อย่าทำให้ตนเองล้มละลาย
โดย ... อาจารย์ญุมอัต พูลสวัสดิ์
เหล่าศรัทธาชนผู้มีศรัทธาในเอกองค์อัลลอฮ์ ซุบฮานาฮูว่าตะอาลา ที่รักและเคารพทุกท่าน ขอความรักความสุขสงบสันติความจำเริญจงประสบแด่ทุกท่าน ก่อนสิ่งใดข้าพเจ้าใคร่ขอตักเตือนตัวข้าพเจ้าเองเป็นสำคัญและท่านพี่น้องทั้งหลาย ให้ตั้งตนอยู่บนหลักการ ตักวา หลักการยำเกรงต่อเอกองค์อัลลอฮ์ยอมจำนนประพฤติปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในบรรดาสิ่งที่พระองค์ทรงมีพระบัญญัติใช้ ละเว้นหลีกเลี่ยงอย่างห่างไกลจากบรรดาสิ่งที่พระองค์ทรงมีพระบัญญัติห้าม ซึ่งการ ตักวา นี้เอง จะเป็นตัวชี้วัดสำคัญ กำกับความคิด คำพูด และการกระทำของเรา ให้อยู่ในหนทางของ อัล อิสลาม อันเที่ยงตรงของพระองค์ ในวันที่เราจะหวนกลับคืนสู่พระเมตตาของอัลลอฮ์
เหล่าศรัทธาชนที่รักและเคารพ อิสลาม เป็นศาสนาที่ประกอบด้วยเรือนร่างและจิตวิญญาณ นั่นหมายถึงต้องมีทั้งสองอย่างเคียงคู่กัน เรือนร่างกายชี้ถึงภาคปฏิบัติตามที่ الله سبحانه وتعالى ได้วางบัญญัติไว้แล้ว อันได้แก่ รู่ก่น อิสลาม ทั้งห้าประการ ส่วนจิตวิญญาณนั้นบ่งถึงภาคความศรัทธาความเชื่อ ซึ่งได้แก่ รู่ก่น อีหม่าน ทั้งหกประการ สองสิ่งนี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแยกไม่ได้ เพราะกิจการงานใดก็ต้องประกอบจากส่วนแรก คือ ความถูกต้องตามหลักศาสนบัญญัติ ส่วนที่สอง คือ ต้องมีความศรัทธาและบริสุทธิ์ใจ การงานนั้นก็จะมีผลใช้ได้ และทั้งสองสิ่งนี้เอง จะมีผลต่อการดำเนินและดำรงชีวิตของมนุษยชาติทั้งภาคภพนี้และภพหน้าต่อไป
จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมา มุสลิม คนหนึ่ง หากจะปฏิบัติศาสนกิจใดๆแล้ว ก็ต้องประกอบจากทั้งสองสิ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ศาสนกิจหรือการงานทางศาสนาของเขา จะต้องไม่ดำเนินไปพร้อมกับสิ่งที่จะสวนทางมา นั่นคือสิ่งที่จะมาลบล้างความดีงาม ลบล้างภาคผลผลบุญต่างๆที่เขาได้ประกอบทำมันมาอย่างอุตสาหะและภาคเพียร ทำให้ในมือของเขาว่างเปล่าไร้ซึ่งความดีงาม หรือแย่ไปกว่านั้น อาจทำให้เขาติดลบ ไม่มีแล้วซ้ำยังเป็นหนี้เสียอีก จนกระทั้งถึงขั้นล้มละลาย ซึ่งการล้มละลาย ณ ที่นี้ไม่ใช่การล้มละลายตามนิยามทางกฎหมายหรือพระราชบัญญัติ แต่เป็นการล้มละลายทางนัยยะของอิสลาม
