มารยาทการถือศีลอด 2
  จำนวนคนเข้าชม  2787


มารยาทการถือศีลอด

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทุกท่าน ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ เราท่านทั้งหลาย ตลอดจนประชาชาติมุสลิมในทั่วทุกมุมโลก จะได้มีโอกาสต้อนรับเดือนเราะมะฎอน เป็น เดือนอันประเสริฐ เป็นฤดูกาลที่พระองค์อัลลอฮฺทรงใช้ให้บ่าวของพระองค์ ถือศีลอดในเดือนนี้ ดังที่อัลลอตรัสไว้ในซูเราะห์ อัลบะเกาะเราะห์ อายะห์ที่ 183

 

((يَا أَيّهَا الذِيْنَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذَيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْنَ))

 

     “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่สูเจ้าทั้งหลาย เช่นเดียวกับที่ได้ถูกบัญญัติแก่ประชาชาติก่อนสูเจ้า เพื่อว่าสูเจ้าจะได้รับความตักวายำเกรง

 

    อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า เราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

 

أتَاكُمْ رَمَضَانَ، شَهْرٌ مُبَارَكٌ، فَرَضَ اللهُ عَزَّ وَجَلَّ عَلَيْكُمْ صِيَامَهُ

 

"เดือนเราะมะฏอนได้มาถึงพวกท่าน ซึ่งเป็นเดือนอันดีงามที่อัลลอฮ์ ได้บัญญัติให้พวกท่านถือศีลอด

(บันทึกโดย อะหมัด)

          คุณเตรียมตัวต้อนรับเดือนอันประเสริฐนี้แล้วหรือยัง วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับมารยาทที่ผู้ถือศีลอด เพื่อให้อิบาดะห์ศีลอดของเขา เป็นอิบาดะห์ที่สมบูรณ์ ดังต่อไปนี้

 

 

♥ ดุอาอฺเมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว

 

รายงานจากท่าน อิบนุ อุมัร กล่าวว่า ท่านนบี เมื่อเห็นจันทร์เสี้ยว กล่าวว่า

 

اللهُ أَكْبَرُ . اللَّهُمَّ أَهِلَّهُ عَلَيْنَا بِالأَمْنِ وَالإِيْمَانِ وَالسَّلامَةِ وَالإِسْلامِ وَالتَّوْفِيْقِ لِمَا تُحِبُّ وَتَرْضَى رَبِّيْ وَرَبُّكَ اللهُ .

 

     อัลลอฮุอักบัร อัลลอฮุมมะอะฮิลละฮู อะลัยนา บิลอัมนิ วัลอีมานิ วัสสลามะติ วัลอิสลามิ วัตเตาฟีกิ ลิมา ตุฮิบบุ วะตัรฎอ ร็อบบี วะร็อบบุกัลลอฮุ

 

     ความว่า : “อัลลอฮฺทรงเกรียงไกร โอ้อัลลอฮฺ ขอให้(จันทร์เสี้ยวนี้)ปรากฏต่อเราด้วยความสวัสดิภาพ ความศรัทธา ความปลอดภัย อิสลาม และทางนำในสิ่งที่พระองค์ทรงโปรดและพอพระทัย พระผู้อภิบาลของฉันและท่านคืออัลลอฮฺ

(บันทึกโดยติรมิซียฺและดาริมียฺ อิบนิฮิบบานกล่าวว่าศ่อเฮียะฮฺ)

 

 

♥ ถือศีลอดด้วยความบริสุทธิ์ใจ

 

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า

 

مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ

 

ใครที่ถือศีลอดด้วยกับความศรัทธาและหวังในผลตอบแทนความผิดของเขาที่ผ่านมานั้นจะถูกลบล้าง

(บันทึกโดย อะหมัด ติรมีซีย์)

 

 

♥ การเนียตถือศีลอด

 

          แน่นอนว่า การตั้งเจตนาในเรื่องของอิบาดะฮ์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในชีวิตของมุสลิมทุกๆคน เพราะนั้นคือการแสดงเจตนาอารมณ์ต่ออัลลอฮฺ หากว่าเจตนานั้น บริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ ปฏิบัติสิ่งที่ดีและละทิ้งสิ่งไม่ดี เท่ากับว่าเขานั้นได้ตอบสนองคำสั่งของพระองค์อย่างสมบูรณ์และหวังในผลตอบแทนเพื่อจะให้การปฏิบัตินั้นถูกต้องและถูกตอบรับ

 

{فَمَن كَانَ يَرْجُو لِقَاء رَبِّهِ فَلْيَعْمَلْ عَمَلًا صَالِحًا وَلَا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِ أَحَدًا} (الكهف: 110).

