การแก้แค้น
  จำนวนคนเข้าชม  1174

การแก้แค้น

 

เรียบเรียงโดย.... อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

 ความหมาย 

 

          การลงทัณฑ์ มาพร้อมกับความเกลียดชัง เป็นความขุ่นเคือง ทําการตอบโต้ด้วยความแค้น หรือเพื่อให้หายแค้นต้องการสร้างความเดือนร้อนให้เขาคนนั้น

 

          ศาสนาอิสลามเป็นศาสนารักความสันติและให้ความสำคัญกับการดำเนินชีวิตในสังคมซึ่งแน่นอน เกียรติ ทรัพย์สิน เลือดเนื้อของพี่น้องมุสลิมนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องห้าม มุสลิมห้ามละเมิดต่อมุสลิมด้วยกัน อิสลามได้สอนให้เรานั้นรู้จักการให้อภัย อดทนกับที่เลวร้ายถูกทดสอบ และไม่คิดแก้แค้น ล้างแค้นและความอาฆาตพยาบาทต่อบุคคลหนึ่งที่อธรรมต่อเรา แต่ถ้าใครก็ตามที่ละเมิดบทบัญญัติของอัลลอฮฺ เช่น กินเหล้า ทำผิดประเวณี ลักขโมย ก็จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายของอิสลามหากประเทศนั้นใช้กฎหมายอิสลามปกครองและมีอำนาจ

 

 

 หลักการ 

 

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

فَمَنِ اعْتَدَى عَلَيْكُمْ فَاعْتَدُواْ عَلَيْهِ بِمِثْلِ مَا اعْتَدَى عَلَيْكُمْ وَاتَّقُواْ اللّهَ وَاعْلَمُواْ أَنَّ اللّهَ مَعَ الْمُتَّقِينَ    البقرة: 194

 

     “ดังนั้นผู้ใดละเมิดต่อพวกเจ้า ก็จงละเมิดต่อเขา เยี่ยงที่เขาละเมิดต่อพวกเข้า และพึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงรู้ไว้ด้วยว่าแท้จริงอัลลอฮ์นั้นทรงอยู่กับบรรดาผู้ยำเกรงทั้งหลาย

 

 

 เรื่องราวของความแค้น 

 

          อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงเรื่องราวของกอบีลกับน้องของเขาฮาบีลไว้ในอัลกุรอ่านของพระองค์ กอบีลนั้นทำไร่ทำสวน ส่วนฮาบีลนั้นเลี้ยงแพะเลี้ยงแกะ ทั้งคู่เป็นบุตรของนบีอาดัม ในยุคนั้นบทบัญญัตของพวกเขาได้กำหนดให้คู่แต่งงานเป็นใครก็ได้จากบรรดาพี่น้องของเขาที่ไม่ใช่คู่แฝดของตนเอง  น้องสาวฝาแฝดของฮาบีลนั้นสวยน้อยกว่าน้องสาวฝาแฝดของกอบีล กอบีลอยากจะแต่งงานกับน้องสาวตัวเองจึงไม่พอใจกับบทบัญญัตนี้อย่างมาก 

 

         นอกจากนี้ นบีอาดัมยังได้กำหนดให้แก่ลูกหลานของท่าน ให้มีการถวายกุรบ่านแก่อัลลอฮฺซุบฮานะฮูวะตะอาลา (กุรบานหมายถึงการถวายสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อหวังความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺมากยิ่งขึ้น ซึ่งในสมัยนั้นกุรบ่านไม่ใช่แค่การเชือดสัตว์เท่านั้น) และรู้ได้ว่ากุรบ่านถูกตอบรับหรือไม่ โดยกุรบ่านที่ถูกรับจะมีไฟมากินกุรบ่านนั้น  ส่วนอันที่ไม่มีไฟลุกไหม้ก็คือไม่ถูกตอบรับ

 

         และวันแห่งการถวายกุรบ่านก็มาถึง ฮาบีลได้เลือกสิ่งที่ดีที่สุดที่เขามีจากสัตว์ที่เขาเลี้ยง เป็นกุรบ่านถวาย ส่วนกอบีลนั้นถวายกุรบ่านด้วยพืชผลที่เน่าเสียเหี่ยวแห้ง ในวันต่อมาจึงพบว่ากุรบ่านของฮาบีลนั้นถูกตอบรับ ส่วนกุรบ่านกอบีลไฟไม่แม้แต่จะแตะต้องด้วยซ้ำ กอบีลโกรธเป็นอย่างมาก ทั้งยังเรื่องที่เขาไม่ได้แต่งงานกับน้องสาวฝาแฝดของเขาอีก 

เป็นการเปิดทางให้ชัยฏอนมากระซิบกระซาบฆ่าน้องของเจ้าซะ 

แล้วกอบีลก็ตั้งใจตามนั้น เขาจึงไปหาฮาบีลฉันจะฆ่าแก 

       ฮาบีลตอบกลับถึงพี่ฆ่าฉัน ฉันก็จะไม่ทำอะไรพี่ และพี่ต้องได้รับในสิ่งที่กระทำ และรับความผิดที่ฉันเคยทำไว้ด้วย 

และในขณะที่ฮาบีลหลับอยู่ กอบีลก็ใช้หินทุบหัวฮาบีลเขาได้ฆ่าน้องของเขา และนั่นเป็นอาชกรรมแรกในประวัติศาสตร์

 

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

لَئِن بَسَطتَ إِلَيَّ يَدَكَ لِتَقْتُلَنِي مَا أَنَاْ بِبَاسِطٍ يَدِيَ إِلَيْكَ لِأَقْتُلَكَ إِنِّي أَخَافُ اللَّهَ رَبَّ الْعَالَمِينَ

 

     “หากท่านยื่นมือของท่านมายังฉันเพื่อจะฆ่าฉัน ฉันก็จะไม่ยื่นมือของฉันไปยังท่านเพื่อจะฆ่าท่าน แท้จริงฉันกลัวอัลลอฮฺผู้เป็นพระเจ้าแห่งสากลโลก

 

إِنِّي أُرِيدُ أَن تَبُوءَ بِإِثْمِي وَإِثْمِكَ فَتَكُونَ مِنْ أَصْحَابِ النَّارِ وَذَلِكَ جَزَاء الظَّالِمِينَ

 

     “แท้จริงฉันต้องการที่จะให้ท่านนำบาปของฉันและบาปของท่านกลับไป แล้วท่านก็จะกลายเป็นคนหนึ่งในหมู่ชาวนรก และนั่นแหละคือ การตอบแทนแก่บรรดาผู้อธรรม

( ซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ 28-29)

 

     ท่านอะรอบีย์ กล่าวว่าการกระทำที่น่าเกลียดที่สุดของคนที่มีอำนาจ คือ การกลับมาการแก้แค้น

 

    ท่านอิบนุก็อยยิม กล่าวว่าไม่เคยมีใครล้างแค้นให้ตัวเอง เว้นแต่ความเสียใจจะตามมา

 

 

 สาเหตุที่นำไปสู่การแก้แค้น 

 

♦ ความโกรธ

♦ ขาดความอดทนและอดกลั้น

♦ ไม่สามารถให้อภัย

♦ ไม่สามารถระงับความโกรธได้

♦ ความเป็นปฏิปักษ์ ความเกลียดชัง และความอาฆาตพยาบาท

♦ เป็นผู้ที่ถูกกดขี่

 

 

 ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องห้าม 

 

♦ ความเป็นปฏิปักษ์ ความเกลียดชัง

♦ ความโกรธ

♦ การไม่ให้อภัย

♦ การละเมิด

♦ การอธรรม

 

 

 การให้อภัยนั้นดีที่สุด 

 

         ในเมื่ออิสลามได้ยืนยันสิทธิของผู้ถูกละเมิดด้วยการลงโทษผู้ที่ละเมิดอย่างสาสมกัน ตรงตามนัยของความยุติธรรม ดังนั้น การให้อภัยและการไม่ถือโทษที่ไม่ใช่เป็นการยั่วยุให้เกิดการละเมิด จึงเป็นสิ่งที่มีเกียรติและเป็นความเมตตาอย่างยิ่ง

อัลลอฮฺตะอาลา ตรัสว่า

 

 وَالَّذِينَ إِذَا أَصَابَهُمُ الْبَغْيُ هُمْ يَنتَصِرُونَ وَجَزَاء سَيِّئَةٍ سَيِّئَةٌ مِّثْلُهَا فَمَنْ عَفَا وَأَصْلَحَ فَأَجْرُهُ عَلَى اللَّهِ إِنَّهُ لا يُحِبُّ الظَّالِمِينَ

