สิ่งที่อัลลอฮ์สั่งให้นบีขอเพิ่มตลอดเวลา
  จำนวนคนเข้าชม  2974

สิ่งที่อัลลอฮ์สั่งให้นบีขอเพิ่มตลอดเวลา

 

ดาวุด ธิยัน.... แปลเรียบเรียง

 

‎رَّبِّ زِدْنِي عِلْمًا  [([1]).    "ร็อบบิ ซิดนี อิลมัน"

 

 "โอ้พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ทรงโปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"

 

           พระเจ้าของเราทรงบัญชาใช้นบีของพระองค์มุฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมให้ขอการเพิ่มพูนความรู้จากพระองค์ และยังบัญชาให้นบีของเราสั่งใช้พวกเราให้ขอสิ่งดังกล่าว,และความจริงบัญชาใช้นี้มุ่งไปยังนบีเพราะนบีคือต้นแบบให้แก่ประชาชาตินี้ที่สมบูรณ์แบบที่สุด และเป็นที่รู้กันว่าแท้จริงคำสั่งนี้เพื่อให้เป็นแบบอย่าง มันก็คือคำสั่งให้แก่บรรดาผู้ตามท่านด้วยโดยพื้นฐานเดิม([2]) เว้นแต่จะมีหลักฐานมาเจาะจงเฉพาะท่านนบี

 

ดำรัสของอัลลอฮ์ที่ว่า :

 

 ‎وَقُلْ رَبِّ زِدْنِي عِلْمًا

 

 "และจงกล่าวเถิด(มุฮัมหมัด)ข้าแต่พระเจ้าของข้า พระองค์ขอพระองค์ทรงโปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วย 

(ตอฮา114)

 

          และจงกล่าวเถิดมุฮัมหมัด ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ขอพระองค์ทรงโปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด ยังสิ่งที่พระองค์ทรงสอนข้าพระองค์ พระองค์ทรงบัญชานบีให้ขอต่อพระองค์จากประโยชน์ต่างๆของความรู้จากสิ่งที่เขายังไม่รู้ {3}

 

          อัลลอฮ์ทรงบัญชานบีให้เพิ่มพูนความรู้ และการเพิ่มพูนที่สำคัญที่สุดคือ ความรู้จากอัลกุรอ่าน เพราะมันคือตัวเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาความรู้ ศาสตร์ต่างๆและผลประโยชน์อันมากมายทั้งในดุนยาและอาคิเราะห์ , อัลลอฮ์มิได้สั่งท่านนบีให้ขอการเพิ่มพูนใดๆยกเว้นความรู้ เป็นการยืนยันอย่างชัดเจนถึงความประเสริฐของความรู้, และมันคือการงานที่ดีที่สุด 

"และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังหมั่นขอการเพิ่มพูนและการพัฒนาความรู้จนกระทั่งท่านหมดลมหายใจ [4]

         และเป้าหมายนี้มันคือการขวนขวายพยายามของบรรดาศอฮาบะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮู่ ทุกคน และปรากฏว่าจากดุอาหนึ่งของ อิบนุมัสอู๊ด ร่อฎิยัลลอฮุอันฮู่ นั่นก็คือ :

 

([5])(اللَّهُمَّ زِدْنِي إِيمَانًا وَيَقِينًا وَفَهْمًا, أَوْ قَالَ:وَعِلْمًا))

 

"อัลลอฮุมม่า ซิดนี  อีมานัน วะยะกีนัน วะฟะฮ์มัน "

 

            โอ้อัลลอฮ์ โปรดทรงเพิ่มพูนความศรัทธา ความเชื่อมั่น ความเข้าใจ(ศาสนา)แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด (หรือท่านกล่าวว่า : เพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด)

 

         ดังนั้นนักวิชาการตั้งแต่ทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตก ตั้งแต่ยุคต้นตลอดจนถึงยุคของเราและจวบจนวันกิยามะห์ มีความมุ่งมั่นด้วยกับการขอดุอานี้ และสาละวนอยู่กับมันทั้งยามค่ำคืนและช่วงกลางวัน

 