 

     “ดังนั้น ผู้ใดหวังที่จะพบพระผู้เป็นเจ้าของเขา ก็ให้เขาประกอบการงานที่ดี และอย่างตั้งผู้ใดเป็นภาคีในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเลย

 

          แต่ถ้าหากบุคคลใดตั้งเจตนาไม่บริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ การงานนั้นจะไม่ถูกตอบรับ ตั้งใจแบบไหนผลของมันจะออกมาแบบนั้น

 

ท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

 

إنَّمَا الأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ، وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى

 

     “แท้จริงทุกๆการงานจะขึ้นอยู่กับการตั้งเจตนา และแท้จริงทุกๆคนจะได้รับ (การตอบแทน) ตามที่เขาได้เจตนาไว้

(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์, มุสลิม)

 

     มัสฮับ ชาฟีอีย์ การเนียตเป็นสิ่งวายิบในการถือศีลอด หากไม่เนียต ถือว่าการถือศีลอดใช้ไม่ได้

 

ท่านนบี กล่าวว่า

 

إنَّمَا الأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ، وَإِنَّمَا لِكُلِّ امْرِئٍ مَا نَوَى

 

แท้จริง การงานนั้น ตั้งอยู่บนการเจตนา และ ทุกกิจการงาน ขึ้นอยู่กับการเนียต

(บันทึกโดย บุคครีย์)

 

     มัสฮับ ชาฟีอีย์ การเนียตนั้นถือว่าสิ่งที่จำเป็นจะต้องเนียตทุกๆ วันของเดือนเราะมะฎอน เพราะว่าทุกๆวันนั้นคือการทำอิบาดะฮ์ที่เฉพาะเจาะจงของวันนั้น เริ่มตั้งแต่แสงฟะญัรขึ้นจนกระทั่งดวงอาทิตย์ตกดิน

 

     ท่านเชคอิบนุ อุษัยมีน มีความเห็นว่า การเนียตถือศีลอดตลอดทั้งเดือนถือว่าใช้ได้ ไม่ได้มีเงื่อนไขจะต้องตั้งเจตนาทุกๆวัน การเนียตในวันแรกของเดือนเราะมะฎอนถือว่าอนุญาต หากไม่มีอุปสรรคขัดระหว่างการถือศีลอด หากว่ามีอุปสรรคทำให้วันหนึ่งวันใดไม่สามารถถือศีลอดได้ เช่น เดินทาง ป่วย มีประจำเดือน ควรจะเริ่มเนียตใหม่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่า

 

เวลาเนียตตั้งแต่กลางคืนของวันนั้นๆ

 

{ مَنْ لَمْ يُبَيِّتْ الصِّيَامَ مِنْ اللَّيْلِ فَلا صِيَامَ لَهُ} [رواه الدارقطني والبيهقي وصححه الألباني].

 

     “ใครก็ตามไม่เจตนาจะถือศีลอดก่อนแสงฟะญัรขึ้น สำหรับเขานั้น ไม่นับว่าเขานั้นได้ถือศีลอด แท้จริงแล้วการตั้งเจตนานั้น เริ่มกลางคืนของวันนั้น

 

จากหลักฐานของท่านหญิง ฮัฟเซาะฮ์

 

مَنْ لَمْ يُبَيِّتْ الصِّيَامَ مِنْ اللَّيْلِ فَلا صِيَامَ لَهُ رواه الخمسة، ومال الترمذي والنسائي

 

ใครไม่ได้ตั้งเจตนาถือศีลอดก่อนฟะญัร เท่ากับว่าเขานั้นไม่ได้ถือศีลอด

 

          สรุป การตั้งเจตนานั้นคือ เงื่อนไขการถือศีลอดที่ทำให้การงานนั้นถูกต้อง ไม่ว่าการถือศีลอดวายิบและสุนนะ เช่นเดียวกับการละหมาดและอิบาดะฮ์อื่นๆ ใครตั้งใจละทิ้งการเนียตแน่นอนการถือศีลอดของเขานั้นใช้ไม่ได้ จำเป็นจะต้องเนียตทุกๆวันของการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน ส่วนเวลาของการตั้งเจตนา คือ ช่วงเวลากลางคืนของวันนั้น

 

 

♥ ส่งเสริมบริจาคทานให้มากในเดือนเราะมะฎอน

 

จากอิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ท่านได้กล่าวว่า :

 

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ، وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِى رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ جِبْرِيلُ، وَكَانَ يَلْقَاهُ فِى كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ رَمَضَانَ فَيُدَارِسُهُ الْقُرْآنَ، فَلَرَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدُ بِالْخَيْرِ مِنَ الرِّيحِ الْمُرْسَلَةِ.

