เด็กๆ....ก็เครียดเป็น
ในปัจจุบันเราต้องเผชิญกับสิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดความเครียดอยู่บ่อยครั้ง หากรู้ตัวว่าเกิดความเครียดก็ควรรีบหาทางแก้ไข ความเครียดในผู้ใหญ่อาจรู้ตนเองว่ากำลังเครียด เมื่อเรามีอาการเจ็บป่วย เช่น ปวดศรีษะ ปวดท้อง หรือใจสั่นโดยไม่ทราบสาเหตุ ความเครียดจะส่งผลทำให้เกิดความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมนในร่างกาย เกิดการเสื่อมของร่างกายก่อนวัยอันควร หรือที่เรียกว่า แก่ง่าย ตายเร็ว การเผชิญกับความเครียดผู้ใหญ่สามารถรับรู้และหาหนทางแก้ไขด้วยตนเอง แต่สำหรับเด็ก เมื่อเด็กเกิดความเครียด เด็กจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองให้พ้นจากความเครียดได้ ดังนั้นเราจะทราบได้อย่างไรว่า"เด็กเครียด" เราจะมีวิธีช่วยเหลือลูกรักของเราได้อย่างไร
"หนูปวดท้อง หนูไม่อยากไปโรงเรียน" ทุกเช้าก่อนไปโรงเรียนน้องเออายุ 3 ขวบจะนั่งอาเจียนและบ่นไม่อยากไปโรงเรียน
"หนูทำไม่ได้ หนูทำไม่ได้ หนูกลัวทำผิด" น้องบีอายุ 4 ขวบครึ่ง พูดไปร้องไห้ไปขณะทำแบบฝึกหัดคณิตศาสตร์กับคุณครู
คำพูดเหล่านี้ของเด็กเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่แสดงว่าเด็กเริ่มมีอาการของความเครียดเกิดขึ้น เราควรมาทำความรู้จักว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเครียด
พ่อแม่ทราบอย่างไรว่าลูกเครียด...
ความเครียด คือ ความกังวล ไม่สบายใจเมื่อเด็กต้องเผชิญปัญหา ไม่ว่าจะด้านอารมณ์ หรือความต้องการ ด้านการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เพื่อให้อยู่ในสังคมนั้นๆได้ เมื่อเด็กต้องเผชิญต่อปัญหาจะเกิดการปรับตัวเพื่อลดความกังวลและความไม่สบายใจที่เกิดขึ้น เมื่อปรับตัวไม่ได้ก็จะเกิดความเครียดขึ้น
ความเครียดนั้นแบ่งได้เป็น 3 ระดับ
ความเครียระดับต่ำ (Mild Stress) มีความเครียดน้อยและหมดไปภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ความเครียดระดักลาง (Moderate Stress) ระดับนี้มีความเครียดอยู่นานหลายชั่วโมงจนเป็นวัน ความเครียดระดับสูง (Severe Stress) ความเครียดระดับนี้จะอยู่นานเป็นสับดาห์ เป็นเดือน เป็นปีได้ เช่น การตายจาก หรือมีความเจ็บป่วยรุนแรงเมื่อเด็กมีความเครียดเด็กไม่สามารถบอกเราได้ว่า "โอ้ย ! หนูเครียด" "หนูไม่สบายใจ" เมื่อเด็กมีความเครียดเด็กจะแสดงออกมาในรูปแบบ
- ร้องไห้ งอแง หงุดหงิด ไม่เชื่อฟังพ่อแม่จนกลายเป็นเด็กดื้อ
- มีพฤติกรรมที่ผิดแปลก เช่น ดูดนิ้มือ ดึงผม เช็ดจมูก
- มีอาการปวดท้อง ปวดศรีษะ อาเจียน
- นอนหลับยาก ตื่นนอนในเวลากลางคืน นอนละเมอ ปัสสาวะลดที่นอน
- บางคนอาจแสดงถึงความไม่มั่นใจในตนเอง ไม่กล้าแสดงออก เอาแต่ใจตนเอง
- แยกตัวไปอยู่ลำพัง เก็บตัว และอาจมีอาการซึมเศร้า
- เด็กมีลักษณะไม่นิ่ง บางคนอาจจะอาละวาดไม่ยอมหยุด ไม่มีเหตุผล
- เด็กเริ่มโกหก นิสัยก้าวร้าวรุนแรงมากขึ้น จะพบในเด็กที่โตขึ้น
- ในบางคนที่มีภาวะสมาธิสั้นอยู่แล้ว จะทำให้มีอาการมากขึ้น
ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้จะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่มากระตุ้น และวิธีการปรับตัวของเด็ก
ความเครียดมีผลกระทบต่อเด็กอย่างไร...
มนุษย์เราสามารถปรับตัวและควบคุมให้ทนต่อความเครียดได้ในระดับหนึ่ง โดยปรับให้จิตใจอยู่ในระดับที่สมดุล (Psychological equilibrium) หรือเป็นปกติเหมือนกับคนทั่วไป แต่ถ้าความเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และปล่อยให้มีอยู่นานจนเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย จิตใจ และชีวิตความเป็นอยู่
สำหรับเด็กเล็ก ความเครียดจะมีผลต่อจิตใจและอารมณ์ของเด็กเป็นอย่างมาก ซึ่งพัฒนาการทางด้านอารมณ์ของเด็กเล็กจะมีความกลัว และความวิตกกังวลจะแสดงออกให้เห็นได้อย่างเปิดเผย
ความเครียดส่งผลต่อร่างกายให้สร้างฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียด (Cortisone) ที่ส่งผลให้สมองส่วน Cortex และพื้นที่สมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิด ความฉลาด สูญเสียไป กล่าวได้ว่า ความเครียดมีผลขัดขวางต่อการเรียนรู้ของเด็ก อีกทั้งยังทำให้กลายเป็นคนก้าวร้าวหรือไม่มั่นใจตนเอง เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่มีผลทำให้บุคคลิกภาพที่ดีเสียไป
สาเหตุที่ทำให้เด็กเล็กเกิดความเครียด..
ความเครียดนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ ความรัก ความอบอุ่น และการเลียงดูของพ่อแม่มีผลต่อการพัฒนาบุคคลิกภาพของเด็กวัยต่อมา เด็กจะมีการพัฒนาความรู้สึกเชื่อมั่น ความไว้วางใจบุคคลรอบข้างหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการได้รับการเลี้ยงดูที่อบอุ่นจากครอบครัว
ปัญหาสำคัญที่ทำให้เด็กเล็กเกิดความเครียดได้แก่
- ปัญหาสุขภาพ
การที่เด็กมีสุขภาพไม่แข็งแรง ขาดอาหาร ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือเจ็บป่วยบ่อยๆ จะทำให้เด็กมีอารมณ์หงุดหงิด ร้องไห้ เอาแต่ใจตนเอง ไม่รู้จักรอคอย และก้าวร้าวต่อคนอื่น
- การอบรมเลี้ยงดู
การเลี้ยงดูแบบเข้มงวดมากเกินไป (Authoritarian Control) พ่อแม่ที่เลี้ยงดูเด็กให้อยู่ในวินัยอย่างเคร่งครัดไม่ยืดหยุ่น หรือตั้งความคาดหวังกับลูกเกินกว่าความสามารถของเด็ก เช่น คาดหวังให้ลูกสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนดังๆ หรือให้ลูกเล่นกีฬาอย่างเป็นเลิศ ถ้าลูกทำไม่ได้พ่อแม่จะหงุดหงิด บางคนพาลไม่พูดกับลูก และไม่ให้การปฏิบัติอย่างที่เคยปฏิบัติมาก่อน ส่งผลให้เด็กเกิดความเครียด เด็กอาจแสดงออกโดยมีปัญหาการกิน การพูด เช่น กลายเป็นเด็กที่พูดติดอ่างได้
การเลี้ยงดูแบบย้ำคิดย้ำทำมากเกินไป พ่อแม่ที่มีความกังวลกับลูก คอยย้ำถามย้ำปฏิบัติกับเด็ก ทั้งๆที่เด็กต้องการและไม่ต้องการ มีผลทำให้เด็กต้องอยู่ในบรรยากาศที่ต้องระวังตลอดเวลา ทำให้เด็กมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก จนทำให้เกิดความเครียดขึ้นมา เมื่อโตขึ้นอาจกลายเป็นคนย้ำคิดย้ำทำ ทำให้บุคคลิกภาพเสียไป
