มารยาท จริยธรรม
เรียบเรียงโดย.... อับดุลวาเฮด สุคนธา
ความหมายและความสำคัญ
ความหมาย الأَخْلاَقُ ( อัล-อัคลาค ) “ อัคลาก” เป็น พหูพจน์ของ الخُلُق ( อัล-คุลุก ) หมายถึง สัญชาติญาณ ความเคยชิน ธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำ หากว่าพฤติกรรมดีจะถูกเรียกว่า มารยาทที่ดี หากว่าพฤติกรรมเป็นที่ไม่ดีจะถูกเรียกว่า มารยาทที่ไม่ดี
ความสำคัญของมารยาท
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
خُذِ الْعَفْوَ وَأْمُرْ بِالْعُرْفِ وَأَعْرِضْ عَنِ الْجَاهِلِينَ
“เจ้า (มุฮัมมัด) จงยึดถือไว้ซึ่งการอภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และจงผินหลัง ให้แก่ผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด”
(ซูเราะห์อะรอฟ อายะที่ 199)
ท่านอบู อัด-ดัรดาอ์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :
«مَا مِنْ شَىْءٍ أَثْقَلُ فِى الْمِيزَانِ مِنْ حُسْنِ الْخُلُقِ»
“ ไม่มีสิ่งใดที่จะหนักตาชู(ความดีชั่วในวันกิยามัต) ยิ่งไปกว่าการมีอุปนิสัยที่ดี”
(บันทึกโดย อบู ดาวูด)
หลักการ
อัลลอฮฺ ตรัสว่า
وَإِنَّكَ لَعَلَى خُلُقٍ عَظِيمٍ
"และแท้จริงเจ้านั้น (มุฮัมมัด) อยู่บนคุณธรรมอันยิ่งใหญ่"
(ซูเราะห์ อัลกอลัม อายะฮฺที่ 4 )
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :
البِرُّ: حُسْنُ الخُلُقِ “ความดีนั้นคือการมีมารยาทที่ดี”
(รายงานโดย มุสลิม)
ประโยชน์และคุณค่า
♣ จริยธรรมที่ดีงามคือคุณลักษณะของผู้ศรัทธา
♣ ความดี คือ จริยธรรมที่ดีงาม
♣ อัลลอฮฺทรงห้ามจากมารยาทที่ไม่ดีงาม
♣ จริยธรรมและมารยาทที่ดีงาม คือแบบฉบับของบรรดาร่อซูลทั้งหลายถูกส่งมา
ดุอาอฺ
ท่านอบู ฮูรัยเราะห์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :
اللَّهُمَّ إِنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الشِّقَاقِ، وَالنِّفَاقِ، وَسُوءِ الْأَخْلَاقِ
อัลลอฮุมม่า อินนี อะฮูซูบิก่า มินัซซีกอกี วัลนิฟากิ วะชู่อิล อักลากฺ
“โอ้อัลลอฮฺ ฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้รอดพ้นความแตกแยก และการกลับกลอก และมารยาทที่เลวทราม “
(บันทึกโดย อบูดาวูด)
ท่านอบีมุสฮูด เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้รายงานคำกล่าวของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :
اللَّهُمَّ كَمَا حَسَّنْتَ خَلْقِي فَحَسِّنْ خُلُقِي
อัลลอฮุมม่า ก่ามาฮัซซันต้า ค็อลกียฺ ฟ่าฮัซซิน คู่ลู่กียฺ”
“โอ้อัลลอฮ์ ดังที่พระองค์ทรงให้ฉันมีรูปร่างที่สวยงาม โปรดให้ฉันมีมารยาทที่ดีงามด้วยเถิด”
( บันทึกโดย อิม่ามอะหมัด)