ถ้อยคำแห่งปวงปราชญ์​ 86
  จำนวนคนเข้าชม  362

ถ้อยคำแห่งปวงปราชญ์​ 86

 

วันละหนึ่งความคิด....แปลเรียบเรียง

 

 

- เชค มุฮัมมัด สอี๊ด ร็อซลาน ฮะฟิศ่อฮุ้ลลอฮฺ-

 

ใครที่รักท่านเพื่ออัลลอฮฺ ท่านจงประกบติดเขาไว้ให้ดี เพราะหมู่ชนที่รักกันเพื่อพระองค์ มีอยู่น้อยนิดเหลือเกิน

 

 

 

-อิมาม อิบนิ้ล ก็อยยิม ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ -

 

     หากอานิสงค์จากการศึกษาหาความรู้ ไม่มีอะไรอื่นนอกจากจะส่งผลให้ "มีความเชื่อมั่นอย่างแน่นแฟ้น" (ก็นับว่าเพียงพอแล้ว -ผู้แปล-) เพราะความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่ นับเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ที่ทำให้หัวใจมีชีวิตชีวา มีความสงบ มีพลัง มีความกระฉับกระเฉงตื่นตัว และทำให้มีสิ่งอื่นๆ ที่จำเป็นต้องการมีชีวิตอยู่

     ด้วยเหตุนี้เอง อัลลอฮฺ ตะอาลา จึงได้ทรงชมเชยและยกย่อง บรรดาผู้มีความเชื่อมั่นอย่างแน่นแฟ้นเอาไว้ ในคัมภีร์ของพระองค์ ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า

" และต่อวันอาคิเราะฮฺนั้น  พวกเขามีความเชื่อมั่นอย่างแน่วแน่"

(อัลบะก่อเราะฮฺ /4)

 

 

 

- อิมาม อัลกุรฏุบีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ-

 

หากเห็นใครที่หยิ่งยโส ให้รู้ไว้ว่า เขาละหมาดน้อย หรืออาจไม่มีเลย

เพราะไม่มีทางที่ความยโสโอหัง จะอยู่ร่วมกับการก้มสุญูดอย่างมากมายได้เลย

 

 

 

- อิมาม อัชชาฟิอีย์ ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ -

 

แท้จริงแล้ว ท่านย่อมไม่สามารถ ทำให้มนุษย์ทุกคนพึงพอใจได้

ดังนั้น พึงปรับปรุงเรื่องราว ระหว่างตัวท่านกับอัลลอฮฺให้ดีเถิด

และเมื่อท่านได้ปรับปรุงสิ่งที่อยู่ ระหว่างท่านกับพระองค์แล้ว ก็จงอย่าใส่ใจกับใครต่อใครเลย

 

 

 

-ท่านมุอาวิยะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ-

 

ไม่ว่าใครฉันก็สามารถทำให้เขาพึงพอใจได้ทุกคน ยกเว้นคนที่อิจฉาต่อความโปรดปรานเท่านั้น

เพราะเขาจะพึงพอใจก็ต่อเมื่อ ความโปรดปราน (เนี้ยะมัต) ได้สูญสิ้นไปแล้วเท่านั้น

 

 

 

- อิมาม อิบนิ้ล ก็อยยิม ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ-

 

ทุกสภาพการณ์ ที่ไม่มี ' วิชาความรู้' ควบคู่อยู่กับมัน

เป็นที่น่าหวาดเกรงเหลือเกินว่า(สภาพนั้นๆ) จะถูกชัยฏอนเข้าหลอกลวงเล่นงาน

 

 

 

- อิมาม อบู อะฮฺมัด อับดุลลอฮฺ อิบนิ บักรฺ อิบนิ มุฮัมมัด อัซซาฮิด ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮฺ

 

     วิชาความรู้ที่มีความจำเริญ  ประเสริฐและทรงคุณค่ายังประโยชน์ที่สุด ทั้งในด้านศาสนาและในด้านดุนยา รองจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ตะอาลา ก็คือ หะดีษของท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม

     เนื่องเพราะในหะดีษมีการกล่าวศ่อลาวาตให้แก่ท่าน และแท้จริงแล้วหะดีษนั้น ประดุจดังอุทยานที่ท่านจะได้พบกับ ความดีงาม คุณธรรม เกียรติศักดิ์ศรี และการรำลึก 

 

 

 

*สรุปคำอธิบายของเชคสุลัยมาน อัรรุฮัยลีย์  หะฟิศ่อฮุ้ลลอฮฺ จาก ชัรฮฺกิตาบอัลอิคลาศ บทเรียนที่6

 

     ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า:

     "3 ประการที่ฉันขอสาบาน และขอบอกกับพวกท่านเอาไว้ ดังนั้น พวกท่านพึงจดจำเอาไว้ให้ดี

 

     ทรัพย์สินเงินทองของบ่าวในการบริจาคทานนั้น จะไม่ลดน้อยพร่องลง 

     (คือ การบริจาคทานจะไม่ทำให้เงินทอง ลดน้อยหายไปเป็นอันขาด ยิ่งบริจาคยิ่งได้เพิ่ม เพราะอัลลอฮฺจะทรงทดแทนให้เสมอ ซึ่งแน่นอนว่า สิ่งที่พระองค์จะทรงทดแทนให้ย่อมยิ่งใหญ่กว่าสิ่งที่ได้แจกจ่ายออกไป ทรัพย์สินนั้นจะเป็นทรัพย์ที่มลาอิกะฮฺจะขอพรให้ ซึ่งอัลลอฮฺจะประทานความจำเริญให้แก่เขาผู้นั้น และจากการบริจาคทานนี้เองที่จะเป็นการขจัดความชั่วช้า หรือมลทินต่างๆ ที่มีอยู่ในเงินทองให้หมดไป)

 

      ไม่มีบ่าวคนใดที่เขาถูกอธรรม ไม่ว่าเป็นการอธรรมรูปในรูปแบบหนึ่งรูปแบบใด แล้วเขาอดทนอดกลั้นอันเนื่องจากการอธรรมนั้น

     (อดทน ให้อภัย ระงับคำพูดและการกระทำที่จะไม่อธรรมกลับไป)

     นอกจากอัลลอฮฺจะทรงเพิ่มพูนเกียรติศักดิ์ศรีให้แก่เขา (เขาจะยิ่งมีเกียรติและผู้ที่อธรรม จะยิ่งต่ำต้อย)

 

     และไม่มีบ่าวคนใดที่เปิดประตูแห่งการขอ

     (รบเร้าขอผู้อื่นในสิ่งที่เกินความจำเป็น,ขอเพราะอยากจะมีเพิ่มมากขึ้น ทั้งๆ ที่ตัวเองมีพอ)*

 

     นอกจากอัลลอฮฺจะทรงเปิดประตู แห่งความยากจนขัดสนให้แก่เขา" 

     ( คือ จะให้เครื่องหมายของความยากจนปรากฏต่อสายตาคนอื่น เขาจะไม่ได้รับประโยชน์จากเงินทองที่รวบรวมหามาได้ หรืออาจหมายถึงอัลลอฮฺ จะทรงริบทรัพย์สินของเขาไป กระทั่งเขากลายเป็นคนยากจนไปในที่สุด จากที่เคยมีกินมีใช้ แต่พอเริ่มขอใครต่อใคร ก็จะกลายเป็นคนไม่เหลืออะไร

     และอาจหมายถึง อัลลอฮฺจะทรงทำให้เขา มองเห็นแต่ความยากจน ไม่รู้สึกพอเพียงแม้จะมีเพียงพอ หะดีสนี้จึงเป็นการเน้นย้ำในเรื่องการขอ  มุสลิมจะไม่ขอพร่ำเพรื่อ นอกจากจะขอเพราะสุดวิสัย มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดเท่านั้น)

(บันทึกโดย อิมามอัตติรมีซีย์)

 

 

 

 

๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔๔