ความประเสริฐของการเชิญชวนสู่อัลลอฮฺ
อับดุลวาเฮด สุคนธา
عَنْ أَبِيْ هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ قَالَ : قَالَ رَسُولُ اللهِ ﷺ :« مَن دَعا إلى هُدًى، كانَ له مِنَ الأجْرِ مِثْلُ أُجُورِ مَن تَبِعَهُ، لا يَنْقُصُ ذلكَ مِن أُجُورِهِمْ شيئًا، ومَن دَعا إلى ضَلالَةٍ، كانَ عليه مِنَ الإثْمِ مِثْلُ آثامِ مَن تَبِعَهُ، لا يَنْقُصُ ذلكَ مِن آثامِهِمْ شيئًا »
ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า
“ผู้ใดเชิญชวนไปสู่ทางนำ เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้กระทำตามเขา โดยที่ผลบุญของพวกเขา(คือ คนที่ทำตาม)นั้นจะไม่ได้ลดน้อยลงแต่ประการใด
และผู้ใดที่เชิญชวนไปสู่การหลงผิด เขาจะได้รับบาปเท่ากับบาปของผู้ที่กระทำตามเขา โดยบาปของพวกเขา(คือ คนที่ทำตาม)นั้นจะไม่ได้ลดน้อยลงแต่ประการใด”
(บันทึกโดยมุสลิม)
อธิบาย
การเชิญชวนมนุษย์สู่อิสลามเป็นสิ่งจำเป็นเหนือประชาชาติมุสลิมเมื่อท่านนบีมูฮัมมัด ศ็อลลอลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นนบีและเราะสูลที่ประเสริฐสุดในบรรดานบีและเราะสูลทั้งหลาย และท่านคือนบีและเราะสูลคนสุดท้าย และประชาชาติของท่านคือประชาชาติที่ดีเลิศที่สุดในบรรดาประชาชาติทั้งหลาย และยังเป็นประชาชาติสุดท้าย อัลลอฮฺได้มอบให้แก่ประชาชาตินี้ซึ่งภาระหน้าที่ของบรรดานบีและเราะสูล
และอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮุ วะตะอาลา ได้ตรัสอีกว่า
وَلْتَكُن مِّنكُمْ أُمَّةٌ يَدْعُونَ إِلَى ٱلْخَيْرِ وَيَأْمُرُونَ بِٱلْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ ٱلْمُنكَرِ ۚ وَأُوْلَٰٓئِكَ هُمُ ٱلْمُفْلِحُونَ
“และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดี และใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ
และห้ามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบ และชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ ”
(อาละอิมรอน : 104)
และอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสอีกว่า
وَمَنْ أَحْسَنُ قَوْلًا مِّمَّن دَعَآ إِلَى ٱللَّهِ وَعَمِلَ صَٰلِحًا وَقَالَ إِنَّنِى مِنَ ٱلْمُسْلِمِينَ
“จงกล่าวเถิดมูหัมมัด นี่คือแนวทางของฉัน ฉันเรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺอย่างประจักษ์แจ้งทั้งตัวฉันและผู้ปฏิบัติตามฉัน
และมหาบริสุทธิ์แห่งอัลลอฮฺ ฉันมิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคี”
(ยูซุฟ : 108)
และตรัสอีกว่า
ادْعُ إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ وَجَادِلْهُم بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ
“จงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระเจ้าของสูเจ้าโดยสุขุม และการตักเตือนที่ดี และจงโต้แย้งพวกเขาด้วยสิ่งที่ดีกว่า”
(ซูเราะฮฺอัน-นะห์ลิ:125)
จากสะฮฺลฺ บิน สะอฺดฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวแก่อะลี บิน อะบีฏอลิบ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ในช่วงสงครามค็อยบัรฺว่า
انْفُذْ عَلَى رِسْلِكَ، حَتَّى تَنْزِلَ بسَاحَتِـهِـمْ، ثمَّ ادْعُهُـمْ إلَى الإسْلامِ، وَأَخْبرْهُـمْ بمَا يَـجبُ عَلَيْـهِـمْ مِنْ حَقِّ الله فِيهِ، فَوَالله لأَنْ يَـهْدِيَ الله بكَ رَجُلاً وَاحِداً خَيْرٌ لَكَ مِنْ أَنْ يَكُونَ لَكَ حُـمْرُ النَّعَمِ».
“ท่านจงเดินไปอย่างช้าๆ จนกว่าจะถึงหมู่บ้านของพวกเขา หลังจากนั้นเจ้าจงเชิญชวนพวกเขาสู่อิสลาม
และจงอธิบายแก่พวกเขาถึงสิ่งที่เป็นวาญิบ(จำเป็น)เหนือพวกเขาในสิ่งที่เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ
ฉันขอสาบานด้วยอัลลอฮฺ หากอัลลอฮฺทรงประทานฮิดายะฮฺ(การชี้ทางนำ)แก่คนหนึ่งเนื่องจากการเชิญชวนของท่าน
แน่นอนมันเป็นสิ่งประเสริฐยิ่งกว่า(การที่ท่านได้รับ)อูฐแดงเสียอีก”
(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ มุสลิม)
จากอะบีสะอีด อัลคุฎรีย์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ ได้กล่าวว่าฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัมได้กล่าวว่า
«مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَراً فَلْيُـغَيِّرْهُ بِيَدِهِ، فَإنْ لَـمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِـهِ، فَإنْ لَـمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِـهِ، وَذَلِكَ أَضْعَفُ الإيمَانِ».
“ผู้ใดในหมู่พวกท่านพบเห็นสิ่งชั่วช้าหนึ่งๆ ก็จงเปลี่ยนแปลง (ขจัด) สิ่งนั้นด้วยมือของเขา
แต่หากว่าเขาไม่สามารถ (ระงับสิ่งเหล่านั้นด้วยมือ) ก็จงเปลี่ยนแปลงด้วยลิ้น (วาจา) ของเขา
แต่หากเขายังไม่สามารถ (ระงับสิ่งนั้นด้วยวาจา) ก็จงเปลี่ยนแปลงด้วยจิตใจของเขา (ความรู้สึกที่รังเกียจต่อสิ่งนั้น)
และ (การเปลี่ยนแปลงด้วยจิตใจนั้น) นั้นถือว่าเป็นศรัทธาที่อ่อนแอที่สุด”
(บันทึกโดยมุสลิม)
การเรียกร้องเชิญชวนไปสู่อัลลอฮฺ เป็นภารกิจของบรรดาเราะสูล และมันก็เป็นวิถีทางของผู้ศรัทธา ผู้ที่มีความรู้ อัลลอฮฺทรงบัญญัติใช้ในคัมภีร์ของพระองค์ และท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้สนับสนุนให้ทำ และบอกถึงรางวัลอันยิ่งใหญ่ในการดังกล่าวเรียกร้องแด่มุสลิมทุกๆคนที่มีความรู้ยืนหยัดปฏิบัติหน้าที่ตรงนี้ในการเรียกร้องเชิญชวนผู้คนไปสู่ศาสนาอัลอิสลามเท่าที่มีความสามารถ
สิ่งที่ได้รับประโยชน์จากหะดีษนี้
- ความประเสริฐของการเชิญชวนไปสู่ศาสนาของอัลลอฮฺ
- รางวัลตอบแทนอันยิ่งใหญ่สำหรับผู้ที่เรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺ
- และผู้ใดที่เชิญชวนผู้คนให้มาทำความดี เขาก็จะได้รับผลบุญเหมือนกับผู้ปฏิบัติตามเขาด้วย
- และผู้ใดที่หักห้ามผู้คนไม่ให้ทำความชั่ว เขาก็จะได้รับผลบุญจากการตักเตือนผู้คนมิให้กระทำบาปเช่นกัน