วิธีละหมาดญะนาซะฮฺ(คนที่เสียชีวิต)
เรียบเรียงโดย.... อับดุลวาเฮด สุคนธา
หุก่มการละหมาดญะนาซะฮฺ
การละหมาดญะนาซะฮฺถือเป็นฟัรฎูกิฟายะฮฺ(ถ้ามีคนหนึ่งคนใดได้ปฏิบัติแล้ว คนอื่นถือว่าตกไปไม่จำเป็นต้องปฏิบัติแล้ว) การละหมาดมันเป็นการเพิ่มผลบุญให้กับผู้ทำการละหมาด และเป็นการชะฟาอะฮฺให้ช่วยเหลือแก่ผู้เสียชีวิต และส่งเสริมให้ผู้มีร่วมละหมาดในจำนวนที่มากในการทำละหมาดให้กับศพ และยิ่งผู้ร่วมละหมาดมากและเป็นผู้ที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺมากเท่าใด ก็จะเป็นการดียิ่งมากเท่านั้น
ภาคผลของละหมาด
มีรายงานจากท่านเซาบาน ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า
مَنْ شَهِدَ الْجَنَازَةَ حَتَّى يُصَلَّى عَلَيْهَا فَلَهُ قِيرَاطٌ ، وَمَنْ شَهِدَهَا حَتَّى تُدْفَنَ فَلَهُ قِيرَاطَانِ ، قِيلَ : وَمَا الْقِيرَاطَانِ ؟ قَالَ : مِثْلُ الْجَبَلَيْنِ الْعَظِيمَيْنِ
“ผู้ใดละหมาดให้แก่ผู้ตาย (ญะนาซะฮฺ) เขาจะได้รับผลบุญมีน้ำหนักเท่า หนึ่งกิร็อฏ และถ้าเขาไปร่วมฝังศพก็จะได้รับผลบุญเท่ากับ สองกิร็อฏ(ผลบุญ หนึ่งกิร็อฏ มากมายเท่ากับภูเขาอุฮุด)”
(บันทึกโดยมุสลิมและอิบนุมาญะห์)
จากท่าน อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า
«مَا مِنْ رَجُلٍ مُسْلِـمٍ يَـمُوتُ فَيَـقُومُ عَلَى جَنَازَتِـهِ أَرْبَـعُونَ رَجُلاً، لا يُشْرِكُونَ بِالله شَيْئًا إلا شَفَّعَهُـمُ الله فِيهِ»
“ไม่มีผู้ใดในหมู่มุสลิมที่เสียชีวิตแล้วมีผู้ร่วมละหมาดญะนาซะฮฺให้กับเขาจำนวน สี่สิบคนซึ่งคนเหล่านี้ไม่เคยตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺแต่อย่างใด นอกเสียจากว่าอัลลอฮฺจะทรงให้พวกเขาเหล่านั้นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือแก่เขา”
(บันทึกโดยมุสลิม)
เงื่อนไขการละหมาดญะนาซะฮฺเหมือนกับการละหมาดทั่วไป เช่น ตั้งเจตนา หันหน้าไปทางทิศกิบละฮฺ ร่างกายจะต้องสะอาด ปกปิดเอาเราะฮฺและจะต้องมีน้ำละหมาด
สภาพของคนที่มาละหมาดญะนาซะฮฺ
หนึ่ง ละหมาดอย่างเดียว
สอง ละหมาดเสร็จตามไปฝังศพ
สาม ละหมาดและตามไปฝังศพพร้อมกับรอขอดุอาอ์
วิธีการละหมาด
♣ ให้มุสลิมที่ต้องการละหมาดญะนาซะฮฺทำการอาบน้ำละหมาด แล้วหันไปทางกิบลัต โดยให้ศพที่จะทำการละหมาดให้นั้นอยู่ระหว่างเขาและกิบลัต
♣ ตามแบบอย่างของซุนนะฮฺนั้นให้ผู้ที่เป็นอีหม่ามยืนตรงส่วนศีรษะของศพถ้าหากเป็นศพชาย และยืนกลางลำตัวของศพถ้าหากเป็นศพหญิง แล้วให้ทำการตักบีรสี่ครั้ง
ลักษณะการยืนของอิม่ามต่อศพ
รายงานจากท่านนาฟิอฺ บิน อะบี ฆอลิบ กล่าวว่า
شَهِدْتُ أَنَسَ بْنَ مَالِكٍ صَلَّى عَلَى جِنَازَةِ رَجُلٍ فَقَامَ عِنْدَ رَأْسِهِ
“ฉันได้เห็นท่านอะนัส บิน มาลิกละหมาดญะนาซะฮฺให้กับศพผู้ชายคนหนึ่งโดยท่านได้ยืนตรงศีรษะของเขา”
(บันทึกโดย อาบูดาวูดและอิม่ามอะหมัด)
รายงานจากท่านซะมุเราะฮฺ บิน ญุดนุบ ร่อดิยัลลอฮฺอัลฮุ กล่าวว่า
صَلَّيْتُ وَرَاءَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ عَلَى امْرَأَةٍ مَاتَتْ فِي نِفَاسِهَا فَقَامَ عَلَيْهَا وَسَطَهَا
