อิสลามมีท่าทีอย่างไรต่อทฤษฎีวิวัฒนาการ ?
  จำนวนคนเข้าชม  2152

อิสลามมีท่าทีอย่างไรต่อทฤษฎีวิวัฒนาการ ?

 

อาบีดีณ โยธาสมุทร แปลเรียบเรียง

 

ตอบ อั้ลฮัมดุลิลลาฮฺ

 

         ทฤษฎีวิวัฒนาการนั้น คือ การบอกว่าจักวาลมีขึ้นมาโดยความบังเอิญล้วนๆ ไม่ได้มีขึ้นมาด้วยการสร้าง และไม่ได้มีขึ้นโดยเจตนาและโดยการจัดการใดๆทั้งสิ้น และบอกว่า มนุษย์นั้นมีต้นเดิมมาจากสัตว์เซลเดียว แล้วก็ วิวัฒนาการขึ้นมาในช่วงเวลาหลายล้านปี จนมาถึงการเป็นจุดเชื่อมต่อที่ได้แก่การเป็นลิงชั้นสูง จากนั้นก็มีการวิวัฒนาการต่อไปจนไปจบที่ชั้นที่เป็นที่พบเห็นกันอยู่ ซึ่งก็คือ เป็นมนุษย์ และบอกว่า ผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมานั้นไม่มีอยู่จริง 

 

        โดยทฤษฎีนี้ถูกให้ชื่อว่า ทฤษฎีดาร์วิน ซึ่งบุคคลผู้นี้เขาเป็นเจ้าของทฤษฎีที่ว่านี้ ซึ่งเป็นทฤษฏีที่เป็นที่แพร่หลายกันในสังคมตะวันตกตั้งแต่ราวๆปีค..ที่ ๑๘๕๘ เป็นต้นมา

 

 

 โดยความเป็นเท็จของทฤษฎีๆนี้สามารถแบ่งออกเป็นสี่มุมด้วยกันดังนี้

 

 

มุมที่หนึ่ง 

         ทฤษฎีๆนี้ เป็นทฤษฎีที่ค้านกันอย่างจังกับสัญชาตญาณเดิมของคน เนื่องจากคนเราไม่มีทางจะเชื่อว่าการกระทำนั้น มีขึ้นมาได้โดยปราศจากผู้กระทำ แล้วประสาอะไรกับกรณีที่การกระทำนั้นๆเกิดขึ้นซ้ำๆกันอย่างมีระบบระเบียบที่ชัดเจน ละเอียดและซับซ้อน? 

 

          คนเราไม่มีทางเชื่อว่า หนังสือที่ตัวเองกำลังอ่านอยู่นี้ อักษรของมัน, หน้ากระดาษของมันจะสามารถมาประสานรวมกันเป็นรูปเล่มขึ้นมาได้โดยเป็นผลมาจากการระเบิดของโรงพิมพ์ แล้วประสาอะไรกับจักรวาลและทุกๆอย่างที่แสนจะละเอียดและลงตัวที่มีอยู่ในนั้น มันจะมีขึ้นมาโดยไร้ผู้สร้างที่มีความรู้และมีความประสงค์ได้อย่างไรกัน? ซึ่งเรื่องนี้นับเป็นหนึ่งในหลักฐานเชิงประจักษ์ชิ้นสำคัญที่ยืนยันถึงการมีอยู่จริงของอัลลอฮฺ

 

        จึงสรุปได้ว่า การเข้ามาทำการพิจารณารายละเอียดของจักวาลตลอดจนตัวของสัญชาติญาณเดิมนั้น ทั้งหมดนี้ล้วนปัดให้ทฤษฎีๆนี้เป็นอันต้องตกไปนั่นเอง

 

 

มุมที่สอง 

         ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่นักวิจัยชาวตะวันตกเองหลายๆคนก็ไม่รับ -ซึ่งเรื่องที่เป็นความจริงนั้น ก็คือเรื่องที่ฝ่ายศัตรูเองนี่แหละที่อาสาเข้ามาเป็นพยานยืนยัน- โดยงานวิจัยของนักวิชาการกลุ่มดังกล่าวได้มีการนำมาเผยแพร่ไว้แล้วตามหน้าเว็ปไซต์บางเว็ปไซต์ 

 