 

      “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม เป็นคนที่ใจบุญมากที่สุด และท่านจะใจบุญมากยิ่งไปอีกในช่วงที่มลาอิกะฮฺญิบรีลมาพบท่านในเดือนเราะมะฎอน โดยเขาจะมาพบท่านในทุกค่ำคืนของเดือนเราะมะฎอน

     แล้วญิบรีลก็จะศึกษาทบทวนอัลกุรอานกับท่าน และแท้จริงท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม นั้นเป็นคนที่เอื้อเฟื้อความดี(ใจบุญอย่างกว้างขวาง)มากมายยิ่งกว่าลมที่หอบพัดเสียอีก

 (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

 

 

♥ คำพูดของผู้ถือศีลอดเมื่อ ถูกด่าท่อหรือทำร้าย

 

     มีรายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ แจ้งว่าท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า อัลลอฮฺตะอาลาตรัสว่า

 

كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ يُضَاعَفُ الْحَسَنَةُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا إِلَى سَبْعِمِائَةِ ضِعْفٍ. قَالَ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ : إِلاَّ الصَّوْمَ فَإِنَّهُ لِى وَأَنَا أَجْزِى بِهِ، يَدَعُ طَعَامَهُ وَشَهْوَتَهُ مِنْ أَجْلِى ، لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ فَرْحَةٌ عِنْدَ فِطْرِهِ ، وَفَرْحَةٌ عِنْدَ لِقَاءِ رَبِّهِ ، وَلَخُلُوفُ فِيهِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللَّهِ مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ ، الصَّوْمُ جُنَّةٌ الصَّوْمُ جُنَّةٌ ) (وفي رواية"وَإِذَا كَانَ يَوْمُ صَوْمِ أَحَدِكُمْ فَلاَ يَرْفُثْ وَلاَ يَصْخَبْ، فَإِنْ سَابَّهُ أَحَدٌ أَوْ قَاتَلَهُ فَلْيَقُلْ إِنِّي امْرُؤٌ صَائمٌ

 

     “การงานทุกชนิดของมนุษย์นั้นเป็นของมนุษย์ นอกจากการถือศีลอดมันเป็นของข้า (อัลลอฮฺ) และข้าจะเป็นผู้ตอบแทนแก่เขา

     การถือศีลอดเป็นเกราะคุ้มกัน และเมื่อปรากฏว่าวันแห่งการถือศีลอดของคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้า เขาอย่าได้พูดจาหยาบคายไร้สาระและอย่าส่งเสียงอึกทึก และถ้าหากคนหนึ่งคนใดด่าเขาหรือทำร้ายเขา ก็จงกล่าวว่าแท้จริงฉันนี้ถือศีลอด

     ฉันขอสาบานว่าชีวิตของมุฮัมมัดอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระองค์ แท้จริงกลิ่นปากของผู้ถือศีลอดนั้นมีกลิ่นหอม ณ ที่อัลลอฮฺมากกว่ากลิ่นหอมของชะมดเชียง

     สำหรับผู้ถือศีลอดนั้นมีเวลาดีใจสองครั้ง เขาจะดีใจในเวลาทั้งสองคือ เมื่อเขาแก้ศีลอดเขาจะดีใจ และเมื่อเขาพบพระเจ้าของเขา เขาจะดีใจเพราะการถือศีลอดของเขา

( บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺและมุสลิม)

 

 

♥ รีบเร่งละศีลอด

 

มีรายงานจากซะฮฺล อิบนฺซะอีด แจ้งว่า แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

لا يَزَالُ النَّاسُ بِخَيْرٍ مَا عَجَّلُوْا الفِطْرَ

 

มนุษย์ยังคงอยู่ในความดีตราบใดที่พวกเขารีบเร่งในการแก้ศีลอด

(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

 

เพราะการรีบเร่งในการแก้ศีลอดเป็นมารยาทของบรรดานบี มีรายงานจากอะบิดัรดาอฺ กล่าวว่า

 

ثَلاثٌ منِ أَخْلاقِ النُّبُوَّةِ : تَعْجِيْلُ الفِطْرِ ، وَتَأْخِيْرُ السُّحُوْرِ ، وَوَضْعُ اليَمِيْنِ عَلَى الشِّمَالِ في الصَّلاة

 

          “สามประการที่เป็นมารยาทของบรรดานบี คือ การรีบเร่งในการแก้ศีลอด การกินสะฮูรให้ล่าช้า และการวางมือขวาบนมือซ้ายในขณะละหมาด” 

(บันทึกโดย : อัฎฎ๊อบรอนีย์)

 

 

♥ ละศีลอดด้วยผลอินทผลัมสด

 

จากท่าน อะนัส อิบนุ มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม

 

كَانَ النَّبِيُّ ﷺ يُفْطِرُ قَبْلَ أَنْ يُصَلِّيْ عَلىَ رُطَبَاْتٍ، فَإِنْ لَّمْ تَكُنْ رُطَبَاْتٌ فَتُمَيْرَاْتٍ، فَإِنْ لَمْ تَكُنْ تُمَيْرَاتٌ حَسَا حَسَوَاتٍ مِنْ مَّآءٍ.

 

     “จะละศีลอดก่อนละหมาด(มัฆริบ)ด้วยลูกอินทผาลัมสดจำนวนเล็กน้อย ถ้าไม่มีอินทผาลัมสดท่านจะละศีลอดด้วยอินทผาลัมแห้งเล็กๆ จำนวนหนึ่ง หรือถ้าไม่มีอินทผาลัมแห้ง ท่านจะจิบหรือดื่มน้ำสองสามครั้ง

( โดย อัต-ติรฺมิซี)

 

     อิบนุล ก๊อยยิม กล่าวว่า : ท่านนบีจะทำการละศิลอดด้วยลูกอินทผลัมสด หรือไม่ก็ด้วยอินทผลัมแห้ง หรือไม่ก็ด้วยน้ำ ตามลำดับ

 

     ท่านเชค อุษัยมีน กล่าวว่า ไม่มีซุนนะฮ์ที่ถูกต้องจากท่านนบีให้เจาะจงละศีลอดด้วยอินผาลัมจำนวนคี่(3,5,7,9) แต่ถ้าใคร ชอบกินพอดีประมาณ 3 เม็ด หรือ 5 เม็ด อยู่แล้ว ไม่เป็นไร ซุนนะฮ์ให้เริ่มแก้ด้วยกับอินทผาลัมสด ถ้าไม่มีก้อด้วยแบบแห้ง โดยไม่เจาะจงจำนวน ถ้าไม่มีก็น้ำเปล่า มีเพียงแค่วันอีดฟิตรี ที่มีสุนนะให้ทานอินทผลัมก่อนละหมาดที่สนามจำนวนคี่

 

 

♥ ขอดุอาอฺขณะละศีลอด

 

ขณะละศีลอดท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยกล่าวบทขอพรว่า

 

ذَهَبَ الظَّمَأُ وَابْتَلَّتِ الْعُرُوْقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِنْ شَاءَ اللهُ

 

ซะฮะบัซ เซาะมะอุ, วับตัลละติล อุรูก, วะษะบะตัล อัจญ์รุ, อินชา อัลลอฮฺ

 

     “ความกระหายได้มลายไปแล้ว เส้นสายต่าง ๆ ได้เปียกชุ่มแล้ว และผลตอบแทนก็ปรากฏแล้ว หากอัลลอฮฺตะอาลาทรงประสงค์

(รายงานโดย อบู ดาวูด)

 

     ชัยคฺ ศ.ดร.สุลัยมาน บิน ซะลีมุลลอฮฺ อัรรุหัยลีย์ กล่าวดุอาอฺนี้หลังจากละศีลอดเเล้ว ไม่ใช่ก่อนจะละศีลอด

 

 

♥ ละศีลอดก่อนไปละหมาด

 

จากท่าน อะนัส อิบนุ มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า

 

كَانَ النَّبِيُّ ﷺ يُفْطِرُ قَبْلَ أَنْ يُصَلِّيْ

 

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม จะละศีลอดก่อนละหมาด (มัฆริบ)”

( รายงานโดย อัต-ติรฺมิซี)

 

 

♥ อ่านอัลกรุอ่านให้มากๆ

 

     เดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนแห่งอัลกุรอาน เดือนที่อัลกุรอาน ได้ถูกประทานลงมา เพื่อเป็นทางนำและแนวทางในการดำรงชีวิตของมนุษยชาติ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสว่า

 

شَهْرُ رَمَضَانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيهِ الْقُرْآنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الهُدَى وَالْفُرْقَانِ

 

     “เดือนเราะมะฏอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นทางนำสำหรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จ

(ซูเราะห์อัลบะเกาะเราะฮฺ อายะห์ที่ 185)

และอายะห์ที่อัลลอฮฺตรัสว่า

 

إِنَّا أَنزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ

 

แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลก็อดรฺ

(ซูเราะห์ก็อดรฺ อายะห์ที่ 1)

 

          และในทุกๆเดือนเราะมะฎอนนั้นท่านญิบรีล อะลัยฮิสสะลาม ก็จะมาพบท่านนบีเพื่อมาศึกษาทบทวนอัลกุรอ่านกับท่าน ดังรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บินอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า

 

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ، وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِي رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ جِبْرِيلُ، وَكَانَ يَلْقَاهُ فِي كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ رَمَضَانَ فَيُدَارِسُهُ القُرْآنَ

 