“ฉันได้ละหมาดญะนาซะฮฺ(ละหมาดคนตาย)ข้างหลังท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกับศพผู้หญิงคนหนึ่งนางได้เสียชีวิตอันเนื่องมาจากเลือดหลังคลอดบุตรท่านนบีได้ยืนละหมาดตรงกลางลำตัวของนาง”
( บันทึกโดยบุครียฺและมุสลิม)
ในหนังสือ อิม่ามมาลิกียะฮฺ กล่าวเอาไว้ว่า การวางศพให้ศีรษะผู้ตาย(ผู้ชายหรือหญิง)อยู่ทางด้านขวาหรือด้านซ้ายของอิม่ามสามารถทำได้ทั้งสองซึ่งรูปแบบนี้ไม่มีหลักฐานปรากฏตามตัวบท ท่านอิบนุ รุซย์ กล่าวว่า ประเด็นนี้เปิดกว้าง
ท่านเชคอิบนุ อุษัยมีน ถูกถามการวางศีรษะของผู้ตายให้อยู่ทางด้านขวาหรือซ้ายของอิม่าม
ตอบว่า ฉันไม่รู้ว่านี้คือสุนนะฮฺ สมควรที่อิม่ามจะให้ศีรษะผู้ตายอยู่ทางด้านซ้ายบ้างเพื่อที่จะไม่ให้คนอื่นเข้าใจผิดว่า ศีรษะของผู้ตายจำเป็นจะต้องวางทางขาวของอิม่ามอย่างเดียวเท่านั้น เพราะสิ่งดังกล่าวนี้นไม่มีที่มาที่ไป
♣ ให้ทำการตักบีรโดยยกมือทั้งสองข้างขณะตักบีรครั้งแรกให้เสมอกับหัวไหล่หรือใบหูเหมือนการตักบีรในละหมาดทั่วไป
ทำเช่นเดียวกันนี้ในการตักบีรครั้งต่อๆ ไป หลังจากนั้นให้วางมือข้างขวาบนหลังมือข้างซ้ายตรงหน้าอกโดยไม่ต้องอ่านดุอาอ์อิฟติตาหฺ หลังจากนั้นให้กล่าว
กล่าว أَعُوْذُ بِاللهِ مِنْ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ อะอูซุบิลลาฮิ มินัชชัยฏอนิรเราะญีม
ความหมาย "ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺ ให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง" และ บิสมิลลาฮิรเราะห์มานิรเราะฮีม (بِسْمِ ٱللَّٰهِ ٱلرَّحْمَٰنِ ٱلرَّحِيمِ), "ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ" แล้วอ่านฟาติหะฮฺเงียบๆ และในบางครั้งให้อ่านซูเราะฮฺอื่นควบคู่กับซูเราะฮฺฟาติหะฮฺก็สามารถทำได้
จำนวนการตักบีร
รายงานจากท่านอะบูฮูรอยเราะฮฺ ร่อดิยัลลอฮฺอัลฮุ กล่าวว่า
أنَّ رسولَ اللهِ صلَّى الله عليه وسلَّم نعَى النجاشيَّ في اليومِ الذي ماتَ فيه؛ خرَج إلى المصلَّى فصفَّ بِهم، وكبَّر أربعًا
ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้พูดกล่าวไว้(การเสียชีวิต)อาลัยแก่ อัน-นะญาชีย์(กษัตริย์แห่งเอธิโอเปีย) ให้ผู้คนฟังในวันที่เขาได้เสียชีวิตลง และได้ออกไปละหมาดกับพวกเขาในสถานที่ละหมาด เพื่อที่จะ(ละหมาดญะนาซะฮฺฆออิบ)” ท่านนบีได้ออกไปทำการจัดแถวเพื่อละหมาดและทำการตักบีรสี่ครั้ง
(บันทึกโดยบุคครียฺและมุสลิม)
อนุญาตให้ตักบีรมากกว่าสี่ครั้ง จะเป็นห้า หก เจ็ด สามารถกระทำได้เพราะมีรายงานตัวบททั้งสิ้น แต่ทว่าบรรดาปวงปราชญ์ให้น้ำหนักมากกว่ากับการตักบีรเพียงสี่ครั้งเท่านั้น
ท่านอิม่ามอัล-นะวาวี กล่าวว่า: บทบัญญัติชารีอะห์ตัดสินที่ตักบีรสี่ครั้ง คือประเด็นนี้มีข้อขัดแย้ง คนส่วนใหญ่จากบรรดาผู้รู้จะจำกัดไว้เพียงสี่ตักบีร
คำอ่านต่างๆในละหมาด
รายงานจากท่านฏ็อลหะฮฺ บิน อับดิลลาฮฺ บินเอาฟ์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า
صَلَّيْتُ خَلْفَ ابْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللَّهُ عنْهما علَى جَنَازَةٍ فَقَرَأَ بفَاتِحَةِ الكِتَابِ قَالَ: لِيَعْلَمُوا أنَّهَا سُنَّةٌ.