ท่าน นบี มูฮัมมัด ร่อซูลุ้ลลอฮ ﷺ ได้นิยามไว้ ใน ฮาดิษ บทนี้ท่าน นบี มูฮัมมัด ร่อซูลุ้ลลอฮ ﷺ ได้ชี้แจงว่าสิ่งที่สวนทางกับความดีงามจนทำให้ความดีถูกลบล้าง และทำให้ผู้นั้นล้มละลาย
عن أبي هريرة رضي الله عنه عن رسول الله (صلى الله عليه وسلم) أنه قال :
: أَتَدْرُونَ مَا الْمُفْلِسُ قَالُوا : الْمُفْلِسُ فِينَا مَنْ لا دِرْهَمَ لَهُ وَلا مَتَاعَ ، فَقَالَ : إِنَّ الْمُفْلِسَ مِنْ أُمَّتِي يَأْتِي يَوْمَ الْقِيَامَةِ بِصَلاةٍ وَصِيَامٍ وَزَكَاةٍ وَيَأْتِي وقَدْ شَتَمَ هَذَا وَقَذَفَ هَذَا وَأَكَلَ مَالَ هَذَا وَسَفَكَ دَمَ هَذَا وَضَرَبَ هَذَا فَيُعْطَى هَذَا مِنْ حَسَنَاتِهِ وَهَذَا مِنْ حَسَنَاتِهِ فَإِنْ فَنِيَتْ حَسَنَاتُهُ قَبْلَ أَنْ يُقْضَى مَا عَلَيْهِ أُخِذَ مِنْ خَطَايَاهُمْ فَطُرِحَتْ عَلَيْهِ ثُمَّ طُرِحَ فِي النَّارِ
จากท่าน อะบีฮุรอยเราะห์ ร่อฏิยัลลอฮอันหฺ จากท่านศาสนาทูตแห่ง الله سبحانه وتعالى
ท่าน นบี มูฮัมมัด ร่อซูลุ้ลลอฮ ﷺ มีวจนะว่า : พวกท่านทราบหรือไม่ว่า คนล้มละลายนั้น อย่างไร ?
พวกเขา(เหล่าบรรดาอัครสาวก)ตอบว่า "ผู้ที่ล้มละลายในหมู่พวกเรา คือผู้ที่ไม่มีเงินและไม่มีทรัพย์สิน”
ดังนั้นท่าน นบี มูฮัมมัด ร่อซูลุ้ลลอฮ ﷺ ได้กล่าวว่า "ผู้ที่ล้มละลายจากประชาชาติของฉันก็คือ ในวัน กิยามะฮ์ เขาจะมาด้วยการมี(ผลงานของการ)ละหมาด การถือศีลอด และการออก ซะกาต (ที่ได้ถูกตอบรับจาก الله سبحانه وتعالى)
แต่เขาเคยด่าคนนั้น เคยกล่าวหาคนนี้ เคยบริโภคทรัพย์สินของคนนั้น(โดยมิชอบ) เคยนองเลือดกับคนนี้ และเคยทุบตีคนนั้น
แล้วเขาก็ต้องนำความดีของเขาให้แก่คนนี้ให้แก่คนนั้น ครั้นเมื่อบรรดาความดีของเขาหมดก่อน(จะใช้หนี้หมด) เขาก็จะต้องนำเอาความผิดบาปของพวกเขาเหล่านั้นมาแล้วโถมใส่เขา แบกมันไว้ (ให้แบกรับภาระไว้แทน) หลังจากนั้นเขาก็ถูกโยนลงในนรก"
(รายงาน โดย ท่านมุสลิม)
คำสอนที่ได้จาก ฮาดิษ ข้างต้น ซึ่งทั้งตัวผมและท่านทั้งหลายคงทราบและตระหนักกันดีและสำคัญยิ่ง ใช้สิ่งนี้คอยย้ำเตือนตัวกระผมและท่านทั้งหลาย ว่าการกระทำความดีงามนั้น ไม่ใช่เพียงแค่สิ่งที่เป็น ฟัรดู เช่น การละหมาด การถือศีลอด หรือการจ่าย ซะกาต ยังต้องมีของที่มาสนับสนุนการงานนี้ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ คือสิ่งที่เป็น สุนัต ยิ่งไปกว่านั้น จะต้องต่างพยายาม ลด ละ เลิก ในสิ่งที่เป็นความผิดบาปต่างๆ ความผิดที่จะมีต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดทรัพย์หรือละเมิดทางร่างกาย หรือแม้นกระทั่งจิตใจ สร้างความรำคาญความเดือดร้อนให้เพื่อนบ้าน ยุแยงตะแคงรั่วให้คนเค้าทะเลาะกัน ติฉินนินทาคนในสังคม สร้างบ้านเรือนล้ำไปในที่ของคนอื่นแล้วบอกว่าเป็นที่ของตน หรือแม้นกระทั่งของเล็กๆน้อยๆที่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นก็จะถูกสอบสวน
สิทธิต่างๆเหล่าก็เป็นที่รู้จักกันดีว่า เป็น ฮักกุอาดัม ความผิดประเภทนี้ต้องขอรับการอภัยจากผู้ที่เราได้ละเมิด หากเขาอภัยให้ความผิดก็หมดไป แต่ถ้าเราไม่ขออภัยหรือไม่ได้รับการอภัยจากคนที่เรากระทำนั้น ความผิดก็จะติดตัวเราไป และจะต้องมีการชดใช้ในวันแห่งการตอบแทนอย่างแน่นอน หรือรับโทษความผิดที่ได้กระทำต่อ الله سبحانه وتعالى เช่น การทิ้งละหมาด การทิ้งละหมาดวันศุกร์โดยไม่จำเป็น การเล่นการพนัน ตีไก่ หรือมั่วสุมในสิ่งที่เป็นอบายมุกทั้งปวง เป็นต้น ความผิดบาปเหล่านี้จะต้องขออภัยโทษจากเจ้าสองสิทธิ์คือ الله سبحانه وتعالى คือ ฮักกุ้ลลอฮ หากพระองค์ทรงอภัยให้บาปนั้นก็จะหมดไป
เหล่าศรัทธาชนที่รักและเคารพทั้งหลายครับ ถึงเวลาแล้วครับ ที่เราท่านทั้งหลายจะต้องคิดและลงมือเปลี่ยนแปลงตัวเราเองในทางที่ดี และดียิ่งขึ้น อะไรๆที่เราผิดบาปทั้งต่อ الله سبحانه وتعالى หรือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ก็ เตาบัต ตัวกลับเนื้อกลับใจ ขอ มาอัฟ ขออภัยต่อผู้เป็นเจ้าของสิทธิ์ และพยายามลดละเลิกในสิ่งที่ผิดบาปทั้งปวง หันเข้าหาสุเหร่า อะไรดีๆไม่ผิดต่อหลักการอิสลามและไม่ละเมิดคนอื่นก็ทำ อะไรๆไม่ดีไม่ถูกต้องไม่ควร ก็เลิกมัน
วันสุดท้ายแห่งภพนี้ก็ไม่รู้ว่าวันนี้ พรุ่งนี้ หรือมะรืนจะเกิด อาญัล ของเราก็ไม่รู้ว่า เวลานี้ วินาที นาที หรือ ชั่วโมงไหนจะถูกเรียกกลับ แต่หากวันสุดท้ายเกิดขึ้นหรือ อาญัล ลมหายใจสุดท้ายของเราถูกเรียกกลับคืนไป ในสภาพที่เรายังเป็นแบบนี้อยู่ ยังไม่ได้ เตาบะห์ ยังไม่ได้ขออภัย เป็นที่น่าเศร้าเหลือเกินว่าเรา ก็คงไม่ต่างสภาพอะไร จากผู้ที่ล้มละลาย
الفكهاني ؛
