ห้ามไม่ให้ผู้หญิงมีประจำเดือนถือศีลอด
  จำนวนคนเข้าชม  911

ห้ามไม่ให้ผู้หญิงมีประจำเดือนถือศีลอด

 

.ดาวุด ธิยัน... แปลเรียบเรียง 

 

     เหตุใดจึงห้ามไม่ให้ผู้หญิงมีประจำเดือนถือศีลอด ทั้งๆที่การถือศีลอดไม่มีเงื่อนไขเรื่องความสะอาด ?

 

 

ความเห็นเป็นเอกฉันท์ของบรรดาอุละมาอ์   :

     ♦ ห้ามผู้มีประจำเดือนถือศีลอด

     ♦ ผู้มีประจำเดือนต้องชดใช้การถือศีลอดที่ขาดไปในภายหลัง กรณีการถือศีลอดเป็นข้อบังคับ เช่น การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน

     ♦ และมีมติเอกฉันท์ว่าการถือศีลอดของผู้มีประจำเดือนนั้นถือว่าไม่ถูกต้อง

 

นักวิชาการมีความเห็นที่แตกต่างกันของเหตุผลที่ห้ามผู้หญิงมีประจำเดือนถือศีลอด  :

 

สาเหตุที่การถือศีลอดของผู้มีประจำเดือนไม่ถูกต้อง  :

 

     อุละมาอ์บางกลุ่มกล่าวว่า : ไม่ทราบถึงเหตุผลข้อห้ามว่าทำไมถึงห้ามไม่ให้ผู้หญิงมีประจำเดือนถือศีลอด.

 

     อุละมาอ์อีกกลุ่มกล่าวว่า : อัลลอฮ์ทรงห้ามผู้มีประจำเดือนถือศีลอดด้วยความเมตตาต่อนาง  เนื่องจากการมีประจำเดือนทำให้ผู้หญิงอ่อนแอ เมื่อนางถือศีลอดในขณะเป็นประจำเดือน มันได้รวมความอ่อนแออันเนื่องจากสาเหตุของประจำเดือน และเหตุของการถือศีลอดบนตัวนาง และการถือศีลอดในสภาพดังกล่าวได้นำออกไปจากขอบเขตของความยุติธรรม บางทีอาจเข้าข่ายอันตราย

 

     ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะห์ กล่าวไว้ในมัจมูอ์ฟะตาวา (25/234) ว่า : 

     เราจะกล่าวถึง เหตุผลของการมีประจำเดือน และการดำเนินไปของสิ่งดังกล่าวที่สอดกับหลักการอนุมาน (กิยาส) โดยเราจะกล่าวว่า:

     กฎหมายศาสนาอิสลามนั้นเต็มไปด้วยความยุติธรรมในทุกแง่มุม การทุ่มเทมากเกินไปในการในการอิบาดะห์(ประกอบศาสนกิจ)นั้นถือเป็นการละเมิดหลักการนี้ ซึ่งศาสนาห้ามไว้และสนับสนุนให้เราประพฤติปฏิบัติอย่างพอเหมาะพอควร , ด้วยเหตุนี้ศาสนาได้สั่งใช้ให้รีบละศีลอด  และล่าช้าในการรับประทานอาหารสะฮูร  และห้ามการห้ามอดอาหารติดต่อกัน (วิศอล) 

 

และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า : 

 

( أَفْضَلُ الصِّيَامِ وَأَعْدَلُ الصِّيَامِ صِيَامُ داود عليه السلام كَانَ يَصُومُ يَوْمًا وَيُفْطِرُ يَوْمًا وَلا يَفِرُّ إذَا لاقَى )

 

     "การถือศีลอดที่ดีที่สุดและยุติธรรมที่สุดคือการถือศีลอดของนบีดาวูด อะลัยฮิสลาม   ท่านจะอดอาหารวันเว้นวัน ท่านไม่เคยหลบเลี่ยงศัตรู"

 

      และความยุติธรรมในการทำอิบาดะห์นั้นนับว่าเป็นเจตนารมณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้อัลลอฮ์จึงตรัสว่า : 

 

( يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لا تُحَرِّمُوا طَيِّبَاتِ مَا أَحَلَّ اللَّهُ لَكُمْ وَلا تَعْتَدُوا إِنَّ اللَّهَ لا يُحِبُّ الْمُعْتَدِينَ ) المائدة/87.

 

     "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงอย่าห้ามสิ่งที่ดีงามที่อัลลอฮ์ได้อนุมัติแก่พวกเจ้า และอย่าละเมิดขอบเขต แท้จริงอัลลอฮ์ไม่ทรงรักผู้ละเมิด" 

(5:87) 

 

     พระองค์ได้ทำให้การห้ามสิ่งที่ฮะลาลนั้นถือเป็นการละเมิดและขัดต่อหลักการแห่งความยุติธรรม และอัลลอฮ์ทรงตรัสไว้อีกว่า :

 

( فَبِظُلْمٍ مِنَ الَّذِينَ هَادُوا حَرَّمْنَا عَلَيْهِمْ طَيِّبَاتٍ أُحِلَّتْ لَهُمْ وَبِصَدِّهِمْ عَنْ سَبِيلِ اللَّهِ كَثِيرًا * وَأَخْذِهِمُ الرِّبَا وَقَدْ نُهُوا عَنْهُ )

 

     แล้วก็เนื่องด้วยความอธรรมจากบรรดาผู้ที่เป็นยิว เราจึงได้ให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขาซึ่งบรรดาสิ่งดี ๆ ที่ได้ถูกอนุมัติแก่พวกเขามาแล้ว

     และเนื่องด้วยการที่พวกเขาขัดขวางทางของอัลลอฮฺอย่างมากมาย และเนื่องด้วยการที่พวกเขาเอาดอกเบี้ยทั้ง ๆ ที่พวกเขาถูกห้ามในเรื่องนั้น 

(อันนิซาอ์ 160-161)

 

          เมื่อพวกเขากระทำการอยุติธรรม พวกเขาจึงถูกลงโทษด้วยการห้ามสิ่งที่ดีงาม ต่างจากประชาชาติสายกลางที่มีความยุติธรรม  อัลลอฮ์ทรงอนุมัติสิ่งที่ดีงามแก่พวกเขา และห้ามสิ่งที่ชั่วร้ายทั้งหลาย, เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ผู้ที่อดอาหารถูกห้ามจากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยบำรุงร่างกาย  และห้ามมิให้นำออกมาซึ่งสิ่งที่จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ  และขับสารอาหารที่ร่างกายใช้หล่อเลี้ยงออกไป เพราะหากปล่อยให้ทำเช่นนั้น ร่างกายจะได้รับอันตราย และถือว่าเป็นการละเมิดในการปฏิบัติศาสนกิจ และไม่ใช่ผู้ที่มีความยุติธรรม

 

สิ่งที่ออกจากร่างกายสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ :

 

     1. สิ่งที่ไม่สามารถควบคุมการออกได้ หรือ ออกในลักษณะที่ไม่ส่งผลเสีย ประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องห้าม เช่น อุจจาระและปัสสาวะ เพราะว่า

* การขับถ่ายของเสียเหล่านี้ไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย

* เป็นสิ่งที่ควบคุมได้ยากเช่นกัน

* การขับถ่ายของเสียเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่นเดียวกับ

* อาเจียน: เป็นการขับสิ่งที่ร่างกายรับไม่ได้ออกมา ยากต่อการควบคุม

* ฝันเปียก: เป็นการหลั่งน้ำอสุจิโดยไม่ตั้งใจ ยากต่อการควบคุม

 

     2. ส่วนการอาเจียน  เมื่ออาเจียน อาหารและน้ำดื่มที่ร่างกายใช้เป็นอาหารจะถูกขับออกมา เช่นเดียวกับการสำเร็จความใคร่ พร้อมกับมีอารมณ์ทางเพศ

 

           ส่วนเลือดที่ออกระหว่างมีประจำเดือน: เป็นการขับเลือดออกจากร่างกาย  ผู้หญิงสามารถถือศีลอดได้ในช่วงที่ไม่มีเลือดออก หมายความว่า ในช่วงที่ไม่มีเลือดออก  การถือศีลอดของนางในสภาพนั้น  นับว่าเป็นการถือศีลอดที่มีความยุติธรรมที่ไม่มีเลือดที่จะทำให้ร่างกายนางนั้นแข็งแรงไหลออกมา และมันเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างราย   

          และการถือศีลอดของนางระหว่างมีประจำเดือน จะทำให้เลือดซึ่งเป็นสารอาหารของร่างกายถูกขับออก ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอและขาดสารอาหาร และนำเอาการถือศีลอดของนาง(ช่วงมีประจำเดือน)ออกจากขอบเขตความยุติธรรม ดังนั้น ผู้หญิงจึงถูกบัญชาให้ถือศีลอดในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน (สรุปฟัตวา)

 

 

https://islamqa.info/.../%D9%85%D8%A7-%D8%A7%D9%84%D8%AD...