ความประเสริฐของถ้อยคำทั้ง 4 (ประการที่ 1-6)
ผู้เขียน : ชัยคฺ อับดุลร็อซซาก บิน อับดิล มุหฺซิน อัล-บัดรฺ
อัลลอฮ์ ซุบฮานะฮู วะตะอาลา ทรงเลือกสรรสิ่งต่างๆตามความประสงค์ของพระองค์ และจากสิ่งที่พระองค์ทรงเลือก คือถ้อยคำต่างๆที่ดีงาม ที่มีความประเสริฐ และพระองค์ได้ทรงคัดสรรจากบรรดาถ้อยคำเหล่านั้น สี่ถ้อยคำที่ประเสริฐเหนือถ้อยคำอื่นๆ และพระองค์ยังได้ทำให้ถ้อยคำเหล่านั้นมีคุณสมบัติ มีลักษณะพิเศษเหนือถ้อยคำใดๆ และถ้อยคำทั้งสี่ประการนั้นก็คือ “ซุบฮานั้ลลอฮ์ วั้ลฮัมดุลิ้ลละห์ วะลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮ์ วั้ลลอฮุอักบัร”
ทั้งสี่ถ้อยคำนั้นล้วนแต่มีตัวบทหลักฐานมากต่อมาก ที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ของถ้อยคำเหล่านั้น อีกทั้งตัวบทดังกล่าวนั้นยังได้แจ้งให้รู้ผลบุญอันยิ่งใหญ่และความประเสริฐอันมากมาย ตลอดจนความดีงามที่จะได้รับอย่างต่อเนื่องทั้งในดุนยาและอาคิเราะห์ ด้วยเหตุนี้เองข้าพเจ้าได้เล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ของถ้อยคำเหล่านี้ จึงได้นำมารวบรวมไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งที่จริงแล้วนี่คือส่วนหนึ่งจากหนังสือของข้าพเจ้าเอง นั่นคือ -ฟิกฮุ้ล อัดดะอียะฮฺ วัลอัซก๊าร- ซึ่งมีพี่น้องที่มีเกียรติบางท่านปรารถนาที่จะให้มีการแยกออกมาไว้อีกเล่มเป็นการเฉพาะ เพื่อที่จะเกิดประโยชน์โดยทั่วกัน ด้วยอนุมัติของเอกองค์อัลลอฮ์
ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย นี่คือ ความดีงาม ความประเสริฐอันมากมาย ดังนั้นท่านทั้งหลายควรไตร่ตรองให้ละเอียดรอบคอบ อย่างพิถีพิถัน เพื่อที่สิ่งนั้นจะได้เป็นแรงผลักดันให้มีความตื่นตัวในเรื่องที่สำคัญเช่นนี้ และเพื่อที่จะช่วยให้พวกท่านรักษาถ้อยคำทั้งสี่นี้ และแท้จริงอัลลอฮ์คือผู้เดียวเท่านั้นที่จะช่วยเหลือให้เราได้รับความง่ายดาย ความสำเร็จในทุกๆเรื่องที่ดีงาม และไม่มีอำนาจใดๆ ไม่มีพลังใดๆ นอกจากจะมาจากอัลลอฮ์พระองค์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ ผู้ทรงเกรียงไกร
ความประเสริฐประการที่ 1 :
ถ้อยคำทั้งสี่นั้นเป็นที่รักยิ่ง ณ ที่อัลลอฮ์ ตะอาลา ดังที่ปรากฏรายงานอยู่ในศอเฮี้ยะห์มุสลิม ว่า:
عن سَمُرة بن جُنْدَب -رضي الله عنه- قال: قال رسول الله -صلى الله عليه وسلم-: «أحب الكلام إلى الله أربع لا يَضُرُّك بِأَيِّهِنَّ بدأت: سُبْحَانَ الله،
والحمد لله، ولا إله إلا الله، والله أكبر1»
มีรายงานจากท่าน ซะมุเราะฮฺ บิน ญุนดับ ขออัลลอฮ์ทรงพอพระทัยท่าน เล่าว่า ท่าน ร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
