สี่ประการที่นบีขอให้รอดพ้นจากมัน
  จำนวนคนเข้าชม  2765

สี่ประการที่นบีขอให้รอดพ้นจากมัน

 

ดาวุด ธิยัน  แปลเรียบเรียง

 

اللَّهُمَّ إِنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنْ مُنْكَرَاتِ الْأَخْلَاقِ، وَالْأَعْمَالِ، وَالْأَهْوَاءِ [1]

 

"อัลลอฮุมม่า อินนี อะอูซู่บิก้า มินมุนกะรอติลอัคลาก วัลอะอ์มาล วัลอะฮ์วาอ์ วัลอัดวาอ์"

 

          ความหมาย : โอ้อัลลอฮ์ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้รอดพ้นจากมารยาทที่ไม่ดี จากการงาน(ที่เลวร้าย) และจากอารมณ์ใฝ่ต่ำ(ที่นำพาไปสู่ความเสียหาย)  (ในบางรายงานเพิ่มคำว่า) และจากโรคภัยไข้เจ็บทั้งหลาย

 

คำศัพท์

 

      มุนกะร็อต = ความเสื่อมเสีย ทุกๆพฤติกรรมที่สอดคล้องกับสติปัญญาที่มองว่ามันน่ารังเกียจ และบทบัญญัติก็ตัดสินว่ามันน่ารังเกียจ

 

      อัลอะฮ์วาอ์ = คือการหันเหและการลุ่มหลงในความคลุมเคลือและอารมณ์ใฝ่ต่ำ

 

      อัลอัดวาอ์ = พหูพจน์ของคำว่า ดาอุน มันคือ โรคภัยไข้เจ็บ

 

คำอธิบาย

 

قوله: ((اللَّهم إني أعوذ بك من منكرات الأخلاق)): أي يا اللَّه أجرني من الأخلاق السيئة التي ينكرها العباد، كالحقد، والحسد, 

[والكبر]، والبخل, والجبن, وسوء اللسان من: السب، والشتم، والقذف، والتعدي بالجوارح: بالضرب باليد، أو الرجل؛ 

فإن الأخلاق المنكرة سببٌ لجلب كل شر، ودفع كل خير .

 

คำว่า : โอ้อัลลอฮ์ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้รอดพ้นจากความเสื่อมเสียในมารยาท 

          หมายถึง : โอ้อัลลอฮ์โปรดปกป้องข้าพระองค์ให้รอดพ้นจากมารยาทที่ไม่ดีซึ่งผู้คนรับไม่ได้ เช่น ความอิจฉา ความเย่อหยิ่ง ความตระหนี่ ความขี้ขลาด และจากคำพูดที่ไม่ดี จากการด่าทอ การใส่ร้าย และจากการละเมิดทางกาย เช่นการทุบตีด้วยมือหรือเท้า  เพราะมารยาทที่ไม่ดีนั้นคือสาเหตุที่นำพามาซึ่งทุกความชั่วร้าย และปิดกั้นจากทุกความดีงาม

 

قوله: ((والأعمال)): أي أعوذ باللَّه من الأعمال السيئة: كالقتل، والزنى، وشرب الخمر، 

والسرقة, والبطش, والتعدي, والظلم بغير حق، وغير ذلك .

 

และคำที่ว่า : จากการงานทั้งหลาย

         หมายความว่า : ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากการงานที่เลวร้าย เช่น การเข่นฆ่า การผิดประเวณี การดื่มของมึนเมา การลักขโมย การข่มขู่ การละเมิด การอธรรมโดยมิชอบ และอื่นๆ

 

قوله: ((الأهواء)): جمع هوى، وهو هوى النفس, وميلها إلى المستلذات, والانهماك في الشهوات الباطلة, والاستعاذة كذلك من الزيغ والضلالات الفاسدة في الاعتقادات، والشبهات فإن الشر كل الشر أن يكون الهوى يُصيِّر صاحبه باتباعه كالعابد له, فلا شيء في الشر أزيد منه؛ لأنه يضيع الدنيا والدين والعياذ باللَّه، قال اللَّه سبحانه وتعالى قوله: 

 

และคำพูดที่ว่า : และอารมณ์ใฝ่ต่ำ

          หมายความว่า : มันคือพหูพจน์ของคำว่า ฮาวา และฮาวา คือ อารมณ์  และการคล้อยตามของมันไปสู่ความสุขต่างๆ การจมปลักอยู่ในอารมณ์ที่หลงผิด และการขอความคุ้มครองต่อสิ่งดังกล่าว จากการหันเห(ออกจากสัจธรรม)และความหลงผิดที่สร้างความเสียหายในด้านความเชื่อ และความคลุมเคลือต่างๆ เพราะแท้จริงความชั่วทุกความชั่วคือการที่อารมณ์ใฝ่ต่ำฉุดเจ้าของมันให้หลงตามมัน เฉกเช่นเป็นบ่าวของมัน ไม่มีสิ่งใดจะเลวร้ายเกินกว่านั้นอีกแล้ว เพราะแท้จริงมันสร้างสียหายทั้งทางโลกและทางธรรม วัลอิยาซู่บิลละห์ 

อัลลอฮ์ ตะอาลา ตรัสไว้ว่า :

 

‎أَفَرَءَيۡتَ مَنِ ٱتَّخَذَ إِلَٰهَهُۥ هَوَىٰهُ وَأَضَلَّهُ ٱللَّهُ عَلَىٰ عِلۡمٖ وَخَتَمَ عَلَىٰ سَمۡعِهِۦ وَقَلۡبِهِۦ وَجَعَلَ عَلَىٰ بَصَرِهِۦ غِشَٰوَةٗ فَمَن يَهۡدِيهِ مِنۢ بَعۡدِ ٱللَّهِۚ أَفَلَا تَذَكَّرُونَ

 

เจ้าเคยเห็นผู้ที่ยึดถือเอาอารมณ์ต่ำของเขาเป็นพระเจ้าของเขาบ้างไหม ? 

และอัลลอฮฺจะทรงให้เขาหลงทางด้วยการรอบรู้ (ของพระองค์) 

และทรงผนึกการการฟังของเขาและหัวใจของเขา และทรงทำให้มีสิ่งบดบังดวงตาของเขา 

ดังนั้นผู้ใดเล่าจะชี้แนะแก่เขาหลังจากอัลลอฮฺ พวกเจ้ามิได้ใคร่ครวญกันดอกหรือ ?”

 (อัลจาซิยะห์ อายะห์ที่23)

 

((والأدواء)): [جمع داء، وهو المرض، والمعنى:] أعوذ بك من منكرات الأسقام، والأمراض الخطيرة, مثل الجذام، والبرص، والسل، والسرطان والأيدز، وغير ذلك، فهذه كلها بوائق الدهر, وإنما استعاذ صلى الله عليه وسلم من هذه الأربع المنكرات؛ لأن ابن آدم لا ينفك منها في تقلبه في ليله ونهاره([4]).

 

ส่วนคำว่า : และรอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ

          หมายความว่า : โอ้อัลลอฮ์ข้าพระองค์ขอความคุ้มครองจากพระองค์ ให้รอดพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บที่อันตรายทั้งหลาย เช่นโรคด่างขาว จากโรคเรื้อน จากวัณโรค จากโรคมะเร็ง จากโรคเอดส์ และอื่นๆ เพราะทั้งหมดที่ว่ามานั้นมันคือช่วงเวลาที่ทนทุกข์ทรมาน ที่ท่านนบีได้ขมวดขอความคุ้มครองจากสี่ประการที่เลวร้ายนี้ เพราะแท้จริงลูกหลานอาดำไม่สามารถหลีกหนีออกจากมันไม่ว่าวันเวลาจะผันผวนไปแค่ไหนก็ตาม 

 

 

 


 

([1]) الترمذي، كتاب الدعوات، باب دعاء أم سلمة، برقم 3591، وابن حبان، 3/ 240، برقم 960، والحاكم، 1/ 532، والطبراني في الكبير، 19/19/36، والبيهقي في الدعوات الكبير، 1/ 351، والترمذي الحكيم في نوادر الأصول، 1/ 203، وصححه الألباني في صحيح الترمذي، 3/184.

([2])  انظر: الفتوحات الربانية، 3/ 640، وفيض القدير، 2/ 100.

([3]) سورة الجاثية، الآية: 23.

([4])  تحفة الذاكرين، ص 422، وفيض القدير، 2/ 110 بتصرف.

 

 

https://kalemtayeb.com/safahat/item/3115