สังเวียนและช่องทางต่างๆในการสร้างความเป็นตะวันตกให้แก่สังคมมุสลิม
อาบีดีณ โยธาสมุทร ... ผู้วิจัย
2. การทำให้เป็นตะวันตกในสังเวียนการนำสู่ชีวิตจริงผ่านปรากฏการณ์ต่างๆที่สำแดงออกมาให้เห็นได้ในการใช้ชีวิต
ซึ่งในจำนวนของเรื่องที่อยู่ในหมวดนี้ก็ได้แก่
- เรื่องระบอบการปกครองและการพิพากษา
โดยระบอบที่ดูจะโดดเด่นที่สุดสำหรับกรณีนี้ก็ได้แก่ ระบอบประชาธิปไตรและระบอบการตัดสินคดีความด้วยกฏหมาย มีการกำหนดกันขึ้นมาเองโดยไม่อิงกับบทบัญญัติทางศาสนา
“โดยในช่วงศตวรรษที่ ๑๙ และ ๒๐ นั้น ประเทศอิสลามส่วนใหญ่ในโลกล้วนตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ล่าอาณานิคม ในยุคนั้นระบอบปกครองของอิสลามได้หายตัวหลบไปจากชีวิตจริงอย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากการถูกปกครองโดยผู้ล่าอาณานิคม -จะยกเว้นก็แต่บางพื้นที่ๆอัลลอฮฺทรงรักษาไว้ให้พ้นจากแผนการของพวกศัตรูเท่านั้นที่ไม่ตกอยู่ในสภาพที่ว่า- และถูกแทนที่ด้วยระบอบและวิถีทางอื่นๆที่ต่างกันออกไป เช่น ระบอบประชาธิปไตรและระบอบอื่นๆ แต่ละประเทศได้ทำการเปลี่ยนแปลงวิถีในการตัดสินคดีความกันเสียใหม่ ด้วยการประดิษฐ์ธรรมนูญใหม่ๆกันขึ้นมาแทนที่ โดยอ้างกันว่า มันคือ การสร้างความเป็นประชาธิปไตรให้เกิดขึ้นเป็นความจริง”
“ประเทศแรกที่มีการยกเลิกกฏหมายอิสลามเกิดขึ้นคือ ประเทศอินเดีย โดยที่ก่อนนี้กฏหมายอิสลามเป็นกฏหมายประจำประเทศอย่างเป็นทางการของประเทศอินเดียมาก่อนแม้แต่ในช่วงภายหลังจากที่อังกฤษได้รุกรานเข้ามาปกครองอินเดียไว้แล้ว ก่อนนี้มือของผู้ขโมยเคยถูกตัดมาก่อนจนกระทั่งถึงปี ค.ศ.ที่ ๑๗๙๑ แต่ภายหลังจากนั้นอังกฤษก็ค่อยๆ เริ่มทำการยกเลิกกฏหมายอิสลามลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป แล้วแทนที่ด้วยกฏหมายที่มีการเขียนกันขึ้นมาเอง จนสามารกยกเลิกได้แล้วเสร็จในช่วงกลางศตวรรษที่ ๑๙ โดยไม่หลงเหลือการนำกฏหมายอิสลามใดๆมาใช้อีก นอกจากในเรื่องที่เกี่ยวกับการแต่งงาน, การหย่าร้างและเรื่องที่อยู่ในทำนองเดียวกันนี้เท่านั้น...”
- ภาคเศษฐกิจ
โดยปรากฏการณ์ที่โดดเด่นที่สุดสำหรับกรณีนี้ก็ได้แก่ การขยายตัวอย่างเป็นที่แพร่หลายของระบบเศษฐกิจแบบทุนนิยม ที่คอยหนุนให้ผู้ที่อยู่ในระบบนี้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ยและการกู้ที่มีดอกเบี้ย และการขยายตัวของระบบเศษฐกิจแบบสังคมนิยมที่เข้ามาทำการปลดการมีสิทธิ์ที่จะถือครองทรัพย์สินและสิทธิส่วนบุคคลต่างๆออกจากผู้คน ภายในกลุ่มประเทศมุสลิม
- วิชาการและการศึกษา
โดยปรากฏการณ์ที่โดดเด่นที่สุดสำหรับกรณีนี้ก็ได้แก่ การชูเอาเฉพาะวิชาการเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่คู่ควรแก่การถูกขนานนามว่า “วิทยา”(ความรู้) ส่วนวิชาการชนิดอื่นที่เหลือนั้นไม่ใช่วิทยา และกลายเป็นว่า วิชาการที่จะสามารถเรียกได้ว่าคือ วิทยา อย่างถูกต้องนั้น มีเพียงวิชาการที่เป็นผลผลิตจากการใช้ปัญญาและเกี่ยวข้องกับเรื่องทางดุนยาเท่านั้น -โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาที่ใช้การคำนวณและการทดลอง- อีกทั้งยังกลายเป็นว่า การได้มาซึ่งข้อมูลความรู้นั้นถูกจำกัดไว้เพียงในการทำการรวบรวมข้อมูลตัวอย่างมาวิเคาระห์แล้วถอดบทเรียนเพียงเท่านั้น และหันห่างออกจากการอาศัยข้อมูลที่เป็นวิวรณ์(วะฮฺย์)จากพระเจ้า