         และหะดิษหลากหลายสำนวนที่มาสนับสนุนเป้าหมายอันยิ่งใหญ่นี้ และปรากฏว่าส่วนหนึ่งจากดุอาของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั่นก็คือ :

 

([6]).((اللَّهُمَّ انْفَعَني بِمَا عَلَّمْتنِي، وَعَلِّمْنِي مَا يَنْفَعُني، وَزِدْنِي عِلْمًا))

 

"อัลลอฮุมมันฟะอ์นี บิมา อัลลัมตะนี วะอัลลิมนี มา ยันฟะอุนี วะซิดนี อิลมา"

 

           โอ้อัลลอฮ์ โปรดให้ยังประโยชน์แก่ข้าพระองค์จากสิ่งที่พระองค์สอนข้าพระองค์  และทรงสอนข้าพระองค์จากสิ่งที่ยังประโยชน์แก่ข้าพระองค์  และโปรดทรงเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

 

และในอีกสำนวน : 

 

‎([7])((اللهُمَّ انْفَعْنِي بِمَا عَلَّمْتَنِي، وَعَلِّمْنِي مَا يَنْفَعُنِي، وارْزُقْنِي عِلْماً تَنْفَعُنِي بِهِ)).

 

"อัลลอฮุมมันฟะอ์นี บิมาอัลลัมตะนี วะอัลลิมนี มา ยันฟะอุนี วัรซุกนี อิลมัน ตันฟะอุนี บิฮ์"

 

         โอ้อัลลอฮ์โปรดให้ยังประโยชน์แก่ข้าพระองค์จากสิ่งที่พระองค์สอนข้าพระองค์ และโปรดสอนข้าพระองค์จากสิ่งที่ยังประโยชน์แก่ข้าพระองค์ และประทานความรู้ที่พระองค์ให้มันมีประโยชน์แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

 

          ได้มีนักวิชาการบางคนได้วิเคราะห์เอาไว้ว่า : มารยาทการรับความรู้ คือ ที่จริงแล้วผู้ฟังความรู้ จำเป็นสำหรับเขาที่จะต้องใจเย็น และอดทนจนกว่าครูผู้สอนจะเสร็จสิ้นจากคำพูดของเขาที่เกี่ยวโยงกันก่อน และเมื่อเสร็จสิ้นคำพูดแล้ว ก็ค่อยถาม หากเขามีคำถาม อย่าเพิ่งรีบถาม และการตัดบทคำพูดผู้ถ่ายทอดความรู้ มันเป็นสาเหตุของการพลาดความรู้ [8]

 

 


([1]) سورة طه، الآية: 114.

([2])  قواعد التفسير، 2/ 579.

([3])  تفسير الطبري، 5/ 325.

([4])  تفسير ابن كثير، 3/ 230.

([5])  أخرجه الطبراني في المعجم الكبير، 9/ 105، والبيهقي في شعب الإيمان، 1/ 149، وقال الهيثمي في مجمع الزوائد، 10/ 296: ((رواه الطبراني وإسناده جيد)).

([6]) سنن الترمذي، كتاب الدعوات، باب حدثنا أبو كريب، برقم 3599، وسنن ابن ماجه، المقدمة، باب الانتفاع بالعلم والعمل به، برقم 251، ومصنف ابن أبي شيبة،

10 / 281، والبيهقي في شعب الإيمان، 4/ 91، ومسند عبد بن حميد، 2/ 32، والطبراني في الأوسط، 2/ 208، وصححه الألباني في صحيح الترمذي، برقم 2845.

([7])  هذا اللفظ في: السنن الكبرى للنسائي، كتاب صفة الصلاة، نوع آخر، 4/ 444، برقم 7808، وشعب الإيمان، للبيهقي، 6/ 18، والدعوات الكبير له أيضاً، ص 158، ومستدرك الحاكم، 1/ 510، والديلمي في الفردوس، 1/ 135، وقال الحاكم: ((صحيح على شرط مسلم ولم يخرجاه))، ووافقه الذهبي، وقال الألباني في السلسلة الصحيحة، 11/ 9: ((وهو كما قالا)).

([8])  تفسير ابن سعدي، 5/ 194.

 

 

https://kalemtayeb.com/safahat/item/3064