“ฉันได้ละหมาดละหมาดญะนาซะฮฺหลัง อิบนุอับบาส ร่อดิยัลลอฮฺอัลฮุมา (เขาได้อ่านในตักบีรแรก) แล้วเขาก็ได้อ่านฟาติหะฮฺ(เสียงดัง)เขากล่าวว่า เพื่อให้พวกท่านรู้ว่านี้คือ ซุนนะฮฺท่านนบี “
(บันทึกโดยบุคครียฺ)
รายงานจากท่านอุมามาะฮฺ บิน สะฮลฺ มีชายคนหนึ่งจากสาวกท่านนบีบอกแก่เราว่า
أنَّ السُّنَّة في الصَّلاةِ على الجِنازة أن يُكبِّرَ الإمامُ، ثم يقرأَ بفاتحةِ الكتابِ- بعدَ التكبيرة الأولى- سِرًّا في نفْسِه، ثم يُصلِّيَ على النبيِّ
صلَّى الله عليه وسلَّم، ويُخلِصَ الدُّعاءَ للجِنازةِ في التكبيراتِ، لا يقرأُ فى شىءٍ منهنَّ، ثم يُسلِّم
“แท้จริงแบบอย่าง(ซุนนะฮฺ)ในการละหมาดญะนาซะฮฺ อิม่ามทำการตักบีร
ต่อมาเขาได้อ่านซูเราะหฺ ฟาติหะฮฺหลังตักบีรครั้งแรก(อ่านเสียงไม่ดัง)
ต่อมา ตักบีรที่สอง ให้กล่าว เศาะละวาตนบี
ต่อมาหลังตักบีรครั้งที่สามให้ขอดุอาอ์ให้แก่ศพเท่านั้นและหลังจากนั้นคือ
ในตักบีรครั้งที่สี่ไม่ได้อ่านสิ่งใดเลย ต่อมาก็ให้สลาม “
(บันทึกโดย อัลนะซาอีย์ ดู อะหฺกาม อัล-ญะนาอิซ ของ อัล-อัลบานี)
♣ หลังจากนั้นให้ตักบีรครั้งที่สองแล้วกล่าวเศาะละวาตว่า
«اللَّـهُـمَّ صَلِّ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى آلِ مُـحَـمَّدٍ، كَمَا صَلَّيْتَ عَلَى إبْرَاهِيمَ، وَعَلَى آلِ إبْرَاهِيمَ، إنَّكَ حَـمِيدٌ مَـجِيدٌ، اللَّـهُـمَّ بَارِكْ عَلَى مُـحَـمَّدٍ، وَعَلَى آلِ مُـحَـمَّدٍ، كَمَا بَارَكْتَ عَلَى إبْرَاهِيمَ، وَعَلَى آلِ إبْرَاهِيمَ، إنَّكَ حَـمِيدٌ مَـجِيدٌ».
