ความละอายต่อบาป
  จำนวนคนเข้าชม  6248

ความละอายต่อบาป

 

เรียบเรียงโดย.... อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

ความหมาย คือ ความรู้สึกอาย ที่จะทำสิ่งไม่ถูกไม่ควร เช่น ละอายที่จะทำผิด ละอายใจ

การละอาย ที่ทำในสิ่งที่ผิด และละอายจะละทิ้งในสิ่งที่ถูกต้อง

ความละอาย ถือว่าเป็นหลักจริยธรรมของอิสลามโดยแท้จริง

 

     ท่านอิบนุ อับบาสกล่าวว่า ท่านร่อซู้ลซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

إنَّ لِكُلِّ دينٍ خُلُقًا، وإنَّ خُلُقَ الإسلامِ الحياءُ

แท้จริง สำหรับทุกๆศาสนานั้นมี จริยธรรมที่ดีงาม และแท้จริงจริยธรรมของศาสนาอิสลามนั้นคือ ความละอาย

 (บันทึกโดย อิบนุมาญะฮฺ)

 

 

หลักการ

 

          ความละอาย เป็น คุณลักษณะพิเศษของมนุษย์ที่แสดงออกมาในรูปแบบพฤติกรรม อิสลามให้ความสำคัญกับความละอาย เนื่องจากความละอายมีบทบาทในการควบคุมพฤติกรรม การทำความดีและสิ่งสมควร และละทิ้งสิ่งที่ไม่ดี ตลอดจนสามารถยกระดับของพฤติกรรมสู่การมีมารยาทที่ดีงาม  ท่านร่อซู้ลซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 

     

الإِيْمَانُ بِضْعٌ وَسَبْعُوْنَ أَوْبِضْعٌ وَسِتُّوْنَ شُعْبَةً فَأَفْضَلُهَا لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ  وَأَدْنَاهَا إِمَاطَةُ اْلأَذَىْ عَنِ الطَّرِيْقِ وَالْحَيَاءُ شُعْبَةٌ مِنَ اْلإِيْمَانِ 

          

การศรัทธา (الإِيْمَانُ) แบ่งออก 70 , 60 กว่าส่วน ที่ประเสริฐสุดคือ ลาอิลาฮะอิลลั้ลเลาะห์ (إِلَهَ إِلاَّ اللهُ لاَ)

ถัดลงมาคือ การขจัดอันตรายที่กีดขวางทางจราจร และความละอายก็เป็นส่วนหนึ่งจากการอีหม่าน

(มุสลิม)

 

  ท่านร่อซู้ลซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

اَلْحَيَاءُ مِنَ اْلإِيْمَانِ  وَاْلإِيْمَانُ فِي الْجَنَّةِ  وَالْبَذَاءُ مِنَ الْجَفَاءِ  وَالْجَفَاءُ  فِي النَّارِ  

 

 ความละอายเป็นส่วนหนึ่งจากการอีหม่าน ผู้ที่มีอีหม่านคือชาวสวรรค์

ผู้ที่น่ารังเกียจทั้งคำพูด และการกระทำ เป็นส่วนหนึ่งของการไร้ค่า และผู้ไร้ค่าคือชาวนรก

(มุสลิม อะหมัด)

 

     ความละอาย เป็นเรื่องที่ได้รับการสรรเสริญ เพราะจะยับยั้งมิให้กระทำสิ่งที่ไม่สมควร ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

الحَياءُ لا يَأْتي إلَّا بخَيْرٍ 

แท้จริง ความละอายนั้น จะไม่นำสิ่งใดมา นอกจากความดีเท่านั้น

(บันทึกโดย อิมาม อัลบุคอรีย์ และอิมาม มุสลิม)

 

อิมาม อิบนิล กอยยิม ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ กล่าวว่าความละอายนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต

 

ความเข้มแข็งของหัวใจขึ้นอยู่ความเข็งแกร่งของความละอายเมื่อใดที่ความละอายลดน้อยลงมันก็จะทำให้หัวใจตายด้าน

 

อุกบะฮฺ อิบนุ อัมรฺ อัล-อันศอรีย์ อัล-บัดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺกล่าวว่า:

 

" إِنَّ مِمَّا أَدْرَكَ النَّاسُ مِنْ كَلَامِ النُّبُوَّةِ الاُوْلَى : إِذَا لَمْ تَسْتَحْيِ فَاصْنَعْ مَا شِئْتَ "