الموز ب 15جنيه ، والتفاح ب 50 .... ثم دخلت امرأة إلى المحل يعرفها الفكهاني .... قالت: كم سعر كيلو الموز ؟ قال الفكهاني الموز : 3 جنيه والتفاح ب 5 جنيه قالت المرأة :الحمد لله ... وهنا نظر الرجل الموجود الى الفكهاني واحمرت عيناه غضباً وأراد ان يغلط عليه، ولكن الفكهاني غمز للرجل وقال انتظرني قليلا .... ثم أعطى المرأة كيلو موز وكيلو تفاح ب 8 جنيه فذهبت وهي فرحة وتقول سوف يأكل اولادي الحمدلله والشكر لله وبعد ان خرجت المرأة قال الفكهاني للرجل معتذراً : والله أني لا أغشك ولكن هذه المرأة صاحبة أربعة أيتام وترفض أي مساعدة من أحد وكلما أردت ان أساعدها لاتقبل وفكرت كثيراً كيف أساعدها دون ان اذهب بماء وجهها ولم أجد إلا هذه الطريقة وهي خفض الأسعار لها ، أريدها أن تشعر أنها غير محتاجه لأحد... وأحب التجارة مع الله وجبر الخواطر... هذه المرأة تأتي كل أسبوع مرة، والله الذي لا اله غيره في اليوم الذي تشتري مني هذه المرأة اربح أضعافاً مضاعفة وارزق من حيث لاأدري ! وهنا دمعت عينا الرجل وقبل رأس الفكهاني على موقفه إن في قضاء حوائج الناس لذة لايعرفها إلا من جربها. ((اسْتَنْزِلُوا الرِّزْقَ بالصدقة))
สรุปจากภาษาอาหรับข้างบน เป็นการกระทำที่ไม่อยากให้ผู้รับรู้ความช่วยเหลือที่ให้โดย....
มีพ่อค้าคนหนึ่งขายผลไม้ บอกลูกค้าชายที่เข้ามาว่า กล้วยกิโลละ 15 บาท แอปเปิ้ลกิโลละ 50 บาท ขณะนั้นมีหญิงคนหนึ่ง ที่พ่อค้ารู้จักเข้ามาที่ร้าน และถามพ่อค้าว่า กล้วยกิโลเท่าไร พ่อค้าบอกว่า กล้วย กก. ละ 3 บาท แอปเปิ้ล กก.ละ 5 บาท หญิงคนนั้นตอบว่า อัลฮัมดุลิ้ลลาฮ
ในขณะนั้น ชายคนแรกยืนมองคนขายตาแดงก่ำด้วยความโกรธ จะมาต่อว่าพ่อค้าแต่พ่อค้าบอกให้เขาใจเย็นและรอแป๊ปหนึงก่อน พ่อค้าจึงหันมาเอาผลไม้ให้หญิงคนนั้น พร้อมคิดเงิน 8 บาท แล้วหญิงคนนั้นก็จากไปหล่อนดีใจมาก พลางพูดว่าลูกๆ ฉันได้กินแล้ว อัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺ
หลังจากที่หญิงคนนั้นออกไป พ่อค้าก็หันมาพูดกับชายคนแรกว่า ขอโทษนะครับ ขอสาบานต่อ อัลลอฮ ฉันไม่ได้โกงท่านนะ แต่ทว่าหญิงคนนั้น มีลูกกำพร้าอยู่ 4 คน และนางไม่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใด พอฉันจะช่วย หล่อนไม่ยอมรับตลอด ฉันคิดอยู่เสมอว่า จะช่วยยังไง และไม่มีหนทางใดนอกจากต้องขายราคาถูกให้กับนาง โดยที่นางไม่รู้ว่าฉันช่วย เราทำการค้ากับพระองค์ อัลลอฮฺ ทำให้นางมาซื้อทุกสัปดาห์ ทุกครั้งที่นางซื้อ ฉันได้กำไรทวีคูณ และได้ริสกีมาก โดยที่ฉันไม่คาดคิด ชายคนแรกได้ฟังแล้ว ถึงกับร้องให้ และจูบศีรษะของพ่อค้านั้น
คุตบะห์วันศุกร์ ณ มัสยิดท่าอิฐ