        แม้ว่านักวิจัยเหล่านี้จะไม่ใช่มุสลิมแต่ว่าสติปัญญาและสัญชาติญาณเดิมของพวกเขามันชี้นำให้พวกเขาปฏิเสธต่อทฤษฎีนี้ ซึ่งก็ยังไม่มีการตอบโต้อะไรที่ตรงประเด็นต่อพวกเขาเหล่านี้จากฝั่งของพวกที่ดำเนินตามทฤษฎีอันเป็นเท็จที่ว่านี้เลย 

 

         จากข้อมูลนี้จึงสรุปได้ว่า ทฤษฎีนี้ไม่ใช่ทฤษฎีที่ควรแก่การเชื่อถือ และไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่มันตรงกันกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นที่ประจักษ์แต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้น ทฤษฎีนี้ยังกลับเป็นเพียงการพยายามให้ข้อสรุปและคำอธิบายที่ล้วนถูกค้านด้วยงานวิจัยชิ้นอื่นๆอีกมากมายเท่านั้น

 

 

มุมที่สาม 

         หลักฐานทางบทบัญญัติอิสลามได้กล่าวถึงรายละเอียดของจุดเริ่มต้นของการสร้างไว้แล้วก่อนหน้าทฤษฎีนี้เป็นหลายศตวรรษ โดยแจ้งไว้ว่า อัลลอฮฺทรงมีอยู่โดยปราศจากสิ่งได้ทั้งสิ้นมีอยู่ด้วยกับพระองค์ จากนั้นพระองค์ก็ทรงสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมาด้วยเหตุผลอันลึกซึ้งและเหมาะสมของพระองค์และด้วยกับความสามารถของพระองค์ 

 

         ซึ่งหนึ่งในสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นมาก็คือ บิดาของพวกเรา อาดำ อลัยฮิสสลาม โดยทรงสร้างท่านมาจากดินผงแล้วก็ดินโคลน โดยท่านมีความสูงขึ้นไปบนฟ้าหกสิบศอก และทรงสร้างภรรยาของท่านที่ชื่อว่า เฮาวาขึ้นมา จากนั้นนางก็ได้ให้กำเนิดทายาทต่อๆกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 

        จึงสรุปได้ว่า มนุษย์นั้นมีขึ้นมาในสภาพที่เป็นมนุษย์ ซึ่งนี่เป็นการมองภาพอย่างถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องการสร้าง ซึ่งได้มีการบรรยายไว้อย่างละเอียดในอั้ลกุ้รอ่านในหลายซูเราะฮฺด้วยกัน เช่น ซูเราะอฺอั้ลบะก่อเราะฮฺ, ซูเราะฮฺอั้ลอะอฺร้อฟ, ซูเราะฮฺอั้ลฮัจญ์, ซูเราะฮฺอั้ลมุอฺมินูน, ซูเราะฮฺศ้อด, ซูเราะฮฺอั้รเราะฮฺมาน และยังรวมถึงอายะฮฺอื่นๆอีกหลายอายะฮฺเช่น คำพูดของพระองค์ที่ว่า

 

     “เราได้ให้เกียรติแก่ทายาทของอาดำ โดยเราได้บรรทุกพวกเราไว้ทั้งบนบกและในน้ำ และเราได้มอบปัจจัยแก่พวกเขาเป็นสิ่งดีๆมากมาย และเราได้ทำให้พวกเขามีความประเสริฐกว่าผู้ที่เราได้สร้างไว้อีกจำนวนมากเสียอีก 

(ดู อั้ลอิซร้ออฺ/๗๐)

 

        ส่วนในแง่ของการตอบโต้แนวคิดที่ว่า อัลลอฮฺทรงสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา จากนั้นก็ปล่อยให้มันวิวัฒนาการกันขึ้นมาเองโดยไม่ต้องขึ้นกับเดชานุภาพ, พระประสงค์และการสร้างนั้น เราพบคำพูดของพระองค์ ตะอาลา ที่ว่า

 

เราได้สร้างเจ็ดทางเอาไว้ข้างบนพวกเจ้า ซึ่งเรานี้ไม่ใช่ผู้ที่ละเลยต่อสิ่งที่ได้สร้างไว้แต่อย่างใด

(ดู อั้ลมุอฺมินูน/๑๗)

 

และพระองค์ อั้ซซะวะญัล ยังตรัสอีกว่า

 

จากทุกๆสิ่ง เราได้สร้างขึ้นไว้เป็นคู่ๆเพื่อพวกเจ้าจะได้รำลึกกัน

(ดู อั้ซซาริย้าต/๔๙)

 

ท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัม กล่าวไว้ว่า

อัลลอฮฺ ทรงเป็นผู้ทรงสร้างผู้กระทำและการกระทำของเขาขึ้นมา

 

     จึงสรุปได้ว่า ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาทั้งสิ้น ส่วนอัลลอฮฺนั้น พระองค์ทรงเป็นผู้สร้าง พระองค์ ตะอาลาตรัสไว้ว่า

 

อัลลอฮฺ คือพระผู้ทรงสร้างทุกๆสิ่งขึ้นมา และพระองค์ยังทรงเป็นที่พึ่งสำหรับทุกๆสิ่งอีกด้วย 

(ดู อั้ซซุมัร/๖๒,๖๓)

 

        ซึ่งการเชื่อตามทฤษฎีวิวัฒนาการนั้นถือเป็นการปฏิเสธศรัทธา เพราะมันคือการปฏิเสธพระเจ้า,ปฏิเสธความสัจจริงของอัลกุรอ่าน,ปฏิเสธเรื่องของการมีเหตุผลในการมามีชีวิตอยู่และปฏิเสธการฟื้นคืนชีพ

 

     เราไม่ได้สร้างบรรดาฟากฟ้าผืนดินตลอดจนสิ่งที่อยู่ระหว่างฟ้าดินขึ้นมาอย่างเหลวไหล

     นั่นมันเป็นความคิดเอาเองของพวกที่ปฏิเสธ ดังนั้นความวิบัติจากนรกจงเป็นของพวกปฏิเสธเถิด

(ดู ศ้อด/๒๗)

 

 

มุมที่สี่ 

         การใช้ข้อโต้แย้ง ซึ่งหมายถึงการโต้ตอบทฤษฎีนี้ด้วยข้อซักถามทางการใช้สติปัญญาที่เข้ามาหักล้างทฤษฎีที่ว่าลง โดยการพูดกับพวกเขาว่า สิ่งถูกสร้างสิ่งแรกที่เป็นที่มาของการมีวิวัฒนาการขึ้นนั้น มันมีขึ้นมาจากไหน? ตัวของมันคืออะไรก่อนที่จะมีเรื่องของขั้นตอนในการวิวัฒนาการเข้ามาเกี่ยวข้อง? วัตถุจะมีความสามารถในการสร้างสิ่งที่มีชีวิตขึ้นมาได้อย่างไร?

 

         ในเมื่อพวกคุณอ้างกันว่าลิงที่อยู่ในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งได้วิวัฒนาการขึ้นจนกลายเป็นมนุษย์ แล้วทำไมลิงถึงยังคงมีอยู่อีกในปัจจุบัน ทำไมมันถึงไม่วิวัฒนาการ ทั้งๆที่มันก็มีอยู่หลากหลายสายพันธ์เหมือนๆกันกับสิ่งอื่นๆที่มีอยู่ อะไรทำให้วงจรของการวิวัฒนาการเป็นอันต้องยุติลง?

 

         แล้วทำไมมนุษย์ถึงไม่กลายไปเป็นอะไรอื่นบ้าง? และถ้าในเมื่อมนุษย์นั้นวิวัฒนาการขึ้นมา ทำไมจึงไม่บอกว่าการวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นเกิดขึ้นโดยพระผู้สร้างที่ทรงพัฒนามนุษย์ขึ้นด้วยการกระทำของพระองค์ เหมือนที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์ตลอดจนสิ่งอื่นได้มีการวิวัฒนาการขึ้นมา แต่กลับอ้างได้ว่ามันคือผลงานการพัฒนาของผู้พัฒนาที่เป็นมนุษย์?

 

        จึงสรุปได้ว่า เรื่องการวิวัฒนาการนั้นไม่ได้ช่วยให้หนีไปจากการต้องยืนยันว่าพระผู้สร้างนั้นมีจริงได้แต่อย่างใด

         มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ท่าน นี่มันเป็นการใส่ความอันใหญ่หลวงเสียจริง วะศ็อลลัลลอฮุวะซั้ลละมะอลานะบียินามุฮัมหมัด   

 

(الأسئلة الشائعة حول الإسلام، د. عبدالله بن عمر بن طاهر، ص289، دار المحدّث للنشر والتوزيع، الرياض، الطبعة الأولى، 1443هـ.)