เรื่องนี้ส่งผลให้ข้อมูลในยุคปัจจุบันที่มีการเขียนไว้เป็นภาษาอาหรับที่เขียนเกี่ยวกับนิยามของ “ความรู้” ล้วนกลายเป็นข้อมูลที่ถูกชักนำโดยชุดความเข้าใจของกระแสหลักที่ปรากฏอยู่ในปรัชญาตะวันตกทั้งสิ้น ในแง่ของการจำกัดเรื่องของความรู้ไว้แค่เพียงกับชุดวิชาที่มีขึ้นโดยการใช้ปัญญาของมนุษย์เป็นที่ตั้งเท่านั้น และละเลยที่จะกล่าวถึงวิชาการทางศาสนา โดยทำเหมือนกับว่า วิชาการทางศาสนานั้นเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือความหมายของคำว่า “ความรู้” ไปเสียแล้ว ซึ่งเหตุและที่มาที่ไปของพฤติการนี้ก็ย้อนกลับไปสู่ทรรศนคติแบบแนวความคิดไม่เอาศาสนา (Secularism)ที่ครอบงำวิถีชีวิตตะวันตกเอาไว้นั่นเอง
และส่วนหนึ่งของตัวอย่างจากคำนิยามในลักษณะที่ว่านี้ ก็ได้แก่คำนิยามที่ว่า “ความรู้ คือ องค์รวมของข้อมูลต่างๆซึ่งถูกจัดเข้ากันไว้อย่างเป็นระเบียบ โดยมีความสัมพันธ์ต่อกันในรูปของผลลัพธ์ของสมมุติฐานที่ผ่านกระบวนการการพิสูจน์ยืนยันแล้วอย่างถูกต้อง นั่นเท่ากับว่า ความรู้ ก็คือสิ่งที่เรากลั่นกรองออกมาจากประเด็นที่เป็นแม่แบบหรือจากประเด็นที่เป็นลูกแบบจำนวนหนึ่งของเรื่องที่เป็นฐานคิดและกฏเกณฑ์ที่เราคาดว่าเป็นจริงหรือตรวจสอบแล้วว่าเป็นจริงนั่นเอง”
และอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่โดดเด่นที่สุดสำหรับกรณีนี้อีกเช่นกันก็ได้แก่ การแบ่งแยกวิชาการสมัยใหม่ออกจากวิชาการทางศาสนา ถึงขนาดที่ว่าในบางพื้นที่มีการพากันละเลยและด้อยค่าวิชาการทางศาสนาและนำความอ่อนแอและความล้าหลังของมุสลิมไปผูกเข้าไว้กับวิชาการทางศาสนากันเลยทีเดียว
ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความพยายามในการเข้ามาลดขนาด และลดสถานะของการเรียนการสอนเรื่องเกี่ยวกับศาสนาลงในวงของสังคม และด้อยคุณค่าของวิชาการศาสนาทั้งในเชิงข้อมูลวิชาการและเชิงปฏิบัติการแม้แต่ในวงของศาสนาเองขึ้น โดยพยายามผลักดันให้ทฤษฎีต่างๆทางวิทยาศาสตร์ตลอดจนข้อมูลใดๆก็ตามแต่ที่อิงกับวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นตัวนำอยู่เบื้องหน้าฐานพิจารณาของศาสนาเสมอ เมื่อรู้สึกว่าเกิดการไปกันไม่ได้ระหว่างข้อมูลจากทั้งสองฝั่งขึ้น
และผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ การจำกัดโอกาสของนักศึกษาที่จบมาจากสถาบันหรือมหาวิทยาลัยที่สอนศาสนาไว้กับแค่ตำแหน่งงานที่หมดอาลัยตายอยากและกีดกันนักศึกษากลุ่มนี้ให้ออกห่างจากการเข้าถึงตำแหน่งงานและหน้าที่ๆ มีความสำคัญ
ซึ่งการจำกัดแวดวงการเรียนการสอนเรื่องศาสนาให้อยู่ในวงที่แคบลงนี้ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในสถานศึกษาที่ยึดนโยบายตามแนวคิดไม่เอาศาสนา(Secularism) -ในกรณีที่ไม่ได้หนักข้อถึงขั้นยกเลิกการเรียนการสอนศาสนาไปเสียเลย- ไปสู่การด้อยความสำคัญของวิชาการทางศาสนาลงเมื่อถูกนำไปเปรียบกับวิชาการด้านอื่นๆ และไปสู่การด้อยความสำคัญของตัวตนของบรรดานักวิชาการและครูสอนศาสนาลง จนก่อให้เกิดการไม่แยแสต่อเรื่องศาสนาและไม่ให้เกียรติต่อบรรดานักวิชาการและครูสอนศาสนาขึ้นแก่เยาวชน
ในขณะที่ทางฝั่งของการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่องดุนยาตามแนวคิดแบบไม่เอาศาสนากลับถูกนำไปขยาย,นำไปเผยแพร่กันอย่างแพร่หลายและถูกยกเทิดขึ้นไว้เหนือศีรษะเสียแทน
- ภาษา
ปรากฏการณ์ที่โดดเด่นที่สุดสำหรับกรณีนี้ก็ได้แก่ การหันห่างออกจากการใช้ภาษาอาหรับอั้ลฟุ้ศฮา (العربية الفصحى) และพยายามนำสำเนียงพื้นถิ่นหรือภาษาต่างด้าวเข้ามาใช้แทนที่
- ประเด็นเกี่ยวกับสตรี
ปรากฏการณ์ที่โดดเด่นที่สุดสำหรับกรณีนี้ก็ได้แก่ การแต่งกายที่ไม่ตรงตามหลักศาสนา, การปะปนกับผู้ชาย, การพยายามปลดหน้าที่ในการปกครองและดูแลผู้หญิงออกจากผู้ชาย และการที่ผู้หญิงสามารถออกมาประกอบอาชีพได้ในทุกรูปแบบอาชีพ
อ่านต่อประเด็น ทำให้เป็นตะวันตก