ชั้นฟ้าทั้งเจ็ดไม่ใช่ดาวเคราะห์ทั้งเจ็ด !
  จำนวนคนเข้าชม  1054

ชั้นฟ้าทั้งเจ็ดไม่ใช่ดาวเคราะห์ทั้งเจ็ด !

 

.ดาวุด ธิยัน... แปลเรียบเรียง 

 

          อัลฮัมดุลิลละฮ์ วัศศ่อลาตุ วัสลามุ อะลา นะบียินา มุฮัมมัด วะอะลาอาลิฮี วะเศาะห์บิฮี อัจมาอีน , อัมมาบะอฺด ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงชั้นฟ้าทั้งเจ็ดไว้ในเก้าตำแหน่ง แปดซูเราะฮ์ ได้แก่ อัลบะกอเราะห์ อัลอิสรออ์ อัลมุอฺมินูน (สองตำแหน่ง) ฟุศศิลัต และอัฏฏ่อลาก  อัลมุลกฺ นูฮฺ และอันนะบะอ์

 

          อัลกุรอานได้อธิบายชั้นฟ้าไว้ในบางตำแหน่งว่าเป็น "طباق" หมายถึง ชั้นหนึ่งอยู่เหนืออีกชั้นหนึ่ง ดังที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์อัลมุลกฺและนูฮฺ และอธิบายว่าเป็น "ชิดาด" หมายถึง แข็งแรง ดังที่กล่าวไว้ในซูเราะฮ์อันนะบะอ์

 

          อัลกุรอานยังกล่าวถึงการแยกออก การแตกสลาย และการพับของชั้นฟ้า และกล่าวถึงชั้นฟ้าควบคู่กับดาวเคราะห์และดวงดาว ดังที่อัลลอฮฺทรงกล่าวไว้ว่า:

 

{إِذَا السَّمَاء انفَطَرَتْ * وَإِذَا الْكَوَاكِبُ انتَثَرَتْ}[الانفطار:1-2]، 

 

เมื่อชั้นฟ้าได้แตกแยกออก และเมื่อบรรดาดวงดาวร่วงหล่นลงมากระจัดกระจาย

 

وقوله: {فَإِذَا النُّجُومُ طُمِسَتْ*وَإِذَا السَّمَاء فُرِجَتْ}[المرسلات:8-9] 

 

เมื่อดวงดาวถูกทำให้มืดลง และเมื่อชั้นฟ้าถูกแยกออก

 

وهذا يدلّ على الفرق بين السّموات وبين الكواكب والنجوم.

 

          สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างท้องฟ้า ดาวเคราะห์ และดวงดาว การบรรยายถึงท้องฟ้าว่าแตกแยกและแยกออกจากกัน: แสดงให้เห็นว่าท้องฟ้านั้นเป็นวัตถุที่มีความหนาแน่น หรือแม้แต่แข็ง การบรรยายถึงชั้นฟ้าว่ามีหลายชั้น: แสดงให้เห็นว่าท้องฟ้านั้นอยู่เหนือกันและกัน และมีความแตกต่างกัน

          ในเหตุการณ์การเดินทางสู่ชั้นฟ้า (อิสรออ์และมิอฺรอจ): มีข้อความจากตัวบทที่บ่งบอกว่าท้องฟ้ามีเจ็ดชั้น และท้องฟ้าเหล่านี้ถูกกล่าวถึงในหะดิษนี้ตามลำดับ เริ่มจาก : 

 

1. ชั้นฟ้าดุนยา

2. ฟ้าชั้นที่สอง

3. ฟ้าชั้นที่สาม

4. ฟ้าชั้นที่สี่

5. ฟ้าชั้นที่ห้า

6. ฟ้าชั้นที่หก

7. ฟ้าชั้นที่เจ็ด

 

          สำหรับดวงดาวนั้น อัลลอฮ์ได้ทรงแจ้งให้ทราบว่า หนึ่งในเหตุผลการสร้างดวงดาวคือเป็นเครื่องประดับสำหรับชั้นฟ้าของดุนยา

 

﴿وَلَقَدۡ زَيَّنَّا ٱلسَّمَآءَ ٱلدُّنۡيَا بِمَصَٰبِيحَ﴾[الملك:5]،

 

และโดยแน่นอนเราได้ประดับท้องฟ้าของโลกนี้ด้วยดวงดาวเป็นแสงประทีป

 

 ﴿وَزَيَّنَّا ٱلسَّمَآءَ ٱلدُّنۡيَا بِمَصَٰبِيحَ﴾[فصلت:12]

และเราได้ประดับท้องฟ้าแห่งโลกนี้ด้วยดวงดาวทั้งหลาย

 

 ﴿إِنَّا زَيَّنَّا ٱلسَّمَآءَ ٱلدُّنۡيَا بِزِينَةٍ ٱلۡكَوَاكِبِ﴾[الصافات:6]

 

แท้จริง เราได้ประดับท้องฟ้าแห่งโลกดุนยาอย่างสวยงามด้วยดวงดาวทั้งหลาย

 

 

     มีคำถามว่า ดวงดาว ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ อยู่ต่ำกว่าชั้นฟ้าดุนยา หรืออยู่ภายในชั้นฟ้าทั้งหลายกันแน่ ?

     คำตอบจากข้อความนี้คือ จากหลักฐานที่ปรากฏ ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ อยู่ภายในชั้นฟ้า

 

كما قال تعالى: ﴿تَبَارَكَ ٱلَّذِي جَعَلَ فِي ٱلسَّمَآءِ بُرُوجٗا وَجَعَلَ فِيهَا سِرَٰجٗا وَقَمَرٗا مُّنِيرٗا﴾[الفرقان:61]

 

ความจำเริญยิ่งแด่พระผู้ทรงทำให้ชั้นฟ้ามีหมู่ดวงดาว และได้ทรงทำให้มีตะเกียง(ดวงอาทิตย์) ในนั้น และดวงจันทร์มีแสงนวล

 

وقال سبحانه: ﴿أَلَمْ تَرَوْا كَيْفَ خَلَقَ اللَّهُ سَبْعَ سَمَاوَاتٍ طِبَاقًا*وَجَعَلَ الْقَمَرَ فِيهِنَّ نُورًا وَجَعَلَ الشَّمْسَ سِرَاجًا﴾[نوح:15-16]

 

พวกเจ้าไม่เห็นดอกหรือว่าอัลลอฮฺทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ดเป็นชั้น ๆ อย่างไร

และทรงทำให้ดวงจันทร์ในชั้นฟ้าเหล่านั้นมีแสงสว่าง และทรงทำให้ดวงอาทิตย์มีแสงจ้า

 

          นักวิชาการตัฟซีรบางท่านและศาสตร์อื่นๆ(จากกลุ่มเทวะวิทยาอิลมุลกะลาม-ผู้แปล) กล่าวว่าดวงจันทร์อยู่ในชั้นฟ้าชั้นล่าง(ดุนยา) ดวงอาทิตย์อยู่ในชั้นฟ้าชั้นสี่ และสิ่งที่เรียกว่าดาวเคราะห์ทั้งเจ็ดเป็นส่วนหนึ่งของชั้นฟ้าทั้งเจ็ด ดาวเคราะห์ทั้งเจ็ด ได้แก่ ดวงจันทร์ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดวงอาทิตย์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์

 

          ในบางข้อความของชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ ระบุว่าท่านอาจใช้คำว่า "อัฟลาก" (วงโคจรทั้งหลายหรือระบบสุริยะทั้งหลาย) หมายถึง "ชั้นฟ้าทั้งหลาย" ตัวอย่างเช่น เขากล่าวในหนังสืออัลอะกีดะฮฺ อัตตัดมุรียะฮฺ ว่า "หากว่าความหมายของชั้นฟ้า คือ 'วงโคจรทั้งหลาย' หมายความว่าในดำรัสของอัลลอฮ์ 

 

(أَأَمِنتُم مَّن فِي السَّمَاء)

พวกเจ้านั้นปลอดภัยแล้วหรือ จากการที่พระองค์ทรงสถิตย์อยู่เหนือชั้นฟ้า

 

      เป้าหมายก็คือ อัลลอฮ์อยู่เหนือมัน(วงโคจรและระบบสุริยะทั้งหลาย)

 

          และท่านได้กล่าวสิ่งดังกล่าวไว้มากมาย ร่อฮิมะฮุลลอฮ์  ฉันหมายถึง การเรียกชื่อวงโคจรและระบบสุริยะทั้งหลายว่า ชั้นฟ้าต่างๆ เมื่อท่านจะพูดถึงพวกนักปรัชญาเกี่ยวกับคำพูดของเขาที่ว่าจักรวาลมีมาแต่เดิมเหมือนท่านจะบอกว่า พวกนักปรัชญาพูดกันว่า จักรวาลมีมาแต่เดิม(ไม่มีผู้สร้าง) หรือ กำเนิดมาจากสาเหตุแรก (มาจากผู้สร้างก็ได้หรือไม่ใช่ก็ได้-ผู้แปล)

 