     “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่สุด และท่านจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่สุดในเดือนเราะมะฎอน เมื่อยามที่ท่านพบกับญิบรีล

     และญิบรีลจะมาพบกับท่านรอซูลในทุกค่ำคืนของเราะมะฎอน แล้วญิบรีลก็จะศึกษาทบทวนอัลกุรอานกับท่าน” 

(โดยบุคอรีย์และมุสลิม)

และรายงานหะดีษที่ว่า

 

أن جبريل كان يعْرضُ عَلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْقُرْآنَ كُلَّ عَامٍ مَرَّةً ، فَعرضَ عَلَيْهِ مَرَّتَيْنِ فِي الْعَامِ الَّذِي قُبِضَ فيه

 

     “แท้จริงท่านญิบรีลนั้น จะนำเสนอ(ทบทวน)อัลกุรอานต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หนึ่งครั้งในทุกเราะมะฎอน นอกจากปีที่ท่านเสียชีวิต โดยในปีนั้นอัลกุรอานถูกนำเสนอ(ทบทวน)ให้แก่ท่านสองครั้ง

(โดยอัลบุคอรีย์)

 

 

♥ ขอดุอาอฺในช่วงถือศีลอด

 

ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

 

ثَلَاثَةٌ لَا تُرَدُّ دَعْوَتُهُمْ الْإِمَامُ الْعَادِلُ وَالصَّائِمُ حَتَّى يُفْطِرَ وَدَعْوَةُ الْمَظْلُومِ

 

     “มีอยู่ 3 คน ที่การขอพรของพวกเขาจะไม่ถูกปัดคือ คนที่ถือศีลอดจนกว่าจะละศีลอด อีหม่ามที่ ยุติธรรม และคนที่ถูกข่มเหง” 

(บันทึกโดย ติรมีซีย์และ อิบนุมาญะ)

ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว่า

 

إِنَّ لِلصَّائِمِ عِنْدَ فِطْرِهِ لَدَعْوَةً مَا تُرَدُّ

 

สำหรับผู้ที่ถือศีลอดนั้น ขณะที่เขาละศีลอด การขอพรของเขาจะไม่ถูกปฏิเสธ” 

(อะหมัดชากีร ท่านเชคอุษัยมีน หะดีษระดับที่ดี)

 

     ท่านอิหม่าม นะวะวีย์ ส่งเสริมให้ขอดุอาในขณะถือศีลอดท่านเชค อุษัยมีน กล่าวว่า สมควรขอดุอาช่วงเย็นดวงตะวันใกล้จะตกดินและช่วงที่ละศีลอดด้วย

 

 

♥ ละทิ้งคำพูดและการกระทำที่ไม่ดี

 

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

 

من لم يدَعْ قولَ الزُّورِ والعملَ به والجهلَ فليس للهِ حاجةٌ في أن يدعَ طعامَه وشرابَه

 

     “ผู้ใดก็ตามที่ไม่ละทิ้งคำพูดที่ไม่ดี อีกทั้งยังกระทำเหมือนกับคำพูดที่ไม่ดีดังกล่าว บุคคลลักษณะดังกล่าวนี้ สำหรับอัลลอฮฺแล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรที่เขาจะมาอดอาหารและเครื่องดื่มของเขา

(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

 

จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าจากท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า

 

«رُبَّ صَائِمٍ لَيْسَ لَهُ مِنْ صِيَامِهِ إِلاَّ الْجُوعُ، وَرُبَّ قَائِمٍ لَيْسَ لَهُ مِنْ قِيَامِهِ إِلاَّ السَّهَرُ

 

     “บ่อยครั้งที่ผู้ถือศีลอดไม่ได้รับผลตอบแทนจากการถือศีลอดของเขา นอกเสียจากความหิว(เพราะไม่รักษามารยาทในการถือศีลอด) และบ่อยครั้งที่ผู้ยืน(ละหมาดในเวลากลางคืน)ไม่ได้รับผลตอบแทนจากการยืนละหมาดของเขานอกเสียจากการอดนอน” 

(รายงานโดยอิบนุ มาญะฮฺ อัล-อัลบานีย์ เป็นหะดีษ หะสัน เศาะฮีหฺ)

 

ท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า

 

إذَا صُمتَ فليصُمْ سمعُك وبَصرُك من المَحارمِ ولسانُك مِنَ الكذِبِ ودَعْ أذَى الخادِمِ وليَكُنْ عَليكَ وَقارٌ وسَكينةٌ ولا تجعَلْ يومَ صومِك ويومَ فطرِك سواءً

 

     “เมื่อท่านถือศีลอด ก็จงถือศีลอด(ระงับ)หูของท่าน สายตาของท่าน ลิ้นของท่าน จากการพูดเท็จและสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย และอย่าทำความเดือดร้อนให้แก่เพื่อนบ้านของท่าน

     ขอให้ท่านทำจิตใจให้สงบและมั่นคง และอย่าทำตัวเหมือนว่าวันที่ท่านถือศีลอดกับวันที่ไม่ได้ถือศีลอดนั้นเหมือนกันไม่มีอะไรแตกต่าง

 

 

♥ รับประทานอาหารสะฮูร

 

จากท่าน อะนัส บิน มาลิก ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

 

تَسَحَّرُوا فَإِنَّ فِي السَّحُورِ بَرَكَةً

 

จงลุกขึ้นทานอาหารสะฮูร เพราะแท้จริงการทานอาหารสะฮูรนั้นมีความศิริมงคล

(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

 

     การทานอาหารสะฮูร ระยะเวลา แค่เพียงการอ่านกรุอ่าน ห้าสิบอายะ เพราะนี่คือการปฏิบัติตามซุนนะของท่านนบี

 

     เวลาของการท่านอาหารสะฮูร ระยะเวลาประมาณเท่ากับการอ่านอัลกุรอาน 50 อายะฮฺมีรายงานจากอะนัส จาก เซด อิบนฺซาบิต กล่าวว่า

 

تَسَحَّرْنَا مَعَ النَّبِيِّ ﷺ ثُمَّ قَامَ إِلَى الصَّلَاةِ قُلْتُ كَمْ كَانَ بَيْنَ الْأَذَانِ وَالسَّحُورِ قَالَ قَدْرُ خَمْسِينَ آيَةً

 

เราได้กินสะฮูรพร้อมกับท่านนะบี แล้วท่านได้ลุกขึ้นไปละหมาด

ฉันได้ถามท่านว่าระยะเวลาระหว่างการอะซานและการกินสะฮูรยาวนานเท่าใด

ท่านตอบว่าประมาณ 50 อายะฮฺ” 

(บันทึกโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

 

     ทานอาหารสะฮูรด้วยอินทผาลัม อาหารสะหูรที่ดีที่สุดคืออินทผาลัม ในฮาดิษอาบุฮุร็อยเราะห์ (รอฏิยัลลอฮุอันฮุ) ท่านนบีนมุฮัมมัดกล่าวว่า

 

نِعْمَ سَحُورُ الْمُؤْمِنِ التَّمْرُ

 

อาหารสะหูรที่เป็นที่โปรดปรานของมุอฺมินคือ "อินทผลัม

(บันทึกโดย อบูดาวูด)

 

 

     ไม่ควรละทิ้งจากการลุกขึ้นทานอาหารสะฮูร มุสลิมพยายามตื่นมาทานสะหูร แม้ด้วยการจิ๊บน้ำในปริมาณเล็กน้อยก็ตาม อย่าทิ้งการทานสะหูร ท่านนบีมุฮัมมัดกล่าวว่า...

 

السَّحورُ أُكْلةُ بَرَكةٍ، فلا تَدَعوه، ولو أنْ يَجرَعَ أَحَدُكم جُرْعةً من ماءٍ؛ فإنَّ اللهَ وملائكتَه يُصلُّونَ على المُتَسَحِّرينَ

 

     “การรับประทานสะหูรนั้นมีความจำเริญมากมาย พวกเจ้าอย่าได้ละทิ้ง แม้ได้ตื่นขึ้นมาจิบน้ำเพียงอึกเดียว เพราะแท้จริงแล้วอัลลอฮฺ(..)และมลาอิกะห์ได้สดุดีสำหรับผู้ที่ตื่นมาทานสะหูร

(บันทึกโดย อะหมัด)

 

 

♥ การละหมาดตะรอวีหฺ

 

นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมกล่าวว่า

 

مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِه

 

     “ผู้ใดที่ลุกขึ้น (ละหมาดหรือประกอบอิบาดะฮฺ) ในค่ำคืนเราะมะฎอน ด้วยเปี่ยมศรัทธาและหวังในความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิด (บาป) ที่ผ่านมา” 

(บันทึกโดย บุคครีย์และมุสลิม)

     สุนัตให้ละหมาดพร้อมกับอิมามจนเสร็จสิ้นการละหมาดการละหมาดตะรอวีหฺ ตามหะดีษที่รายงานโดยอะบูซัรฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 

مَن قام مع الإمامِ حتى ينصرفَ كُتِب له قيامُ ليلةٍ

 

     “ผู้ใดก็ตามที่ละหมาดพร้อมกับอิมามจนเสร็จสิ้นการละหมาด เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับการละหมาดตลอดทั้งคืน

( อิบนุหิบาน และ อิม่ามอะหมัด)

 

 

♥ ดุอาอฺให้แก่ผู้เลี้ยงอาหารละศีลอด

 

      เพราะท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยปฏิบัติเช่นนั้น ซึ่งคำวิงวอนขอดุอาอฺมีอยู่หลายชนิดเช่น

 

أَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَارُ وَصَلَّتْ عَلَيْكُمُ المَلائِكَةُ وَأَفْطَرَ عِنْدَكُمُ الصَّائِمُوْنَ

 

     “ขอให้คนดี ๆ มาร่วมรับประทานอาหารของพวกท่าน และขอให้บรรดามะลาอิกะฮฺขอพรให้แก่พวกท่าน และขอให้บรรดาผู้ถือศีลอดมาร่วมแก้ศีลอดกับพวกท่าน“ 

(บันทึกโดย : อิบนฺอะบีซัยบะฮฺ อะหมัด และอันนะซาอียะฮฺ)

 

 

♥ การเอี๊ยะติก๊าฟ

 

          บรรดานักวิชาการได้มีมติว่า การเอี๊ยะติก๊าฟนั้นมีบทบัญญัติให้กระทำได้ ความจริงท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัมเคยทำเอี๊ยะติก๊าฟ 10 วัน 10 คืนในทุกๆเดือนของรอมฎอน (ในช่วงท้ายของรอมฎอน) ในปีสุดท้ายก่อน ที่ท่านจะเสียชีวิตท่านได้เอี๊ยะติก๊าฟ 20 วัน 20 คืน ในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นเป็นซุนนะฮ์มุอักกะดะฮ์(มุ่งเน้นให้กระทำ) ที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้เคยปฏิบัติไว้

 

كانَ النبيُّ صَلَّى اللهُ عليه وسلَّمَ يَعْتَكِفُ في كُلِّ رَمَضَانٍ عَشَرَةَ أيَّامٍ، فَلَمَّا كانَ العَامُ الذي قُبِضَ

فيه اعْتَكَفَ عِشْرِينَ يَوْمًا

 

     “แท้จริงท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำเอียะติกาฟสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน ในช่วงปีสุดท้ายก่อนเสียชีวิตท่านทำ เอียะติกาฟ ยี่สิบวัน

(อัลบุคอรีย์และมุสลิม)

 

أنَّ النبيَّ صَلَّى اللهُ عليه وسلَّمَ كانَ يَعْتَكِفُ العَشْرَ الأوَاخِرَ مِن رَمَضَانَ حتَّى تَوَفَّاهُ اللَّهُ، ثُمَّ اعْتَكَفَ أزْوَاجُهُ مِن بَعْدِهِ.

 

     “แท้จริงท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทำเอียะติกาฟสิบวันสุดท้ายของร่อมะฎอนจนกระทั่งอัลลอฮ์ได้เอาชีวิตของท่านไป หลังจากนั้นบรรดาภรรยาของท่านก็ได้เจริญรอยตามท่าน” 

(โดยอัลบุคอรีย์)

 

 

♥ ดุอาอ์ในคืนลัยละตุลก็อดรฺ

 

عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا قَالَتْ : قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللهِ، أَرَأَيْتَ إِنْ عَلِمْتُ أَيَّ لَيْلَةٍ لَيْلَةُ الْقَدْرِ، مَا أَقُولُ فِيهَا؟، قَالَ : «قُولِي اللَّهُمَّ إِنَّكَ عُفُوٌّ تُحِبُّ الْعَفْوَ فَاعْفُ عَنِّي

 

     จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้ถามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่าบอกฉันเถิด ถ้าหากคืนใดฉันรู้ว่าเป็นลัยละตุล ก็อดรฺ จะให้ฉันกล่าวดุอาอ์ใด?”

     ท่านรอซูลตอบว่าจงกล่าวว่าอัลลอฮุมมะ อินนะกะ อะฟุววุน ตุหิบบุล อัฟวะ ฟะอฺฟุ อันนี (โอ้องค์อภิบาลแห่งข้า แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นผู้อภัยยิ่ง พระองค์ทรงรักการอภัย ดังนั้นได้โปรดอภัยให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด)” 

(โดย อิบนุ มาญะฮฺ เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ ของ อัล-อัลบานีย์)

 

 

♥ เราะมะฎอนเดือนแห่งการขออภัยโทษ

 

อิสติฆฟารฺ(ดุอาอ์การขออภัยโทษ)ที่ดีที่สุด

 

اَللَّهُمَّ أَنْتَ رَبِّي، لاَ إِلَهَ إِلاَّ أَنْتَ، خَلَقْتَنِي وَأَنَا عَبْدُكَ وَأَنَا عَلَى عَهْدِكَ وَوَعْدِكَ مَا اسْتَطَعْتُ، أَعُوْذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا صَنَعْتُ، أَبُوْءُ لَكَ بِنِعْمَتِكَ عَلَيَّ، وَأَبُوْءُ بِذَنْبِي فَاغْفِرْلِي فَإِنَّهُ لاَ يَغْفِرُ الذُّنُوْبَ إِلاَّ أَنْتَ