คำอ่าน อัลลอฮุมมะ ศ็อลลิ อะลา มุฮัมมัด วะอะลา อาลิ มุฮัมมัด, กะมาศ็อลลัยตะ อะลา อิบรอฮีม วะ อะลา อาลิ อิบรอฮีม, อินนะกะ ฮะมีด ดุม มะญีด, อัลลอฮุมมะ บาริก อะลา มุฮัมมัด วะอะลา อาลิ มุฮัมมัด กะมา บาร๊อกตะ อะลา อิบรอฮีม วะอะลา อาลิ อิบรอฮีม, อินนะกะ ฮะมีดม มะญีด
คำแปล โอ้ อัลลอฮฺ ขอได้โปรดเมตตา (หรือสดุดี) มุฮัมมัด และวงศ์วาน ของมุฮัมมัด ดุจดังที่ได้โปรดเมตตา (หรือสดุดี) แก่อิบรอฮีม และวงศ์วาน ของอิบรอฮีม แน่แท้พระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญ ทรงเป็นที่สรรเสริญ พระเกียรติยิ่ง
โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค็ทรงความจำเริญให้แก่มุฮัมมัด และแก่วงศ์วานของมุฮัมมัด ดุจดังที่ประทานความจำเริญให้แก่อิบรอฮีม และวงศ์วานของอิบรอฮีม แน่แท้ พระองค์ทรงเป็นที่สดุดีสรรเสริญยิ่ง ทรงเป็นที่สรรเสริญพระเกียรติยิ่ง
(อัล-บุคอรีย์ มุสลิม)
♣ ตักบีรครั้งที่สามแล้วทำการดุอาอ์ด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์ด้วยบทดุอาอ์ของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม
สามารถเลือกอ่านบทใดบทหนึ่งตามความสามารถได้กล่าวไว้ เช่น
«اللهم اغْفِرْ لِـحَيِّنَا وَمَيِّتِنَا، وَشَاهِدِنَا وَغَائِبِنَا، وَصَغِيرِنَا وَكَبِيرِنَا، وَذَكَرِنَا وَأُنْثَانَا، اللَّـهُـمَّ مَنْ أَحْيَيْتَـهُ مِنَّا فَأَحْيِـهِ عَلَى الإسْلامِ، وَمَنْ تَوَفَّيْتَـهُ مِنَّا فَتَوَفَّهُ عَلَى الإيمَانِ، اللَّـهُـمَّ لا تَـحْرِمْنَا أَجْرَهُ، وَلا تُضِلَّنَا بَـعْدَهُ».
คำอ่าน อัลลอฮุม มัฆฟิรฺ ลิฮัยยินา วะ มัยยิตินา, วะ ชาฮิดินา วะ ฆออิบินา, วะ ศอฆีรินา วะ กะบีรินา, วะ ซะกะรินา วะ อุนซานา, อัลลอฮุมมะ มัน อะหฺยัยตะฮู มินนา ฟะอะหฺยิฮี อะลัลอิสลาม, วะ มันตะวัฟฟัยตะฮู มินนา ฟะตะวัฟฟะฮู อะลัลอีมาน, อัลลอฮุมมะ ลา ตะหฺริมนา อัจญ์เราะฮู วะลา ตุฎิลละนา บะอฺดะฮู
คำแปล “โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยโทษต่อผู้มีชีวิตของเรา ต่อผู้ที่ตายของเรา ผู้ที่อยู่ ณ ที่นี้ และผู้ที่มิได้อยู่ ณ ที่นี้ เด็กๆ ของเรา และผู้ใหญ่ของเรา บรรดาชายของเรา และบรรดาหญิงของเรา
โอ้ อัลลอฮฺ ผู้ใดที่พระองค์ให้เขามีชีวิต อยู่ในหมู่พวกเรา ขอพระองค์ทรงให้เขามีชีวิตอยู่ ในอิสลาม และผู้ใดที่พระองค์ทรงให้เขาตายไปจากพวกเรา ก็ขอได้ทรงให้เขาตายอยู่ในอีมาน
โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอย่าทำ ให้ผลรางวัลของเขาเป็นที่หวงห้ามแก่เรา(คือทรงโปรดประทานผลบุญแก่เราที่ได้ละหมาดศพให้เขา) และทรงโปรดอย่าให้เราหลงผิดหลังจากเขา”
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด และ อิบนุ มาญะฮฺ)
«اللهم اغْفِرْ لَـهُ وَارْحَـمْهُ، وَعَافِهِ وَاعْفُ عَنْـهُ، وَأَكْرِمْ نُزُلَـهُ، وَوَسِّعْ مُدْخَلَـهُ، وَاغْسِلْـهُ بِالمَاءِ وَالثَّلْـجِ وَالبَرَدِ، وَنَقِّهِ مِنَ الخَطَايَا كَمَا نَقَّيْتَ الثَّوْبَ الأبْيَضَ مِنَ الدَّنَسِ، وَأَبْدِلْـهُ دَاراً خَيْراً مِنْ دَارِهِ، وَأَهْلاً خَيْراً مِنْ أَهْلِـهِ، وَزَوْجاً خَيْراً مِنْ زَوْجِهِ، وَأَدْخِلْـهُ الجَنَّةَ، وَأَعِذْهُ مِنْ عَذَابِ القَبْرِ (أَوْ مِنْ عَذَابِ النَّارِ)».