“มีถ้อยคำอยู่ 4 ประการ ที่เป็นที่รักยิ่ง ณ ที่อัลลอฮ์ ไม่ว่าท่านจะเริ่มกล่าวด้วยกับถ้อยคำใดก็ตาม ก็ไม่มีอันตรายใดๆกับท่านทั้งสิ้น นั่นคือ “ซุบฮานั้ลลอฮ์ วั้ลฮัมดุลิ้ลละห์ วะลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮ์ วั้ลลอฮุอักบัร””
และท่านอิหม่ามอบูดาวูด อัตเฏาะยาลิซีย์ ได้รายงานไว้ในมุสนัดของท่าน ด้วยกับสำนวนที่ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :
«أربع هن من أطيب الكلام , وهن من القرآن, لا يضرك بأيهن بدأت : سبحان الله , والحمد لله , ولا إله إلا الله , والله اكبر2 »
“ถ้อยคำทั้งสี่ประการเป็นถ้อยคำที่ดีที่สุด และถ้อยคำเหล่านั้นมาจากอัลกุรอ่าน ไม่ว่าท่านจะเริ่มกล่าวด้วยกับถ้อยคำใดก็ตาม ก็ไม่มีอันตรายใดๆกับท่านทั้งสิ้น นั่นคือ “ซุบฮานั้ลลอฮ์ วั้ลฮัมดุลิ้ลละห์ วะลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮ์ วั้ลลอฮุอักบัร”
ความประเสริฐประการที่ 2 :
แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
“ถ้อยคำทั้งสี่นั้น เป็นที่รักยิ่งสำหรับฉัน มากยิ่งเสียกว่าที่ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นเสียอีก”
(-หมายถึงมากยิ่งเสียกว่าดุนยาและสิ่งที่มีอยู่ในดุนยา-)
ดังที่มีรายงานในศ่อเฮี้ยะ มุสลิม จากหะดีษของท่าน อบีฮุร็อยเราะฮฺ ขอพระองค์ทรงพอพระทัยท่าน ได้เล่าว่า ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า:
قال رسول الله صلى الله عليه وسلم :(( لأن أقول : سبحان الله ، والحمد لله ، ولا إله إلا الله ، والله أكبر أحبُّ إلي مما طلعت عليه الشمس )) 3
“การที่ฉันจะกล่าวว่า “ซุบฮานั้ลลอฮ์ วั้ลฮัมดุลิ้ลละห์ วะลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮ์ วั้ลลอฮุอักบัร” เป็นที่รักยิ่งแก่ฉันยิ่งกว่าที่ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นเสียอีก (หมายถึงโลกดุนยาเพราะโลกดุนยานี้เท่านั้นที่ดวงอาทิตย์จะยังขึ้นและตก)“
ความประเสริฐประการที่ 3 :
ดังที่ถูกบันทึกไว้ในมุสนัดอิหม่าม อะห์มัด และหนังสือ ชุอะบุ้ล อีหม่าน ของท่านอิหม่ามอัลบัยฮะกี ด้วยกับสายรายงานที่ดี รายงานจากท่าน อาศิม บิน บะห์ดะละห์ จากท่านอบี ศอลิห์ จากท่านอุมมิ ฮานี บินติ อบีตอลิบ นางได้กล่าวว่า :
