การ จำ นำ ... จำ นอง
  จำนวนคนเข้าชม  841

การ จำ นำ ... จำ นอง

 

.อิสหาก พงษ์มณี

 

1. ผู้จำนำหรือผู้จำนอง เรียกว่า الراهن - อัรรอฮิน

 

2. ผู้รับจำนำหรือจำนองเรียกว่า المرتهن -อัลมุรตะฮิน

 

3. ทรัพย์จำนำจำนองเรียกว่า  الرهن - อัรเราะฮฺนุ หรือ المرهون -อัลมัรฮูน

 

4. หนี้ที่กู้ยืมไปเรียกว่า الرهون به -อัลมัรฮูน่าบิฮี

 

          ในทางกฏหมายแยกว่าจำนำหมายถึงเอาสังหาริมทรัพย์ไปค้ำหนี้ ส่วนจำนองคือเอาอสังหาริมทรัพย์ไปค้ำหนี้ แต่ในทางหลักการศาสนาเรียกรวมกันว่า الرهن - อัรเราะฮฺนุ

 

          ไม่ว่าจะเป็นจำนำหรือจำนองล้วนมาจากเหตุการเป็นหนี้ การกู้หนี้ยืมสินตามคติคำสอนของศาสนานั้นคือการสงเคราะห์ผู้เดือดร้อน กล่าวคือมิใช่ธุรกรรมแสวงกำไร การคิดกำไรหรือแสวงประโยชน์ใดๆ จากมูลหนี้ ประโยชน์นั้นคือดอกเบี้ยโดยเอกฉันท์

 

          นักวิชาการเห็นพ้อง(ยกเว้นอบูฮะนีฟะห์ในข้อปลีกย่อยบางกรณี) กันว่าหากทรัพย์ที่นำไปค้ำหนี้ต้องมีค่าใช่จ่ายดูแล ค่าใช่จ่ายดังกล่าวเป็นหน้าที่ของเจ้าทรัพย์ซึ่งก็คือผู้นำทรัพย์ไปจำนองหรือจำนำนั่นเอง เพียงแต่ว่าต้องจ่ายตาม "จริง" คือฝ่ายผู้ให้กู้ยืมจะเรียกเก็บเกินจริงไม่ได้ หากเกินจริงส่วนเกินนั้นจะกลายเป็นกำไรหรือเป็นประโยชน์ย้อนกลับมาหาผู้ให้กู้ ประโยชน์ใดๆ ที่เกิดจากการให้กู้ยืมประโยชน์นั้นคือ "ดอกเบี้ย" โดยเอกฉันท์

 

          ต่อกรณีการจำนำทองที่สหกรณ์มุสลิมบางแห่งหรือหลายๆแห่งรณรงค์ให้พี่น้องมุสลิมนำทองไปจำนำโดยไม่คิด "ดอก" แต่คิดค่าบริการดูแลรักษา โดยคิดค่าบริการดังนี้คือ 0.45 บาทต่อทองหนึ่งกรัมมนเวลาหนี่งวัน ทองหนึ่งบาทโดยทั่วไปมีน่ำหนัก 15 กรัม ดังนั้นค่าดูแลรักษาทองหนึ่งบาทจะตกอยู่ที่ 6.75 บาท ถ้าต้องกู้ยืมเป็นเวลาหนึ่งปี ค่าดูแลรักษาทองหนึ่งบาทก็จะอยู่ที่ 2,463.75 บาท ปัญาหาคือนั่นคือค่าดูแลรักษาตามจริงหรือไม่

 

          ตามหลัก การนำทรัพย์ไปค้ำหนี้ โดยทั่วไปทรัพย์นั้นต้องมีมูลค่าเท่ากับหรือมากกว่ามูลหนี้ หากน้อยกว่าไม่นิยมทำเพราะไม่เกิดประโยชน์มากนัก หากสินทรัพย์ที่นำมาค่ำหนี้มีมูลค่าสูงกว่ามูลหนี้มากเท่าใด ผู้ให้กู้ก็อุ่นใจมากเท่านั้น นี่เป็นเรื่องธรรมดา

 

          หากผมขาดสภาพคล่องต้องการเงินสดสัก 20000 เพื่อจ่ายค่าเทิมลูก จะไปหยิบยืมใครก็ไม่มีใครให้ แต่มีสหกรณ์มุสลิมบางแห่งประกาศว่าหากใครเดือดร้อนเรื่องเงินทองสามารถมาหยิบยืมได้แต่มีข้อแม้ว่าต้องเอาทองมาค้ำโดยเงินที่จะหยิบยืมต้องตัองต่ำกว่าราคาทอง คือให้ได้ไม่เกิน 80 เปอร์เซ็นของราคาทอง และทางสหกรณ์ขอเก็บค่าบริการดูแลทองคิดกรัมละ 0.45 บาท

 

          ผมถามภรรยาว่าเธอมีทองน้ำหนักหนึ่งบาท (15 กรัม) ไหมขอยืมเอาไปค้ำหนี้หน่อย ปรากฏว่าในบ้านมีแค่ทองเส้นเดียวน้ำหนักห้าบาท (15x5 =75 กรัม) ผมจะนำไปค้ำหนี้ได้ไหม แน่นอนผู้เป็นเจ้าหนี้ย่อมยินดีเพราะมูลค่าของทองสูงกว่าหนี้ที่ผมต้องการยืม

 

          ต่อกรณีข้างต้น หากผมนำทองห้าบาทไปค้ำหนี้ 20000 ในเวลาหนึ่งปี ผมจะต้องเสียค่าใช้จ่ายดูแลรักษาทองให้กัยสหกรณ์ ดังนี้ 

75x.45 =33.75 บาทต่อวัน และ 33.75x365= 12,318.75 ต่อปี

 

          เมื่อครบปีผมก็นำเงินที่ยืมมาคืนสหกรณ์ไป 20000 พร้อมค่าดูแลรักษาอีก 12,318.75 รวม 32,318.75 บาท

          คำถามคือจำนวนเงิน 12,318.75 มันคือค่าดูแลรักษาทองคำน้ำหนักห้าบาทตามจริงหรือไม่ ?

 

          การดูแลรักษาทองคำหนึ่งบาทและห้าบาทมันต่างกันมากมายขนาดนั้นเลยหรือ การเก็บรักษาระหว่างทองหนึ่งบาทและห้าบาทมันต้องการเนื้อที่เก็บรักษาต่างกันขนาดนั้นเลยหรือ นี่คือค่ารักษาทรัพย์ตามจริงตรงหลักการ หรือ ตามหลักใจ

 

           หากค่าดูแลทรัพย์จำนำนั้นเกินจริง ส่วนเกินมานั้นคือประโยชน์ของใคร หากเป็นประโยชน์ย้อนกลับมายังผู้ให้กู้ ประโยชน์นั้นคือดอกเบี้ยนั่นเอง

 

วัสลาม...