รอมฏอน โอกาสสำหรับการเปลี่ยนแปลง
อบูอัรวา...แปลเรียบเรียง
พี่น้องผู้มีอีหม่านทั้งหลาย การเปลี่ยนแปลงคือแนวทางแห่งการสรรสร้างของอัลลอฮฺ และเป็นความประสงค์ของพระองค์ , ดังนั้นโดยธรรมชาติของการมีชีวิตย่อมอยุ่ในความเปลี่ยนแปลง, โดยที่การเปลี่ยนแปลงที่มีในบรรดาลูกหลานอาดำนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและประจักษ์ชัด , และคุณ-บ่าวของอัลลอฮฺ- คุณไม่ได้เป็นเช่นนี้เมื่อห้าปีก่อน , และคุณในวันนี้ก็มิใช่คุณในหลายปีหลังจากนี้
และอัลลอฮฺ ตรัสว่า
( لَتَرْكَبُنَّ طَبَقًا عَن طَبَقٍ )
“แน่นอน พวกเจ้าจะต้องเผชิญกับสภาพหนึ่งหลังจากอีกสภาพหนึ่ง”
(อัลอินชิก๊อก โองการที่ ๑๙ )
สภาพหนึ่งหลักจากอีกสภาพหนึ่ง , เพราะฉะนั้นมนุษย์ในโลกดุนยานี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง
( ۞ اللَّهُ الَّذِي خَلَقَكُم مِّن ضَعْفٍ ثُمَّ جَعَلَ مِن بَعْدِ ضَعْفٍ قُوَّةً ثُمَّ جَعَلَ مِن بَعْدِ قُوَّةٍ ضَعْفًا وَشَيْبَةً ۚ ..)
“อัลลอฮฺทรงเป็นผู้สร้างพวกเจ้าในสภาพอ่อนแอ แล้วหลังจากความอ่อนแอพระองค์ก็ทรงทำให้มีความแข็งแรง
แล้วหลังจากความแข็งแรงทรงทำให้อ่อนแอและชราภาพ”
( อัรรูม โองการที่ ๕๔ )
และทุกๆ คนในการดำรงชีวิตต่างขวนขวาย , ไปสู่สภาพที่ดีกว่า ,หรือไปสู่สภาพที่ย่ำแย่กว่าเดิม
كُلُّ النَّاسِ يَغْدُو، فَبَائِعٌ نَفْسَهُ فَمُوبِقُهَا أَوْ مُعْتِقُهَا.
“มนุษย์ทุกคนย่อมขวนขวาย (เพื่อตัวเอง) ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ขายตัวเอง (ให้อัลลอฮฺ) ดังนั้นเขาก็คือผู้ปลดปล่อยตัวเขาเอง (จากการถูกลงโทษในไฟนรก)
และมีผู้ขายตัวเองให้กับชัยฏอนและตัณหาของเขา ดังนั้นเขาคือผู้ทำลายตัวเขาเองให้พินาศ”
( บันทึกโดยมุสลิม )
เมื่อบ่าวใช้เวลาของเขาไปในการเคารพอิบาดะฮฺ เขากำลังเข้าใกล้ยังอัลลอฮฺ แต่หากว่าเขายุ่งอยู่กับอารมณ์ฝ่ายต่ำ การพักผ่อนหรือเรื่องไร้สาระเขาก็จะล่าช้า, ดังนั้นผู้เป็นบ่าวจะยังคงอยู่ในระหว่างผู้ที่รุดหน้าและผู้ที่รั้งท้าย
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
( لِمَن شَاءَ مِنكُمْ أَن يَتَقَدَّمَ أَوْ يَتَأَخَّرَ )
“สำหรับผู้ที่ประสงค์ในหมู่พวกเจ้าจะรุดหน้า (ไปสู่ความดี) หรือจะรั้งท้าย (เพื่อการทำความชั่ว)”
( อัลมุดดัซซิร โองการที่ ๓๗ )
บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย แท้จริงการเปลี่ยนแปลงของจิตใจในเรื่องการฝ่าฝืน คือเหตุแห่งความดีทั้งในดุนยาและอาคีเราะฮฺ , และเมื่อคนหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงตนเองจากการฝ่าฝืน อัลลอฮฺจะทรงปรับเปลี่ยนสภาพของเขาจากความทุกข์สู่ความสุขและความเบิกบาน , แท้จริงอัลลอฮฺทรงสัญญากับปวงบ่าวในเรื่องดังกล่าวนี้ ตรัสว่า
( ۗ إِنَّ اللَّهَ لَا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّىٰ يُغَيِّرُوا مَا بِأَنفُسِهِمْ ۗ )
“แท้จริง อัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง”
( อัรเราะอฺดฺ โองการที่ ๑๑ )
และแท้จริง รอมฏอน คือโอกาสที่ดีสำหรับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ,เนื่องจากหลายปัจจัยด้วยกัน ส่วนหนึ่งจากปัจจัยเหล่านั้นคือ ในเดือนรอมฏอนบรรดาประตูสวรรค์จะถูกเปิดออก และบรรดาประตูนรกจะถูกปิด ,เป็นการส่งเสริมให้ผู้คนหันเข้าสู่ความผาสุกของสวรรค์ด้วยการกระทำการงานที่ดี และหันห่างจากการลงโทษในนรกด้วยการห่างไกลจากความชั่วทั้งหลาย
และจากปัจจัยที่เอื้อสำหรับการเปลี่ยนแปลงตนเองในเดือนรอมฏอนคือ การที่ชัยฏอนถูกพันธนาการ ชัยฏอนมารรายที่ล่อลวงและนำพาจิตใจสู่ความชั่วอย่างยาวนาน, ดังนั้นการที่มันถูกพันธนาการในเดือนรอมฏอนจึงเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการเปลี่ยนแปลงตนเองให้พ้นจากความชั่วร้ายของมัน
และจากปัจจัยที่เอื้อสำหรับการเปลี่ยนแปลงตนเองในเดือนรอมฏอนคือ การถือศีลอดจะป้องกันผู้ที่ถือศีลอดจากกามารมณ์ที่ต้องห้าม ,และที่จริงแล้วการถือศีลอดนั้นช่วยปกป้องผู้ถือศีลอดจากอารมณ์ฝ่ายต่ำทั้งหมด
ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
«الصيامُ جُنَّةٌ» “การถือศีลอดนั้นเป็นโล่ป้องกัน”
(บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม )
และจากปัจจัยที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงตนเองในรอมฏอนคือ การที่ผู้คนจำนวนมากขมักเขม้นทำความดีในเดือนรอมฏอน , คนหนึ่งจะมีความกระตือรือร้นที่จะทำความดีเมื่อเห็นผู้คนจำนวนมากขวนขวายและหันหน้าสู่การทำดี
บรรดามุอฺมินทั้งหลาย แท้จริงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ และปัจจัยอื่นๆ จากที่กล่าวมานี้ ทำให้รอมฏอนคือโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการที่จะเปลี่ยนแปลงจิตใจจากความชั่ว และสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวยังอัลลอฮฺ
เพราะฉะนั้น ใครที่ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงในเดือนรอมฏอน แล้วเขาจะเปลี่ยนแปลงเมื่อใด ? และใครที่ยังไม่กลับเนื้อกลับตัวในช่วงเวลาแห่งการอภัยโทษ แล้วเมื่อไหร่ที่เขาหวังจะสำนึกผิดกลับตัว ? และใครที่ยังไม่หันเข้าหาพระเจ้าของเขาในเดือนแห่งความเมตตา แล้วเมื่อไหร่เขาจะหันเข้าหาพระองค์ ? และใครที่ยังคงไม่กลับตัวในเดือนรอมฏอน แล้วเมื่อไหรที่เขาหวังจะกลับตัว ?