قالت: مر بي رسول الله ﷺ ، فقلت: يا رسول الله؛ إني قد كبرت وضعفت أو كما قالت فمرني بعمل أعمله وأنا جالسة. قال:(( سَبِّحِي اللهَ مِائَةَ تَسْبِيحَةٍ، فَإِنَّهَا تَعْدِلُ لَكِ مِائَةَ رَقَبَةٍ تَعْتِقِينَهَا مِنْ وَلَدِ إِسْمَاعِيلَ، وَاحْمَدِي اللهَ مِائَةَ تَحْمِيدَةٍ، تَعْدِلُ لَكِ مِائَةَ فَرَسٍ مُسْرَجَةٍ مُلْجَمَةٍ تَحْمِلِينَ عَلَيْهَا فِي سَبِيلِ اللهِ، وَكَبِّرِي اللَّهَ مِائَةَ تَكْبِيرَةٍ، فَإِنَّهَا تَعْدِلُ لَكِ مِائَةَ بَدَنَةٍ مُقَلَّدَةٍ مُتَقَبَّلَةٍ، وَهَلِّلِي اللَّهَ مِائَةَ تَهْلِيلَةٍ - قَالَ ابْنُ خَلَفٍ: أَحْسِبُهُ قَالَ:- تَمْلَأُ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ وَالْأَرْضِ، وَلَا يُرْفَعُ يَوْمَئِذٍ لِأَحَدٍ عَمَلٌ، إِلَّا أَنْ يَأْتِيَ بِمِثْلِ مَا أَتَيْتِ به )).4
قال المنذري رواه أحمد بإسناد حسن،5 وحسن اسناده العلامة الألباني رحمه الله6
“วันหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เดินผ่านมายังฉัน
ฉันจึงกล่าวกับท่านว่า โอ้ท่านร่อซู้ล ฉันอายุมากแล้ว และก็อ่อนแอลงเรื่อยๆ ได้โปรดสอนการงานสักอย่างให้ฉัน เพื่อที่ฉันจะได้ปฏิบัติในขณะที่ฉันนั่งอยู่กับที่
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวว่า
“เจ้าจงกล่าวว่า ซุบฮานั้ลลอฮ์ 100 ครั้ง เพราะว่านั่นเที่ยบเท่ากับว่าเจ้าได้ปล่อยทาสที่เป็นลูกหลานของท่านนบี อิสมาอีล ถึง 100 คน
และจงกล่าวว่า อัลฮัมดุลิ้ลลาห์ 100 ครั้ง เพราะนั่นเท่ากับว่าเจ้าได้บริจาคม้าศึก ที่สวยงาม ที่สวมใส่บังเหียน 100 ตัว ให้แก่ผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ได้นำไปใช้
และจงกล่าวว่า อัลลอฮุอักบัร 100 ครั้ง เพราะนั่นเทียบเท่ากับว่าเจ้าได้บริจาคอูฐที่ได้สวมใส่สัญลักษณ์ว่าคือ “หัดย์” คืออูฐที่จะถูกเชือดในพิธีฮัจย์ 100 ตัว
และจงกล่าวว่า ลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮ์ 100 ครั้ง
ท่าน อิบนุคอลัฟ -คือผู้ที่รายงานฮะดีษต่อจากท่านอาศิม- กล่าวว่า ฉันคิดว่าเขาได้กล่าวว่า
“การกล่าวเช่นนั้น ทำให้สิ่งที่อยู่ระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดินเต็มไปด้วยผลบุญอันมหาศาล และในวันนั้นจะไม่มีผู้ใดที่ความดีของเขาจะถูกยกขึ้นสู่ฟากฟ้าเหมือนกับความดีของเจ้า นอกจากคนที่จะกล่าวเหมือนกับเจ้า”
อัลมุนซิรี่ย์ได้กล่าวว่า “บันทึกโดยท่านอิหม่ามอะห์มัดด้วยกับสายรายงานที่ดี” และชัยคฺอัลอัลบานีย์ได้ระบุว่าเป็นสายรายงานที่ดีเช่นกัน
ท่านทั้งหลายลองพิจารณาถึงภาคผลอันยิ่งใหญ่ที่จะได้รับ เมื่อท่านได้กล่าวถ้อยคำทั้งสี่นี้
ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่เขาได้ให้ความบริสุทธิ์ต่ออัลลอฮ์ 100 ครั้ง หมายถึงว่าเขาได้กล่าวว่า ซุบฮานั้ลลอฮ์ 100 ครั้ง นั่นเท่ากับว่าเขาได้ผลบุญเหมือนการที่ได้ปล่อยทาสที่เป็นลูกหลานของท่านนบี อิสมาอีล ถึง 100 คนด้วยกัน และการระบุเพียงแค่ลูกหลานของท่านนบี อิสมาอีล เป็นการเฉพาะนั้น เพราะว่าลูกหลานของท่านนั้นเป็นเชื้อสายที่มีเกรียติที่สุดในบรรดาชนชาติอาหรับ
และผู้ใดก็ตามที่สรรเสริญต่ออัลลอฮ์ 100 ครั้ง ด้วยการกล่าวว่า อัลฮัมดุลิ้ลลาห์ 100 ครั้ง นั่นเท่ากับว่าเขาจะได้ผลบุญเหมือนการที่เขาได้บริจาคม้าศึก ที่สวยงาม ที่สวมใส่บังเหียน 100 ตัว เพื่อที่ผู้ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์จะได้นำไปใช้
และผู้ใดก็ตามที่ให้ความยิ่งใหญ่ต่ออัลลอฮ์ 100 ครั้ง ด้วยกับการกล่าวว่า อัลลอฮุอักบัร 100 ครั้ง นั่นเท่ากับว่าเขาจะได้ผลบุญเหมือนการที่เขาได้บริจาคอูฐที่สวมใส่สัญลักษณ์ว่าคือ “หัดย์” คืออูฐที่จะถูกเชือดในพิธีฮัจย์ 100 ตัว
และผู้ใดที่กล่าวลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮ์ 100 ครั้ง การกล่าวเช่นนั้น เขาจะได้รับผลบุญมากมายจนทำให้พื้นที่ที่อยู่ระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดินเต็มไปด้วยผลบุญอันมหาศาล และในวันนั้นจะไม่มีผู้ใดที่ความดีของเขาจะถูกยกขึ้นสู่ฟากฟ้าเหมือนกับความดีของเขา นอกจากคนที่จะกล่าวเหมือนกับเขา
ความประเสริฐประการที่ 4 :
การกล่าวถ้อยคำทั้งสี่นั้นจะเป็นการลบล้างความผิดที่เราได้กระทำมา ดังที่มีรายงายในมุสนัด และสุนัน อัตติรมีซียฺ และอัลมุสตัดร๊อก อัลฮากิม จากหะดีษของท่าน อับดุลลอฮฺ บิน อัมรฺ บิน อาศ ขอพระองค์ทรงพอพระทัยท่าน ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :
قال رسول الله ﷺ : (ما على الأرض رجل يقول لا إله إلا الله والله أكبر وسبحان الله والحمد لله ولا حول ولا قوة إلا بالله إلا كفرت عنه ذنوبه وإن كانت أكثر من زبد البحر) حسنه الترمذي ، وصححه الحاكم وأقره الذهبي ، وحسنه الألباني7
ท่าน ร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :
“ไม่มีผู้ใดบนหน้าแผ่นดินที่เขาได้กล่าวว่า ลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮ์ วัลลอฮุอักบัร ซุบฮานั้ลลอฮ์ วั้ลฮัมดุลิ้ลละห์ วะลาเฮาละ วะลากูวะตะ อิ้ลลา บิ้ลลาฮ์ เว้นเสียแต่ว่าความผิดที่เขาได้กระทำมาจะได้รับการลบล้าง ถึงแม้ว่าจะมีมากเหมือนกับฟองน้ำในทะเลก็ตาม”
และความผิดที่จะได้รับการลบล้างตามฮะดีษบทนี้ หมายถึงบาปเล็กๆ ดังที่มีรายงานในศอเฮี้ยะห์ มุสลิม จากหะดีษของท่าน อะบี ฮุร็อยเราะฮ์ ขอพระองค์ทรงพอพระทัยท่าน ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :
أَنَّ رَسُول اللَّهِ ﷺ قَالَ: (( الصَّلَوَاتُ الْخَمْسُ، وَالْجُمُعَةُ إِلَى الْجُمُعَةِ، وَرَمَضَانُ إِلَى رَمَضَانَ، مُكَفِّرَاتٌ مَا بَيْنَهُنَّ، إِذَا اجْتَنَبَ الْكَبَائِرَ8)).
แท้จริงท่าน ร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า :
“การละหมาดห้าเวลา และจากวันศุกร์หนึ่งไปยังอีกวันศุกร์หนึ่ง และจากรอมฎอนหนึ่งไปยังอีกรอมฎอนหนึ่ง เป็นการลบล้างความผิด ตราบใดที่เขาออกห่างจากบาปใหญ่”
ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ระบุถึงการอภัยโทษพร้อมกับการออกห่างจากบาปใหญ่นั่นก็เพราะว่า บาปใหญ่นั้นจะไม่ถูกชำระล้างเว้นเสียแต่ด้วยกับการเตาบะฮ์ตัวเท่านั้น
และยังมีฮะดีษที่มีความหมายเหมือนกัน ดังที่รายงานโดย อัตติรมีซียฺ และท่านอื่นๆ จากหะดีษของท่าน อนัส บิน มาลิก ขออัลลอฮ์ทรงพอพระทัยท่าน กล่าวว่า :
أن النبيَّ صلَّى اللهُ عليهِ وسلَّم مَرَّ بشجرةٍ يابسةِ الوَرَقِ فضَرَبَها بعصاه فتناثر الوَرَقُ فقال رَسُولِ اللَّهِ ﷺ : (( إن الحمدَ للهِ وسبحانَ اللهِ ولا إله إلا اللهُ واللهُ أكبرُ لتُسَاقِطُ
من ذنوبِ العبدِ كما تَسَاقَطَ وَرَقُ هذه الشجرةِ )) وحسنه الألباني9
แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้เดินผ่านต้นไม้ต้นหนึ่งที่ใบของมันนั้นแห้งเหี่ยว แล้วท่านนบีก็ตีมันด้วยกับไม้เท้า จนทำให้ใบไม้ร่วงหล่นลงมา ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวขึ้นว่า
“แท้จริงการกล่าวว่า อัลฮัมดุลิ้ลลาห์ วะซุบฮานั้ลลอฮ์ วะลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮ์ วั้ลลอฮุอักบัร จะทำให้บาปต่างๆของบ่าวนั้นหลุดออกไป ดังเช่นใบไม้ที่ร่วงหล่นจากต้นไม้ต้นนี้”
ความประเสริฐประการที่ 5 :
การกล่าวถ้อยคำทั้งสี่ประการนั้น คือการเพาะปลูกต้นไม้บนสวรรค์ ดังที่มีรายงานโดย อัตติรมีซียฺ จากท่าน อับดุลลฮฺ บิน มัสอู๊ด ขออัลลอฮ์ทรงพอพระทัยท่าน จากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :
( لَقيتُ إبراهيمَ ليلةَ أُسْريَ بي فقالَ : يا محمَّدُ ، أقرئ أمَّتَكَ منِّي السَّلامَ وأخبِرْهُم أنَّ الجنَّةَ طيِّبةُ التُّربةِ عذبةُ الماءِ ، وأنَّها قيعانٌ ، غِراسَها سُبحانَ اللَّهِ والحمدُ للَّهِ ولا إلَهَ إلَّا اللَّهُ واللَّهُ أَكْبرُ)10
ฉันได้พบกับท่านนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม ในค่ำคืนอัลอิสรออ์ แล้วท่านก็ได้กล่าวว่า
“โอ้มุฮำมัด ฉันฝากสลามไปยังประชาชาติของท่านด้วย และจงแจ้งกับพวกเขาว่า แท้จริง สวรรค์นั้นมีดินที่ดี มีน้ำที่ใสสะอาดบริสุทธิ์ มีผืนดินที่ราบเรียบ
และการเพาะปลูกต้นไม้บนสวรรค์ ก็ด้วยกับการกล่าวว่า ซุบฮานั้ลลอฮ์ วั้ลฮัมดุลิ้ลลาห์ วะลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอฮ์ วั้ลลอฮุอักบัร”
ในสายรายงานของหะดีษบทนี้ มีท่าน อับดุลลอฮฺมาน บิน อิสหาก ร่วมอยู่ในสายรายงานด้วย แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีอีกสองสายรายงานที่ทำให้ฮะดีษบทนี้มีความแข็งแรงขึ้นมา นั่นคือหะดีษของท่าน อบี อัยยูบ อัลอันศอรีย์ และหะดีษของท่าน อับบดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร ขออัลลอฮ์ทรงพอพระทัยท่านเหล่านั้น
และคำว่า “กีอาน” ในฮะดีษบทนี้เป็นคำพหูพจน์ ของคำว่า “กออ์” ซึ่งมีความหมายว่า พื้นที่ราบเรียบ ที่มีอณาบริเวณอันกว้างใหญ่ไพศาลบนผืนแผ่นดิน และเหนือพื้นดินก็มีน้ำ ซึ่งผืนดินนั้นจะคอยเก็บกักน้ำและต้นไม้ก็จะเจริญงอกงามบนมัน นี่คือความหมายที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ อัลนิฮายะฮ์ ของ อิบนุ้ลอะษีร 11
และจุดมุ่งหมายของคำว่า กีอาน ในหะดีษบทนี้คือ แท้จริงต้นไม้บนสวรรค์นั้น จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยกับถ้อยคำทั้งสี่ เหมือนกับการที่ต้นไม้เติบโตและเจริญงอกงามบนผืนดิน และคราใดก็ตามที่บ่าวกล่าวถ้อยคำเหล่านั้นมากยิ่งเท่าใด ต้นไม้บนสวรรค์ก็จะยิ่งเจริญงอกงามเท่ากับจำนวนที่เขาได้กล่าวมากยิ่งเท่านั้น
ความประเสริฐประการที่ 6 :
แท้จริงไม่มีผู้ใดที่จะมีความประเสริฐ ณ ที่อัลลอฮ์มากยิ่งไปกว่าผู้ศรัทธาคนหนึ่งที่เขาใช้ชีวิตอยู่ในอิสลาม และก็กล่าวตักบีร กล่าวตัสเบี้ยฮ์ กล่าวตะห์ลีล และกล่าวตะฮ์มีดอย่างมาก
ดังที่มีรายงาน จากอิหม่าม อะห์มัด และ อันนะซาอีย์ ในหนังสืออะมะลุ้ลเยาม์ วั้ลลัยละห์ ด้วยกับสายรายงานที่ดี จากท่าน อับดุลลอฮ์ บิน ชัดด้าด
(أنَّ نفَرًا مِنْ بني عُذرةَ ثلاثةً أتَوا النبيَّ صلَّى اللهُ عليهِ وسلَّمَ فأسلَموا قال : فقال النبيُّ صلَّى اللهُ عليهِ وسلَّمَ : مَنْ يكفينِهم ؟قال طلحةُ : أنا قال : فكانوا عندَ طلحةَ
فبعَث النبيُّ صلَّى اللهُ عليهِ وسلَّمَ بَعْثًا فخرج فيه أحدُهم فاستُشهد قال : ثم بعَث بَعْثًا فخرج فيهم آخرُ فاستُشهد قال ثم مات الثالثُ على فراشِه قال طلحةُ : فرأيتُ هؤلاءِ الثلاثةَ الذين كانوا عندي في الجنةِ فرأيتُ الميتَ على فراشِه أمامَهم ورأيتُ الذي استُشهدَ أخيرًا يَليه ورأيتُ الذي استُشهد أوَّلَهم آخرَهم قال : فدخلني مِنْ ذلك قال : فأتيتُ النبيَّ صلَّى اللهُ عليهِ وسلَّمَ فذكرتُ ذلك له قال : فقال رسولُ اللهِ صلَّى اللهُ عليهِ وسلَّمَ : (( وما أنكرتَ مِنْ ذلك ليس أحدٌ أفضلَ عندَ اللهِ مِنْ مؤمنٍ يُعمَّرُ في الإسلامِ يكثُر تكبيرُه و تسبيحُه وتهليله وتحميده )12
แท้จริงมีคนจากบะนี อุศเราะฮ์ 3 คนได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม แล้วพวกเขาก็เข้ารับอิสลาม
ท่านนบีจึงกล่าวขึ้นว่า “ใครจะให้ความช่วยเหลือพวกเขาทั้งสามคน”
ท่านฏ็อลฮะฮฺ ขอพระองค์ทรงพอพระทัยท่าน ได้กล่าวตอบว่า “ฉันเองครับ ท่านร่อซู้ล”