คำอ่าน อัลลอฮุมมัฆฟิรละฮู วัรฮัมฮุ, วะ อาฟิฮิ วะอฺฟุอันฮุ, วะอักริม นุซุละฮู, วะวัสสิอฺ มุดคอละฮู, วัฆสิลฮุ บิลมาอิ วัษษัล วัลบะร็อด, วะ นักกิฮี มินัล คอฏอยา กะมา ยุนักก็อษ เษาบุล อับยะฎุ มีนัดดะนัส, วะ อับดิลฮุ ดาร็อน ค็อยรอน มินดาริฮี, วะ อะฮฺลัน ค็อยร็อน มิน อะอฺลิฮี, วะ อัดคิลฮุล ญันนะฮฺ, วะ อะอิซฮุ มิน อะซาบ บิลก๊อบริ (หรืออ่านว่า มิน อะซาบินนารฺ)
ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษแก่เขา และทรง เมตตาเขา และทรงให้เขาปลอดภัย และทรงปกป้องเขา ทรงให้เกียรติแก่ ที่พำนักของเขา และทรงทำให้ทางเข้าของเขากว้าง
และทรงได้โปรด ชำระล้างเขาด้วยน้ำ หิมะ และลูกเห็บ และชำระล้าง ความผิดของเขา เช่นเดียวกับที่ผ้าขาวถูกชำระให้สะอาดจากสิ่งเปรอะเปื้อน ทรงเปลี่ยน ให้แก่เขาซึ่งที่อาศัยที่ดีกว่าบ้านของเขา และครอบครัวที่ดีกว่าครอบครัวของ เขา และทรงทำให้เขาได้เข้าสวนสวรรค์ และทรงปกป้องเขา จากการลงโทษในหลุมฝังศพ (หรือ การลงโทษแห่งไฟนรก)”
(บันทึกโดย มุสลิม)
«اللهم إنَّ فُلانَ بْنَ فُلانٍ فِي ذِمَّتِكَ وَحَبْلِ جِوَارِكَ، فَقِهِ مِنْ فِتْنَةِ القَبْرِ، وَعَذَابِ النَّارِ، وَأَنْتَ أَهْلُ الوَفَاءِ وَالحَقِّ، فَاغْفِرْ لَـهُ وَارْحَـمْهُ، إنَّكَ أَنْتَ الغَفُورُ الرَّحِيمُ».
คำอ่าน อัลลอฮุมมะ อินนะ ฟุลานับนะ ฟุลานิน ฟี ซิมมะติก วะ หับลิ ญิวาริก, ฟะกีฮี มิน ฟิตนะติล ก็อบรฺ, วะอะซาบิน นารฺ, วะอันตะ อะฮฺลุล วะฟาอิ วัลหัก, ฟัฆฟิรฺ ละฮู วัรหัมฮุ, อินนะกะ อันตัล เฆาะฟูรุร เราะหีม
ความว่า “โอ้ อัลลอฮฺ แท้จริง คนผู้นี้ซึ่งเป็นบุตรของคนคนนี้ ได้กลับไปสู่การดูแลของพระองค์และสายเชือกแห่งการเคียงข้างพระองค์ ดังนั้น ขอทรงปกป้องเขาจากการทดสอบในหลุมฝังศพและการลงโทษในนรกด้วยเถิด
พระองค์นั้นเป็นผู้ที่ทรงรักษามั่นในคำสัญญาและความสัจจริง ดังนั้นขอทรงอภัยให้เขาและเมตตาเขาเถิด แท้จริงแล้ว พระองค์เป็นผู้ยิ่งด้วยการอภัยและเมตตา”
(หะดีษเศาะฮีหฺ บันทึกโดย อบู ดาวูด และ อิบนุ มาญะฮฺ)
♣ ดุอาอ์สำหรับศพของเด็กเล็ก (ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ) ถ้าหากว่ามีทั้งศพเด็กและผู้ใหญ่ในเวลาเดียวกันก็ให้อ่านดุอาอ์ก่อนหน้านี้แล้วตามด้วยดุอาอ์สำหรับเด็กทารก
ท่านอิม่ามบุคครีย์ได้กล่าวเอาไว้ในหนังสือเศาะฮีหฺและกล่าวว่า ท่านหะซันได้อ่านให้กับศพเด็กด้วยกับซูเราะห์ฟาติหะฮฺและเขาอ่านดุอาอ์ว่า
اللَّـهُـمَّ اجْعَلْـهُ لَنَا سَلَفًا وفرطاً, وأجراً
คำอ่าน อัลลอฮุม มัจญ์อัลฮุละนา สะละฟา, วะฟะเราะฏอ, วะอัจญ์รอ,
คำแปล “โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงโปรดให้เขาและพวกเราเป็นรางวัลที่ล่วงหน้าไปก่อน เป็นผลบุญ
(หนังสือ ฟัตหุลบารีย์ บันทึกโดย อัล-บัยฮะกีย์ ดู อะหฺกาม อัล-ญะนาอิซ ของ อัล-อัลบานีย์)
อีกสำนวนหนึ่ง ท่าน หะซัน อัลบัสรี ได้อ่านให้กับเด็กทารกหลังจากอ่านซูเราะฮฺฟาติหะฮฺโดยอ่านว่า
