรม’3
  จำนวนคนเข้าชม  303

บันทึกแห่ง 'สัจธรรม’3

 

เพจบันทึกฮัก”...แปลเรียบเรียง

 

ท่านร่อซู้ลกล่าวว่า:

ผู้ที่มีเมตตาที่สุดในประชาชาติของฉัน คือท่านอบูบักร

ผู้ที่เด็ดขาดที่สุดในประชาชาติของฉันคือ ท่านอุมัร

ผู้ที่มีความละอายอย่างแท้จริงที่สุดคือ ท่านอุษมาน  

ผู้เป็นธรรมที่สุดในการตัดสินคือ ท่านอลี อิบนิ อบี ฏอลิบ 

ผู้ที่อ่านอัลกุรอ่านได้ดีเยี่ยมที่สุดคือ ท่าน อุบัยดฺ อิบนิ กะอฺบ

      ผู้ที่รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับสิ่งที่อนุมัติในศาสนา(ฮะลาล) และสิ่งที่เป็นที่ต้องห้ามในศาสนา(ฮะรอม)คือ ท่าน มุอาซ อิบนิ ญะบัล

ผู้ที่มีความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดสรรมรดกมากที่สุดคือท่าน เซด อิบนิ ษาบิต 

      พึงรู้เถิดว่าในทุกๆประชาชาตินั้นมีผู้ที่มีความซื่อสัตย์ และผู้ที่มีความซื่อสัตย์ที่สุดในประชาติของฉันคือ ท่าน อบู อุบัยดะฮฺ อิบนิล ญัรรอฮฺ-ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุม-

‎صحيح الترميذي / ٣٧٩١

 

 

 

ท่านร่อซู้ลกล่าวว่า:  

     การขอดุอาเป็นประโยชน์ต่อการขจัดโทษภัยในกำหนดของอัลลอฮฺที่เกิดขึ้นแล้ว และยับยั้งป้องกันให้พ้นจากบะลาอฺที่ยังไม่เกิดขึ้น

     ฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงขอดุอาให้มากเถิด

سنن الترميذي /٣٥٤٨

 

 

 

ท่านร่อซู้ลกล่าวว่า:

     "พวกท่านจงดูแลสุขภาพช่องปากให้สะอาดสดชื่น ด้วยไม้ซิว้ากเถิด (หรือใช้แปรงสีฟัน) เพราะปากคือทางผ่านของอัลกุรอ่าน"

صحيح الجامع/٣٩٣٩

 

 

 

ชัยคฺ บิน บาซ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

"พี่น้องมุสลิมกำลังถูกทำร้ายด้วยฝีมือศัตรูของอัลลอฮฺ

พวกเขาโดนเข่นฆ่า โดนทรมาณด้วยวิธีการต่างๆและถูกอธรรม

ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพวกท่านที่จะต้องช่วยเหลือพวกเขา

ไม่ว่าจะด้วยทรัพย์สินเงินทอง เกียรติยศชื่อเสียง หรือกับ ~ ดุ อ า ~"

 

 

 

อิบนุ ตัยมียะฮฺ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

     "ผู้ใดรู้สึกถึงความบกพร่องของตัวเอง ทั้งคำพูด พฤติกรรม สภาพความเป็นอยู่ ริสกี หรือแม้แต่หัวใจ (ที่พลิกผันไปมา)

     จงเยียวยาสิ่งต่างๆเหล่านั้นด้วย อั ต เ ต า ฮี ด (การให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺอย่างถูกต้องและสมบูรณ์)

     และ อิ ส ติ ฆ ฟ า ร (การขออภัยโทษ)เถิด เพราะทั้งสองสิ่งนี้เป็นยารักษา (ความบกพร่อง)”

 

 

 

อิบนิ ตัยมียะฮฺ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

     ความประเสริฐของการขอดุอาก่อนฟ้าสาง (ช่วงเช้ามืด)

     "บ่าวคนใดวิงวอนขอดุอาต่ออัลลอฮฺในช่วงก่อนฟ้าสาง (เช้ามืด) และได้ขอความช่วยเหลือกับพระองค์

พร้อมกล่าวว่า: 

"ياحي ياقيوم لا إله إلا أنت برحمتك أستغيث"

โอ้อัลลอฮฺ ผู้ทรงมีชีวิตอันสมบูรณ์ ผู้ทรงดำรงอยู่ด้วยพระองค์เอง 

ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ควรแก่การเคารพภักดีที่แท้จริงนอกจากพระองค์เท่านั้น

ข้าพระองค์วอนขอความช่วยเหลือ ด้วยกับความเมตตาของพระองค์

เมื่อนั้นอัลลอฮฺจะประทานความสามารถ ความมั่นคงให้แก่เขา 

ในสิ่งที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้นอกจากพระองค์เท่านั้น"

مجموع الفتاوى (28/242)

 

 

 

ชัยคฺ ศอและฮฺ อัลเฟาซาน -ร่อฮิมะฮุลลอฮ-

 

"บทลงโทษที่รุนแรงที่สุด คือการที่ท่านได้พบกับสัจธรรมความถูกต้อง แต่ทว่าอัลลอฮฺไ ม่ได้ช่วยให้ท่านยอมรับมัน"

 

 

 

ท่านร่อซู้ลกล่าวว่า:

     “ท่านทั้งหลายอย่าได้เข้าไปในสถานที่ที่กลุ่มชนต่างๆเคยโดนลงโทษมาก่อน เว้นแต่จะเข้าไปในสภาพที่พวกท่านร้องไห้ 

     (ร้องไห้เพราะเกรงกลัวอัลลอฮฺกลัวการลงโทษจากพระองค์และใคร่ครวญพิจารณาถึงสาเหตุที่พระองค์ได้ทำให้เขาพินาศ)

     หากว่าท่านทั้งหลายไม่ร้องไห้  (เพราะหัวใจที่หยาบกระด้าง ไม่มีความนอบน้อมยอมจำนน)

     ก็อย่าได้เข้าไปเป็นอันขาด (อย่าเข้าไปในสถานที่ที่เคยโดนลงโทษ)

     ทั้งนี้เพื่อว่าสิ่งที่เคยประสบกับพวกเขา จะได้ไม่ประสบกับพวกท่าน

(บันทึกโดย อิหม่ามบุคอรีย์)

 

 

 

     ท่านซุฟยาน อิบนิ อุยัยนะฮฺ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ- ถูกถามเกี่ยวกับความกลัดกลุ้ม ความทุกข์ใจ โดยไม่ทราบสาเหตุ?

     ท่านจึงตอบว่า : เป็นเพราะความผิดที่ท่านเคยคิดที่จะกระทำในที่ลับแต่ยังไม่ได้ลงมือทำ ท่านจึงรู้สึกเป็นทุกข์ และกลัดกลุ้มในความผิดนั้น

 

 

 

อิบนุ ตัยมียะฮฺ -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ- กล่าวว่า:

 

ความผิดต่างๆมีบทลงโทษเฉพาะของมัน ความผิดในที่ลับจะถูกลงโทษในที่ลับ

ส่วนความผิดอย่างเปิดเผยก็จะถูกลงโทษอย่างเปิดเผยเช่นกัน"

 

 

 

"ผู้ใดปราถนาให้อัลลอฮฺตอบรับดุอาของเขา จงเลือกรับประทานแต่อาหารที่ดีเถิด"

     (เลือกรับประทานสิ่งที่ได้มาอย่างถูกต้อง และสิ่งที่ขวนขวายมาด้วยวิธีการที่ถูกต้องชอบธรรม และถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนา)

     เมื่อท่าน ซะอฺ อิบนิ อบี วักกอส ถูกถามว่า : ท่านทำอย่างไรดุอาของท่านจึงถูกตอบรับ?

     ท่านตอบว่า : ฉันไม่เคยนำสิ่งใดเข้าปาก จนกว่าว่าฉันจะรู้ถึงที่มาที่ไปของอาหารนั้น"

 

 

 

อิบนิ อุษัยมีน -ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ-

 

     การรับประทานอาหารไม่รู้จักอิ่มมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน

 

     1.  ไม่กล่าว "บิสมิลลาฮฺ" ก่อนรับประทานอาหาร เมื่อเราไม่กล่าวพระนามของอัลลอฮฺก่อนรับประทานอาหาร ชัยฏอนจะมาทานอาหารร่วมกับเรา ทำให้บะรอกะฮฺ (ความจำเริญ) ถูกถอดถอนออกไปจากอาหาร

 

     2. รับประทานอาหารจากส่วนบนสุดของจาน นี่คืออีกสาเหตุหนึ่งที่บะรอกะฮฺ (ความจำเริญ) ถูกถอดถอนออกจากอาหาร เนื่องจากท่านนบีห้ามไม่ให้เราทานอาหารจากส่วนบนสุด เพราะในส่วนนั้นมีบะรอกะฮฺ และควรทานจากขอบจานก่อน

 

     3. การแยกกันรับประทานอาหาร คืออีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บะรอกะฮฺ (ความจำเริญ) ถูกถอนถอนออกจากอาหาร เพราะการแยกกันทานหรือต่างคนต่างทานกับภาชนะคนละชิ้น ทำให้อาหารอยู่คนละส่วน จึงทำให้บะรอกะฮฺถูกถอดถอนออกไป

شرح رياض الصالحين ( 4 - 218 )