ห้าม ! อุตริในศาสนา
  จำนวนคนเข้าชม  5496

ห้าม ! อุตริในศาสนา

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

عَنْ اُمِّ المُؤْمِنِيْنَ اُمِّ عَبْدِ اللهِ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا قَالَتْ : قَالَ رَسُوْلُ اللهِ ﷺ :

" مَنْ أَحْدَثَ فِيْ أَمْرِنَا هَذَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ "

رَوَاهُ البُخَارِيُّ وَمُسْلِمٌ. وَفِيْ رِوَايَةٍ لِمُسْلِمٍ : " مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَرَدٌّ " .

 

      จากมารดาของศรัทธาชนทั้งหลาย อุมมุ อับดิลลาฮฺ นั่นคือท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา เล่าว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺกล่าวว่า 

ใครก็ตามที่อุตริในกิจการศาสนาของเรานี้ ซึ่งสิ่งที่เราไม่ได้สั่งใช้ ดังนั้นสิ่งที่อุตริขึ้นมานั้นย่อมถูกปฏิเสธ

( บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

      และในการบันทึกของมุสลิมมีสำนวนว่า: ใครก็ตามที่ปฏิบัติกิจการใดกิจการหนึ่ง ซึ่งเราไม่ได้สั่งใช้ ดังนั้นกิจการนั้นจะถูกปฏิเสธ

 

 

ความหมายคำว่า บิดอะฮฺ

     บิดอะห์ ในด้านภาษาศาสตร์ หมายถึง สิ่งใหม่ๆที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น

     อิมาม อัชชาฏิบีย์ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า مَا اخْتُرِعَ عَلَى غَيْرِ مِثَالٍ سَابِق “(บิดอะห์) คือ สิ่งต่างๆที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีแบบอย่างก่อนหน้านี้

     ท่าน เชคอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ กล่าวว่า “(บิดอะห์)ในศาสนา คือ อัลลอฮฺและร่อซูลมิได้ทรงบัญญัติและมิได้มีคำสั่งใช้หรือส่งเสริมให้ปฏิบัติ

 

องค์ประกอบ บิดอะห์ มีสามประการ

เกิดขึ้นใหม่ในศาสนา

สิ่งเพิ่มเติมในศาสนา

สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่มีที่มาของหลักฐาน ทั้งแบบเฉพาะเจาะจง และโดยรวม

 

     จากท่านอบู นะญีหฺ อัล-อิรบาฎฺ อิบนุ สาริยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

وَإِيَّاكُمْ وَمُحْدَثَاتِ الأمُوْرِ فَإِنَّ كُلَّ بِدْعَةٍ ضَلَالَةٌ

 

"และพวกท่านจงพึงระวังต่ออุตริกรรมทั้งหลายในศาสนา เพราะทุกๆ อุตริกรรม(บิดอะฮฺ) นั้นคือความหลงผิด

(หะดีษบันทึกโดยอบูดาวูด และอัต-ติรมิซีย์)

 

การประดิษฐ์ขึ้นใหม่หรืออุตรินั้นมีสองแบบ คือ

 

     1. การประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในด้านทั่วไป (สิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา) ได้แก่การคิดค้นเครื่องมือสมัยใหม่ต่างๆ มากมาย ซึ่งสิ่งดังกล่าวนี้ล้วนแล้วเป็นที่อนุญาตให้กระทำได้ เนื่องจากกฎเดิม(ทางศาสนา)ในเรื่องราวทางโลก เป็นสิ่งที่อนุญาต เว้นแต่จะมีตัวบทหลักฐานมากำกับห้ามสิ่งดังกล่าวไว้

 

     2. การประดิษฐ์ใหม่ในด้านศาสนาคือ การอุตริกรรมในเรื่องราวของศาสนา ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ต้องห้าม หะดีษบทนี้บอกถึงความสำคัญหนึ่งในบรรดารากฐานของศาสนา ต่อการยึดมั่นต่ออัลกุรอานและสุนนะฮฺของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม คือทางรอดพ้นจากบิดอะฮฺและความหลงผิดทั้งหลาย 

 

     พระองค์อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า:

﴿وَأَنَّ هَـذَا صِرَاطِي مُسْتَقِيماً فَاتَّبِعُوهُ وَلاَ تَتَّبِعُواْ السُّبُلَ فَتَفَرَّقَ بِكُمْ عَن سَبِيلِهِ﴾

 

และแท้จริงนี่คือแนวทางของข้าอันเที่ยงตรง ดังนั้นพวกเจ้าทั้งหลายจงปฏิบัติตามมันเถิด

และจงอย่าได้ปฏิบัติตามแนวทางอื่นๆ เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกจากแนวทางของพระองค์

(อัล-อันอาม : 153)

 

     และท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้อธิบายความหมายนี้ไว้อย่างชัดเจน ดังเช่นรายงานหนึ่งที่ว่า:

 

«عن ابن مسعود قال: خط لنا رسول الله صلى الله عليه وسلم خطا ثم قال: «هذا سبيل الله» ثم خطّ خطوطا عن يمينه وعن شماله ثم قال: «هذه سبل، على كل سبيل منها شيطان يدعو إليه» ثم قرأ ﴿وَأَنَّ هَـذَا صِرَاطِي مُسْتَقِيماً فَاتَّبِعُوهُ وَلاَ تَتَّبِعُواْ السُّبُلَ فَتَفَرَّقَ بِكُمْ عَن سَبِيلِهِ﴾

 

      จากท่านอิบนิมัสอูด เราะฎิยัลลอฮฮุอันฮุ เล่าว่า: ท่านนบี มุหัมมัดศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ขีดเส้นหนึ่งเส้นให้พวกเรา 

     หลังจากนั้นท่านกล่าวว่านี่คือทางของพระองค์อัลลอฮฺหลังจากนั้นท่านได้ขีดอีกหลายๆ เส้นจากทางขวาของท่าน และทางซ้ายของท่าน

     หลังจากนั้นท่านก็กล่าวว่านี่คือแนวทางที่หลากหลาย บนทุกๆ เส้นทางที่หลากหลายนั้นมีชัยฏอนที่คอยเชิญชวนให้เข้าหามัน 

     หลังจากนั้นท่าน นบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็ได้อ่านอายะฮฺอัลกุรอานความว่า

     และแท้จริงนี้คือแนวทางของข้าอันเที่ยงตรงดังนั้นพวกเจ้าจงปฏิบัติตามมันเถิด และจงอย่าปฏิบัติตามแนวทางต่างๆ เพราะมันจะทำให้พวกเจ้าแยกออกจากแนวทางของพระองค์ 

(รายงานโดย อะหฺมัด)

          อิสลามห้ามกระทำใดๆ ที่เป็นการอุตริหรือประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในศาสนาของอัลลอฮฺถือแม้ว่าจะมีจิตใจด้วยความบริสุทธิ์ใจก็ตาม หรือแม้ว่าการกระทำนั้นเป็นรูปแบบที่ผู้คนชอบและหลงใหลก็ตาม

 

     การปฏิบัติตามหลักบทบัญญัติจะต้องประกอบไปด้วย 6 อย่างด้วยกันคือ  สาเหตุ , ชนิดหรือประเภท , จำนวน , รูปแบบ , เวลา , สถานที่

 

เรื่องสาเหตุ

        การปฏิบัติการงานนั้นจะต้องถูกหลักการทางบทบัญญัติในด้านของสาเหตุนั้นๆ เช่น หลังอาบน้ำละหมาดเสร็จแล้วจะมีสุนนะฮฺให้ละหมาดสองร็อกอะฮฺ หากว่ากระทำโดยไม่มีหลักฐานเช่น ละหมาดสองร็อกอะฮฺทุกๆครั้งหลังจากเข้าบ้าน อันนี้ถือว่า เป็นบิดอะฮฺ

 