اللَّهُمَّ اجْعَلْهُ لَنَا فَرَطَاً، وَسَلَفاً، وَأَجْراً
คำอ่าน อัลลอฮุม มัจญ์อัลฮุละนา, ฟะเราะฏอ วะสะละฟา, วะอัจญ์รอ,
คำแปล “โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงโปรดให้เขาและพวกเราเป็นรางวัลที่เป็นผลบุญ และล่วงหน้าไปก่อน
(บันทึกโดย บัฆวีย์ ดู หนังสืออธิบายสุนนะฮฺของท่าน และ อับดุรรอซาก และในหนังสือของอิม่ามบุคครีย์)
ท่านอิบนุกุดามะฮฺ กล่าวว่า ไม่สมควรที่จะขออภัยโทษให้กับเด็กทารก(ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ)เพราะว่าเขานั้นไม่มีความผิด
รายงานจากท่าน ชุอฺบะฮฺ บิน มุฆีเราะฮฺ กล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้พูดกล่าวว่า
والطِّفْل يُصَلَّى عَلَيْهِ وَيُدْعَى لِوَالِدَيْهِ بِالْمَغْفِرَةِ وَالرَّحْمَةِ
“และเด็กทารกจะทำการละหมาดให้แก่เขาและขอพรให้แก่บิดามารดาของเขาด้วยการขออภัยโทษและความเมตตา”
(บันทึกโดย อาบูดาวูด ติรมีซีย์ ดูหนังสืออะหฺกาม อัล-ญะนาอิซ ของ อัล-อัลบานีย์)
ให้ตักบีรครั้งที่สี่เพื่อให้สลามหรือว่ายืนนิ่งเพื่อดุอาอ์สักครู่ แล้วจึงให้สลามโดยหันหน้าไปทางขวาครั้งเดียวหรือให้สลามครั้งที่สอง
ให้กล่าวสลาม
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ
คำอ่าน “อัซซ่าลามุอ้าลัยกุม ว่าเราะหฺม่าตุ้ลลอฮฺ”
ในกรณีที่อิม่ามให้สลามสองครั้งสมควรที่มะมูมจะต้องปฏิบัติตามอิม่าม จำนวนการให้สลามในละหมาดญะนาซะฮฺ
บรรดาผู้รู้มีความเห็นที่แตกต่างในเรื่องการให้สลามหนึ่งครั้งหรือสองครั้ง สองทัศนะด้วยกัน
ทัศนะที่หนึ่ง ส่งเสริมให้กล่าวสลามสองครั้ง(เหมือนกับการให้สลามในละหมาดทั่วๆไป) หะนาฟียะฮฺ ชาฟีอียะฮฺ และ อิบนุ หัซมิน
หลักฐาน
รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอู๊ด ร่อดิยัลลอฮฺอัลฮุกล่าวว่า
ثلاثُ خِلالٍ كان رسولُ اللهِ صلَّى الله عليه وسلَّم يفعلهنَّ، ترَكَهنَّ النَّاسُ؛ إحداهنَّ: التسليمُ على الجِنازة مِثل التَّسليمِ في الصَّلاةِ
มีสามสิ่งที่ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมซึ่งเคยทำ แต่ผู้คนละทิ้งสิ่งเหล่านั้น: หนึ่งในนั้น: การให้สลามในละหมาดญะนาซะฮฺก็เหมือนกับการให้สลามในละหมาด
(บันทึกโดยบัยฮะกีม จากหนังสืออิม่ามอัลบานีย์(ฮุกุ่มญะนาซะฮฺ)
ทัศนะที่สอง ส่งเสริมให้กล่าวสลามแค่ครั้งเดียว มาลีกียะฮฺ ฮัมบาลีย์ อิบรุมุนซีรย์ เชค บินบาซ อิบนุ อุษัยมีน
หลักฐาน
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺร่อดิยัลลอฮฺอัลฮุ เล่าว่า :
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم صَلَّى عَلَى جَنَازَةٍ فَكَبَّرَ عَلَيْهَا أَرْبَعًا وَسَلَّمَ تَسْلِيمَةً وَاحِدَةً
“แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนมาซญะนาซะฮฺโดยตักบีรฺสี่ครั้ง และให้สลามเพียงครั้งเดียวเท่านั้น”
