ถือศีลอดอย่างศรัทธามั่น
  จำนวนคนเข้าชม  761

ถือศีลอดอย่างศรัทธามั่น

 

วันละหนึ่งความคิด....แปลเรียบเรียง

 

 

ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า:

"ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ด้วยความศรัทธาและหวังในความโปรดปราน อัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้แก่เขา ในความผิดที่ผ่านพ้นมา"

(บันทึกโดยอิมามอัลบุคอรีย์)

 

 

 

- ชัยคุลอิสลาม อิบนิ ตัยมียะฮฺ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ -

 

     ถือศีลอดอย่าง อีมานัน (ศรัทธามั่น) และเอี๊ยะฮฺติซาบัน (หวังในความโปรดปราน )เป็นอย่างไร ?

     ศรัทธามั่น หมายถึง เชื่อว่าอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงกำหนดให้การถือศีลอดนี้ เป็นบทบัญญัติ เป็นข้อบังคับที่จำเป็นต้องปฏิบัติ ทรงพอพระทัยในอิบาดะฮฺนี้ 

     และทรงมีรับสั่ง (ให้ผู้เป็นบ่าวถือศีลอด)หวังในความโปรดปราน หมายถึง  การที่บ่าวถือศีลอดด้วยความบริสุทธิ์ใจ และหวังในภาคผลตอบแทนของการถือศีลอด

 

(ญามิอุ้ล มซาอิ้ล 1/161)

 

 

 

- เชค อะฮฺมัด อันนัจมีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ - 

 

     ส่วนหนึ่งจากประโยชน์ของการ รับประทานอาหารสุโฮร ก็คือ 

     - การตื่นขึ้นมาในช่วงเวลาที่ดุอาอฺจะถูกตอบรับ  อันเป็นเวลาที่พระผู้เป็นเจ้าเสด็จลงสู่ฟากฟ้าดุนยา  โดยที่พระองค์จะตรัสว่า 

มีผู้วิงวอนขออยู่บ้างไหม ข้าจะให้แก่เขา มีผู้ขออภัยโทษอยู่บ้างไหม ข้าจะยกโทษให้เขา 

     - บรรดามลาอิกะฮฺจะขอพรให้แก่ผู้รับประทานอาหารสุโฮร  เพราะถือเป็นผู้ที่ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นแบบฉบับจากท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม 

     - การได้บริจาคทานในช่วงเวลานี้ แก่ผู้ขัดสนซึ่งไม่มีอะไร จะรับประทานเป็นอาหารสุโฮร 

 

 

 

- เชค อับดุลอาซี้ซ บิน บ๊าศ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ -

 

     คนที่ถูกขัดขวางไม่ให้ได้รับผลบุญเท่านั้นที่จะหมดสิทธิ์รับอะซาน ! เพราะการกล่าวถ้อยคำตามหลังมุอัซซิน (ผู้อะซาน) นั้น มีความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ถึง 4 ประการด้วยกันคือ

- เป็นการลบล้างความผิด

- ได้เข้าสวรรค์

- ได้รับชัยชนะด้วยการได้รับการชะฟาอะฮฺ (ขออุทธรณ์โทษ) จากท่านร่อซู้ล  صلى الله عليه وسلم

- การดุอาอฺหลังจากอะซานเสร็จแล้วเป็นดุอาอฺที่ถูกตอบรับ (ระหว่างอะซานกับอิกอมะฮฺ)

     ท่าน อิบนิ ญะรี้ร กล่าวว่า : บรรพชนรุ่นแรก (สลัฟ) จะคอยสดับฟังมุอัซซินอย่างตั้งใจ เฉกเช่นที่พวกเขาสดับฟังอัลกุรอาน

[فتح الباري(22)]|

 

 

 

-เชค อิบนิ อุซัยมีน ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ -

 

ช่วงเวลาที่ละศีลอด เป็นเวลาที่ดุอาอฺจะถูกตอบรับ เพราะช่วงเวลานั้นอยู่ในตอนท้ายของการทำอิบาดะฮฺ

และเพราะส่วนมากแล้ว คนเรามักมีสภาพจิตใจที่อ่อนแอ ขณะที่กำลังจะละศีลอด

 

 

 

ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า:

ไม่มีสิ่งใดอีกแล้วที่จะเป็นเกียรติแด่อัลลอฮฺ ยิ่งไปกว่า การวิงวอนขอดุอาอฺ

(บันทึกโดย อิมามอัตติรมีซีย์)

 

 

 

ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

«إِنَّ للهِ عُتَقَاءَ فِي كُلِّ يَوْمٍ وَلَيْلَةٍ، لِكُلِّ عَبْدٍ مِنْهُمْ دَعْوَةٌ مُسْتَجَابَةٌ»

แท้จริงแล้วในแต่ละวันแต่ละคืนนั้น ย่อมมีผู้ที่อัลลอฮฺจะทรงปลดปล่อยเขาให้รอดพ้นจากไฟนรก 

และสำหรับบ่าวแต่ละคนนั้น ล้วนมีดุอาอฺที่ย่อมจะถูกตอบรับอย่างแน่นอน

(บันทึกโดย อิมามอะฮฺมัด อิมามอัลอัลบานีย์ระบุว่าศ่อเฮี๊ยะฮฺ)

 

 

 

ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

لكل مُسلمٍ دعوةٌ مُستجابةٌ يدعُو بها في رمضان».

ในเดือนรอมฎอน มุสลิมทุกคนล้วนแล้วแต่มีดุอาอฺที่เขาวิงวอนขอ ซึ่งจะถูกตอบรับ

(บันทึกโดยอิมาม อะฮฺมัด)

 

 

ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า:

"พวกท่านจงอย่าขอดุอาอฺให้กับตัวเอง นอกเสียจากจะขอแต่สิ่งที่ดีเท่านั้น

เพราะแท้จริง บรรดามลาอิกะฮฺ จะกล่าว "อามีน" (ขอพระองค์ทรงตอบรับด้วยเถิด)ในสิ่งที่พวกท่านกล่าวกัน"

(บันทึกโดย อิมามมุสลิม)

 

 

 

     ชายคนหนึ่งมาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม  และกล่าวว่า : "ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺครับ ดุอาอฺใดกันที่ประเสริฐที่สุดครับ?"

     ท่านตอบว่า : " จงขอต่ออัลลอฮฺให้ได้รับการอภัย และความรอดพ้นปลอดภัยทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺเถิด"

     จากนั้นชายผู้นี้ก็ได้มาหาท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺอีกในวันถัดมาและกล่าวว่า : "ท่านนบีของอัลลอฮฺครับ ดุอาอฺใดกันที่ประเสริฐที่สุดครับ?"

 

" จงขอต่ออัลลอฮฺให้ได้รับการอภัย และความรอดพ้นปลอดภัยทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺเถิด

เพราะเมื่อท่านได้รับความรอดพ้นปลอดภัย ทั้งในดุนยาและอาคิเราะฮฺแล้ว แน่นอน ท่านย่อมได้รับชัยชนะแล้ว"

 

(บันทึกโดย อิมามอัตติรมีซีย์ 3512)