 แท้จริง ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่มนุษย์ได้รับรู้จากคำพูดของบรรดาศาสนทูตก่อนๆ คือ คติที่ว่า

หากท่านไม่มีความละอายแล้ว ก็จงทำตามสิ่งที่ท่านประสงค์เถิด 

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ )

 

          ความละอาย ที่มีอยู่ในหัวใจนี่เอง ทำให้ชีวิตเกิดพลังแห่งความมีมารยาท และการไม่มีความละอายนี่เองทำให้หัวใจตายด้าน คราใดที่จิตใจมีชีวิตชีวา ก็จะทำให้ความละอายมีอยู่ครบถ้วน ดังนั้น ความละอายที่แท้จริงนับเป็นมารยาท ทำให้ละทิ้งสิ่งที่น่ารังเกียจ และหักห้ามมิให้กระทำสิ่งที่ไม่ดีไม่งาม 

 

          คุณสมบัติที่ดีของสตรีมุสลิมะฮฺ คือความละอาย เพราะนี้คือเครื่องประดับอันล้ำค่าของพวกเธอทั้งหลาย ดังเช่นที่อัลลอฮฺทรงกล่าว เรื่องราวของสตรีคนหนึ่งที่มาหาท่านนบีมูซา เดินมาในสภาพอย่างขวยเขิน หลังจากท่านนบีมูซาช่วยเหลือตักน้ำให้กับพวกนาง

 

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

 

فَجَاءَتْهُ إِحْدَاهُمَا تَمْشِي عَلَى اسْتِحْيَاءٍ قَالَتْ إِنَّ أَبِي يَدْعُوكَ لِيَجْزِيَكَ أَجْرَ مَا سَقَيْتَ لَنَا ۚ فَلَمَّا جَاءَهُ وَقَصَّ عَلَيْهِ الْقَصَصَ قَالَ لَا تَخَفْ ۖ نَجَوْتَ مِنَ الْقَوْمِ الظَّالِمِينَ القصص 25-27

 

     "นางคนหนึ่งในสองคนได้มาหาเขา เดินมาอย่างขวยเขิน แล้วกล่าวขึ้นว่าคุณพ่อของดิฉันขอเชิญท่านไป เพื่อจะตอบแทนค่าแรงแก่ท่านที่ได้ช่วยตักน้ำให้เรา 

 

     ครั้นเมื่อเขา (มูซา) ได้มาหาเขา (นบีชุไอบฺ) และได้เล่าเรื่องราวแก่เขา เขากล่าวว่าท่านไม่ต้องกลัว ท่านได้หนีพ้นจากหมู่ชนผู้อธรรมแล้ว

 

 

ความละอาย มีทั้งในระหว่างผู้เป็นบ่าว และพระเจ้าของเขา 

 

          ความละอายของบ่าว คือ ละอายที่พระเจ้าของเขาเห็นการทำชั่วของเขา การกระทำที่ขัดกับคำสั่งของพระองค์ และความละอายระหว่างผู้เป็นบ่าวกับมนุษย์ด้วยกัน 

 

          ส่วนความละอายระหว่างผู้เป็นบ่าวกับพระเจ้าของเขานั้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้อธิบายไว้ในฮะดิษ มัรฟูอฺ ซึ่งปรากฏในสุนันอัตติรมิซีย์ แจ้งว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

 

إِسْتَحْيُوْا مِنَ اللهِ حَقَّ الْحَيَاءِ فَاحْفَظُوْا الرَّاْسَ وَمَاوَعَى وَالْبَطْنَ وَمَاحَوَى  وَاذْكُرُوا الْمَوْتَ وَالْبِلَى

 

     ท่านทั้งหลาย จงละอายต่ออัลลอฮฺ ให้สมกับความละอายที่แท้จริงเถิด 

     บรรดาซอฮาบะฮฺกล่าวว่า โอ้ ท่านร่อซูลุลลอฮฺ พวกเราก็มีความละอายอยู่แล้ว 

     ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ไม่ใช่เช่นนั้น

     แต่ทว่า ใครที่ละอายต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริงแล้วละก็ 

     เขาจะต้องรักษาศีรษะของเขา และสิ่งที่อยู่ในนั้น 

     เขาจะรักษาท้องของเขาและสิ่งที่อยู่ในนั้น และเขาจะรำลึกถึงความตาย

     และใครที่ต้องการโลกอาคิเราะฮฺเขาต้องละทิ้งสิ่งประดับประดาแห่งโลกดุนยานี้ 

     ดังนั้น ถ้าใครทำได้เช่นนั้น ก็เท่ากับว่าเขามีความละอายต่ออัลลอฮฺอย่างแท้จริง 

(บันทึกโดย อิมาม อะฮฺมัด และอัตติรมิซีย์)

 

 

ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องห้าม

 

♣ ชักจูงคนอื่นไปทำความผิด

♣ นำเรื่องไม่ดีของผู้อื่นไปบอกต่อ

♣ เปิดเอาเราะห์ของตัวเองในที่สาธารณะเช่น สตรีไม่คลุมศีรษะ แต่งตัวรัดรูป

♣ ละอายต่อการศึกษาหาความรู้

♣ ละอายที่จะบอกในสิ่งที่เป็นความดีและตักเตือนสิ่งที่เป็นความผิด

       ♣ คนที่ฟังเพลง ดูหนัง ดูละคร บ้าไปกับบอล ไม่เป็นอันหลับอันนอน จนไม่ได้ละหมาด เพราะอดหลับอดนอนอยู่กับการละเล่น สิ่งไร้สาระ น่าจะสำนึกตัวกันได้แล้ว

       ♣ ผู้หญิงที่แต่งตัวไม่เรียบร้อย ประเจิดประเจ้อ แต่งตัวคล้ายกับคนเปลือยกายเมื่อออกนอกบ้าน ไม่มียางอาย ใส่น้ำหอม เดินตามท้องถนน ศูนย์การค้า น่าจะสำนึกตัวกันได้แล้ว

       ♣ ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานที่หลบเลี่ยง อู้งาน ต้องคอยให้นายจ้าง ผู้บังคับบัญชาคอยจ้ำจี้จ้ำไชอยู่ตลอดนั้น น่าจะสำนึกตัวกันบ้าง เพราะถ้าไม่อายก็เชิญตามสบายเถิด

 

 

ประเภทความผิด 

 

ไม่ละอายในการฝ่าฝืนคำสั่งของอัลลอฮ์ 

 

♦ การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ

♦ การชื้อหวยเล่นการพนัน

♦ การทำผิดประเวณี

♦ กินเหล้า

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากความละอาย

 

♥ ความละอายเป็นส่วนหนึ่งหลักศรัทธา

♥ ความละอายทำให้ละทิ้งความชั่ว

♥ ความละอายทำให้รีบเร่งทำความดี

♥ ใครที่ความละอายต่ออัลลอฮฺแน่นอนพระองค์ทรงปกปิดแก่เขาสิ่งไม่ดีในในโลกนี้และโลกหน้า

 

 

ดุอาอฺ

 

اَللَّهُمَّ اغْفِرْلِيْ مَا قَدَّ مْتُ وَمَا أَخَّرْتُ وَ مَاأَسْرَرْتُ وَمَا أَعْلَنْتُ وَمَاأَسْرَفْتُ وَمَاأَنْتَ أَعْلَمُ بِهِ مِنِّيْ أَنْتَ الْمُقَدِّمُ وَأَنْتَ الْمُؤِّخِرُ لاَإِلَهَ إِلاَّ أَنْتَ

 

      คำอ่าน : อัลลอฮุม มัฆฟิรลี มาก็อดดัมตุ ว่ามาอัคค็อรตุ ว่ามาอัซร็อสตุ ว่ามาอะอฺลันตุว่ามาอัซร็อฟตุ ว่ามาอันตะอะอฺล่ามุบิฮี มินนี อันตั้ล มุก็อดดิมุ ว่าอันตั้ล มุอัคคิรุ ลาอิลา ฮะอิลลาอันต้า

 

     คำแปล : โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงโปรดอภัยความผิดที่ฉันได้กระทำมาก่อน และที่กระทำขึ้นในภายหลัง และได้ทำอย่างเร้นลับและเปิดเผย และที่ได้ทำบาป และสิ่งที่พระองค์ทรงทราบดีกว่าฉัน พระองค์คือผู้ทรงอยู่ก่อน พระองค์คือผู้ทรงสุดท้าย ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากพระองค์เท่านั้น  

(บันทึกโดย มุสลิม)