เรื่องของชนิดหรือประเภท

      การปฏิบัติการงานนั้นจะต้องถูกหลักการทางบทบัญญัติในด้านของชนิดหรือประเภทนั้นๆ เช่น นำสัตว์ ไก่มาทำอุดฮียะฮ์ (สัตว์กุรบาน) ถือว่าการงานนั้นจะไม่ถูกรับ เพราะว่าสัตว์มาทำอุดฮียะฮ์ (สัตว์กุรบาน) สัตว์สี่เท้า แพะ แกะ วัว อูฐ

 

เรื่องของจำนวน

     การปฏิบัติการงานนั้นจะต้องถูกหลักการทางบทบัญญัติในด้านของจำนวนนั้นๆ เช่น เรื่องของการอาบน้ำละหมาดซึ่งเขาตั้งใจล้างอวัยวะทุกๆส่วนหกครั้งด้วยกัน หรือตั้งใจจะละหมาดอัสรีห้าร็อกอะฮฺ การกระทำแบบนี้มาถูกตอบรับเพราะว่าขัดต่อบทบัญญัติของศาสนา

 

เรื่องของรูปแบบ

     การปฏิบัติการงานนั้นจะต้องถูกหลักการทางบทบัญญัติในด้านของวิธีการหรือรูปแบบนั้นๆ เช่น หากชายคนหนึ่งละหมาดโดยที่เขานั้นจะทำการสูญูดก่อนรูกั่วะทุกๆครั้งในละหมาด หรือ ทำการอะซานหลังจากละหมาดอีซาเสร็จแล้ว การกระทำแบบนี้ไม่ถูกตอบรับเพราะว่าคัดต่อบทบัญญัติของศาสนา

 

เรื่องของเวลา

     การปฏิบัติการงานนั้นจะต้องถูกหลักการทางบทบัญญัติในด้านของเวลานั้นๆ เช่น หากชายคนหนึ่งทำการละหมาดโดยที่ยังไม่เข้าสู่เวลาละหมาด การกระทำแบบนี้มาถูกตอบรับเพราะว่าคัดต่อบทบัญญัติของศาสนา

 

เรื่องของสถานที่

     การปฏิบัติการงานนั้นจะต้องถูกหลักการทางบทบัญญัติในด้านของสถานที่นั้นๆ เช่น หากชายคนหนึ่งทำการเดินวนรอบกูโบร์แทนที่ของกะบะฮฺ การกระทำแบบนี้มาถูกตอบรับเพราะว่าคัดต่อบทบัญญัติของศาสนา

 

เงื่อนไขที่จะทำให้การทำงานนั้นถูกรับ งานใดก็แล้วแต่ที่คนมุสลิมทำลงไปนั้นจะยังไม่ถูกรับนอกจากต้องครบ 2 เงื่อนไขคือ:

 

- ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจพื่ออัลลอฮ์

     ดังเช่นที่พระองค์ ได้ตรัสไว้ในซูเราะฮ์ อัซซุมัร อายะฮ์ที่ 2-3 ความว่า :

فَاعْبُدِ اللَّهَ مُخْلِصًا لَّهُ الدِّينَ أَلا لِلَّهِ الدِّينُ الْخَالِصُ

     "ดังนั้นเจ้าจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์โดยเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ใจในศาสนาต่อพระองค์ พึงทราบเถิดว่าการอิบาดะฮ์โดยบริสุทธิ์ใจนั้นเป็นของอัลลอฮ์องค์เดียว

 

และท่านนบี ได้กล่าวไว้ว่า

إِنَّمَا الأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ     แท้จริงกิจการงานต่างๆนั้นขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์

(บันทึกโดยบุคคอรีย์และมุสลิม)

 

- การกระทำตามหลักศาสนบัญญัติ

      ดังที่ท่านนบี ได้กล่าวว่า

مَنْ عَمِلَ عَمَلاً لَيْسَ عَلَيْهِ أَمْرُنَا فَهُوَ رَدٌّ

ใครที่ทำงานหนึ่งงานใด โดยที่มิได้มีคำสั่งของเรา การงานนั้นจะไม่ถูกตอบรับ 

(บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม)