สังเวียนและช่องทางต่างๆในการสร้างความเป็นตะวันตกให้แก่สังคมมุสลิม
อาบีดีณ โยธาสมุทร ผู้วิจัย
บทที่ ๒ ช่องทางต่างๆของการทำให้เป็นตะวันตก
เป็นที่ทราบดีว่า การที่ศัตรูจะสามารถทำให้แผนการของพวกตนที่มีต่อชาวมุสลิมสำเร็จขึ้นได้นั้น พวกเขาต้องอาศัยช่องทางต่างๆมากมายเพื่อที่จะใช้ในการทำให้แผนการของพวกเขาเป็นจริงขึ้นมา ซึ่งช่องทางที่ว่านี้ ก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบและมากประเภท บ้างก็เป็นทางตรงและชัดเจน และบ้างก็เป็นทางอ้อมและมีความแยบยลสูงจนยากที่จะเท่าทัน
ซึ่งส่วนหนึ่งจากบรรดาช่องทางในการทำให้เป็นตะวันตกอย่างตรงไปตรงมานั้น ได้แก่ การใช้วิธีการทำสงครามและรุกรานด้วยอาวุธและกำลังพล ซึ่งช่องทางนี้ปรากฏให้พบอย่างชัดเจนมาแล้วในการทำสงครามเพื่อล่าอาณานิคมซึ่งสามารถให้ลักษณะได้ว่า เป็นช่องทางที่อยู่ในรูปแบบของการขู่บังคับและกดขี่ เนื่องจากชาติตะวันตกหลายชาติได้เข้ามาบังคับให้ชาติที่ตนล่าไว้เป็นเมืองขึ้นจำต้องดำเนินตามวิถีทางอย่างตะวันตก ทั้งในเรื่องของการเมืองการปกครอง, การบังคับใช้กฏหมายที่เขียนกันขึ้นมาเองโดยไม่อิงกับบทบัญญัติศาสนา ตลอดจนในเรื่องอื่นๆด้วย
และในทำนองที่ใกล้เคียงกันกับที่กล่าวมาก็คือ การใช้มาตรการการกดดันทางเศษฐกิจ การตัดความสัมพันธ์ทางการค้าและการฑูต และการยุติการมอบความช่วยเหลือเชิงมนุษยธรรม ดังที่สามารถพบเห็นและสังเกตุได้จากข่าวคราวที่มีการเผยแพร่ไว้เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มประเทศชาติตะวันตก และกลุ่มประเทศชาติอิสลาม
เช่นกัน ในจำนวนของเรื่องที่จัดอยู่ในลักษณะของช่องทางในการทำให้เป็นตะวันตกแบบตรงไปตรงมาก็คือ การกำหนดให้ต้องเป็นเช่นนั้นผ่านช่องทางการวางกฏหมาย(การบังคับด้วยกฏหมาย) ดังที่เคยเกิดขึ้นในยุคของมุศตอฟา กะม้าล -ผู้ทำการยกเลิกการปกครองของอาณาจักรอ้อตโตมันลง และทำการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นระบอบประชาธิบไตรเสียแทนในปีค.ศ. ๑๙๒๓- ที่กระทำไว้ในกฏหมายของเขา “กฏหมาย ๒๕ พฤศจิกายน”
โดยได้ทำการกำหนดให้การแต่งกายแบบยุโรปเป็นที่เครื่องแบบสำหรับประชาชนทั้งหมดในทุกระดับชั้น ซึ่งเขาไม่เพียงแต่ต้องการจะทำให้ประชาชนของเขาเปลี่ยนแปลงเฉพาะภาพลักษณ์ภายนอกให้สอดคล้องกับธรรมเนียนของตะวันตกเท่านั้น แต่เขายังต้องการที่จะให้ประชาชนได้ดื่มเอาจิตวิญญาณแห่งตะวันตกเข้าไปไว้ด้วย ซึ่งเรื่องนี้ย่อมไม่สามารถไปถึงเป้าหมายตามที่ได้วางไว้ได้นอกจากจะด้วยกับการสลัดเอาตัวเขียนที่ประกอบด้วยอักษรภาษาอาหรับทิ้งไปให้หมดเสียก่อนเท่านั้น กระทั้งถึงขั้นที่ว่า มีการออกคำสั่งให้ทำการยกเลิกการอะซานเป็นภาษาอาหรับลงกันเลยทีเดียว
และอีกหนึ่งช่องทางในการทำให้เป็นตะวันตกอย่างตรงไปตรงมาก็คือ การใช้วิธีชุมนุมประท้วง โดยหนึ่งในตัวอย่างของช่องทางนี้ -ในกรณีของการทำให้เป็นตะวันตกในแง่ของระบอบการปกครอง-ก็ได้แก่ การชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตรที่ถูกให้ชื่อว่า ฤดูใบไม้ร่วงของชาติอาหรับ(Arab Spring) และอีกตัวอย่างหนึ่ง -ในกรณีของการทำให้เป็นตะวันตกในเรื่องเกี่ยวกับสตรี- ก็ได้แก่ การรวมตัวของสตรี ๔๐ คน ในเขต อั้ซซะฟาร้อต ที่กรุงริยาด เมื่อวันที่ ๑๙/๔/ฮ.ศ. ๑๔๑๑ ตรงกับปีค.ศ.ที่ ๑๙๙๑ เพื่อเรียกร้องเรื่องเสรีภาพสตรี
สำหรับในส่วนของช่องทางต่างๆของการทำให้เป็นตะวันตกที่มีลักษณะแยบยลและเป็นช่องแบบทางแอบแฝงนั้น มีอยู่ด้วยกันมากมายและหลากหลาย ซึ่งในบรรดาช่องทางดังกล่าวที่มีความสำคัญที่สุด มีดังนี้
การศึกษาและการเรียนการสอน
ช่องทางนี้ถือเป็นช่องทางแบบแอบแฝงที่มีความสำคัญและทรงอิทธิพลที่สุดของแนวคิดการทำให้เป็นตะวันตก เนื่องจากช่องทางๆนี้จัดอยู่ในสถานะของฐานรากสำหรับการเปลี่ยนให้สังคมมุสลิมกลายไปเป็นตะวันตกเลยทีเดียว เนื่องจากการสามารถครอบงำภาคการศึกษาและการเรียนการสอนไว้ได้นั้น “เท่ากับเป็นการครอบครองอนาคตของอุมมะฮฺนี้ไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จแล้วนั่นเอง อีกทั้งยังเท่ากับเป็นการสามารถเข้ามาควบคุมก้าวเดินและทิศทางต่างๆของอุมมะอฺไว้ได้อย่างละเอียดในทุกๆแง่มุมของกิจกรรมของผู้คนในอุมมะฮฺอีกด้วย”
และภายใต้ระบบกลไกลของช่องทางๆนี้ก็มีฟันเฟืองอยู่หลากหลายชิ้นที่เข้ามาทำหน้าที่ให้ช่องทางๆนี้สามารถดำเนินงานของมันไปได้จนเกิดผลลัพธ์ขึ้นเป็นความจริง ซึ่งในจำนวนของเรื่องที่เป็นฟันเฟียงของช่องทางนี้ก็ได้แก่
1. ระบบการศึกษาและหลักสูตรต่างๆที่ใช้ในการเรียนการสอน
2. หนังสือที่ใช้ในหลักสูตรและตำราเรียน
ร.ร.ต่างสัญชาติ
1. ครู,อาจารย์และบุคคลากรชาวต่างชาติ
2. นักศึกษาที่ได้รับการศึกษามาจากต่างประเทศ
“ถึงตอนนี้แล้ว ก็คงขอให้เรามาร่วมพูดคุยกันถึงผลลัพธ์ต่างๆที่เกิดจากการสร้างความเสียหายนี้ที่มีต่อเรื่องการศึกษา, แผนการเรียนการสอน, หลักสูตรและเป้าหมายต่างๆของการศึกษากัน เพื่อพวกเราจะได้เห็นไปด้วยกันว่า ศัตรูของพวกเราได้เข้ามารุกรานพวกเราถึงกลางเรือนของพวกเราเอง,เข้ามาสร้างความเสื่อมเสียให้แก่ความนึกคิดของพวกเรา และเข้ามาเปลี่ยนให้พวกเรากลายเป็นพวกที่ไปต่อท้ายขบวนของมัน คอยเดินตามความคิดและอารยธรรมของมันกันอย่างไรบ้าง...
ซึ่งส่วนหนึ่งจากผลลัพธ์ที่ว่าก็คือ การที่นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนครูบาอาจารย์ส่วนใหญ่ หันไปสวามิภักดิ์ต่อวิธีคิดและอารยธรรมของตะวันตก โดยพากันเติบโตและงอกเงยภายใต้การบ่มเพาะของตะวันตก ซึมซับความโสมม,ความต่ำทรามและความผิดเพี่ยนไปจากสำนึกอันบริสุทธิ์ที่อัลลอฮฺทรงสร้างมนุษย์ขึ้นบนสำนึกนั้นของวิธีคิดและอารธรรมของตะวันตกมาไว้อย่างไม่เลือก ไม่แยแสวิธีคิดและอารยธรรมของอิสลามตลอดจนมารยาทอันดีงามจากคัมภีร์ของอัลลอฮฺและจากท่านร่อซู้ลของพระองค์ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัมแต่อย่างใด
และอีกส่วนหนึ่งจากผลลัพธ์ที่ว่า ก็คือ การประชุมต่างๆที่จัดกันขึ้นและยังคงมีการจัดกันขึ้นมาอยู่อย่างต่อเนื่องในโลกอิสลามเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมเชิงวิชาการและเพื่อทดลองกระบวนการการเรียนการสอน,การลงพื้นที่ภาคสนามและเพื่อพัฒนาบุคคลาการทางการศึกษา ที่จัดตั้งและดูแลโดยองค์กร“ยูเนสโก”(UNESCO) ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเผยแพร่ปรัชญาและแนวคิดทางสังคมและการเมืองที่ชาวตะวันตก ผลิตไว้และเรียกร้องกันให้เข้ามายึดถือและดำเนินตาม...
โดยที่การประชุมเหล่านี้ล้วนมีเป้าหมายที่จะเข้าครอบงำวิธีคิดของอิสลามตลอดจนสังคมมุสลิมทั้งหมดอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์ทั้งสิ้น
หนึ่งในตัวอย่างของการจัดการประชุมในลักษณะที่กล่าวถึงก็ได้แก่... การประชุมแลกเปลี่ยนคณะครูในระหว่างประเทศอาหรับด้วยกันเอง ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงไคโร ปีค.ศ. ๑๙๕๖ โดยการเชื้อเชิญของ “ยูเนสโก”(UNESCO)...ตลอดจนการประชุมอื่นๆอีกนอกเหนือไปจากการประชุมที่ว่านี้...ที่มีการจัดขึ้นในหลากหลายประเทศในโลกอิสลามซึ่งล้วนมีเป้าหมายเพื่อจะเข้าครอบงำการศึกษาของประเทศมุสลิม ทั้งในด้านของระบบ,หลักสูตรและเป้าหมายต่างๆของการศึกษา หรือเพื่อเข้ามาทำให้เกิดการกลายเป็นตะวันตกขึ้นในการศึกษา เพื่อที่จะสามารถผลิตผู้เรียนที่มีความสวามิภักดิ์ต่อวิธีคิดและอารยธรรมของตะวันตกออกมา แล้วให้บัณฑิตเหล่านี้หันกลับมาเล่นงานอารยธรรมอิสลามกันเองเสียแทน
ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้มีวิสัยทรรศทางการเมืองย่อมมองออกว่า องค์กรยูเนสโกนั้นเป็นองค์กรที่สวามิภักดิ์ต่อนโยบายของอเมริกาอย่างเป็นที่น่าสังเกตุ และอเมริกาเองก็สวามิภักดิ์ต่อนโยบายของขบวนการไซออนิสต์(Zionism)อย่างมีนัย ซึ่งไซออนิสต์ที่แท้จริงแล้วก็คือ ศัตรูตัวฉกาจของอิสลามและบรรดามุสลิมนั่นเอง
และอีกผลลัพธ์หนึ่งของการเข้าครอบงำการศึกษา ก็ได้แก่ การงอกเงยและเติบโตขึ้นของแนวคิดโสมมที่เรียกร้องให้ถือเอาศาสนาเป็นเพียงกิจกรรมส่วนบุคคล และเรียกร้องให้มอบเสรีภาพแก่ปัจเจกบุคคลโดยไม่ต้องนำไปผูกมัดกับหลักศีลธรรมทางสังคมใดๆทั้งสิ้น
และไม่ต้องนำเรื่องการยึดถือศาสนาเข้ามามีความเกี่ยวข้องใดๆแม้แต่น้อยกับเรื่องระบอบการเมืองการปกครอง, สังคมและเศษฐกิจที่มีการใช้กันอยู่ในชีวิตจริง และไม่ต้องหันไปเหลียวแลมาตรฐานใดๆทางศีลธรรมตามเนื้อหาแท้ๆของมัน และไม่ต้องให้ศาสนาๆนี้เข้ามามีผลใดๆทั้งสิ้นต่ออารยธรรมหรือวิธีคิด ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม
แนวความคิดนี้มีเป้าหมายที่จะถอดถอนอิสลามออกจากชีวิตของมุสลิม และนำทั้งคู่ไปแยกไว้ให้อยู่คนละส่วนกัน และมีเป้าหมายที่จะเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ของมุสลิมให้กลายไปสู่การสวามิภักดิ์ต่ออารยธรรมตะวันตกนั่นเอง”
สื่ อ
สื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่มีความสำคัญและทรงอิทธิพลที่สุดของ “การทำให้เป็นตะวันตก” อีกทั้งยังเป็นช่องทางที่ประสบความสำเร็จที่สุดและยากที่จะเท่าทันต่อสิ่งที่ถูกสอดแทรกเอาไว้ภายในได้มากที่สุดอีกด้วย
ทั้งนี้ ด้วยกับช่องทางๆนี้ในทุกๆลักษณะและในทุกๆรูปลักษณะอันหลากหลายของมัน บุคคลที่พยายามเรียกร้องไปสู่การทำให้เป็นตะวันตกสามารถที่จะทำให้การดำเนินงานของตนบรรลุเป้าผ่านช่องๆนี้ได้โดยง่ายในทั้งสองสังเวียน ทั้งสังเวียนความคิดและสังเวียนชีวิตจริง
และด้วยช่องทางๆนี้ พวกเขายังสามารถที่จะนำพิษร้ายของพวกตนไปส่งตรงถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดที่มีอยู่ในสังคมได้อย่างถ้วนหน้า เนื่องจากช่องทางๆนี้ เป็นช่องทางที่มีรูปลักษณ์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้วยเสียงอย่างเดียว หรือด้วยภาพพร้อมเสียง หรือด้วยข้อความที่เป็นตัวอักษร ซึ่งในแต่ละรูปลักษณ์ที่ว่า ก็ยังมีวิธีการที่หลากหลายและมากมายในการนำสารไปส่งตรงถึงกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มทุกๆกลุ่มในสังคมได้อย่างแนบเนียนและทรงอิทธิพลอีกด้วย
การท่องเที่ยวและความบันเทิง
หน้าที่ของช่องทางในการทำให้เป็นตะวันตกช่องทางนี้ คือการเข้ามากระตุ้นให้เกิดความรู้สึกหลงไหลและหลงภูมิใจต่อชาวตะวันตกและความรุ่งเรืองทางวัตถุของพวกเขา ซึ่งเป็นรูปแบบของปัญหาที่เป็นปัญหาเดียวกันกับที่เกิดกับกลุ่มนักเรียนที่เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศแถบตะวันตก โดยทั้งหมดล้วนเป็นผลมาจากการไปอยู่ปะปนกับพวกที่ปฏิเสธศรัทธาทั้งสิ้น ไม่ว่าเป็นการปะปนที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของพวกเขาหรือที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของพวกเราเองก็ตามที
สมาคมต่างๆ
โดยมากแล้ว สมาคมเหล่านี้มักเผยภาพลักษณ์ออกมาให้ผู้คนเข้าใจไปว่า เป็นสมาคมที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการดูแลสังคมและดูแลเรื่องสิทธิของผู้คนในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรี แต่เมื่อได้เจาะลึกเข้าไปดูเนื้อแท้ของสมาคมเหล่านี้ จะพบว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงของสมาคมเหล่านี้คือ การเผยแพร่วิธีคิดแบบตะวันตกและพยายามทำให้ผู้คนกลายไปเป็นอย่างชาวตะวันตกกันต่างหาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราได้ทราบว่า บุคคลที่อยู่เบื้องหลังสมาคมเหล่านี้ล้วนเป็นพวกที่มีแนวคิด “ทำให้เป็นตะวันตก” กันเสียแทบทั้งหมด
การจัดการประชุมต่างๆ
ช่องทางนี้ถือเป็นช่องทางที่ทรงพลังในการสร้างผลกระทบที่มีความแข็งแกร่งอีกช่องทางหนึ่งของการทำให้เป็นตะวันตก เพราะการประชุมเหล่านี้ จะเข้ามาสร้างภาพให้สังคมมองว่า มติต่างๆของที่ประชุมที่ได้ลงมติไว้หรือได้ทำการเรียกร้องเอาไว้นั้น ล้วนเป็นเรื่องที่น่าไว้วางใจและเป็นประโยชน์ทั้งสิ้นอย่างไร้ข้อโต้แย้ง เนื่องจากมันเป็นสิ่งที่ออกมาจากกลุ่มบุคคลที่มีความรู้และเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือเนื่องจากการประชุมที่ว่านี้อยู่ภายใต้การดูแลขององค์กรสากลที่น่าเชื่อถืออย่างเช่นองค์กร “ยูเนสโก” (UNESCO) ตลอดจนองค์กรอื่นๆที่อยู่ในทำนองเดียวกันนี้ด้วย เป็นต้น
บทส่งท้าย
จากการศึกษาข้างต้น ผู้วิจัยได้รับทราบผลลัพท์สำคัญดังต่อไปนี้
- การหวนคืนสู่แนวทางของบรรดาซะลัฟศอและฮฺอันบริสุทธิ์ ซึ่งทำให้ความสมดุลในการดูแลผลประโยชน์ทางดุนยาและผลประโยชน์ทางอาคิเราะค์เกิดขึ้นเป็นจริง และการยืนหยัดยึดมั่นในแนวทางนี้อย่างจริงจังและมั่นคงนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
- การทุ่มเทความพยายามของกลุ่มชนแห่งความถูกต้องในการออกมาปกป้องตนเองและบุคคลอันเป็นที่รัก ตลอดจนพี่น้องมุสลิมโดยภาพรวมให้ปลอดภัยจากแนวความคิด “การทำให้เป็นตะวันตก” โดยการเอาจริงเอาจังที่จะอุดช่องต่างๆที่อาจเป็นทางให้โรคร้ายของเหล่าศัตรูหลุดรอดผ่านเข้ามาทางช่องเหล่านั้นให้ได้อย่างเต็มที่ๆสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจุดที่มีความเสี่ยงสูงนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥ ♥