คำสั่งเสียท่านลุกมาน
เรียบเรียงโดย.... อับดุลวาเฮด สุคนธา
ความหมายและความสำคัญ
สั่งเสีย คือ การเตือน การกําชับสั่งใช้ให้ปฏิบัติในหลักปฏิบัติของศาสนา
“ลุกมาน” มีลักษณะพิเศษของท่านลุกมาน เป็นนักเดินทาง มีการพบปะและปฏิสัมพันธ์กับผู้คนหลากหลาย อย่างเช่น บรรดาศาสดา นักวิชาการและผู้รู้ทางศาสนา ท่านนั้น เป็นคนช่างคิดในเชิงอุทาหรณ์ของท่านนี่เอง ทำให้ท่านได้เรียนรู้ประสบการณ์ต่าง ๆ อย่างมากมาย อัลลอฮฺ ยกเรื่องราวเกี่ยวกับท่านลุกมานเอาไว้ในอัลกรุอ่าน
ความสำคัญ
เรื่องราวส่วนหนึ่งของท่านลุกมาน ที่มีต่อบุตรชายเป็นบทเรียนที่สำคัญกับบิดามารดาจะต้องกำชับและสั่งสอนบุตรหลานให้อยู่ในกรรลองของศาสนา อย่างเคร่งครัด ในการรู้จักอัลลอฮฺ การละหมาด และการทำดีต่อบิดามารดา
หลักการ
คำสั่งเสียที่ 1 : จงอย่าทำชิริก ต่ออัลลอฮฺ อย่างเด็ดขาด
อัลลอฮฺตรัสว่า
يَا بُنَيَّ لَا تُشْرِكْ بِاللَّهِ إِنَّ الشِّرْكَ لَظُلْمٌ عَظِيمٌ
“โอ้ลูกน้อยของฉัน เจ้าอย่าได้ตั้งภาคีใด ๆ ต่ออัลลอฮ์ เพราะแท้จริงการตั้งภาคีนั้นเป็นความอธรรมอย่างมหันต์ยิ่ง”
( อายะฮฺที่ 13)
คำสั่งเสียที่ 2 : อย่าทิ้งละหมาดฟัรฎู 5 เวลา
อัลลอฮฺตรัสว่า
يَا بُنَيَّ أَقِمِ الصَّلَاةَ “โอ้ลูกน้อยของฉัน เจ้าจงดำรงละหมาด
(อายะฮฺที่ 16)
คำสั่งเสียที่ 3 : จงกำชับเรื่องความดี และปรามกันเรื่องความชั่ว
อัลลอฮฺตรัสว่า
وَأْمُرْ بِالْمَعْرُوفِ وَانْهَ عَنِ الْمُنْكَرِ
“และจงใช้กัน ให้กระทำความดี และจงห้ามปรามกัน ให้ละเว้นการทำความชั่ว”
(อายะฮฺที่ 16)
คำสั่งเสียที่ 4 : อย่าทำท่ายะโสโอหัง แต่จงสุภาพนอบน้อม
อัลลอฮฺตรัสว่า
وَلَا تُصَعِّرْ خَدَّكَ لِلنَّاسِ وَلَا تَمْشِ فِي الْأَرْضِ مَرَحاً
“และเจ้าอย่าหันแก้ม (ใบหน้า) ของเจ้าให้แก่ผู้คนอย่างยะโส และอย่าเดินไปในแผ่นดินอย่างไร้มารยาท”
( อายะฮฺที่ 18)
การปฏิบัติ
♦ จะต้องเคารพ อิบาดะต่ออัลลอฮฺเพียงองค์เดียว
♦ จะต้องละหมาด ห้าเวลา
♦ กำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว
♦ จะต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน
♦ จะต้องมีความพอประมาณในการใช้เสียงและการพูด
ประโยชน์และคุณค่า
♦ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺนั้น สิ่งที่อันตรายที่สุด
♦ ชิริก คือ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ การกราบไหว้ให้กับสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ
♦ การทำความดีและละเว้นความชั่ว เป็นความอดทนและยืนหยัดในศาสนา
♦ จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของบิดามารดาในเรื่องของศาสนา
♦ รู้จักการทำความดีต่อบิดามารดาทั้งสอง