บ่าวของอัลลอฮฺ สิ่งแรกที่เราจะเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงตนเอง (คือมีเจตนาที่ดี) ในการที่เราจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของเราให้ดีขึ้น โดยปารถนาความพอพระทัยจากอัลลอฮฺ, และมุ่งหวังการประทานให้ของพระองค์ และเมื่อบ่าวมีเจตนาที่ดีของเขาแล้ว ก็จะได้รับการตอบแทนความดีและการเริ่มต้นที่ดี,
และการมีเจตนาที่ดีถือเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงจิตใจ, และผลพวงแห่งการลบล้างบาป และความผิด แม้ว่าจะเป็นบาปที่ใหญ่โตก็ตาม,
เชคคุ้ลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ กล่าวว่า
“ประเภทที่หนึ่งจากการงานที่บางครั้งคนหนึ่งกระทำมันอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ คือความบริสุทธิใจและการเป็นบ่าวของเขาเพื่ออัลลอฮฺ, อัลลอฮฺจึงทรงอภัยแก่เขาซึ่งบรรดาบาปใหญ่, ดังปรากฏในฮาดีษ อัลบิฏอเกาะฮฺ”
บรรดาผู้ถือศีลอดทั้งหลาย ผู้คนกี่มากน้อยแล้วในหมู่พวกเราที่เขาต้องการเปลี่ยนแปลงตนเองจากความเศร้าหมองที่เป็นอยู่ และจากการฝ่าฝืนที่ครอบงำชีวิต เขาได้ครุ่นคิดที่จะปรับเปลี่ยนจากสิ่งที่เป็นอยู่ เพื่อที่จะได้อยู่กับบรรดาผู้ที่ภักดี และก้มหน้าของเขาร่วมกับบรรดาผู้ทำการสุญูด หวังที่จะกระทำสิทธิของอัลลอฮฺที่มีเหนือตัวเขา หวังที่จะระวังรักษาสิ่งที่เป็นฟัรฏูทั้งหลายและทำสิ่งที่เป็นสุนัตให้มากๆ เพื่อจะได้มีชีวิตที่ดีอย่างที่ปารถนา,แน่แท้มันคือความหวัง
และความหวัง ที่บ่งชี้ว่าในจิตใจยังคงหลงเหลือความดีอยู่ และอีหม่านที่ซ่อนอยู่,ไม่มีใครในหมู่พวกเราเว้นแต่ว่าเขาจะต้องเคยทำผิด ,มีทั้งผู้ที่ทำน้อย ทำมาก, เพราะฉะนั้น รอมฏอนคือโอกาสสำหรับทุกคนในการปรับปรุงตัวของพวกเขาให้ดีขึ้น.
แท้จริงอัลลอฮฺทรงเรียกร้องบรรดามุอฺมินทั้งหมด -บรรดาผู้ประพฤติดี และประพฤติชั่ว- สู่การเตาบะฮฺกลับเนื้อกลับตัว และทรงทำให้ความสำเร็จคือบั้นปลายของบรรดาผู้สารภาพผิดกลับเนื้อกลับตัว
( ۚ وَتُوبُوا إِلَى اللَّهِ جَمِيعًا أَيُّهَ الْمُؤْمِنُونَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ )
“และพวกเจ้าทั้งหลายจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺเถิด โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ”
( อันนูร โองการที่ ๓๑ )
บรรดามุสลิมทั้งหลาย บางคนอาจกล่าวว่า ในเดือนรอมฏอนไม่ใช่ปัญหาสำหรับฉัน เรื่องนี้เป็นเรื่องง่ายสำหรับฉัน แต่ปัญหาคือหลังจากเดือนรอมฏอน ฉันจะมั่นคงอยู่บนการเปลี่ยนแปลงสู่หนทางที่ดีได้อย่างไร ?
และนี่คือเหตุผลที่ฉันไม่มีความกระตือรือร้นที่จะเปลี่ยนตัวเองในเดือนรอมฏอน ก็จะกล่าวกับผู้ที่มีความคิดเช่นนี้ว่า พึงทราบเถิด -ขอพระองค์อัลลอฮฺทรงสอนท่าน- ว่าจำเป็นที่จะต้องเตาบะฮฺกลับเนื้อกลับตัวต่ออัลลอฮฺ โดยไม่คาดคิดถึงสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น, แล้วอะไรที่ทำให้ท่านมั่นใจว่า ท่านจะมีชีวิตอยู่จนถึงหลังรอมฏอน ?
