สิ น เ ชื่ อ และ ก า ร ข า ย ฝ า ก
อ.อิสหาก พงษ์มณี...เรียบเรียง
สินเชื่อคืออะไร ?
“สินเชื่อ” คือ การกู้ยืมเงินสดโดยมีธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ออกเงินกู้ให้ ผู้ขอสินเชื่อสามารถนำเงินกู้ไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ตามที่ผู้ขอสินเชื่อต้องการ หรือเป็นไปตามเงื่อนไขของสินเชื่อนั้นๆ โดยธนาคารหรือสถาบันการเงินจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเป็นงวดๆ ในระหว่างที่ผ่อนคืน
ประเภทของสินเชื่อ
สินเชื่อนั้นสามารถแบ่งออกได้ 3 วิธี คือ แบ่งตามลักษณะของผู้ขอสินเชื่อ แบ่งตามระยะเวลา และแบ่งตามหลักประกัน โดยในบทความนี้ลัคกี้จะขอพูดเฉพาะการแบ่งตามหลักประกันนะคะ
1. ประเภทที่ต้องใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน คือ สินเชื่อที่ผู้ขอสินเชื่อต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันให้แก่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเพื่อชดเชยความเสียหายกรณีเกิดการผิดสัญญาเกิดขึ้น สินเชื่อประเภทนี้มักให้วงเงินกู้ที่สูง ขึ้นอยู่กับมูลค่าประเมินของสินทรัพย์ที่ทำการค้ำประกัน ตัวอย่างของสินเชื่อประเภทนี้ เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถยนต์ ฯลฯ
2. ประเภทที่ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ในการค้ำประกัน คือสินเชื่อที่ผู้ขอสินเชื่อไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดยจะดูที่ความน่าเชื่อถือของผู้ขอสินเชื่อเป็นหลัก สินเชื่อประเภทนี้มักให้วงเงินกู้น้อยกว่าประเภทแรก วงเงินขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้ของบุคคลนั้นๆ โดยทั่วไปจะมีอัตรสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 5 เท่าของรายได้ของผู้กู้ เนื่องจากวงเงินไม่มาก สินเชื่อนี้จึงใช้เวลาอนุมัติไม่นาน ตัวอย่างของสินเชื่อประเภทนี้ เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล บัตรกดเงินสด บัตรเครดิต ฯลฯ
Credit luckyleasing.co.th
สรุป
สินเชื่อ คือ การเป็นหนี้ ไม่ว่าการเป็นหนี้นั้นจะมีหลักทรัพย์ค้ำหรือไม่ หนี้ทุกประเภทหากเป็นเหตุให้ได้มีซึ่งประโยชน์แก่เจ้าหนี้ ประโยชน์นั้นคือ ดอกเบี้ย
การขายฝากคืออะไร ?
การขายฝาก หรือ การทำสัญญาขายฝาก หมายถึง สัญญาซื้อขายซึ่งสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงในขณะทำสัญญาว่า ผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนหรือซื้อทรัพย์สินนั้น คืนได้ภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่ต้องไม่เกินเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ขายบ้านพร้อมที่ดิน โดยมีข้อตกลงว่าถ้าผู้ขายต้องการซื้อคืนผู้ซื้อจะยอมขายคืนเช่นนี้ถือว่าเป็นข้อตกลงให้ไถ่คืนได้
ทรัพย์สินที่สามารถขายฝากได้มีอะไรบ้าง?
ทรัพย์สินทุกชนิดสามารถนำมาขายฝากได้ เช่นที่ดิน บ้าน อพาร์ทเมนท์ คอนโด รถยนต์ เรือ เกวียน โทรทัศน์ ฯลฯ ย่อมสามารถขายฝากได้เสมอ
ชื่อเรียก
ในตำรานิติศาสตร์อิสลามเรียกชื่อการขายฝากแตกต่างกันออกไป แต่สาระสำคัญไม่แตกต่างกัน เช่น
1-บัยอุ้ลวะฟาอฺ - بيع الوفاء
2-บัยอุ้ลอะมานะห์ - بيع الامانة
3-บัยอุ้ลมุอามะละห์ -بيع المعاملة
4-อัรเราะหฺนุ้ลมุอาด -الرهن المعاد
5-บัยอุษษุนยา -بيع الثنيا
6-และ ฯลฯ
หุก่ม
1-"ต้องห้าม-หะรอม" ญุมฮุรุ้ลอุละมาอฺ (ปวงปราชญ์ส่วนใหญ่) จากสำนัก
1) ฮะนะฟีบางส่วน
2) มาลิกี
3) ชาฟิอี
4) อะหฺหมัด
2-"อนุญาต" จากสำนักฮะนะฟีบางคน
ที่ประชุมสภานิติศาสอิสลามสากล เลือกคำวินิจฉัยของปวงปราชญ์ส่วนใหญ่เพราะมีหลักฐานอ้างอิงที่มีน้ำหนักและชัดเจนกว่า นั่นคือ การขายฝากเป็นสิ่งต้องห้าม "หะรอม"
قرر مجلس مجمع الفقه الإسلامي المنعقد في دورة مؤتمره السابع بجدة في المملكة العربية السعودية من 7-12 ذي القعدة 1412هـ الموافق 9 – 14 أيار (مايو) 1992 م