การเลี้ยงดูแบบตามใจมากเกินไป พ่อแม่ที่ตามใจลูกมากเกินไป ให้ทุกอย่างที่ลูกต้องการโดยไม่คิดว่าเหมาะสมหรือไม่ อาจเกิดจากพ่อแม่คิดว่าหากขัดใจลูกแล้ว ลูกจะร้องสร้างความรำคาญ หรือพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูกจึงทดแทนด้วยสิ่งของที่ลูกต้องการ เมื่อเด็กถูกตามใจมากๆ จะกลายเป็นคนที่เอาแต่ใจตนเอง เมื่อไปอยู่ในสังคมอืน เด็กจะเกิดความคับข้องใจไม่สามารถปรับตัวได้ และแสดงออกด้วยพฤติกรรมก้าวร้าว กรีดร้อง เต้นเร่าๆ พ่อแม่ไม่ควรรีบโอ๋เด็ก ควรอยู่เฉยๆ และไม่ควรเดินจากไปจนกระทั่งเด็กสงบลง การดูแลอย่างใกล้ชิดจะมีผลให้เด็กสงบลง
- สภาพแวดล้อมในครอบครัว
เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น พ่อแม่หย่าร้างกัน เด็กถูกทอดทิ้ง พ่อม่ทะเลาะกัน พ่อแม่ดุด่าลูกเป็นประจำหรือสภาพครอบครัวมีแต่ความตึงเครียด มีปัญหาด้านเศรฐกิจ พ่อแม่ที่มีแต่ความเครียดจะทำให้ลูกเครียดด้วย เพราะเด็กที่อยู่ในสภาพเช่นนี้จะสงผลกระทบทางจิตใจ และอารมณ์อย่างมาก หากต้องอยู่สภาพเช่นนี้ไปนานๆ จะส่งผลให้เกิดความเครียดเรื้อรัง เด็กจะแสดงออกโดยมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เอาแต่ใจตนเอง แยกตัว และซึมเศร้าได้
- สภาพแวดล้อมที่โรงเรียน
กฏระเบียบของโรงเรียนที่เข้มงวดมากเกินไป เด็กที่เรียนในโรงเรียนที่สอนวิชาการมากเกินไป เช่นสอนคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ อีกทั้งให้เด็กอยู่กับการเรียน และการอ่านมากเกินไป แทนที่จะได้ทำกิจกรรมที่เตรียมความพร้อมเด็กตามวัย จะทำให้เด็กไม่ได้พักผ่อน เกิดความเหนื่อยล้า ส่งผลให้เด็กเกิดความเครียดขึ้นมาและไม่อยากไปโรงเรียน ซึ่งจริงๆแล้วผู้ใหญ่ควรศึกษาวิธีปฏิบัติเพื่อช่วยคลายเครียดให้แก่เด็กด้วยค่ะ
วิธีลดความเครียดให้แก่เด็ก
1.) การให้เด็กได้ออกกำลังกาย เพื่อให้เด็กได้เคลื่อนไหวร่างกาย เช่นการกระโดด ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน ไม่เพียงแต่จะส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตทางร่างกายเหมาะสมตามวัย แต่จะทำให้เด็กมีจิตใจที่สดชื่นช่วยลดความตึงเครียดได้ เพราะขณะออกกำลังกายร่างกายจะได้รับออซิเจนมากขึ้น การไหลเวียนของโลหิตจะดีขึ้น สมองได้หยุดคิดเองเครียดชั่วคราว และภายหลังจากการออกกำลังกายแล้วร่างกายะลั่งฮอร์โมนความสุขออกมา ทำให้รู้สึกคลายความเครียด
2.) การทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว ควรมีเวลาทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ เช่นอ่านหนังสือให้ลูกฟัง ปลูกต้นไม้ ให้ลูกได้ช่วยทำงานบ้านเล็กๆน้อยๆ หรือทำในสิ่งที่ครอบครัวชื่นชอบ และให้ความเพลิดเพลิน มีความสุข ทำให้เด็กลืมเรื่องเครียด อีกทั้งยังทำให้เกิดความอบอุ่นในครอบครัวด้วย
3.) การพูดอย่างสร้างสรรค์ พูดในทางบวก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับการพูดจากับลูกให้มาก คือการพูดในทางบวก การชมเชยลูก การให้กำลังใจ เช่น "เก่งจังเลย" "สวยจังเลย" "ทำได้เยียมไปเลย" เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องสอนลูก ควรใช้คำพูดที่สุภาพ ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ทำให้เกิดบรรยากาศที่ดี และช่วยให้ความสัมพันธ์ของคุณและลูกมีความสุขขึ้น
4.) การแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม เป็นเรื่องจำเป็น เช่น ไม่ควรตามใจเด็กมากเกินไป อาจให้เด็กร้องให้บ้าง และเมื่อหยุดร้อง อธิบายเหตุผลให้เด็กได้รู้ถึงข้อดี ข้อเสีย เพราะการร้องไห้เป็นการระบายความเครียดได้ดีอย่างหนึ่ง เด็กจะได้ไม่เก็บความเครียดไว้
5.) พ่อแม่ควรมีความยืดหยุ่นในการทำกิจวัตรประจำวัน ไม่ควรทำกิจกรรมที่เร่งรีบ เร่งรัดเกินไป แต่ควรฝึกให้ลูกรู้จักวินัยความรับผิดชอบ โดยพ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดีในการสอนเด็ก วันหยุดให้เด็กได้พักผ่อน ทำกิจกรรมที่เด็กชอบ การเรียนศิลปะ กีฬาที่พอเหมาะจะทำให้เด็กมีความสุข
6.) การยอมรับในความสามารถของเด็ก และไม่ควรบังคับเด็กให้ทำในสิ่งที่ยังไม่พร้อม เช่น การสอนให้คัด ก.ไก่ ข.ไข่ ตั้งแต่อายุไม่ถึง 4 ปี การให้นั่งเรียนอยู่ที่โต๊ะเรียนเป็นเวลานานเกินไป เป็นต้น
7.) เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นควรหาสาเหตุก่อนเพื่อทำการแก้ไข ก่อนที่จะลงโทษเด็ก ควรถามถึงเหตุผลที่เด็กกระทำสิ่งนั้นว่าคืออะไร? ทำไมจึงทำ? เมื่อทราบสาเหตุจะทำให้เข้าใจถึงการกระทำของเด็ก ส่งผลให้เราสามารถพูดคุยและสอนเด็กได้อย่างถูกต้อง และส่งเสริมให้เด็กได้แก้ไขในสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามีผลดีผลเสียอย่างไร
8.) การให้เด็กได้พบกับประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่อันตราย การรู้จักความผิดพลาดบ้าง ทำให้เด็กเกิดความเรียนรู้ รู้จักปรับตัวและรู้จักแก้ไขปัญหา
ความเครียดเป็นสิ่งที่แก้ไขได้ และถ้าเครียดอย่างพอเหมาะเป็นสิ่งที่ดี โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่มีความเครียดอย่างพอเหมาะจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ประสบความสำเร็จในการทำงานได้ เช่นเดียวกับในงานวิจัย เด็กทารกที่ได้รับความเครียดอย่างเหมาะสม เช่น การให้เด็กร้องไห้บ้าง ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตพิ่มขึ้น แต่ถ้าความเครียดเกิดขึ้นมากและนานจะทำให้เกิดผลเสียทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ดังนั้นพ่อแม่ควรป้องกันและหาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดต่อลูก หลีกเลี่ยงสถานะการที่ทำให้เด็กเครียดน้อยลง และสอนให้เด็กรู้จักปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเพื่อให้เด็กอยู่ได้ในสังคม ครอบครัวจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญที่สุด ที่จะช่วยให้เด็กผ่านพ้นสภาพความเครียดไปได้ อย่าลืมว่า "เมื่อพ่อแม่มีความสุข ลูกก็จะมีความสุขด้วย"
ความเข้าใจในพัฒนาการของลูกรัก และความรักความอบอุ่นในครอบครัวเป็นสิ่งที่ทำให้พ่อแม่สามารถเลี้ยงดูลูกให้เติบโตได้อย่างมีความสุข สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ไม่ว่าจะเผชิญความเครียดแบบไหนก็ตาม ลูกรักก็จะเป็นคนที่มีสุขภาพจิตดีตลอดไป.
"Healthtoday"