การตลาดยุคดิจิทอล
เขียนเรียบเรียง อุมมุอัฟว์
ตัวแทนต่างๆ มุ่งลงแรงหาความรู้ ความเชี่ยวชาญ เพื่อเพิ่มทักษะในด้านที่อยากรู้ อยากเก่ง อยากมีฝีมือ เราทำได้ และพยายามทำ ...
- ทำอย่างไรจะมียอดขายทะลุหลักแสนหลักล้าน
- โฆษณาอย่างไรให้จับใจ ให้จดจำ
- เส้นทางลัดสู่ความสำเร็จของนักธุรกิจ
- วิธีมัดใจลูกค้า
- เคล็ดลับ อัพสกิล ดิจิตอล มาเกตติ้ง ฯลฯ
และอีกหลายต่อหลายการเรียนรู้ที่ไม่มีที่สิ้นสุดเพื่อพัฒนาศักยภาพตนเอง พัฒนาธุรกิจของตัวเอง และพัฒนารายได้ของตัวเอง ?
แน่นอน กำไรจะตกเป็นของคนที่ทุ่มเทพัฒนาตัวเองให้เชี่ยวชาญและแตกฉาน แต่ที่แน่นอนยิ่งกว่าคือ..หากเริ่มต้นผิดตั้งแต่ก้าวแรก การลงทุนที่ทุ่มเทลงแรงจะเกิดประโยชน์อะไร หากมองไม่เห็น หรือไม่มองหาความชัดเจน ความถูกต้องในธุรกรรมที่กำลังทำ!!
การศึกษาหาข้อมูล หาความกระจ่าง ความชัดเจนในสัญญาที่เราจะทำข้อตกลง คือขั้นตอนแรกที่พึงปฏิบัติก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ธุรกรรมใดก็ตามที่จะกลายมาเป็นสิ่งหล่อเลี้ยงเลือดเนื้อเชื้อไขของเราและคนในครอบครัว เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แต่คนส่วนใหญ่กลับให้น้ำหนักกับมันน้อยที่สุด มองตื้นๆ ดูผิวๆ และรีบด่วนตัดสินใจ
เพียงเพราะ "ใครๆ ก็ทำกัน"
และเพราะ "ยุคนี้ ก็มีแต่แบบนี้"
ยิ่งใกล้กิยามะฮฺ ยิ่งถูกยิวคริสต์หลอกให้ตามได้ง่ายไม่ใช่หรือ เขาจะลงรู้แย้ที่กำลังจะพัง เรายังสมัครใจก้าวเข้าไป คิดว่าไม่เป็นไร คงไม่เจ็บตัว คงไม่โดนเรา!! ใกล้กิยามะฮฺ ยิ่งออกห่างจากดอกเบี้ยได้ยากมิใช่หรือ แม้แต่คนที่สุดจะระวังตัวยังหนีไม่พ้นละอองดอกเบี้ยเลย!! เรื่องหะรอมในการซื้อขาย ไม่ได้มีแค่ดอกเบี้ย
ความคลุมเครือ หมกเม็ด ไม่ชัดเจน = หะรอม
การโกหก ฉ้อฉล หลอกลวง = หะรอม
สัญญาที่อธรรมแม้จะได้รับการยินยอม= หะรอม
การโก่งราคา การขายตัดหน้า การเอาเปรียบผู้บริโภค = หะรอม
สองคอลีฟะฮฺผู้ยิ่งใหญ่ได้เคยกำชับกับประชาชนของท่านว่า
ท่านอุมัร อิบนิ้ล ค็ฏฏอบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ
"อย่าได้เข้ามาทำมาค้าขายในตลาดของเรา นอกจากผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในศาสนาอย่างลึกซึ้งเท่านั้น"
ท่านอะลี อิบนิ อบีฏอลิบ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮฺ
"ผู้ใดที่ทำมาค้าขายโดยไม่เข้าใจ (หลักการศาสนา) เขาจะถลำสู่ดอกเบี้ย ถลำลึกลงไป และลึกลงไป"
เราภาคภูมิใจกับความรู้ใหม่ๆ มากมายที่ขยายโอกาสในการทำธุรกิจ ภูมิใจที่ได้เป็นผู้แสวงหา นำมาปรับใช้ และประสบความสำเร็จ แต่กลับด้อยค่าการหาความเข้าใจตามหลักการศาสนา ซึ่งมันไม่ได้ยากเกินกว่าจะแสวงหาในยุคที่ทุกวิชาอยู่ในมือเรา!
แผนการตลาดที่ยอมเอาตัวเข้าไปคลุกคลีอยู่ในมือใคร เหตุใดจึงไว้วางใจ ?
จุดมุ่งหมายการค้าสอดคล้องกับจริยธรรม มโนธรรม ที่อิสลามตีกรอบไว้หรือไม่ ?
กลยุทธ์ที่เขาหยิบยื่นให้ นับวันยิ่งแนบเนียนและแทบมองไม่เห็นช่องโหว่ แต่โกหกคำโต ที่คนรอบตัวตะโกนบอกให้รู้และระวังตัว เรากลับเลือกที่จะปิดหู..ไม่อยากได้ยิน..ไม่อยากรับฟัง!!
เราเคยเห็นคนป่วยที่ไม่แสดงอาการ หรือป่วยแต่ไม่รู้ว่าตัวเองป่วยใช่ไหม คนกลุ่มนี้คือคนกลุ่มเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อต่อไปในสังคมวงกว้าง
การให้ยารักษากับคนกลุ่มนี้ มี 3 กรณีคือ
1) เขาอาจรับการรักษาแต่โดยดี ทานยาเพื่อระงับอาการแต่โดยดี
2) รับยา แต่ไม่รับประทาน
3) ไม่รับและไม่ทาน พร้อมปิดประตูขับไล่ผู้หวังดี
เพราะยืนกรานว่า "อย่างไรเสีย เขาก็ไม่ป่วย และไม่มีทางป่วย" ต่อให้ใช้ยากี่ขนาน ก็ไม่สามารถเปลี่ยนใจให้เขาเปิดประตูมารับยา หรือแม้แต่ยื่นปรอทให้ ก็ถูกตัดสินว่ายี่ห้อนี้ใช้ไม่ดี ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ถูกกับผิว ฯลฯ
ความปรารถนาดีของผู้หวังดี ต่อให้มีประโยชน์เพียงใด ก็ไม่มีความหมาย สำหรับคนที่ไม่เห็นคุณค่าอยู่ดี الله مستعان
๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙๙