เสียงสตรี ไม่ใช่เอาเราะห์
  จำนวนคนเข้าชม  750

เสียงสตรี ไม่ใช่เอาเราะห์

 

เรียบเรียง....อ.อิสหาก พงษ์มณี

 

          เสียงสตรีแม้จะไม่ใช่เอาเราะห์แต่ถ้าพูดแบบไพเราะอ่อนหวานต่อชายอื่นที่มิใช่สามีก็ถือว่าต้องห้าม รวมถึงการอ่านอัลกุรอ่านด้วยถ้อยทำนองที่ไพเราะแล้วออกเสียงดังก็เช่นกัน 

 

      อัลลอฮ์ ตรัสว่า

 

فَلَا تَخْضَعْنَ بِالْقَوْلِ فَيَطْمَعَ الَّذِي فِي قَلْبِهِ مَرَضٌ وَقُلْنَ قَوْلًا مَعْرُوفًا {الأحزاب:32}.

 

"เหล่านางอย่าได้ใช้วาจาที่อ่อนหวาน(ต่อชายอื่น) เพราะผู้ที่หัวใจมีโรคจะมุ่งร้ายได้ ดังนั้นเหล่านางจงพูดด้วยวาจาที่พอเหมาะเถิด"

 

     ท่านอิรอกีกล่าวว่า

 

فالتعليل بخوف الافتتان أولى

 

"เหตุที่ห้ามเช่นนั้นก็เพราะเกรงเรื่องฟิตนะห์ (ซึ่งเป็นเหตุผลที่)สมควรกว่า (เหตุผลอื่นๆ)-ฏอรฮุตัษรีบ

 

 فقال في الاستذكار: وقال بعضهم إنما كره التسبيح للنساء؛ لأن صوت المرأة فتنة، ولهذا منعت من الأذان والإقامة والجهر بالقراءة في صلاتها

 

     ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่(อิบนุอับดุลบัร) กล่าวไว้ในหนังสืออัลอิสติซก๊ารว่า

 

"(ปราชญ์)บางท่านกล่าวว่าไม่สมควรให้สตรีกล่าวตัสเบี๊ยห์(ดังๆ) เพราะเสียงนางก่อเกิดฟิตนะห์ได้

ด้วยเหตุนี้นางจึงถูกห้ามมิให้อะซานและอิกอมะห์รวมถึงละหมาดด้วยเสียงดัง"

 

 

ข้อสังเกต

 

     1. ปวงปราชญ์ส่วนใหญ่เห็นว่าเสียงสตรีมิใช่เอาเราะห์ ดังนั้นนางสามารถพูดคุยกับชายอื่นได้ในกรณีที่จำเป็นต้องพูดคุย

 

     2. แต่สิ่งที่ต้องห้ามคือต้องไม่ใช้น้ำเสียงที่ออดอ้อนอ่อนหวานต่อชายอื่นที่มิใช่สามี(รวมถึงมะห์รอม)ของนาง

 

     3. การอ่านอัลกุรอ่านด้วยน้ำเสียงที่อ่อนหวานกระทำได้ในหมู่สตรีด้วยกันหรือไม่ก็ต่อสามีนาง ส่วนต่อชายอื่นที่มิใช่สามีหรือมะรอมของนาง หากยึดตามคำปราชญ์ที่ยกมาเสนอข้างต้นก็ถือว่าเข้าข่ายใช้วาจาอ่อนหวานกับชายอื่นเช่นกัน

 

     4. สิ่งที่น่าสังเกตมากๆ คือเหตุใดนางถึงถูกห้ามมิให้อะซาน อิกอมะห์ และละหมาดด้วยเสียงอันดัง ทั้งๆ ที่เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องดีทั้งสิ้น 

 

          การอ่านอัลกุรอ่านด้วยเสียงอันดังต่อหน้าชายอื่นก็นับว่าเป็นเรื่องดีเช่นกัน หากมองแค่มุมนี้สตรีย่อมสามารถอะซานได้ อิกอมะห์ได้ หรือละหมาดด้วยการออกเสียงดังได้ เพราะทั้งหมดเป็นเรื่องอิบาดะห์และเป็นสิ่งดีๆ ทั้งสิ้น แต่นางก็ถูกห้ามมิให้อะซาน อิกอมะห์ รวมถึงละหมาดด้วยการออกเสียงดัง !!