 

         และบรรดาผู้ที่เมื่อมีความอธรรมเกิดขึ้นแก่พวกเขา พวกเขาก็แก้แค้นตอบแทน และการตอบแทนความชั่วคือความชั่วที่เสมอกัน

         ดังนั้น ผู้ใด้ให้อภัยและไกล่เกลี่ยให้คืนดีกัน รางวัลตอบแทนพวกเขาอยู่ที่อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์ไม่โปรดบรรดาผู้อธรรม

(อัชชูรอ : 39)

 

 

 การให้อภัยแบบอย่างที่ดีงาม 

 

     เมื่อท่านนบียูสุฟ(อะลัยฮิสลาม) ยกโทษเเละ ให้อภัยต่อบรรดาพี่น้องของเขา ท่านโดนทำร้าย เอาไปทิ้งในบ่อ และเอาไปขาย

 

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

قَالَ لَا تَثۡرِيبَ عَلَيۡكُمُ ٱلۡيَوۡمَۖ يَغۡفِرُ ٱللَّهُ لَكُمۡۖ

 

เขา ยุสุฟ กล่าวว่า วันนี้ไม่มีการประณามพวกท่าน อัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษพวกท่าน

 (สุเราะสุยุฟ 92)

 

          ท่านนบียูสุฟโดนขนาดนี้ ยังให้อภัยต่อพี่น้องของเขาแล้ว พวกเราล่ะ ให้อภัยกันหรือยัง ท่านนบียูสุฟยกโทษให้เเล้วยังขอดุอาอฺให้อีก ให้อัลลอฮฺ ยกโทษ

 

          จากท่านอับดุลลอฮฺ บุตรมัสอูด กล่าวว่า : ฉันมองดูท่านนบีมุฮัมหมัด ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ขณะที่ท่านกำลังเล่าถึง นบีท่านหนึ่งถูกพวกพ้องของพวกเขาทำร้ายจนเลือดออก เขาใช้มือลูบเลือดที่เปื้อนใบหน้า พลางก็กล่าวว่า

 

اللهم اغفر لقومي فإنهم لا يعلمون

 

ข้าแต่องค์อภิบาลได้โปรดให้อภัยแก่พวกพ้องของฉันด้วยเถิด เพราะความจริงพวกเขาไม่รู้

(บุคอรีย์และมุสลิม)

 

     ท่านนบีมุฮัมมัด ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ให้อภัยชาวมักกะอฺในวันที่เข้าพิชิตนครมักกะฮฺ ท่านได้กล่าวแก่ชาวกุเรช ซึ่งเป็นศัตรูของท่านและขับไล่ท่านออกไปจากนครมักกะฮฺว่า ฉันเหมือนดังพวกท่าน(ความเป็นพี่น้องกัน)ฉันขอกล่าวแก่พวกท่านเหมือนกับที่นบียูซุฟ ได้กล่าวแก่พี่น้องของเขาว่า

 

لَا تَثْرِيبَ عَلَيْكُمُ الْيَوْمَ يَغْفِرُ اللَّهُ لَكُمْ ،

 

 ไม่มีการประณามพวกท่านในวันนี้ พระองค์ทรงอภัยโทษพวกท่าน

 

          ท่านนบีไม่เคยคิดแก้แค้นหรือมีความโกรธที่จะล้างแค้นสำหรับตัวของท่านยกเว้นสิ่งเดียวเท่านั้นที่ท่านนบีมีความโกรธเมื่อสิทธิของอัลลอฮฺถูกละเมิดคือคนหนึ่งกระทำในสิ่งที่เป็นบาปนั้นเอง

 

 

 ดุอาอฺ 

 

اللّهُمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ الْفَقْرِ، وَالْقِلَّةِ، وَالذِّلَّةِ، وَأَعُوذُ بِكَ مِنْ أَنْ أَظْلِمَ أو أُظْلَمَ

 

          “โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความจน และการขาดแคลนทรัพย์สินและความต่ำต้อยและฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากความอธรรมต่อผู้อื่น หรือถูกผู้อื่นอธรรม