ยุคสมัยแห่งความอ่อนโยน
ดาวุด ธิยัน แปลเรียบเรียง
ชัยค์ อิบนุ บาซ رحمه الله กล่าวว่า :
"ยุคสมัยนี้เป็นยุคสมัยแห่งความอ่อนโยน อดทน และฮิกมะห์(เฉลียวฉลาดมีเหตุมีผล) ไม่ใช่ยุคสมัยแห่งความรุนแรง ผู้คนส่วนใหญ่อยู่ในความไม่รู้ ไม่ใส่ใจ และมุ่งหวังแต่ดุนยา จึงจำเป็นต้องมีความอดทน และความอ่อนโยน เพื่อที่การเชิญชวนสู่ศาสนาจะได้ไปถึง และเพื่อเผยแผ่ให้แก่ผู้คน ผู้คนจะได้รับรู้ และขออัลลอฮ์ทรงนำทางให้พวกเขาทั้งหมด"
เช่นเดียวกับที่ ท่าน ชัยค์อิบนุ อุษัยมีน رحمه الله ได้กล่าวไว้ว่า :
"บางครั้งมนุษย์รู้สึกหึงหวงเมื่อเห็นบาปและความชั่วร้ายเกิดขึ้น จึงเกิดความโกรธ เราอยากจะบอกว่า : ขออัลลอฮ์ตอบแทนความดีงามแก่ท่านด้วยเถิด ความหึงหวงนั้นเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา แน่นอนว่าผู้ใดที่ไม่มีความหึงหวง หัวใจของเขาก็เปรียบเสมือนคนตายแล้ว แต่ทว่าท่านต้องการจะดับไฟแห่งความหึงหวงด้วยวาจาที่หยาบคายหรือการกระทำที่น่ารังเกียจ หรือท่านต้องการจะแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงผู้คน? …แน่นอนว่าสิ่งที่จำเป็นต้องทำคือสิ่งที่สอง…!!
และเมื่อเป้าหมายคือการแก้ไข ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาวิธีการแก้ไขนั้นด้วยวิธีที่ดีที่สุด ผม,เมื่อเห็นคนที่ทำผิด ไม่ต้องสงสัย…ผมจะเกลียดความผิด และผมก็เกลียดความผิดที่มาจากชายคนนี้เช่นกัน ทว่าเราจะรักษาสิ่งนี้ยังไงกันดี? !!
เมื่อมีคนพบชายคนหนึ่งที่มีอาการเนื้องอก เขาจะใช้มีดห่วยๆผ่าตัดชายคนนั้น และก็ปล่อยให้เลือดไหลไม่หยุด? หรือเขาควรใช้วิธีที่อ่อนโยนที่สุดในการรักษาเขา และทำความสะอาดแผลให้เขา? (แน่นอน) วิธีที่สอง…
والأدواء المعنوية كالأدواء الحسية يجب علينا - لا سيما في هذا العصر الذي كثرت فيه المعاصي- أن نستعمل أرفق ما يكون بقدر ما يستطيع الإنسان، صحيح أنه بشر قد يثور ويغضب ويتألم لكن يجب أن يهدئ نفسه لأنه يريد إصلاح الغير." شرح بلوغ المرام (1/97).
และยารักษาโรคทางจิตใจ(นามธรรม) ก็เช่นเดียวกับยารักษาโรคทางกายภาพ โดยเฉพาะในยุคสมัยที่เต็มไปด้วยการฝ่าฝืนเช่นนี้ เราควรใช้ยารักษาโรคทางจิตใจ อย่างอ่อนโยนที่สุดเท่าที่คนๆหนึ่งจะมีความสามารถ
ถูกต้อง…!! มนุษย์จะเป็นผู้ที่มีอารมณ์ฉุนเฉียวและอารมณ์โกรธ และความเจ็บปวด แต่ก็จำเป็นที่จะต้องสงบสติอารมณ์ เพราะว่าเป้าหมายคือต้องการ “การแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้อื่น”
อ้างอิง: " شرح بلوغ المرام (1/97).
แต่ภายใต้ความอ่อนโยนนั้นต้องหนักแน่นในหลักการและวิธีการตามแนวทางสลัฟ ไม่ผลิตวิธีการผิดเพี้ยนขึ้นมา หรือบิดเบือนหลักการและอ้างว่าฮิกมะห์(วิทยปัญญา) เพราะฮิกมะห์ คือการวางสิ่งหนึ่งให้ถูกที่ถูกทาง “หลักการถูกที่ วิธีการถูกทาง”
ในบางครั้งการรักษาโรคร้าย ก็ต้องอาศัยยาแรงบ้าง ขึ้นอยู่กับบรบทของนักดาอีย์ผู้มีความรู้ท่านนั้นๆจะประเมินสถานะการณ์ แต่บรรดาอุละมาอ์ร่วมสมัยเห็นว่า คนในยุคนี้จะรับไม่ได้อันเนื่องจากสภาพสังคมที่อ่อนแอ คนรู้ เข้าใจศาสนามีน้อยนิด สัจธรรมถูกปิดกั้น คนดีมีอีหม่านน้อยกว่า และสุดท้ายหากเตือนรุนแรง และหนักหน่วง เกรงว่าผู้คนหนีห่างจากการรับประทานยาขนานแรง ทั้งๆที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังป่วยเป็นมะเร็ง !
https://www.al-badr.net/muqolat/5729