ธุรกิจเครือข่าย
  จำนวนคนเข้าชม  2536

 

ธุรกิจเครือข่าย

 

.อิสหาก พงษ์มณี

 

          ฟัตวาคณะกรรมถาวรเพื่อการวิจัยและตอบปัญหาศาสนา เกี่ยวกับธุรกิจเครือข่ายผมขอนำเสนอเป็นตอนๆ ไปครับ เพราะเนื้อหาฟัตวายาวมาก โดยคัดเนื้อหาฟัตาวามาแปลเป็นข้อๆ ไป หากมีท่านใดเห็นว่าแปลคลาดเคลื่อนก็ท้วงติงมาได้ครับจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง ส่วนธุรกิจเครือข่ายมีรายละเอียดอย่างไร ท่านสามารถค้นหาอ่านได้จากกูเกิลภายในห้วข้อธุรกิจขายตรงซึ่งเขาแบ่งออกเป็นสองลักษณะคือ แบบชั้นเดียวและแบบหลายชั้น ลองไปหาอ่านเอานะครับ

 

ช้อความชุดที่หนึ่ง

أن هذا النوع من المعاملات محرم ، وذلك أن مقصود المعاملة هو العمولات وليس المنتج ، فالعمولات تصل إلى عشرات الآلاف ، في حين لا يتجاوز ثمن المنتج بضع مئات ، وكل عاقل إذا عرض عليه الأمران فسيختار العمولات ، ولهذا كان اعتماد هذه الشركات في التسويق والدعاية لمنتجاتها هو إبراز حجم العمولات الكبيرة

التي يمكن أن يحصل عليها المشترك ، وإغراؤه بالربح الفاحش مقابل مبلغ يسير هو ثمن المنتج ، فالمنتج الذي تسوقه هذه الشركات مجرد ستار وذريعة للحصول على العمولات والأرباح ، ولما كانت هذه هي حقيقة هذه المعاملة ، فهي محرمة شرعا لأمور

 

          ธุรกรรมประเภทนี้ถือว่าต้องห้าม-ฮะรอมเพราะเป้าหมายของธุรกรรมคืออะมูละห์” (รายได้เพิ่มพิเศษจากแนะนำสินค้า) อะมูละห์อาจมียอดหลายแสน แต่ราคาผลิตภัณฑ์อาจอยู่แค่หลักไม่กี่ร้อย คนมีปัญญาทุกคนหากให้เลือกก็คงต้องเลือกอะมูละห์เหตุนี้บรรดาบริษัทที่มีการตลาดแบบเครือข่ายจึงอาศัยการโฆษณาผลิตภัณฑ์ของตนโดยเสนอรายได้พิเศษ(จากการแนะนำสินค้า)ให้แก่สมาชิกด้วยตัวเลขสูงๆ และล่อด้วยผลกำไรมหาศาลจากผลิตภัณฑ์ที่มีราคาไม่มากนัก ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่บริษัทเหล่านี้นำมาทำตลาด จึงเป็นแค่ม่านอำพรางเพื่อล่อให้ติดกับรายได้พิเศษจากการแนะนำสินค้ารวมถึง(ตัวเลข)กำไร(ที่จะได้รับ) ในเมื่อนี่คือข้อเท็จจริงของธุรกิจนี้(เครือข่าย) มันจึงเป็นสิ่งต้องห้ามตามหลักการด้วยเหตุดังต่อไปนี้

 

ข้อความชุดที่สอง

أولا :

أنها تضمنت الربا بنوعيه ، ربا الفضل وربا النسيئة ، فالمشترك يدفع مبلغا قليلا من المال ليحصل على مبلغ كبير منه ، فهي نقود بنقود مع التفاضل والتأخير ، وهذا هو الربا المحرم بالنص والإجماع ، والمنتج الذي تبيعه الشركة على العميل ما هو إلا ستار للمبادلة ، فهو غير مقصود للمشترك ، فلا تأثير له في الحكم

 

ประการที่หนึ่ง

 

          ธุรกรรมดังกล่าวครอบคลุมดอกเบี้ยทั้งสองประเภทคือ ดอกเบี้ยลักษณะส่วนต่างที่เพิ่มขึ้น และดอกเบี้ยลักษณะเวลาที่ร่นไป (ริบัลฟัฎล์และริบัลนะซีอะห์) เพราะสมาชิกจ่ายทรัพย์เล็กน้อยส่วนหนึ่งเพื่อหวังได้(แลก)ทรัพย์ก้อนโต และนั่นคือการเอาเงินแลกเงินที่มีทั้งส่วนต่างและการจ่ายคืนล่าออกไป มันคือดอกเบี้ยที่ต้องห้ามด้วยตัวบท(ตรงๆ)และด้วยมติเอกฉันท์(อิจมาอ์) ส่วนสินค้าที่บริษัทขายในลูกค้า (สมาชิก) มันเป็นเพียงแค่ตัวอำพลางการแลกเปลี่ยน มันไม่ใช่เป้าหมายโดยตรงของสมาชิก ดังนั้นมันจึงไม่มีผลในเชิงข้อตัดสินใดๆ

 

ประการที่สอง

 

          มันคือธุกรรมที่มีความไม่ชัดเจนที่ต้องห้ามตามหลักการ เพราะสมาชิกไม่อาจทราบได้ชัดเจนว่าตัวเองจะได้สมาชิกเพิ่มตามที่ต้องการหรือไม่ การตลาดแบบเคลือข่ายแม้จะเนิ่นนานออกไปเท่าใดแต่ก็จะต้องถึงจุดอิ่มตัว ผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกไม่อาจทราบได้ว่าตนจะไต่ไปถึงระดับสูงจนทำกำไรได้ (ตามคาดหวัง) หรือไม่ หรือจะไต่ไปไม่ถึงไหนได้แค่ระดับ"ดุนยา"(ระดับต้นๆ) และอาจขาดทุนต่อไป 

 

          ดังนั้นสมาชิกส่วนใหญ่ในธุรกิจ(เคลือข่ายแบบ)พีรมิด จะขาดทุน ยกเว้นคนระดับบนเพียงไม่กี่คน คือส่วนใหญ่จะขาดทุน (คือไม่ได้อะไร) และนี่แหละคือสาระสำคัญของคำว่า "อัลฆ่อร๊อร" (ความไม่ชัดเจน) ซึ่งมันจะอยู่ระหว่างสิ่งสองประการ(คือได้กับเสีย) ส่วนใหญ่(มักจะไม่ได้) และน่ากลัวกว่า 

 

          ท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมห้ามทำธุรกรรมลักษณะ "อัลฆ่อร๊อร"(มีความไม่ชัดเจนสูง) ตามที่(อิหม่าม)มุสลิมได้รายงานไว้ในศ่อเฮี๊ยห์ของท่าน

ثالثا :

ما اشتملت عليه هذه المعاملة من أكل الشركات لأموال الناس بالباطل ، حيث لا يستفيد من هذا العقد إلا الشركة ومن ترغب إعطاءه من المشتركين بقصد خدع الآخرين ، وهذا الذي جاء النص بتحريمه في قوله تعالى : ( يا أيها

الذين آمنوا لا تأكلوا أموالكم بينكم بالباطل ) النساء/29

 

 

ประการที่สาม

 

          ธุรกรรมดังกล่าวครอบคลุมถึงการที่บริษัทบริโภคทรัพย์ผู้อื่นในทางที่มิชอบ เพราะสัญญานี้จะส่งผลดีก็แต่เฉพาะบริษัทและสมาชิกที่บริษัทต้องการให้เป็นเครื่องมือหลอกผู้อื่น เรื่องนี้มีตัวบทชัดเจนห้ามไว้ ก็คือดำรัสของอัลลอฮ์ที่ว่า 

"โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย อย่าบริโภคทรัพย์ระหว่งกันในทางที่มิชอบ"

( อัลนิซาอ์ /29)

 

 

ประการที่สี่ 

 

          ธุรกรรมดังกล่าวมีทั้งฉ่อโกง ล่อลวง และอำพลางผู้คน นั่นก็คือทำเหมือนว่าผลิตภัณฑ์คือเป้าหมายของการค้าแต่ความจริงเป็นสิ่งตรงกันข้าม คือโดยใช้ผลประโยชน์จากการแนะนำสินค้า(ตามตัวเลขของสมาชิกที่เพิ่มขึ้น) ที่มีมูลค่าสูงเป็นตัวล่อและส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นได้ยาก นั่นคือการฉ่อโกง (คือไม่ซื่อและไม่ตรงไปตรงมา) มันคือสิ่งต้องห้าม 

 

ท่านนบีอะลัยฮิศศ่อลาตุวัสลามกล่าวว่าผู้ใดไม่ซื่อสัจต่อ(พวก)เรา ก็มิใช่(พวก)ของเรา 

อิหม่ามมุสลิมรายงานไว้ในศ่อเฮี๊ยห์ของท่าน 

 

          และท่าน(นบี) ยังได้กล่าวไว้อีกว่าผู้ซื้อผู้ขายมีสิทธิ์เปลี่ยนใจตราบใดที่ทั้งคู่ยังมิได้แยกจากกัน ถ้าทั้งคู่สัจจริงและแจกแจงรายละเอียดแก่กันและกัน (ไม่มีเหลี่ยมเพื่ออำพรางใดๆ) การค้าของทั้งสองจะมีบะรอกะห์ (ความจำเริญ) แต่ถ้าทั้งคู่ต่างโกหกและปกปิด(อำพราง) บะรอกะห์ (ความจำเริญ) นั้นจะถูกลบทิ้งไปจากการค้าของทั้งสองฝ่าย 

มุตตะฟะกุนอะลัยฮิ (อัลบุคอรีและมุสลิม)

 

          ส่วนการอ้างว่ามันเป็นการดำเนินการลักษณะนายหน้า ข้ออ้างนี้ก็ไม่ถูกต้องเช่นกัน เพราะนายหน้าคือสัญญาที่นายหน้าจะได้ค่าแรงจากการได้ขายสินค้า ส่วนในสมาชิกในธุรกิจเครือข่ายจ่ายเงินเป็นค่าจ้างเองเพื่อทำตลาดให้สินค้า และเป้าหมายของนายหน้าคือขายสินค้าจริงๆ ซึ่งต่างจากธุรกิจเครือข่ายที่มีการตลาดแบบให้ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากการหาสมาชิก(อะมุละห์) โดยมิได้มีเป้าหมายเพื่อสินค้า(โดยตรง) ด้วยเหตุนี้ สมาชิกก็จะไปหาสมาชิกเพิ่มต่อๆ ขี้นไป แต่นายหน้าจะหาสินค้ามาแนะนำลูกค้าที่ประสงค์ในสินค้าจริงๆ มันมีความแตกต่างชัเจนจากสองแบบ(ที่กล่าวแล้ว)

 

          และส่วนการอ้างว่าส่วนได้ที่ได้จากบริษัทเป็นลักษณะฮิบะห์-ให้เปล่าๆอันนี้ก็ไม่ถูกต้อง และหากสมมุติว่ามันคือฮิบะห์-การให้เปล่าจริง ก็มิได้หมายความว่าการให้เปล่าทุกรณีจะถูกต้องและเป็นที่อนุญาต เพราะการให้เปล่าอันเกิดจากการกู้คือดอกเบี้ย (คือโดยมีเงื่อนไข) 

 

          ด้วยเหตุนี้ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ ซัลลาม(ศ่อฮาบะห์) จึงได้กล่าวแก่อบีบะรอดะห์ว่าท่านอยู่ในแผ่นดินที่มีการกินดอกเบี้ยกันโดยทั่วไป ถ้าใครเป็นหนี้ท่านแล้วให้สินน้ำใจแก่ท่าน (ขณะที่ยังเป็นหนี้อยู่) ไม่ว่าจะเป็นฟางหอบหนึ่ง หรือข้าวบาห์เล่หอบหนึ่ง หรือหญ้า(อาหารสัตว์) หอบหนึ่ง (ก็อย่าไปรับ) เพราะนั่นมันคือดอกเบี้ย 

รายงานโดยอัลบุคอรี ไว้ในศ่อเฮี๊ยห์ของท่าน

 

          การให้เปล่ามีหุ่ก่ม (ข้อตัดสินเดียว) กับเหตุที่ได้รับมา ด้วยเหตุนี้ท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจึงได้กล่าวแก่คนทำงาน(เก็บซะกาต) คราเมื่อเขากลับมาและกล่าวว่าสิ่งนี้ของพวกท่าน(ของส่วนกลาง)แต่ส่วนนี้เป็นของฉันมีคนให้ฉันมาเปล่าๆ (เป็นสินน้ำใจ)หากเจ้านั่งอยู่ที่บ้านพ่อบ้านแม่ของเจ้า แล้วรอดูสิว่าใครจะมาให้อะไรเปล่าๆ แก่เจ้า(เป็นสินน้ำใจ)ไหม 

มุตตะฟะกุนอะลัยฮิ(บุคอรีและมุสลิม)

 

          เพราะฉะนั้นเงินที่บริษัทให้เป็นอะมูละห์นี้ มีขึ้นก็ด้วยเหตุแห่งการเป็นสมาชิกในธุรกิจเครือข่าย แม้จะเรียกเงินนี้ว่าอะไร จะเรียกว่าเป็นฮะดียะห์” (สินน้ำใจ) หรือจะเรียกว่าฮิบะห์” (ให้เปล่าๆ) มันก็ไม่อาจเปลี่ยนข้อเท็จจริงและหุก่มของมันไปได้ 

 

وبالله التوفيق وصلى الله على نبينا محمد وآله وصحبه .

اللجنة الدائمة للبحوث العلمية والإفتاء فتوى رقم (22935) وتاريخ 14/3/1425هـ

 

วะบิลลาฮิดเตาฟีก วะศ้อลลัลลอฮุ อะลานบียินา มุฮัมหมัด วะอะลาอาลิฮี วะเศาะหฺบิฮี 

คณะกรรมการถาวรเพื่อการวิจัยและตอบปัญหาศาสนา หมายเลขฟัตวาที่ (22935) ลงวันที่ 14 /4/ . 1425