         อัลกุรอานไม่ได้กล่าวว่าดวงดาวอยู่ในท้องฟ้า แต่กล่าวถึงการประดับประดาท้องฟ้าด้วยดวงดาว และใช้ดวงดาวเพื่อนำทาง รวมถึงดาวตกที่ใช้ขว้างบรรดาชัยฏอน 

 

﴿وَلَقَدۡ زَيَّنَّا ٱلسَّمَآءَ ٱلدُّنۡيَا بِمَصَٰبِيحَ وَجَعَلۡنَٰهَا رُجُومٗا لِّلشَّيَٰطِينِۖ﴾[الملك: 5]

 

และโดยแน่นอนเราได้ประดับท้องฟ้าของโลกนี้ด้วยดวงดาวเป็นแสงประทีป

 

และเราได้ทำให้มันเป็นอาวุธไล่ชัยฏอน

 

وقال سبحانه: ﴿إِنَّا زَيَّنَّا السَّمَاء الدُّنْيَا بِزِينَةٍ الْكَوَاكِبِ*وَحِفْظًا مِّن كُلِّ شَيْطَانٍ مَّارِدٍ*لا يَسَّمَّعُونَ إِلَى الْمَلإٍ الأَعْلَى وَيُقْذَفُونَ مِن كُلِّ جَانِبٍ*دُحُورًا وَلَهُمْ عَذَابٌ 

وَاصِبٌ*إِلاَّ مَنْ خَطِفَ الْخَطْفَةَ فَأَتْبَعَهُ شِهَابٌ ثَاقِبٌ﴾[الصافات:6-10]، 

 

แท้จริง เราได้ประดับท้องฟ้าแห่งโลกดุนยาอย่างสวยงามด้วยดวงดาวทั้งหลาย *

และเพื่อป้องกันจากชัยฏอนมารร้ายทุกตัวที่ดื้อรั้นพยศ *

ถูกขับไล่ใสส่งออกมา และสำหรับพวกมันนั้นจะได้รับการลงโทษอย่างต่อเนื่อง *

เว้นแต่ตัวใดที่มันฉกฉวยเอาไปได้แม้แต่ครั้งเดียว ก็จะมีเปลวเพลิงอันโชติช่วงไล่ติดตามมันไป

 

وقال سبحانه: ﴿وَهُوَ ٱلَّذِي جَعَلَ لَكُمُ ٱلنُّجُومَ لِتَهۡتَدُواْ بِهَا فِي ظُلُمَٰتِ ٱلۡبَرِّ وَٱلۡبَحۡرِۗ﴾[الأنعام: 97]، 

 

และพระองค์คือ ผู้ที่ทรงให้มีแก่พวกเจ้าซึ่งดวงดาวทั้งหลาย

เพื่อพวกเจ้าจะได้รับการชี้นำด้วยดวงดาวเหล่านั้น ทั้งในความมืดแห่งทางบกและทางทะเล

แน่นอนเราได้แจกแจงโองการทั้งหลายไว้แล้ว สำหรับกลุ่มชนที่รู้

 

وقال: ﴿وَبِٱلنَّجۡمِ هُمۡ يَهۡتَدُونَ﴾ [النحل: 16]

 

และด้วยดวงดาว พวกเขาใช้นำทาง

 

          จากสิ่งที่อัลกุรอานมักจะกล่าวเตือนอยู่เสมอ คือ สิ่งที่ปรากฏในดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว ล้วนเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเป็นพระเจ้าของพระองค์อัลลอฮ์ และความเป็นเอกะที่ควรค่าแก่การกราบไหว้

 

قال تعالى: ﴿وَسَخَّرَ لَكُمُ ٱلَّيۡلَ وَٱلنَّهَارَ وَٱلشَّمۡسَ وَٱلۡقَمَرَۖ وَٱلنُّجُومُ مُسَخَّرَٰتُۢ بِأَمۡرِهِۦٓۚ إِنَّ فِي ذَٰلِكَ لَأٓيَٰتٖ لِّقَوۡمٖ يَعۡقِلُونَ﴾[النحل: 12]، 

 

และพระองค์ทรงให้กลางคืนและกลางวันและดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นประโยชน์แก่พวกเจ้า

และหมู่ดาวถูกใช้ให้เป็นประโยชน์โดยพระบัญชาของพระองค์

แท้จริงในการนั้น แน่นอนย่อมเป็นสัญญาณมากหลาย สำหรับกลุ่มชนที่ใช้ปัญญา

 

وقال تعالى: ﴿وَمِنۡ ءَايَٰتِهِ ٱلَّيۡلُ وَٱلنَّهَارُ وَٱلشَّمۡسُ وَٱلۡقَمَرُۚ لَا تَسۡجُدُواْ لِلشَّمۡسِ وَلَا لِلۡقَمَرِ وَٱسۡجُدُواْۤ لِلَّهِۤ ٱلَّذِي خَلَقَهُنَّ إِن كُنتُمۡ إِيَّاهُ تَعۡبُدُونَ﴾ [فصلت: 37]

 

และส่วนหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์ คือ การมีกลางคืน และ กลางวัน และดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์

พวกเจ้าอย่าได้สุญูด แต่จงสุญุดแด่อัลลอฮฺพระผู้ทรงสร้างพวกมัน หากพวกเจ้าจะเคารพภักดีแด่พระองค์เท่านั้น

 

 

     ส่วนข้ออ้างอิบนุอาชูร -ขออัลลอฮฺทรงประทานความเมตตาแก่ท่าน- ว่าชั้นฟ้าทั้งเจ็ดคือดาวเคราะห์ทั้งเจ็ด นั้น ไม่อาจนำมาอ้างอิงได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้:

 

     ประการแรก : ขัดต่อหลักฐานที่ชัดเจนจากอัลกุรอาน อัลกุรอานได้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างชั้นฟ้า ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์ ดังที่ได้กล่าวถึงหลักฐานไว้แล้ว

 

     ประการที่สอง : ขัดต่อคำพูดที่ชัดเจนของนักอรรถาธิบายจากบรรพชนชาวสลัฟ และคนอื่นๆ

 

     ประการที่สาม : อิหม่าม อิบนุ อาชูร์ (ขออัลลอฮฺทรงเมตตาแก่ท่าน) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ยุคใหม่ นักวิชาการด้านดาราศาสตร์สมัยใหม่ส่วนใหญ่เชื่อและศรัทธาในศาสตร์นี้ ส่งผลให้พวกเขาตีความอัลกุรอานในหลายโองการให้สอดคล้องกับหลักการทางดาราศาสตร์เท่านั้น 

     ยิ่งไปกว่านั้นคือให้ความสำคัญกับหลักดาราศาสตร์ยุคใหม่ เขามักจะตีความอัลกุรอานให้สอดคล้องกับความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ในสมัยนั้น เขามักจะอ้างอิงหลักการทางดาราศาสตร์เพื่อสนับสนุนการตีความของเขา แม้ว่าอิหม่ามอิบนุอาชูร์จะเป็นนักวิชาการที่ยิ่งใหญ่ แต่การตีความอัลกุรอานของเขาในประเด็นเหล่านี้ ไม่ควรพึ่งพาเพียงคำพูดของเขาเท่านั้น

 

     หน้าที่ของเราคือ เชื่อมั่นในความหมายที่ชัดเจนของอัลกุรอาน และสิ่งที่บรรพชนยุคสลัฟของเราได้ตีความไว้ เพราะนั่นคือหนทางสู่ความปลอดภัย เราควรยึดมั่นในคำสอนของอิมามอัชชาฟิอีย์ที่ว่า "เราศรัทธาในอัลลอฮ์และในสิ่งที่อัลลอฮ์ประทานลงมา ตามความประสงค์ของอัลลอฮ์

 

           เราขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการพูดถึงทฤษฎีดาราศาสตร์สมัยใหม่ เพราะมันเข้าข่ายการโต้แย้งทางเทววิทยา(อิลมุลกะลาม ใช้สติปัญญาเกินเลยตัวบท) ซึ่งบรรพชนยุคสลัฟของเราเคยเตือนไว้ ทฤษฎีเหล่านี้มักนำไปสู่ความสับสนและความกังวลมากกว่าการให้เอกภาพและความเชื่อมั่น 

 

     อัลลอฮ์ตรัสไว้ว่า :

 

 ﴿رَبَّنَا لَا تُزِغۡ قُلُوبَنَا بَعۡدَ إِذۡ هَدَيۡتَنَا وَهَبۡ لَنَا مِن لَّدُنكَ رَحۡمَةًۚ إِنَّكَ أَنتَ ٱلۡوَهَّابُ﴾[آل عمران:8]،

 

     “โอ้พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา โปรดอย่าให้หัวใจของพวกเราเอนเอียงออกจากความจริงเลย หลังจากที่พระองค์ได้ทรงแนะนำแก่พวกเราแล้ว

     และโปรดได้ประทานความเอ็นดูเมตตาจากที่ที่พระองค์ให้แก่พวกเราด้วยเถิดแท้จริงพระองค์นั้นคือผู้ทรงประทานให้อย่างมากมาย

 

 

 

https://sh-albarrak.com/fatwas/2187