เมื่อนั้นชายทั้งสามคนก็พำนักอยู่กับท่านฏ็อลฮะฮฺ จนกระทั่งวันหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งทหารออกไปกองหนึ่งเพื่อไปทำสงคราม และก็ชายคนหนึ่งจากสามคนนั้นก็อยู่ร่วมด้วย แล้วเขาก็ตายชะฮีดในสมรภูมิรบ
แล้วหลังจากนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ส่งกองกำลังออกไปอีกหนึ่งกองเพื่อไปทำสงคราม ชายอีกคนจากสามคนนั้นก็ร่วมไปกับทหารกองนั้นด้วย แล้วเขาก็ตายชะฮีดในสมรภูมิ ส่วนชายคนที่สามนั้นเสียชีวิตบนเตียงของเขา (หมายถึงมิได้ตายชะฮีด)
ท่าน ฏ็อลฮะฮฺ ได้กล่าวว่า “ฉันได้เห็นชายทั้งสามคนที่เคยอาศัยอยู่ร่วมกับฉัน พวกเขาได้เข้าสวรรค์ “
(ท่านฏ็อลฮะฮฺได้ฝันเห็นขณะนอนหลับ) ฉันได้เห็นชายคนที่เสียชีวิตบนเตียงเขาอยู่หน้าสุด และฉันก็เห็นชายคนที่ตายชะฮีดคนที่สองอยู่ถัดจากชายคนแรก และฉันได้เห็นชายที่ตายชะฮีดคนแรกอยู่ท้ายสุด”
ท่านฏ็อลฮะฮฺได้กล่าวว่า “และนั่นก็ทำให้ฉันแปลกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น” และฉันก็ได้ไปหาท่านนบี ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แล้วได้เล่าเรื่องดังกล่าวให้ท่านร่อซู้ลฟัง
ท่านร่อซู้ล ศ็อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงกล่าวขึ้นว่า : “เจ้าปฏิเสธเรื่องนั้นได้อย่างไร ไม่มีผู้ใดที่จะมีความประเสริฐ ณ ที่อัลลอฮ์มากยิ่งไปกว่าผู้ศรัทธาคนหนึ่ง ที่เขาใช้ชีวิตอยู่ในอิสลาม และก็กล่าวตักบีร กล่าวตัสเบี้ยฮ์ กล่าวตะห์ลีล และกล่าวตะฮ์มีดอย่างมาก”
และแน่นอนว่าหะดีษบทนี้ได้บ่งบอกถึงความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ของคนที่มีอายุยืนยาว และมีการงานที่ดี แล้วลิ้นของเขาก็ยังคงเปียกชุ่มไปด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮ์
ผู้เขียน : ชัยคฺ อับดุลร็อซซาก บิน อับดิล มุหฺซิน อัล-บัดรฺ
ถอดความ : อนัส ลีบำรุง
ตรวจทาน : อาจารย์ อัสมัน มีสมบูรณ์
1 ศอเฮี้ยะห์มุสลิม ลำดับที่ 2137
2 มุสนัดอัตเตาะยาลิซียฺ หน้า 122
3 ศอเฮี้ยะห์มุสลิม ลำดับที่ 2695
4 อัลมุสนัด (เล่ม 6 หน้า 344 ), ชุอะบุ้ล อีหม่าน ลำดับที่ 612
5 อัตตัรฆีบ วัตตัรฮีบ (เล่ม 2 หน้า 409)
6 ซิลซิละฮฺ อัศศ่อฮีฮะหฺ (เล่ม 3 หน้า 303) , ท่าน อัลบานียฺ กล่าวว่ามีสายรายงานที่ดี
7 อัลมุสนัด (เล่ม 2 หน้า 158,210) ,อัตติรมีซียฺ (ลำดับที่ 3460) , มุสตัดร๊อก อัลฮากิม (เล่ม 1 หน้า 503) , ศอเฮี้ยะห์ อัลญามิหฺ (ลำดับที่ 5636)
8 ศอเฮี้ยะห์ มุสลิม (ลำดับที่ 233)
9 สุนันอัตติรมีซียฺ (ลำดับที่ 3533) , ศ่อเฮี้ยะห์ อัลญามิหฺ (ลำดับที่ 1601)
10 สุนันอัตติรมีซียฺ (ลำดับที่ 3462) , ท่านอัลบานียฺ กล่าวว่าเป็นหะดีษที่ดี ในหนังสือ ซิลซิละฮฺ อัลอะฮาดีษ อัลศ่อเฮี้ยะห์ (ลำดับที่ 105)
11 เล่ม 4 หน้า 132