 

     คำอ่าน อัลลอฮุม อันตะร็อบบี, ลาอิลาฮะอิลละ อันตะ , เคาะลักตะนี วะอะนาอับดุกะ, วะอะนาอะลาอะฮฺดิกะ วะวะอฺดิกะ มัสตะเฏาะอฺตุ , อะอูซุบิกะมินชัรริมาเศาะนะอฺตุ, อะบูอุละกะบินิอฺมะติกะอะลัยยะ วะอะบูอุ บิซัมบี ฟัฆฺฟิรฺลี , ฟะอินนะฮุ ลายัฆฺฟิรุซุนูบะ อิลละ อันตะ

 

     ความว่าโอ้อัลลอฮฺ พระองค์คือพระเจ้าของข้า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่แท้จริงนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ได้สร้างข้าขึ้นมา และข้าก็เป็นบ่าวของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว และข้ายอมรับกับสัญญาของพระองค์ทั้งที่ดี(สวรรค์)และที่ชั่ว(นรก) ในสิ่งที่ข้าได้พยายามแล้ว ข้าขอให้พระองค์ได้โปรดขจัดสิ่งที่ไม่ดีจากการกระทำของข้า ข้าจะกลับไปหาพระองค์ด้วยความโปรดปรานของพระองค์ที่ได้ทรงประทานให้แก่ข้า และด้วยบาปของข้าที่ได้ก่อมันไว้ ดังนั้นขอให้พระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ข้าด้วยเถิด เพราะแท้ที่จริงแล้วไม่มีผู้ใดที่สามารถจะให้อภัยโทษได้ นอกจากพระองค์เท่านั้น

( บันทึกโดย อบูดาวูด และ อิบนุ หิบาน อิบนุมาญะ)

 

♥ แสวงหาค่ำคืนของอัลก็อดร์

 

บรรดานักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่า ลัยละตุลกอดร์นั้นจะเกิดในคืนคี่ ดังคำพูดของท่านนบี ที่ว่า

 

تَحرُّوا لَيلةَ القَدْرِ في الوَتْر من العَشرِ الأواخِرِ من رمضانَ

 

พวกท่านจงแสวงหา ลัยละตุลก็อดรฺในคืนที่คี่ ของสิบคืนสุดท้าย

(บันทึกโดย บุคอรีย์ )

และหะดีษอีกบทหนึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

 

ومَن قامَ ليلةَ القَدرِ إيمانًا واحتِسابًا ، غُفِرَ لَهُ ما تقدَّمَ من ذنبِهِ

 

     “ผู้ใดก็ตามที่ยืนขึ้นเพื่อทำการละหมาดในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ ด้วยความศรัทธา(น้อมรับพระบัญชาของอัลลอฮฺ)และหวังผลตอบแทนจากพระองค์ แน่นอนเขาจะได้รับการอภัยโทษในบาปของเขาที่ผ่านมาโดย

(บุคอรีย์และมุสลิม)

 

 

♥ สร้างบรรยากาศในการทำอิบาดะฮฺ

 

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ได้รายงานอีกว่า

 

كان إذا دخَلَ العَشرُ أحيا اللَّيلَ، وشَدَّ المِئزَرَ، وأيقَظَ أهلَه

 

     “เมื่อเข้าช่วงเวลาสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน ท่านนบีจะตื่นเพื่อทำอิบาดะฮฺในตอนกลางคืน และท่านก็จะกระชับผ้านุ่งที่สวมใส่ให้แน่น(เพื่อเตรียมตัวในการทำอิบาดะฮฺ)พร้อมกับปลุกบรรดาภริยาของท่าน

 (บันทึกโดย บุคอรีย์และมุสลิม)

 

 

♥ ส่งเสริมให้เลี้ยงอาหารละศีลอด

 

          ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยังส่งเสริมให้ผู้ศรัทธาให้การช่วยเหลือต่อกันให้มากในเดือนเราะมะฎอน ดังที่ท่านนบี ได้กล่าวว่า

 

مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ غَيْرَ أَنَّهُ لا يَنْقُصُ مِنْ أَجْرِ الصَّائِمِ

 

     “ผู้ใดก็ตามที่เลี้ยงอาหารละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอดคนหนึ่ง เขาก็จะได้รับผลบุญเช่นเดียวกับที่ผู้ถือศีลอดได้รับ โดยที่ผลบุญของผู้ถือศีลอดนั้นไม่มีการลดหย่อนแม้แต่น้อย” 

(รายงานโดยอัตติรมิซีย์)