แล้วท่านพึงรู้เถิดว่า ช่วงเวลาของเดือนรอมฏอน เป็นระยะเวลาเพียงพอที่จิตใจจะเคยชินกับความดี ,และเมื่อจิตใจเคยชินกับความดีก็จะกลายเป็นหนทางที่งายดายสำหรับจิตใจกระทั่งหลังจากเดือนรอมฏอน, และเรื่องนี้นั้น -หลังจากความช่วยเหลือของอัลลอฮฺ- ขึ้นอยู่กับความจริงใจในการที่จะยืนหยัดบนความดี, และหากพวกเขาจริงใจต่ออัลลอฮฺย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับพวกเขา.
ดังนั้นจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย และใช้โอกาสเดือนรอมฏอนเพื่อเปลี่ยนแปลงจิตใจของพวกท่านและจรรยามารยาทของพวกเท่าน และเข้าใกล้พระเจ้าของพวกท่าน ทุกสิ่งที่ผลักดันสู่การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงจิตใจให้ดีขึ้น มีอยู่ในเดือนรอมฏอน เพราะฉะนั้นโอ้บรรดาผู้ปารถนาความดีจงรีบเร่งเถิด และผู้ที่ปารถนาความชั่วจงยุติเถิด
( ۗ إِنَّ اللَّهَ لَا يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّىٰ يُغَيِّرُوا مَا بِأَنفُسِهِمْ ۗ )
“แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง”
( อัรเราะอฺดฺ โองการที่ ๑๑ )
الخطبةُ الثانيةُ
บรรดามุสลิมทั้งหลาย ในเมื่อรอมฏอนคือโอกาสที่ดีสำหรับการกลับเนื้อกลับตัวยังอัลลอฮฺ, ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งการอภัยโทษของพระองค์ ใครที่ไม่ฉกฉวยโอกาสนี้เท่ากับเขากำลังนำตนเองสู่การคาดโทษอันรุนแรงยิ่ง, หัวใจของบรรดาผู้เกรงกลัวพระเจ้าของพวกเขา แทบจะหลุดออกมาเมื่อรับรู้ถึงการคาดโทษอันรุงแรงนี้,
แท้จริงท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ขึ้นบนมิมบัรของท่านที่ประกอบไปด้วยบันไดสามขั้น และกล่าวว่า
«آمِينَ، آمِينَ، آمِينَ» قِيلَ: يَا رَسُولَ اللَّـهِ، إِنَّكَ حِينَ صَعِدتَّ الْمِنْبَرَ قُلْتَ: آمِينَ، آمِينَ، آمِينَ، قَالَ: «إِنَّ جِبْرِيلَ أَتَانِي، فَقَالَ: مَنْ أَدْرَكَ شَهْرَ رَمَضَانَ، وَلَمْ يُغْفَرْ لَهُ، فَدَخَلَ النَّارَ، فَأَبْعَدَهُ اللَّـهُ، قُلْ: آمِينَ، فَقُلْتُ: آمِينَ...)
“อามีน อามีน อามีน“
มีผู้ถามขึ้นว่า โอ้ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ เมื่อท่านขึ้นบนมิมบัร ท่านกล่าวว่า "อามีน อามีน อามีน"
ท่านนบีกล่าวว่า แท้จริงญิบรออีล ได้มาหาฉัน (ขณะนั้น) แล้วกล่าวว่า ผู้ใดเข้าสู่เดือนรอมฎอนแล้วเขาไม่ได้รับการอภัยโทษ เขาเข้าสู่ไฟนรก ขอให้เขาห่างไกลจากความเมตตาของพระองค์
ท่านจงกล่าวว่า "อามีน"
แล้วฉันก็กล่าวว่า "อามีน”
(บันทึกโดยอิบนฺคุซัยมะฮฺ อะหมัด และอัลบัยฮะกีย์)
พวกท่านคิดอย่างไรต่อคำวิงวอนที่มะลาอิกะฮฺที่ประเสริฐที่สุดได้วิงวอนขอ, และศาสนทูตที่ดีที่สุดกล่าวอามีนต่อคำวิงวอนนั้น, คำวิงวอนเหล่านั้นย่อมสมควรที่จะได้รับการตอบรับจากอัลลอฮฺมิใช่หรือ ?
ثم صلوا وسلموا ....