บันทึกโดยบัยฮะกีม ท่านหากิมกล่าวว่าแน่นอนที่คือรายงานที่ถูกต้องจากท่านอะลี บินอะบีตอลิบ ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อุมัร อับดุลลอฮฺ บิน อับบาส ท่าน ญาบีร บินอัลลอฮฺ ท่านอับดุลลอฮฺ บินอะบี เอาฟาและท่านอบูฮุรอยเราะฮฺพวกเขาเหล่านี้ให้สลามในละหมาดแค่เพียงครั้งเดียว
ในหนังสือบันทึกของอิม่ามอะหมัด ท่านอะบูดาวูดกล่าวว่า ฉันได้ยินอิม่ามอะหมัดถูกถามถึงเรื่องการให้สลามในละหมาดญะนาซะฮฺ ท่านทำท่าทางให้(แบบนี้)หันคอให้ดู และกล่าวว่า
السَّلاَمُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللَّهِ
คำอ่าน “อัซซ่าลามุอ้าลัยกุม ว่าเราะหฺม่าตุ้ลลอฮฺ”
ร่องรอยของหลักฐาน
รายงานจากท่าน บิน อับบาส ร่อดิยัลลอฮฺอัลฮุมา กล่าวว่า
سَلَّمَ تسليمةً خفيفةً على الجِنازة
"การให้สลามแบบสั้นๆ(คือครั้งเดียว)ในละหมาดญะนาซะฮฺ"
(บันทึก อบูดาวูด อิมามอะหมัด บัยฮะกีม)
การยกมือในละหมาดญะนาซะฮฺ
ท่านอิม่าม นะวะวีย์ อิบนุ มุนชีรย์ กล่าวว่า ได้มีการเห็นพ้องกันการยกมือทั้งสองในตักบีรแรกของละหมาดญะนาซะฮฺและไม่มีการเห็นต่างกันในประเด็นนี้ แต่มีการเห็นต่างกันในการตักบีรครั้งที่สองสามสี่ว่า จะต้องยกมือในทุกๆตักบีรหรือไม่ยก (ดูหนังสือชัรฺอัลมุฮัซซับบฺ)
ทัศนะที่หนึ่ง ยกมือตักบีรครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น อิบนุ มุนซีรย์ อิบนุ กุดามะฮฺ
หลักฐาน
ท่านอิบนุ กุดามะฮฺ กล่าวว่า จากมติปวงปราชญ์มีความเห็นให้ผู้ที่ละหมาดนั้นทำการยกมือตักบีรครั้งแรกเท่านั้น (ดูในหนังสือ อัลมุฆนีย์)
เชคสุลัยมาน อัรรูหัยลีย์ การยกมือในละหมาดญะนาซะฮฺเพราะว่าไม่มีตัวบทจากท่านนบีเลย
ทัศนะที่สอง ยกมือตักบีรทุกๆครั้งในการตักบีร ชาฟีอียะฮฺ ฮัมบาลีย์ บางส่วนของหะนาฟียะฮฺ มาลีกียะฮฺ เชคบินบาซ อิบนุ อุษัยมีน
หลักฐาน
มีรายงานจากท่าน อิบนุ อุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า
(كان يرفعُ يَديهِ في كلِّ تكبيرةٍ على الجِنازة)
“ปรากฏว่าเขาคือ ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ทำการยกมือทั้งสองในทุกๆครั้งของการตักบีรในละหมาดญะนาซะฮฺ”
(บันทึกโดย อิบนุ อะบีซัยบะฮฺ บุคครีน์ บัยฮะกีม ท่านเชค บินบาซให้รายงานที่ระดับดีในหนังสือ ฟัตหุ้ลบารีย์ของ อิบนุ หะญัร)
เป็นที่ปรากฏชัดสำหรับท่านอิบนุอุมัร ว่าท่านนั้นจะไม่ปฏิบัติเว้นแต่ว่าสิ่งนั้นจะมาจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเท่านั้นเพราะว่าท่านนั้นเป็นผู้เคร่งครัดอย่างมากในการปฏิบัติตามท่านนบี (วัลลอฮุอะลัม)
ในหนังสือมะซาอิล อิม่ามอะหมัด ท่านอะบูดาวูดกล่าวว่า
رأيت أحمد يرفع يديه مع كل تكبيرة على الجنازة إلى حذاء أذنيه
“ฉันเห็นท่านอิม่ามอะหมัดยกมืองทั้งสองในทุกๆครั้งของการตักบีรในละหมาดญะนาซะฮฺจนถึงปลายติ่งหูทั้งสอง”
ในหนังสือมะซาอิล อิม่ามอะหมัด
سألت أبي عن الصلاة على الجنازة، قلت لأبي: يرفع يديه مع كل تكبيرة؟ قال: «نعم،
ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อะหมัด(เป็นลูกของอิม่ามอะหมัด) กล่าวถามพ่อถึงการละหมาดญะนาซะฮฺ ให้ยกมือทั้งสองทุกๆการตักบรี?
ท่านตอบว่า ใช่ครับ
มีรายงานจากท่าน อิบนุ อับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า
أنَّه كان يرفعُ يَديهِ في تكبيراتِ الجِنازة
"ปรากฏว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ทำการยกมือทั้งสองในทุกๆครั้งของการตักบีรในละหมาดญะนาซะฮฺ"
(บันทึกโดย ในหนังสือ ตัลคีลศุชหะบีร ของ อิบนุ หะญัร จากท่านซะอีด บิน มุนซูร)
ท่านเชคอิบนุ อุษัยมีนถูกถามว่าการยกมือหรือไม่ยก แบบใหนจะดีกว่า ท่านกล่าวตอบว่า การยกมือทุกๆครั้งในการตักบีรถือว่าเป็นซุนนะฮฺเพราะมีการรายงานที่ชัดเจนจากอิบนุอุมัร แม้ว่าจะมีผู้รู้บางส่วนที่บอกว่ายกมือแค่ครั้งแรกเท่านั้น แต่ที่ถูกต้องคือการยกมือทุกๆครั้งในการตักบีร
ประเด็นนี้เปิดกว้างใครจะยกหรือไม่ยก สามารถปฏิบัติได้เหมือนกันอย่าได้ตำหนิต่อกัน
ผู้ใดที่พลาดจากการละหมาดในตักบีรใดตักบีรหนึ่งให้ทำการชดตักบีรในลักษณะเดียวกันจนครบแล้วก็ให้สลาม หากว่ามาไม่ทันละหมาดที่มัสยิด อนุญาตให้ไปละหมาดที่หลุมศพได้ซึ่งมีแบบอย่างจากท่านนบีได้ปฏิบัติเอาไว้
ลักษณะการวางศพหลายคน
กรณีหากมีศพรวมกันหลายๆ ศพ ควรให้ศพที่อยู่ถัดจากอิมาม(ไปข้างหน้าทางด้านกิบลัต)เป็นศพผู้ชายจากนั้นเป็นศพของเด็กๆ แล้วจึงเป็นศพของผู้หญิง โดยให้ทำการละหมาดให้กับศพแค่เพียงครั้งเดียว และอนุญาตให้ทำการละหมาดแยกแต่ละศพได้เช่นกัน
ลักษณะการขอดุอาอ์ในละหมาดญะนาซะฮ
การขอดุอาอ์ให้กับศพนั้นให้ดูว่าศพเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง โดยหากศพนั้นเป็นศพผู้ชายให้ดุอาอ์ตามบทดุอาอ์ตามที่ปรากฏ (ฮู) และหากศพนั้นเป็นศพผู้หญิงให้กล่าวโดยใช้คำกิริยาและสรรพนามที่แสดงถึงความเป็นผู้หญิง(ฮา) หรือ اللهم اغفر لها (อัลลอฮุมมัฆฟิรละฮา) และให้ใช้คำที่เป็นพหูพจน์ในกรณีที่มีหลายศพรวมกัน ซึ่งหากเป็นศพของบรรดาชายให้กล่าวว่า اللهم اغفرلهم (อัลลอฮุมมัฆฟิร ละฮุนนะ) เป็นต้น และกรณีที่ไม่ทราบว่าศพเป็นชายหรือหญิงอนุญาตให้ใช้คำทั่วไปไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง โดยการกล่าวว่า اللهم اغفر له (อัลลอฮุมมัฆฟิรละฮู)
ส่วนท่านอิม่ามเชากานีย์กล่าวว่า ให้อ่านดุอาอ์ตามบทดุอาอ์ตามที่ปรากฏโดยการกล่าวว่า اللهم اغفر له (อัลลอฮุมมัฆฟิรละฮู) ชายหรือหญิง